เมื่อไม่กี่วันก่อนกองทัพสหรัฐออกมายืนยันถึงคลิป UFO ที่เคยถูกบันทึกภาพได้ในอดีตเป็นของจริงประมาณ 3 คลิป แถมรัฐมนตรีของญี่ปุ่นเองก็ยังจัดตั้งกองกำลังรับมือ UFO อีกต่างหาก (ปี 2020 นี้มีเรื่องให้พีคทุกเดือนจริง ๆ เลย) ทีนี้อยากจะพูดถึงว่า การที่เรามาเจอสัญญาณชีวิตต่างดาวเอาซะตอนนี้เนี่ย มันดีหรือไม่ดี ? ซึ่งถ้าพูดเรื่องนี้กับทฤษฏี “Fermi Paradox” แล้ว มันไม่ใช่เรื่องดีเอาซะเลย เพราะมันอาจจะเป็นหายนะของมนุษย์ชาติเลยทีเดียว!

UFO Alien US Navy Pentagon

UFO Alien US Navy Pentagon

ทีนี้ ก่อนจะมาพูดถึงว่า Fermi Paradox นี้คืออะไร รู้หรือไม่ว่าจักรวาลที่เรารู้จัก ที่เราศึกษามีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดใหญ่มากถึง 9 หมื่นล้านปีแสง มีกาแลกซี่ทั้งหมด 1 แสนล้านกาแลกซี่ และแต่กาแลกซี่มีดาวทั้งหมดประมาณ 1 แสนล้านดวง ถึง 1 ล้านล้านดวง แต่ที่ผ่านมา เรากลับไม่พบสิ่งมีชีวิตต่างดาวเลย?

ขอบคุณรูปภาพจากช่อง Kurzgesagt – In a Nutshell

กาแลกซี่ที่เราอยู่คือ “Milky Way” หรือที่เราเรียกกันว่า “ทางช้างเผือก”  ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ และนักดาราศาสตร์มีการค้นพบระบบดาวที่น่าจะมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่บ่อยครั้ง แต่ การจะเดินทางไปยังที่เหล่านั้นมันไม่ง่ายเลยสักนิดเดียว แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยด้วยซ้ำ ณ ปัจจุบัน ซึ่งแต่ละกาแลกซี่นั้นดำรงกันอยู่แบบ “Local Group” คือการอยู่กันเป็นกลุ่มก้อนในพื้นที่ของตัวเอง ซึ่งการจะเดินทางจากกาแลกซี่หนึ่งไปยังอีกกาแลกซี่หนึ่งได้นั้น จะต้องผ่านช่องว่างระหว่าง Local Group ที่เป็นจุดบอดของจักรวาล เป็นที่มืดมิดในอวกาศไม่มีดาวฤกษ์ ไม่มีแสง แถมยังต้องใช้เวลาเป็นล้านล้านปีในการเดินทาง (ด้วยยานอวกาศที่เร็วที่สุด ณ ปัจจุบัน) เพราะแบบนั้นความจะเป็นไปได้สำหรับเราที่น่าจะใกล้ความจริงมากที่สุดคือการมองหาสิ่งมีชีวิตต่างดาวในกาแลกซี่ Milky Way ของเราเองนี่แหละ

ขอบคุณรูปภาพจากช่อง Kurzgesagt – In a Nutshell

กาแลกซี่ Milky Way นั้นมีดาวเคราะห์ประมาณ 4 แสนล้านดวง มีดาวฤกษ์ประมาณ 2 หมื่นล้านดวง ซึ่งแต่ละระบบของดาวฤกษ์เราพบเจอดาวที่อยู่ใน “Habitable Zone” หรือโซนที่ดาวเคราะห์โลกอยู่นั่นเอง โดยมันคือช่วงระยะจากดาวดวงนั้นถึงดาวฤกษ์ที่พอเหมาะพอดีต่อการเกิดสิ่งมีชีวิตบนดาวเคราะห์ ซึ่งมีแค่ 0.1% จากทั้งหมด หรือประมาณ 1 ล้านดวงดาวเท่านั้นใน Milky Way ที่น่าจะมีสิ่งมีชีวิตอยู่

