แมว จิรศักดิ์ ปานพุ่ม ชื่อที่ชาวร็อกแห่งยุคสมัยต่างคุ้นเคย กับช่วงเวลาที่เปลี่ยนผ่านจากยุค เทปคาสเซ็ตต์ สู่ ซีดี จากการออกเพลงเป็นอัลบั้มผันเป็นซิงเกิล ออกกันทีละเพลง เดินทางมาจนถึงปัจจุบัน กับบริบทการฟังเพลงที่เปลี่ยนไป ฟังเพลงสตรีมมิงกันเสียส่วนใหญ่ และที่ปฏิเสธไม่ได้ที่ส่งผลกระทบกับคนทั่วโลกก็คือการระบาดของ Covid – 19 พี่แมวปรับตัวอย่างไร กับยุคสมัยที่ผ่านเลย กับบทบาทผู้บริหารที่ต้องนำนาวา “YES i AM” ให้ถึงฝั่งฝัน ตามมาครับ
beartai: มองตลาดเพลงไทยยังไงครับ?
จิรศักดิ์: คือตั้งแต่ยุคแรกเริ่ม สิ่งที่เราค้นหามาตลอดมันมีช่องทางการจัดจำหน่าย ไม่ว่าจะยุคคาสเซ็ตต์ ยุคซีดี พอมาเปลี่ยนเป็นดิจิทัล ก็ต้องหาช่องทางการจัดจำหน่ายต่อไป เปลี่ยนมาเป็นดิจิทัลมันก็จะเป็นพวกอยู่บน สตรีมมิง อยู่บนอะไรไป แล้วพอมาถึงยุคนี้ พอมันมาเป็นยุคของ NFT มันก็เป็นดิจิทัลอีกรูปแบบนึง เพียงแต่ว่ามันจะไม่ใช่เป็นรูปแบบของสตรีมมิงอะไรล่ะ มันจะเป็นรูปแบบของการถือครองงานชิ้นหนึ่ง ที่ถือครองได้เพียงคนเดียวแล้วก็มีชิ้นเดียว แต่บางคนอาจจะทำเป็นหลายเอดิชันในนั้นแล้วแต่ เดี๋ยวเราค่อยว่ากันมันก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของช่องทางการจัดจำหน่าย ผมมองอย่างนี้ ถามว่าแล้วรูปแบบเดิมยังอยู่ไหม มันก็ยังอยู่แหละ จริง ๆ ทุกวันนี้ก็ยังเห็นร้านขายซีดี ร้านอะไรยังมีอยู่กันปกติ เพียงแต่ว่าช่องทางที่มันผุดเกิดขึ้นมา อย่าง NFT มันเป็นช่องทางที่ตอนนี้โลกกำลังมาเส้นทางนี้กัน แล้วก็ช่องทางการจัดจำหน่ายในรูปแบบของการเล่นไลฟ์ การคอนเสิร์ต มันก็เริ่มมาเป็นพวกเมตาเวิร์ส อย่างที่ผ่านมาตอนโน้นที่ จัสติน บีเบอร์ เล่นไลฟ์บนแซนด์บ็อกซ์ หรือดีเซ็นทรัลแลนด์ จำไม่ได้ว่าเป็นอะไร คนก็เข้ามาดูกันถล่มทลายรูปแบบช่องทางมันเปลี่ยนไป มองแค่นั้น ไม่ได้มองว่ามันเป็นความลำบากหรือเป็นอะไรที่เราต้องทรมานกับมัน เหมือนยุคนึงที่พอสายอนาล็อก เรียกว่าสายอนาล็อก จากอนาล็อกมาเปลี่ยนเป็นดิจิทัล บอกว่าเคว้งคว้างหาจุดอะไรไม่เจอ จะทำยังไงดี เราอยู่กับเหมือนไปตามกระแสน้ำ ในเมื่อพอมันเป็นจับต้องได้ เราก็ขายแบบจับต้องได้ แต่พอมันเริ่มไปดิจิทัลมันเริ่มจับต้องไม่ได้มันเริ่มไปอยู่บนอากาศ อยู่ในอากาศ อยู่พื้นที่ใดที่หนึ่ง เป็นสตรีมมิงแต่มันก็ไม่ได้เลวร้าย แต่พอถึงจุดหนึ่งระบบสตรีมมิงก็เริ่มไม่ค่อยเวิร์ก ไม่ค่อยตอบโจทย์ มันก็เริ่มมีการเติบโตของยูทูบ เกิดขึ้นในยุคหนึ่งแล้วทุกวันนี้ก็ยังเติบโตอยู่ มันก็เริ่มมาเป็นดิจิทัลในรูปแบบของภาพ ตอนแรกดิจิทัลในรูปแบบของเสียง ก็เป็นเรื่องของสตรีมมิงยุคนั้นแอปเปิ้ล เรียกว่าไอจูนนี้บอกว่าถล่มทลายมาก แต่พอเอาเข้าถึงวันนี้นะ คนก็ไม่ค่อยฟังสตรีมมิงกันแล้ว คือหมายถึงว่ารายได้จาก