ใน 2-3 ปีมานี้ค่ายรถยนต์ทั้งยุโรปและเอเชียต่างนำรถยนต์ไฟฟ้าเข้ามาเปิดตัวในไทยอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ BEV หรือ PHEV ทยอยเปิดตัวอย่างคับคั่ง ด้วยความที่ยุคนี้น้ำมันแพงและเทรนด์ในการรักษ์โลกทำให้ผู้ใช้งานในไทยเกิดความสนใจในรถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น แต่หลาย ๆ คนยังกังวลกับการนำไปใช้ต่างจังหวัดและนอกเมืองว่ามีสถานีชาร์จเพียงพอหรือไม่ และภาครัฐมีส่วนผลักดันอย่างไร ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นคำถามที่หลายคนกังวลและสงสัยเพราะเป็นปัจจัยที่เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้คนหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น
จากการสำรวจ จากธนาคารกรุงศรีอยุธยา 2021 พบว่าปัจจัยที่ทำให้คนซื้อรถยนต์ไฟฟ้าเพราะค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่า นอกจากจะมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยแล้ว ยังลดมลภาวะได้มาก ถึงแม้ว่าสถานีชาร์จไฟยังมีจำนวนที่ไม่ครอบคลุม และระยะทางการขับขี่ต่อการชาร์จหนึ่งครั้งที่สั้น ใช้เวลาการชาร์จนาน แม้ว่าราคารถยนต์ไฟฟ้าจะมีราคาที่ถูกลงแต่ก็ยังสูงกว่ารถเครื่องยนต์สันดาป ซึ่งเหตุผลที่กล่าวมาล้วนเป็นอุปสรรคสำคัญของการตอบรับรถยนต์ไฟฟ้าในไทย
ภาครัฐเสนอแผนกระตุ้นการใช้รถยนต์ไฟฟ้า ภายใน 5 ปี
เมื่อปีที่แล้วภาครัฐได้เสนอแผนกระตุ้นการใช้รถยนต์ไฟฟ้า ภายใน 5 ปี โดยมุ่งส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้าทั้งประเภทสองล้อ สามล้อ และสี่ล้อไฟฟ้า และวางแผนจัดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้า (Charging Station) สำหรับรถยนต์และรถจักรยานยนต์ รวมทั้งส่งเสริมการจัดตั้งศูนย์ทดสอบมาตรฐานแบตเตอรี่และการบริหารจัดการซากแบตเตอรี่ที่เกิดจากการใช้งานภายในประเทศอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมาตรการกระตุ้นการใช้รถยนต์ไฟฟ้าจะส่งเสริมการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิต การเตรียมการด้านการบริหารจัดการซากรถยนต์แบตเตอรี่ใช้แล้ว โดยคำนึงถึงความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก ตามมาตรฐานสากล (Ecosystem) เพื่อส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าพลังงานสะอาด อีกทั้งยังส่งเสริมการผลิตและการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าดำเนินนโยบายไปอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นรูปธรรมและทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอีกด้วย
นอกจากจะเสนอนโยบายกระตุ้นการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในไทยแล้วยังออกส่วนลดเพื่อกระตุ้นการซื้อ โดยรัฐทุ่มงบกว่า 40,000 ล้านบาท เป็นเงินอุดหนุนสำหรับซื้อรถอีวีสูงสุดคันละ 150,000 บาท รวมอยู่ในส่วนลด 2 แพ็กเกจคือ
- รถราคาต่ำกว่า 2,000,000 บาท รับส่วนลด 500,000 บาท
- รถราคาสูงกว่า 2,000,000 ล้านบาท รับส่วนลด 700,000 – 800,000 บาท
สร้าง Ecosystem ในไทยให้ลูกค้ามั่นใจ
ซึ่งการที่จะทำให้คนมั่นใจและตัดสินใจเลือกใช้ Ecosystem ในไทยต้องแข็งแกร่งก่อน หลาย ๆ แบรนด์ที่ทำตลาดในไทยนอกจากภาครัฐส่งเสริมแล้วทางผู้จำหน่ายเองก็ต้องสร้าง Ecosystem ให้กับกลุ่มลูกค้าได้มั่นใจในการใช้งานด้วยอย่าง MG เคยนิยาม EV Ecosystem ไว้ MG ให้ความสำคัญกับการสร้างระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้าหรือ EV Ecosystem ที่แข็งแกร่ง โดยจะดำเนินการใน 4 ด้านหลัก ได้แก่