ขอบคุณรูปภาพจากช่อง Kurzgesagt – In a Nutshell

ซึ่งนับจากการระเบิดครั้งใหญ่หรือ Big Bang แล้วนั้น Milky Way ของเรามีอายุประมาณ 13,000 ล้านปี โดย ณ ตอนแรก ปัจจัยโดยรวมนั้นไม่ค่อยเอื้อต่อการให้กำเนิดสิ่งมีชีวิตมากนัก เพราะเกิดการระเบิดยังมีอยู่มากมายทั่วจักรวาลหลังจากการระเบิดครั้งใหญ่ และประมาณ 1 พันล้านปีต่อมา จึงเริ่มเกิดดาวที่อยู่ใน Habitable Zone ดวงแรกเกิดขึ้น ซึ่งโลกมีอายุเพียงแค่ 4 พันล้านปี เท่านั้น นั่นแปลว่ามีสิ่งมีชีวิตที่น่าจะเกิดก่อนเรา และมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอย่างมากที่มาก่อนเราถึงประมาณ 9 พันล้านปี เลยทีเดียว ซึ่งเราสามารถแบ่งความเจริญทางอารยธรรม (Type of Civilizations) ได้ 3 แบบดังนี้ ตามสเกลของ Kardashev (Kardashev Scale)

ขอบคุณรูปภาพจากช่อง Kurzgesagt – In a Nutshell

  • แบบแรก (Type 1) เผ่าพันธ์ุที่สามารถใช้งานทุกอย่างที่เป็นพลังงานบนดาวดวงนั้นได้ เช่น แร่ธาตุ น้ำ พลังงานธรรมชาติ ภูเขาไฟ ซึ่งเป็นแบบที่เผ่าพันธุ์มนุษย์นั้นอยู่ และกำลังพัฒนาอยู่ในช่วงที่ 73% จนจะสิ้นสุด และก้าวผ่านแบบแรกไปได้ โดยอาจจะใช้เวลาอีกประมาณ 100-200 ปีด้วยกัน

ขอบคุณรูปภาพจากช่อง Kurzgesagt – In a Nutshell

  • แบบที่สอง (Type 2) เผ่าพันธุ์ที่สามารถควบคุมการใช้พลังงานทั้งหมดของดาวฤกษ์ของตัวเองได้ เป็นการใช้ประโยชน์จาก “Dyson Sphere” (ชื่อที่ใช้เรียกกันในนวนิยายวิทยาศาสตร์) เพื่อครอบทับกับดาวฤกษ์ ใช้ควบคุม และดูดพลังงานจากดาวฤกษ์ดวงนั้น

ขอบคุณรูปภาพจากช่อง Kurzgesagt – In a Nutshell

  • แบบที่สาม (Type 3) เผ่าพันธุ์ที่อาศัย และควบคุมอยู่ทั่วไปในกาแลกซี่ อยู่กันเป็นอาณานิคม พูดง่าย ๆ ว่าครองกาแลกซี่นั้น ๆ ไปแล้ว และยังใช้ประโยชน์ได้จากทุกอย่างในกาแลกซี่นั้น ๆ ซึ่งหากเราใช้เวลาประมาณ 2 ล้านปี เราจะสามารถกลายเป็น Type 3 ได้ และมีอาณานิคมกระจายอยู่ทั่วกาแลกซี่

ซึ่งหากเราต้องใช้เวลาขนาดนั้นเพื่อครอบคลุมอาณานิคมทั่้วกาแลกซี่ แล้วสิ่งมีชีวิตต่างดาวอื่น ๆ ที่อยู่มาก่อนเรามาเกือบ 10 ล้านล้านปี หละ ? เผ่าพันธุ์เหล่านั้นน่าจะครองกาแลกซี่ไปนานแล้ว แล้วพวกเขาอยู่ไหนกัน?

ขอบคุณรูปภาพจากช่อง Kurzgesagt – In a Nutshell

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ทฤษฏี Fermi Paradox ต่อไปนี้จะเป็นทฤษฏีที่อธิบายเหตุผลว่าทำไมเราถึงไม่เคยเจอสิ่งมีชีวิตต่างดาวมาก่อนเลย โดยทฤษฏี Fermi Paradox นั้นถูกตั้งตามชื่อของนักฟิสิกส์ชาวอิตาลี่คนหนึ่งชื่อ “Enrico Fermi” ผู้เชี่ยวชาญด้านการตั้งทฤษฏีต่าง ๆ รวมถึงการทดลอง และมีผลงานทางด้านวิทยาศาสตร์มากมายในอดีต

