เมื่อวันเสาร์ที่ 17 ธันวาคมที่ผ่านมา ทาง Sokochan ผู้ให้บริการทางด้านการเก็บ – แพ็ค และจัดส่งสินค้ารายแรก ๆ ของไทย เปิดบ้านต้อนรับเหล่าผู้ค้าและ Partner พร้อมเจาะลึก e-Commerce ในยุค 2017 ผ่านพิธีกรสาย IT อย่างหนุ่ย พงศ์สุข หิรัญพฤกษ์ ซึ่งเขาได้พาเข้าไปดูสถานที่จริง พร้อมเผยบริการสุดเจ๋งของทางโซโกะจังอย่างการรับบริการโกดังสินค้า Packing และส่งออกซึ่งเป็นงานที่หนักสำหรับร้านค้าออนไลน์ ทำให้ร้านค้าไม่ต้องกังวลเรื่องเหล่านี้อีกต่อไป ซึ่งแน่นอนว่าในงานนี้ก็ได้มีเหล่า Guru มาแนะนำข้อมูลต่าง ๆ ทางด้าน E-commerce ที่เป็นประโยชน์อย่างมากเลยทีเดียว

หนุ่ย พงศ์สุข หิรัญพฤกษ์ พิธีกรงาน เจาะลึก e-Commerce 2017 และเปิดบ้าน Sokochan

Sokochan บริการสุดเจ๋งสำหรับร้านค้าออนไลน์

คุณเมย์ เบญจพร ชัยบุรี ตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ บริษัท โซโกะจัน จำกัด

เชื่อว่าแทบทุก ๆ คนที่เคยทำงานเกี่ยวกับการขายสินค้าออนไลน์จะต้องประสบปัญหาหลักสุด ๆ นั่นคือ “ที่เก็บของ ไปจนถึงการ Pack ของและส่งของที่ต้องทำด้วยตัวคนเดียว” ซึ่งถือเป็นเรื่องเหนื่อยมาก ๆ สำหรับเหล่าพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ร้านเล็ก ๆ ที่มีลูกค้าจำนวนมาก ทาง Sokochan จึงมีแนวคิดสุดเจ๋งที่จะมาช่วยพ่อค้า แม่ค้าเหล่านี้ให้ทำงานได้ง่ายดายขึ้นกว่าเดิมโดยนำเอางานหนักที่ได้ Value น้อยอย่างการ Stock สินค้า/ แพ็คสินค้ารวมไปถึงการส่งสินค้าผ่านช่องทางต่าง ๆ ให้คุณแทน โดยมีค่าบริการที่ถูกมาก ๆ และไม่มีค่าแรกเข้าขั้นต่ำอีกต่างหาก (ขั้นต่ำคือฝากของไว้ Shelf ละ 200 บาทต่อ 1 เดือน)

อ่านเพิ่มเติมที่นี่

ภาพที่เห็นจนชินตาสำหรับเหล่าพ่อค้า – แม่ค้าออนไลน์

ในส่วนของความปลอดภัยทาง Sokochan ก็มีระบบกล้องและสัญญาณกันขโมยจาก Secom คอยรักษาความปลอดภัยตลอด 24/7 รวมไปถึงมีกล้องคอยจับในส่วนของพื้นที่การ Packing ทำให้มั่นใจได้ว่าของที่ออกไปจาก Sokochan นั้นปลอดภัย ไม่มีเสียหายหรือสูญหายอย่างแน่นอน

โดยในปัจจุบันทาง Sokochan ก็ได้มีช่องทางการส่งสินค้าอยู่ 3 ช่องทางคือ ไปรษณีย์ไทย/ Kerry และ Alpha ซึ่งเป็นบริการส่งสินค้าที่ได้รับความไว้วางใจเป็นอย่างดี ซึ่งในอนาคต(ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2560) ทาง Sokochan ก็จะเพิ่มช่องทางขึ้นมาอีก 1 ช่องทางคือ Shipjung ซึ่งจะเป็นอีก 1 ตัวเลือกสำหรับเหล่าพ่อค้าแม่ค้าได้ใช้บริการกันอีกด้วย

สำหรับใครที่สนใจอยากทดลองใช้บริการของ Sokochan สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ หรือโทร 02-107-1456 มือถือ 089-555-4828 E-mail: [email protected]

เผยยุทธวิธี E-Commerce 4.0 โดยคุณผรินทร์ สงฆ์ประชา ผู้คร่ำหวอดวงการ E-commerce มาแล้วกว่า 10 ปี

คุณผรินทร์ สงฆ์ประชา อดีตผู้บริหารร้านสะดวกซื้อรายใหญ่ของประเทศ ผู้คร่ำหวอดวงการ E-commerce มาแล้วกว่า 10 ปี

เรียกได้ว่าเป็น 1 ใน Highlight ของงานเลยก็ว่าได้ กับ Keynote ของคุณผรินทร์ ซึ่งเขาคนนี้เรียกได้ว่าเป็น 1 ในผู้ริเริ่มวงการ E-Commerce ในประเทศไทยเป็นคนแรก ๆ เลยก็ว่าได้ เพราะเขาทำมาแล้วตั้งแต่สมัยที่ internet ยังแทบไม่มีคนรู้จักและใช้งานอย่างแพร่หลายจนถึงทุกวันนี้ โดยในยุคเริ่มต้นของการขายสินค้านั้นจะยังมีแค่ 2 กลุ่มคือกลุ่ม Single-Channel คือการซื้อขายสินค้าผ่านช่องทางเดียวเช่นหน้าร้านหรือบนเว็บไซต์ หรือแบบ Multi-Channel ที่มีร้านค้าทั้งบน Website และแบบร้านค้าจริง ๆ ซึ่งต่อมาก็ได้มีอีก 1 วิธีนั่นคือการ Cross-Channel นั่นคือการนำเอาช่องทางหนึ่งที่เราดังมาช่วยผลักดันอีกช่องทางของเราให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้นนั่นเอง

อ่านต่อที่นี่
ต่อมาในยุคที่ Internet เฟื่องฟู และ Social เริ่มเข้ามามีบทบาทลูกค้าก็จะสามารถเพิ่มช่องทางการซื้อขายสินค้า รวมไปถึงการค้นหาสินค้าได้อย่างง่ายดายยิ่งขึ้น ทำให้เกิดเหตการณ์ที่เรียกว่า Omni Channel + Channel Hopping ซึ่งเป็นสาเหตหลักที่ทำให้เราต้องมีช่องทางที่มากมายหลากหลายยิ่งกว่าเดิมเพื่อครอบคลุมทั้งหมด แต่เขาก็ได้เน้นว่า เราควรที่จะมี 2 ช่องทางหลักที่เป็นแกนสำคัญนั่นคือ ร้านค้าที่เป็นหน้าร้านกับหน้า Website ซึ่งจะทำให้การขายสินค้าดูหน้าเชื่อถือมากกว่าการขายบนช่องทาง Social เพียงอย่างเดียว

และสิ่งสำคัญอีกอย่างคือ สินค้าที่เราขายนั้นไม่ใช่สินค้าที่มีเพียงเจ้าเดียวที่ขายได้ ซึ่งลูกค้าก็สามารถค้นหาข้อมูลผ่านระบบ Google หรือ Search Engine ต่าง ๆ เพื่อหาราคาที่ถูกกว่าได้ ซึ่งเมื่อมีของชนิดเดียวกันที่ราคาถูกกว่าลูกค้าก็อาจจะหนีไปหาพ่อค้าแม่ค้าเจ้าอื่นทันที

ทางเขาก็เริ่มที่จะใช้ระบบโฆษณาของ Google Adword รวมไปถึงการโฆษณาผ่าน Facebook Ads มาเป็นตัวช่วยในการดึงลูกค้าเข้ามาใช้งาน ซึ่งแน่นอนว่าการใช้โฆษณาเหล่านี้จะมีค่าของ CAC (Customer Acquisition Cost) เข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งตัวนี้แหละคือ 1 ในสิ่งที่ไว้ชี้วัดกำไร – ขาดทุนของเราต่อลูกค้าที่ใช้เงินดึงเข้ามา ซึ่งช่องทางนี้สำคัญมากเพราะถ้าคุณไม่ได้ทำตลาดออนไลน์เลย กว่าลูกค้าจะรู้จักแบรนด์ของคุณก็อาจจะทำให้คุณจมทุนไปก่อนก็เป็นได้

โดยสมัยนี้การโปรโมตสิ่งต่าง ๆ นั้นอาจจะใช้ช่องทาง Social Media จากสื่อดัง ๆ (ที่รับโฆษณา) มาช่วยในการโปรโมตสินค้าให้เราได้ ซึ่งข้อดีคือสินค้าจะเป็นที่รู้จักในวงกว้างอย่างรวดเร็วมาก และถ้าสินค้าดีจริง ๆ คุณอาจจะขายแทบไม่ทันเลยทีเดียว (ดูง่าย ๆ อย่างตอนจ่าพิชิต Drama-addict รีวิวเครื่องดื่มเจียวกู่หลานและดอกคำฝอยของดอยคำสิครับ)

ซึ่งแน่นอนว่าการทำสิ่งเหล่านี้เป็น 1 ในสิ่งที่ทุก ๆ คนสามารถทำได้ ไม่เว้นแม้แต่บริษัทยักษ์ใหญ่ต่างชาติ ทำให้มูลค่าของ CAC สูงขึ้นเรื่อย ๆ และกำไรต่อ 1 หน่วยลดลงเป็นอย่างมาก

โดยคุณผรินทร์ ได้เผยว่า ถ้าคุณคิดว่าจะทำ App ขึ้นมาเพื่อรองรับการขายสินค้าของคุณแล้วล่ะก็ “อย่าดีกว่า” เพราะปัจจุบันนั้นถือได้ว่ากลายเป็นยุคที่ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือทั้ง Android และ iOS แทบไม่ได้โหลดแอปเพิ่มนอกเหนือจากแอปที่เคยใช้ปัจจุบันอีกต่อไป ให้ทำเป็นเว็บไซต์ E-commerce แบบ Responsive ที่สามารถใช้งานได้ง่ายบนมือถือจะดูดีกว่ามาก ๆ ยิ่งปัจจุบันสิ่งเหล่านี้มีตัวช่วยสร้างเยอะแยะมากมาย สามารถศึกษาเพื่อทำเองหรือจ้างคนพัฒนาเว็บไซต์ให้คุณก็ราคาไม่สูงเท่าเมื่อก่อนแล้ว

และสุดท้ายนี้คุณผรินทร์ก็ได้มีการแบ่งฐานลูกค้าออกเป็น 3 ขั้นคือ ขั้น A, B และ C ซึ่งขั้น A นั้นเรียกได้ว่าเป็น Brand Loyalty หรือผู้ที่จะเข้ามาซื้อสินค้าของเราแทบทุกอย่างที่นำออกมาขาย รวมไปถึงช่วยปกป้องเราจากผู้ที่เข้ามากล่าวหา ซึ่งคนเหล่านี้เราจะต้องมีการให้บริการเป็นพิเศษเช่น การโทรไปแจ้งโปรโมชันใหม่ หรือการแนะนำสิ่งดี ๆ ให้เป็นอันดับแรก ๆ เพื่อรักษาให้อยู่กับเราไปนาน ๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีเพียง 20% เท่านั้นจากลูกค้าทั้งหมด

ส่วนระดับ B หรือลูกค้าที่เข้ามาซื้อสินค้ากับทางเราบ้างเป็นครั้งคราว เราควรที่จะมีการส่ง SMS (ในสมัยนี้น่าจะเป็น LINE ad) เป็นข้อความแจ้งไปยังลูกค้าว่ามีสินค้าอะไรใหม่ ๆ หรือโปรโมชันแรง ๆ อะไรมาบ้าง เพื่อสร้างความสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง ส่วนนี้จะมีอยู่ประมาณ 30% และถ้าเราให้บริการที่ดีในอนาคตอาจจะกลายเป็นลูกค้าระดับ A ก็เป็นได้

ลูกค้าระดับ C หรือลูกค้าทั่วไปที่อาจจะเข้ามาซื้อสินค้าเพียงครั้งเดียวเพราะถูกหรือเพราะการโปรโมตผ่านโฆษณา ซึ่งจะมีเป็นส่วนมาก เป็นลูกค้าที่ไม่ได้สนใจเรื่องของ Brand Royalty อะไรมากนักเพราะถูกโฆษณาชักชวนมา ซึ่งลูกค้าเหล่านี้ถ้าเราจัดการ Customer Support ที่ดี (โดยเฉพาะเรื่องของ Call Center) ลูกค้าเหล่านี้ก็อาจจะพัฒนากลายเป็นลูกค้าระดับ A หรือ B ก็เป็นได้

และคุณผรินทร์เขาก็เน้นย้ำว่า “การขายบน E-commerce เพียงช่องทางเดียวในปัจจุบันมันเชยมาก ๆ แล้ว อย่าพยายามไปผลักดันเพียงทางเดียว แต่ให้หาช่องทางอื่น ๆ เช่นการขายหน้าร้านเสริมควบคู่กันไปด้วย” ใครที่อ่านแล้วก็ลองเอาไปปรับใช้กันดูนะครับ

แชร์เคล็ดลับขับเคลื่อนกิจการจากผู้ค้าออนไลน์ตัวจริง

งานนี้ Sokochan ไม่ได้เชิญแค่ Guru มาเท่านั้น แต่ยังมีเหล่าผู้ที่ประสบความสำเร็จในการค้ขายสินค้าบนโลกออนไลน์มาพูดคุยให้ความรู้กันอีกด้วย ซึ่งงานนี้ดำเนินการเสวนาโดยคุณตุ่น ปริญญารัตน์ สำราญวงษ์ สมาชิกคณะกรรมการสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็คทรอนิกส์แห่งประเทศไทย ซึ่งประเด็นหลัก ๆ ที่พูดถึงคือในเรื่องของการพัฒนาต่อยอดจากร้านค้าเล็ก ๆ สามารถเติบโตไปสู่ร้านค้าใหญ่ ๆ ได้อย่างไร ซึ่งทางเราก็ขอสรุปสิ่งหลัก ๆ ออกมาได้ดังนี้

  • พยายามพูดคุยกับลูกค้าดี ๆ และให้ความสำคัญกับการส่งสินค้าที่รวดเร็ว ไม่ควรให้ลูกค้ารอนาน
  • แบ่งเวลาไปพัฒนาเพิ่มสินค้าออกมาเรื่อย ๆ ซึ่งช่วงแรก ๆ ตอนเขายังไม่ได้ใช้บริการของ Sokochan เขาพบกว่าแบ่งเวลาได้ค่อนข้างยากเพราะต้องมานั่งแพ็คสินค้า – ส่งสินค้าเอง แต่พอใช้บริการแล้วก็แบ่งเวลาได้ง่ายกว่าเดิมมาก
  • ใช้การโปรโมตสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ โดยเฉพาะบน Social Media
  • ที่สำคัญคือการวางแผนระยะยาวออกมาเป็น Year-Plan เพื่อดูว่าเราสามารถทำตามเป้าของเราออกมาได้หรือไม่ และในปีถัด ๆ ไปจะสามารถทำได้หรือไม่

เผยวิธีดึงดูดและรักษาลูกค้าบนโลกออนไลน์ โดยคุณพอล กฤดากร ผู้เขียน CEOBlog

โดยคุณพอลก็ได้เผยเคล็ดลับการดึงดูดลูกค้าและรักษาลูกค้าบนโลกออนไลน์ออกมาให้คุณโดยแยกย่อยออกเป็น 4 หัวข้อหลัก ๆ ดังนี้

Awarness การตระหนัก

เป็น 1 ในสิ่งสำคัญมาก ๆ ของการดึงดูดลูกค้าบนโลกออนไลน์ โดยเฉพาะวิธีการโฆษณาที่เราจะต้องมีการวางแผนที่ดี เช่นการโฆษณารองเท้านั้น ถ้าเราใช้การโฆษณาแบบหว่านแหหรือไม่ได้เจาะจงกลุ่มเป้าหมาย ก็จะทำให้การโฆษณานั้นเป็นการโฆษณาที่สูญเปล่าเพราะอาจจะมีคนเพียง 20% ของการโฆษณาเท่านั้นที่จะสนใจ (ซึ่งใน 20% นั้นก็อาจจะมีเพียง 1% เป็นลูกค้าของเราก็เป็นได้) ดังนั้นคุณจึงควรศึกษาวิธีการใช้งาน ADS ของแต่ละแห่งให้ได้ประสิทธิภาพสูงที่สุด

Interest ให้ความสนใจ

เมื่อคนเริ่มรู้จักสินค้าที่เราโฆษณาแล้ว เขาก็จะเริ่มที่จะสนใจค้นหาข้อมูลสินค้าชิ้นนั้น ๆ ซึ่งแน่นอนว่าถ้าข้อมูลสินค้าของเรามีอย่างครบถ้วน ลูกค้าก็จะมีโอกาสซื้อสินค้าของเรามากกว่าสินค้าที่ไม่มีข้อมูลให้อ่านเลย

Decision การตัดสินใจ

หลังจากที่ลูกค้าเริ่มตัดสินใจที่จะซื้อ อย่างแรกที่ลูกค้าจะต้องค้นหาเลยคือ ราคาของสินค้าชิ้นนี้ ซึ่งถ้าราคาของเราถูกที่สุดหรือเท่ากับร้านอื่น ๆ ก็แทบจะไปขั้นต่อไปแล้ว

Action การกระทำ(ซื้อสินค้า)

สิ่งสุดท้ายที่เราทุกคนอยากให้เกิดนั่นคือการกดสั่งซื้อสินค้า ซึ่งกว่า 100 ละ 90 จะตกม้าตายตรงนี้ โดยเฉพาะระบบการซื้อสินค้าที่ยุ่งยากจนอาจทำให้ต่อมความวู่วามหายไปซะก่อน ร้านค้าออนไลน์ที่ดีจึงควรทำให้ระบบนี้มีความไหลลื่นมากที่สุดจนอาจจะให้เหลือเพียง 1 – 2 ขั้นตอน ก็สามารถสั่งซื้อได้เลย (แล้วค่อยไปใส่ชื่อ ที่อยู่ ทีหลังก็ยังได้)

และช่วงท้ายของงานทางคุณเอเดรียน มาร์ค สจ๊วต ที่ปรึกษาบริษัท โซโกะจัน จำกัด ก็ได้พาเหล่าผู้ร่วมงานไปเดินชมโกดังสินค้าของโซโกะจันอีกด้วย