- การพัฒนาและนำเสนอผลิตภัณฑ์ยานยนต์ไฟฟ้าที่หลากหลาย เพื่อให้สอดรับกับรูปแบบการใช้งาน ความต้องการ และไลฟ์สไตล์ของแต่ละกลุ่มลูกค้า เพิ่มความสะดวกด้วยเทคโนโลยี V2L ที่ไม่ว่าคุณจะอยู่นอกบ้านหรือในที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ก็สามารถใช้รถยนไฟฟ้าของคุณจ่ายไฟกลับคืนได้ นอกจากนี้ MG ยังมีแผนเปิดตัวรถ EV อย่างน้อย 3 รุ่น ประเดิม Bangkok International Motor Show 2022 (BIMS2022) ไตรมาสแรกของปีนี้
- มีการพัฒนาและการจัดการแบตเตอรี่รถยนต์พลังงานไฟฟ้า โดยทาง MG ได้ลงทุนกว่า 2,500 ล้านบาท เพื่อสร้างโรงงานผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า รวมถึงยังอยู่ในระหว่างการศึกษาและวิจัยในเรื่องของวิธีการจัดการแบตเตอรี่รถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่ไม่ได้ใช้งานแล้วอีกด้วย นอกจากนี้การรับประกันแบตเตอรี่ของรถยนต์ไฟฟ้าของ MG มีการรับประกันมากถึง 8 ปี
- สร้างและขยายเครือข่ายสถานีชาร์จให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ เพื่อรองรับการใช้งานอย่างแพร่หลาย สิ่งสำคัญคือการอำนวยความสะดวก และเสริมความมั่นใจในการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้า MG จึงเดินหน้าสร้างและขยายเครือข่ายสถานีชาร์จให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ รวมถึงยังเป็นการปลดล็อกความกังวลเรื่องระยะทางการใช้งานต่อการชาร์จเต็มหนึ่งครั้ง ด้วยจำนวนสถานีชาร์จนอกบ้านที่มีให้บริการตลอดเส้นทาง โดยทุก ๆ 150 กิโลเมตรจะต้องมีเครือข่ายสถานีชาร์จอย่างน้อย 1 แห่ง โดยจับมือร่วมกับ PEA, บางจาก และ EGAT เพื่อขยายสถานีชาร์จ EV กว่า 500 แห่ง (ซึ่งปัจจุบัน MG มีสถานีชาร์จไฟฟ้าเปิดให้บริการแล้วกว่า 120 แห่งทั่วประเทศ)
- เร่งสร้างความรู้พื้นฐานและความเข้าใจเกี่ยวกับรถยนต์พลังงานไฟฟ้าไปยังกลุ่มคนรุ่นใหม่ การสร้างความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับ EV ไปยังกลุ่มคนรุ่นใหม่ นับเป็นแกนหลักสำคัญสู่การเติบโตที่ยั่งยืนของ EV ในเมืองไทย MG ได้วางแผนที่จะเข้าไปสร้างความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และเตรียมความพร้อม ให้คนรุ่นใหม่เป็นกำลังสำคัญในการผลักดันสังคมยานยนต์ไฟฟ้าในไทยให้เกิดขึ้นได้ไวมากยิ่งขึ้น รวมถึงเป็นผู้ร่วมกำหนดมาตรฐานใหม่ของรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในอนาคต
เรียกได้ว่า MG ได้มีการวางแผน Ecosystem อย่างครบครันเพื่อให้ลูกค้ามั่นใจในการใช้งานและพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าให้เติบโตอย่างยั่งยืนในไทยสู่มาตรฐานอุตสาหกรรมยานยนต์โลก ทำให้ผู้ใช้รถ EV ไม่ต้องกังวลเรื่องระยะทางที่วิ่งได้ต่อการชาร์จหนึ่งครั้ง เพราะ มีสถานีชาร์จที่ครอบคลุมทั่วประเทศรองรับทุกการเดินทาง
ตารางอัปเดต EV Ecosystem
โดยเปรียบเทียบแบรนด์ที่อยู่ในตลาดรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ซึ่ง MG เป็นหนึ่งแบรนด์ที่มีมีองค์ประกอบ EV Ecosystem เยอะและพร้อมที่สุด
EV Ecosystem ของ MG | EV Ecosystem ของแบรนด์อื่น ๆ ในระดับราคาเดียวกัน | |
สถานีชาร์จ DC ที่ผู้ผลิตเป็นเจ้าของ | มีสถานีชาร์จ MG Super Charge แล้ว 120 แห่งทั่วประเทศไทย | ตั้งเป้าขยายสถานีชาร์จฯ ให้ได้ 55 แห่ง ภายในปี 2565 |
พันธมิตรสถานีชาร์จ | มีแผนติดตั้งเพิ่มเติมอีกกว่า 500 แห่ง หรือทุก 150 กิโลเมตร โดยมีการร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน อาทิ PEA, EGAT, MEA และ บางจาก | วางแผนติิดตั้งสถานที่สำคัญ ๆ เช่น ร้านอาหาร, โรงแรม, ห้างสรรพสินค้า เน้นไปที่อำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าตามสถานที่ไลฟ์สไตล์ต่าง ๆ |