ขอบคุณรูปภาพจากช่อง Kurzgesagt – In a Nutshell

ก่อนอื่นต้องพูดถึง “The Great Filter” หรือกำแพงแห่งการวิวัฒนาการกันก่อน ซึ่งกำแพงที่พูดถึงนี้คือตัวสกัดกั้นการวิวัฒนาการของแต่ละเผ่าพันธ์ุ อาจจะเป็นเหตุการณ์อะไรก็ตาม ที่ทำให้เราไม่สามารถพัฒนาเผ่าพันธุ์ต่อไปได้ หรืออาจจะสูญพันธุ์ไปเลย โดยทฤษฏีนี้ตั้งเหตุการณ์ที่เป็นไปได้เอาไว้ 2 แบบ

ขอบคุณรูปภาพจากช่อง Kurzgesagt – In a Nutshell

  • เหตุการณ์ที่ 1 (Scenarios 1) เราอยู่ข้างหน้ากำแพง ซึ่งก็คือเราเป็นเผ่าพันธุ์ที่สามารถก้าวผ่านกำแพงแห่งการวิวัฒนาการมาได้ มีความก้าวหน้ามากที่สุด และไม่สูญพันธุ์ไปเพราะกำแพง ส่วนเผ่าพันธุ์อื่น ๆ นั้นไม่สามารถก้าวผ่านกำแพงมาได้ จึงสูญพันธ์ไป เราจึงไม่เจอใครเลย และเป็นเผ่าพันธุ์เดียวในกาแลกซี่

ขอบคุณรูปภาพจากช่อง Kurzgesagt – In a Nutshell

  • เหตุการณ์ที่ 2 (Scenarios 2) เราอยู่ข้างหลังกำแพง อันนี้คือสิ่งที่ไม่อยากเกิดขึ้นมากที่สุด เพราะเรากำลังจะเจอกับหายนะเร็ว ๆ นี้ เพราะไม่มีใครทราบว่ากำแพงที่ว่านี้คืออะไร และกำแพงนั้นกำลังจะทำให้เราเจอกับจุดจบของเผ่าพันธุ์ ซึ่งเราจะสามารถสังเกตได้จากการที่เราจะเจอกับสิ่งมีชีวิตต่างดาวที่มีเทคโนโลยีสูงมาก และมี Type ที่สูงกว่าเรา (อาจจะเป็นได้ทั้ง 2 และ 3)

และถ้าหากเราเจอสิ่งมีชีวิตต่างดาว หรือมนุษย์ต่างดาวจริง ๆ แปลว่าเผ่าพันธุ์ของเขาต้องมาจากระบบดาวที่ห่างออกไปมาก ๆ ซึ่งแปลว่าเขามีเทคโนโลยีที่สูงกว่าเรา และเป็น Type ที่สูงกว่าเราเช่นกัน และนั่นแปลว่ามีโอกาสสูงมากที่เราจะยังไม่ได้ก้าวผ่านกำแพงมา และถึงพวกเขาเหล่านั้นจะมาด้วยจุดประสงค์ดี และเป็นมิตร ก็อาจจะไม่ได้แปลว่าเป็นเรื่องที่ดีต่อเราอยู่ดี เพราะเราอาจจะได้เจอกับ The Great Filter ที่จะทำให้เราสูญพันธุ์ไปในที่สุด

ขอบคุณรูปภาพจากช่อง Kurzgesagt – In a Nutshell

แต่ถึงยังไงเรื่องนี้ก็ยังเป็นแค่ทฤษฏี ทฤษฏีหนึ่งเท่านั้น อย่าเพิ่งได้ตกใจไป และก็ยังไม่มีการยืนยันแต่อย่างใดว่าเราได้พบเจอกับมนุษย์ต่างดาวเข้าแล้ว เพียงแต่คลิปที่กองทัพสหรัฐที่ได้ออกมายืนยันนั้นคือ UFO – Unidentified Flying Object หรือก็คือ อากาศยานบิน ที่ไม่สามารถระบุได้ว่าคืออะไร ซึ่งเอาจริง ๆ ก็น่าสนใจเหมือนกันนะ ขนาดที่ว่ากองทัพสหรัฐยังยืนยันไม่ได้ว่าคืออะไร แถมถ้าเราไปศึกษาดูในบันทึกของคนที่ได้พบเจอกับ UFO เหล่านั้นก็ดูน่ากลัวมาก ๆ อีกต่างหาก (อ่านได้ที่นี่)

ที่มา: Kurzgesagt – In a Nutshell: 1, 2, 3   Wikipedia: Enrico Fermi, Dyson Sphere 

Play video

Play video

Play video

 

 

 

พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส