ยังจำกันได้ไหมครับว่า HDD ตัวแรกของคุณนั้นยี่ห้ออะไร? ความจุเท่าไหร่?” ใครที่ยังไม่แก่มาก คงทัน harddisk ที่ใช้พอร์ตการเชื่อมต่อแบบ IDE หรือ PATA ความจุเริ่มแรกก็ไม่เกิน 40 GB ขนาดลง windows แล้วยังมีเหลือ ๆ ไปทำอะไรได้อีกเยอะแยะ
แต่ก็เหมือนความฝันจะอยู่กับเราไม่นาน ใช้ ๆ ไป ที่เริ่มไม่พอ ไอ้ครั้นจะเปลี่ยน HDD ให้ใหญ่ขึ้นก็มาเจอว่า port ใน mainboard เราตกรุ่นไปแล้ว เพราะเขาหันไปใช้ SATA หรือ Serial ATA ( Advanced Technology Attachment) กัน
SATA จัดว่าเป็นมาตรฐานปัจจุบันของ HDD อย่างแท้จริง แต่ SATA ในยุคเริ่มแรกกับตอนนี้ต่างกันเหลือเกิน เพราะ เรามีการพัฒนามาเรื่อย ๆ เป็น SATA 1, 2, 3 ตามลำดับ แล้วก็มีแยกย่อยออกไปอีก
- SATA
- eSATA – External SATA มาแก้ปัญหาเรื่องการถ่ายโอนข้อมูลผ่าน USB ที่มันช้าเหลือเกิน แถมลากสายยาวได้กว่าสองเมตร แต่ข้อเสียคือ ไม่มีสายจ่ายพลังงานใน port ต่อต้องแยก
- eSATAp – รุ่นพัฒนาให้จ่ายพลังงานผ่าน eSATA ได้แล้ว
- mSATA – mini SATA ออกมาแทน PATA (มาตรฐาน HDD แบบหนึ่งในสมัยก่อน ที่ไม่ค่อยจะมาตรฐานสักเท่าไหร่ ไม่ค่อยมีเจ้าไหนใช้ และ ไม่ได้อยู่ในตลาด consumer) ด้วยขนาดที่เล็กกว่าเดิม เหมาะกับการใช้งานใน All in One, Laptop, notebook
ถามว่าผู้ใช้ทั่วไป ควรเลือกใช้อะไร? มีผลไหม? ตอบได้เลยว่าแทบจะไม่มี เพราะเทคโนโลยีฮาร์ดดิสก์พวกนี้ ออกแบบมาเพื่อให้พัฒนาฮาร์ดแวร์ไปควบคู่กันได้ มากกว่าจะเป็นทางเลือกให้ผู้ใช้ยิ่งถ้าเป็นผู้ใช้ที่ประกอบคอมพิวเตอร์เองเพื่อประหยัดเงิน ก็คงใช้ฮาร์ดดิสก์ธรรมดา แต่ถ้าประกอบเองเพิ่มความสามารถ ต้องไปเรียนรู้หัวข้อถัดไปเพิ่มเติม
ประเภทของ Storage ในปัจจุบัน
- HDD – ตัวเก็บข้อมูลแบบมาตรฐานในปัจจุบัน ในตัวประกอบด้วยระบบจานหมุน และหัวอ่าน ไอ้ความจุสุง ประสิทธิภาพสมตัว ราคาไม่แพง ความเร็วพอได้ แต่ไม่ทนต่อการกระแทก กระเทือน เคลื่อนย้าย ตกหล่น
- SSD – Solid State ระบบเก็บข้อมูลแบบใหม่ ได้ความเร็วสูง เหมาะสำหรับงานที่ประมวลผลบ่อย ๆ มีการเรียกข้อมูลใน หน่วยความจำที่เก็บไว้ออกมาซ้ำ ๆ เรื่อย ๆ แถมไม่ต้อง defragment แต่ราคาแพง ความจุน้อย ในงบประมาณที่เท่ากัน ถ้าเอาไปซื้อ HDD อาจจะได้ความจุมากกว่าเดิม ถึง 10 เท่า ไม่เหมาะกับการเก็บข้อมูลมากๆ
- Hybrid – อีกหนึ่งทางเลือก ที่มาอยู่ตรงกลาง ระหว่างสองข้อด้านบน คือ ได้ทั้งความเร็ว และ ความจุเยอะ ในราคาไม่แพง เพราะใส่ technology สองตัวไว้ด้วยกัน ในเชิงสถาปัตยกรรม แบ่งออกเป็นสองแบบคือ
- Dual Drive Hybrid system
- ใน com หนึ่งเครื่องมีไดร์ฟสองประเภทอยู่รวมกัน คือ HDD กับ SSD หรือ mSATA ช่างเป็นวิธีการประกอบที่บ้านๆ อะไรแบบนี้
- Dual Drive Hybrid system
-
-
Solid State Hybrid Drive (SSHD)
-
ใน HDD มี NAND Flash ประกบเข้าไปด้วย เห็นทั้งหมดเป็นก้อนเดียวกัน
-
การใช้งานทั้งสองตัว ในแง่ผลลัพธ์ไม่ต่างกันกัน ควบคุมได้สามวิธีคือ