แบตเตอรี่ | เตรียมตั้งโรงงานประกอบแบตเตอรี่ในประเทศ รวมถึงอยู่ในระหว่างการศึกษาและวิจัยในเรื่องของวิธีการจัดการแบตเตอรี่รถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่ไม่ได้ใช้งาน | อยู่ระหว่างการศึกษาวิจัยเทคโนโลยีแบตเตอรี่ |
การศึกษา | อยู่ในระหว่างพูดคุยกับสถาบันการศึกษาของประเทศไทยเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ให้คนรุ่นใหม่ในการผลักดันสังคมยานยนต์ไฟฟ้าในไทยให้เกิดขึ้นได้ไวมากขึ้น | วิจัยการนำนวัตกรรมเทคโนโลยีมาเป็นแกนหลักในการพัฒนาพลังงานใหม่ |
ต้องบอกว่าเดี๋ยวนี้รถยนต์ไฟฟ้า เทรนด์การใช้รถยนต์ไฟฟ้าในไทยเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นนอกจากราคาที่เอื้อมถึงแล้ว ระบบต่าง ๆ ดีขึ้นแบบเห็นได้ชัดและที่สำคัญคือเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พอ Ecosystem แข็งแกร่งทำให้เกิดการกระตุ้นการซื้อแน่นอนว่าถ้าคนหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้ากันมากขึ้น เกิดการแข่งขันทำให้ส่งผลดีต่อผู้บริโภคเพราะมีตัวเลือกให้มากมายและที่สำคัญราคาเข้าถึงง่ายอีกด้วย
พอรถยนต์ไฟฟ้าราคาถูกลงเราต้องให้ความสำคัญกับเรื่องอะไรบ้าง
- สิ่งสำคัญที่เราต้องรู้สิ่งแรกคือระบบไฟฟ้าของรถที่เราต้องการก่อนเลย ว่าใช้ระบบไฟฟ้า AC หรือ DCซึ่ง AC และ DC คือระบบการชาร์จกระแสไฟฟ้า
- DC คือกระแสตรง เป็นการชาร์จผ่านสถานีชาร์จเท่านั้น ตามสถานที่ต่าง ๆ เช่นห้างสรรพสินค้า, ปั้มน้ำมัน หรือศูนย์ชาร์จรถยนต์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นการชาร์จโดยตรงเข้าแบตเตอรี่ โดยไม่ผ่าน On Board Charger เหมาะสำหรับการชาร์จ ด่วนชาร์จเร็ว ใช้ระยะเวลาในการชาร์จน้อย
- AC กระแสสลับ เป็นการชาร์จไฟบ้านโดยติดตั้ง Wall Charger โดยการชาร์จแบบนี้ ไฟไฟ้ต้องวิ่งผ่าน On Board Charger ภายในตัวรถยนต์ไฟฟ้า เพื่อจะต้องแปลงไฟกระแสสลับเป็นกระแสตรงแล้วชาร์จเข้าแบตเตอรี่รถยนต์ ข้อเสียคือใช้เวลานานกว่าปกติจึงเหมาะสำหรับการชาร์จทิ้งไว้ตอนกลางคืนแล้วใช้งานตอนกลางวันมากกว่า
- อัตราระยะทางและค่าหน่วยของพลังงานไฟฟ้า การคำนวนหน่วยต่อระยะทางแบบง่าย ๆ โดยคำนวนจาก เอาค่าไฟตั้งแล้วหารด้วยระยะทางที่วิ่งได้ ในกรณีที่บ้านมี TOU ก็จะยิ่งถูกลงไปอีก
- หัวชาร์จนอกสถานที่มีแบบอะไรบ้าง EV Station การซื้อรถ จะต้องคำนึงถึงการทำความรู้จักหัวชาร์จแต่ละแบบ เพราะรถบางรุ่นบางนี่ห้อจะมีหัวชาร์จไม่เหมือนกัน โดยจะมีแบบหลัก ๆ อยู่ 3 แบบคือ AC ( Type1/ Type2) DC Chademo และ DC CCS โดย ABB EV Charger รุ่น Terra DC Charging Station 53 ซึ่งง่าย ๆ คือก่อนซื้อรถไฟฟ้าให้ดูด้วยว่าใช้หัวชาร์จแบบไหนบ้าง
- ระยะเวลาในการชาร์จไฟฟ้า การเลือกซื้อรถก็จะต้องดูสเปกของขนาดอุปกรณ์เก็บประจุไฟฟ้า ว่าสามารถรับแรงอัดในการชาร์จไฟเข้าได้มากขนาดไหน ถ้าสามารถรับได้สูงก็จะทำให้ลดระยะเวลาการชาร์จลงได้
การจะซื้อรถยนต์ไฟฟ้าใช้สักคันต้องดูละเอียดเหมือนกันนะเนี่ย นอกจากจะมีตัวเลือกที่เยอะแล้วคุณภาพก็สำคัญมาก ๆ เช่นกันไม่ใช่ดูแค่ Feature แต่ต้องดูระบบด้วย เพราะถ้าเกิดปัญหาขึ้นมาจะเสียใจเอาทีหลัง
อย่างที่บอกตั้งแต่เริ่มต้นว่าเทรนด์รถยนต์ไฟฟ้ากำลังมา เพราะฉะนั้นการสร้าง Ecosystem จึงเป็นสิ่งที่สำคัญนอกจากจะสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าแล้วยังเกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศเพื่อให้ทัดเทียมอุตสาหกรรมยานยนต์โลกนำไปสู่ความยั่งยืนในไทย อย่าง MG ที่เปิดแผนพัฒนา Ecosystem ให้กับกลุ่มลูกค้าได้มั่นใจในการใช้งาน