หลังจากกระแส ‘ปลาหมอคางดำ’ มาแรงแซงทุกโค้งแถมมาพร้อมกับคำว่า ‘เอเลี่ยนสปีชีส์’ ที่เข้ารุกรานแหล่งน้ำไทย วันนี้ BT BUZZ ขอพาลูกเพจไปดู ‘เอเลี่ยนสปีชีส์’ จากโลกภาพยนตร์ที่เคยรุกรานโลกของเรา ไปดูกันเลยว่าจะมีเอเลี่ยนตัวไหนที่คุณคุ้นบ้าง!
![](https://www.beartai.com/wp-content/uploads/2024/07/alien-species.jpg)
Joined 22/01/2014
Articles 2538
ในช่วงเช้าวันที่ 25 ก.ค. 2024 ทีมงาน BT ได้มีโอกาสร่วมงานแถลงข่าวของ Meta เกี่ยวกับอนาคตของ Facebook โดยคุณ Tom Alison ตำแหน่ง Head of Facebook ของ Meta ...อ่านต่อ
RTB Technology ตัวแทนจำหน่ายแบรนด์ Energea เปิดตัว MagCube แท่นชาร์จแม่เหล็กไร้สายตั้งโต๊ะ 3-in-1 ที่ใช้มาตรฐาน Qi2 ซึ่งเป็นมาตรฐานการชาร์จไร้สายใหม่ล่าสุด ...อ่านต่อ
หลังจากกระแส ‘ปลาหมอคางดำ’ มาแรงแซงทุกโค้งแถมมาพร้อมกับคำว่า ‘เอเลี่ยนสปีชีส์’ ที่เข้ารุกรานแหล่งน้ำไทย วันนี้ BT BUZZ ขอพาลูกเพจไปดู ‘เอเลี่ยนสปีชีส์’ จากโลกภาพยนตร์ที่เคยรุกรานโลกของเรา ไปดูกันเลยว่าจะมีเอเลี่ยนตัวไหนที่คุณคุ้นบ้าง!
จากกรณีปัญหาที่ส่งผลกระทบกับอุปกรณ์ Windows ในขณะนี้ ไมโครซอฟท์ ขอชี้แจงอย่างเป็นทางการดังนี้
หลายคนอาจรู้จักผลิตภัณฑ์ซีรีส์ Jabra PanaCast กล้องวิดีโอสำหรับห้องประชุมกันดีนะครับ เพราะพัฒนาต่อเนื่องมานานหลายปี ซึ่ง BT ก็เคยรีวิวด้วย ล่าสุด Jabra โชว์ PanaCast 50 intelligent ...อ่านต่อ
โรเนียว (Roneo) ชื่อนี้เด็กหลายคนอาจไม่คุ้นเคย แต่สำหรับเด็กหนวดอย่างแอดแล้ว เรียกว่าโตมากับโรเนียวเลยก็ว่าได้ ยิ่งข้อสอบของเด็กในยุค 90s, 2000s ในหลาย ๆ โรงเรียนจะใช้วิธีโรเนียวในการผลิตข้อสอบแต่ละชุดมาให้นักเรียนได้สอบกัน
โรเนียวเป็นกระบวนการพิมพ์กระดาษจำนวนมากอย่างหนึ่ง โดยจะทำต้นฉบับบนกระดาษไขก่อน ถ้าเก่าแก่จริง ๆ จะใช้เครื่องพิมพ์ดีด พิมพ์ตัวอักษรลงบนกระดาษไข แรงกระแทกจากการพิมพ์จะทำให้กระดาษไขทะลุและหมึกสามารถซึมตามรอยตัวอักษรออกมาที่กระดาษได้ (ส่วนที่ไม่ใช่ตัวอักษร ก็จะถูกไขในกระดาษกั้นหมึกไว้ไม่ให้สัมผัสกับกระดาษที่จะพิมพ์) ซึ่งถ้าพิมพ์ผิด ก็จะใช้น้ำยาแต้มจุดที่ผิดเพื่อถมรอยไม่ให้หมึกซึมออกมา แล้วเขียนอักษรที่ถูกต้องต่อไปแทน
ในยุคต่อมาก็พัฒนามาเป็นการพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์หัวกระแทก (Dot-matrix) ที่สามารถเจาะกระดาษไขได้เหมือนกัน ซึ่งทำให้การทำต้นฉบับเสร็จได้เร็วขึ้น ไม่ต้องแก้ที่ละจุดเหมือนทำด้วยเครื่องพิมพ์ดีดแล้ว เพราะแก้จากคอมพิวเตอร์ให้เรียบร้อยก่อนพิมพ์ลงกระดาษไขได้เลย
ซึ่งเมื่อต้นฉบับเสร็จบนกระดาษไขแล้ว ก็จะเอาต้นฉบับนี้ไปติดกับลูกกลิ้งหมึก แล้วก็กลิ้งลงไปบนกระดาษ หมึกก็จะซึมลงมาเป็นตัวอักษรตามกระดาษไข ซึ่งเมื่อก่อนจะใช้แรงคนในการหมุนลูกกลิ้งนี้ จนต่อมาก็มีเครื่องโรเนียวไฟฟ้าที่ทำงานได้ต่อเนื่อง ทำให้วิธีการโรเนียวเป็นวิธีการทำซ้ำกระดาษที่มีต้นทุนถูกมาก แต่โรเนียวก็มีข้อจำกัดเรื่องความชัดเจนของงานพิมพ์นะ คือถ้าเป็นข้อสอบที่เป็นตัวหนังสือจะไม่เป็นอะไร แต่ถ้าเป็นภาพที่ต้องมีการไล่สี อันนี้งานหยาบเลย เพราะโรเนียวไล่สีดำไม่ได้เรื่องเลย