-
ใช้ Software ของผู้ผลิต drive ควบคุม
-
ใช้ OS ควบคุม ไปเลย อย่าง Fusion Drive ของ Apple แต่ สำหรับคนใช้ windows ทาง microsoft ประกาศ support SSHD ใน windows 8.1
-
เขียนคำสั่งการควบคุมเอง เทพเท่านั้น
-
-
-
การทำงานของระบบ hybrid คร่าวๆ คือ แบ่งไฟล์ออกเป็นสองประเภทคือ hot file ที่ต้องใช้งานบ่อย ๆ หรือ เรียกใช้เป็นอันดับแรก ไม่มีคิว จะไปอยู่ที่ SSD หรือ mSATA ส่วนน้อยแทน ส่วน file ที่มีคิวในการเรียก ใช้งานไม่บ่อย ก็จะไปอยู่ที่ HDD ที่ช้ากว่าแทน
ทางเลือกสามข้อนี้ ก็ขึ้นอยู่กับผู้ที่ใช้งานแล้วหล่ะครับว่า จะ balance budget ไปทางไหน? แต่มียกตัวอย่างคนทำงานแบบนี้ครับ
- Notebook บาง ๆ เบา ๆ spec แรง ๆ ใส่ SSD ไว้ทำงานอย่างเดียว
- PC ประจำบ้าน มีไว้ยุ่งเกี่ยวกับข้อมูลที่เก็บไว้ หรือ Archive เท่านั้น รับไฟล์จากโน้ตบุ๊กแล้วก็เก็บดองไว้เลย ไม่ต้องใช้ความเร็วหรือเก่งเทพอะไร แค่เก็บไว้แล้วข้อมูลไม่หาย รื้อออกมาไม่ยากนักพอ *บางคนเลือกที่จะใช้เป็น cloud ประจำบ้านแทน ไม่ต้องมีคอมพิวเตอร์อีกตัว
- สำหรับบางคน ไม่สะดวก ที่จะ archive ไว้ที่บ้าน เพราะจะดึงข้อมูลออกมาใช้ตอนนอกบ้านก็ลำบาก net ขา upload บ้านเรามันน้อย ก็ยัด hybrid ลง notebook แทน หรือไม่ก็ใข้ SSD run OS ส่วน ข้อมูลแยกเก็บใน HDD
ปัจจุบันของ HDD กับยี่ห้อต่าง ๆ
ยี่ห้อดัง ๆ สมัยก่อน Seagate, Western Digital, Maxtor, Hitachi, Toshiba, IBM, Fujitsu มีเยอะมาก แต่ในความจริงแล้วในตอนปัจจุบันนี้เป็นแค่ ร่าง avatar ของ HDD สามยี่ห้อเท่านั้น คือ Seagate, Western Digital, Toshiba เนื่องจากว่า HDD ยี่ห้อดัง ๆ ต่าง ๆ โดนสามเจ้านี้เข้าซื้อหมดแล้ว
กลุ่มครอบครัว Toshiba
-
IBM ถูก Hitachi ซื้อแผนกฮาร์กดิสก์ ในปี 2002
-
แล้ว Hitachi ก็ถูก Toshiba ซื้อเฉพาะส่วนไดร์ฟขนาด 3.5” ในปี 2012
-
โดยก่อนหน้านี้ Fujitsu ก็ถูก Toshiba ซื้อกิจการฮาร์ดดิสก์จากไปในปี 2009
-
สรุปใครอยากได้วิญญาณฮาร์ดดิสก์ของ Fujitsu, IBM, Hitachi ให้ซื้อไดร์ฟ Toshiba
ครอบครัว WD
-
ย้อนกลับไปที่ IBM ถูก Hitachi ซื้อแผนกฮาร์กดิสก์ ในปี 2002
-
WD ก็เข้าซื้อกิจการฮาร์ดดิสก์ Hitachi เฉพาะส่วนไดร์ฟ 2.5” และ SSD ในปี 2012
-
โดยก่อนหน้านี้ WD ก็ซื้อ Tandon (ไม่เคยได้ยิน) ไปในปี 1988
-
สรุป วิญญาณความทนของฮาร์ดดิสก์โน้ตบุ๊กจาก Hitachi อยู่ที่ WD
ครอบครัว Seagate
ครอบครัวที่ใหญ่สุด คือ Seagate เพราะเล่นไปกว้านซื้อ บริษัทมาหลายบริษัท อีกทั้งบริษัทที่ไปซื้อมาก็เคยซื้อเขามาแล้วอีกต่อหนึ่งอีก โดย Seagate มีวิญญาณไดร์ฟจากผู้ผลิตชื่อดังหลายยี่ห้อคือ
-
Control Data, Corner, Maxtor, Samsung, Lacie, Mini Scribe, Quantum, Plus, DEC
-
ดังนั้นแล้ว ใครที่มีอคติกับ HDD บางยี่ห้อ แล้วบอก “ไม่ซื้อ ไม่ดี” แต่ดันไปซื้อ HDD ของบริษัทลูก หรือบริษัทแม่แทน ก็ระวังหน่อยนะครับ
Source : Wikipedia