สตรีมมิงแทบจะน้อยมาก แทบจะไม่ค่อยมี แต่จะไปอยู่ที่ยูทูบแทน เพราะคนฟังยูทูบห็นทั้งภาพได้ยินทั้งเสียง แล้วก็ยังครองตลาดอยู่แต่พอมาถึงวันนี้ พอมันมาเป็นในรูปแบบของ NFT มันก็เป็นดิจิทัลแอสเซ็ตอีกรูปแบบหนึ่ง ที่โลกมันวิวัฒน์ไปตรงนั้น มันเริ่มต้นจากเงินก่อนที่เปลี่ยนระบบการเงินมาเป็นดิจิทัลเคอร์เรนซี พอมันเป็นดิจิทัลเคอร์เรนซี ทุกอย่างมันเปลี่ยนไปหมดเลย มันเริ่มมีการแปลงสินทรัพย์มาเป็นดิจิทัล บางคนก็ขายที่ดินบนเมตาเวิร์ส เขาซื้อที่กันเป็นเรื่องเป็นราว เหมือนที่เราเห็นราคาก็ไม่เบาเลย แต่อยู่บนเมตาเวิร์ส เขาก็ซื้อขายกันอะไรแบบนั้น เพลงก็เหมือนกันจากที่เราซื้อขายกันเป็นฟิสิคอลตอนนี้มันกลายเป็นดิจิตอล เขาซื้อขายเพลงกันแบบนั้นเหมือนกัน ก็มีคนที่บอกว่าทำเพลง ลองนึกภาพเวลาเราทำ ซีดี ทำอัลบั้ม ๆ หนึ่งขึ้นมาแล้วก็ปั๊ม ซีดี มาซัก 1,000 แผ่น
beartai: ก็คือก๊อปปี้เดียวกัน
จิรศักดิ์: แต่ว่าปั๊มออกมา 1,000 หรือ10,000 ชุด NFT ก็เหมือนกัน มีเพลง ๆ นึงแต่ผมปั๊มออกมาเป็น 10 20 เอดิชัน เพราะฉะนั้นคนถือครองก็จะมีประมาณ 10 – 20 คนเหมือนกัน
beartai: แล้วมันเหมือนกันไหม หรือก็ต้องต่างกัน
จิรศักดิ์: เหมือนกันก็คือเพลงเดียวแบ่งออกเป็น 10 ก๊อปปี้
beartai: ก็ขึ้นอยู่ว่าเราจะก๊อปปี้เท่าไหร่
จิรศักดิ์: เราจะขายแบบ 1 ต่อ 1 ก็ได้ก็คือมีชิ้นเดียว คนถือครองจะมีคนเดียว
beartai: เพลงนี้จะมีเจ้าของแค่คนเดียว
จิรศักดิ์: ใช่ แต่ถ้าเกิดมี 10 ก๊อปปี้คนถือครองก็จะมี 10 คน ในเพลงเดียวนี้
beartai: แต่มันต้องกำหนดสิทธิ์ เมื่อสักครู่เข้าใจอย่างนั้น
จิรศักดิ์: แล้วแต่กำหนดเท่าไรก็ได้
beartai: มันน่าจะเป็นอย่างนั้น ถ้าสมมุติว่าถ้า 10 ก๊อปปี้หรือ 100 ก๊อปปี้ สิทธิ์ก็อาจจะได้ฟังเฉย ๆ
จิรศักดิ์: บางทีการกำหนดก๊อปปี้ตรงนี้เป็นเรื่องสำคัญเหมือนกัน เพราะว่างาน NFT คนจะชอบถืองาน 1ต่อ1 แต่พอเป็นงานหลายเอดิชั่นแล้ว มันต้องดูว่างานนั้นมันเป็นงานที่เขาต้องมีจริงหรือเปล่า อย่างสมมติชื่อดังอย่าง พี่เบิร์ด ทำมาร้อยก๊อปปี้ก็ขายหมด เพราะงาน NFT ระดับพี่เบิร์ดอย่าว่าร้อยเลย ผมว่าน่าจะเป็นพันก็ยังน่าจะมีคนซื้อ แต่ว่าตลาด NFT มันก็ต้องดูด้วยว่าตลาดมันใหญ่แค่ไหนในเมืองไทย แต่ถ้าเกิดเป็นเพลงสากล เพลงฝรั่ง เราก็ต้องไปสู้กับคู่แข่งอีกเยอะแยะมากมาย ก็ต้องดูความเหมาะสม แต่ว่าหลักร้อยพี่เบิร์ดขายได้ ก็มาตรงคำถามด้วยว่าตั้งแต่ยุคแอนะล็อกมาจนถึงยุคปัจจุบัน มองว่ามันก็คือช่องทางของการจัดจำหน่ายที่คนทำธุรกิจดนตรีจะต้องมองให้เห็นแล้วอยู่กับมันให้ได้ จริง ๆ มันไม่ได้เป็นเรื่องท้าทายอะไรมากมาย เพียงแต่ว่าเราแค่บางทียึดติดกับรูปแบบอย่างใดอย่างหนึ่ง เรายึดติดกับรูปแบบของจับต้องได้มากเกินไปโดยไม่ปรับตัวเข้าหาดิจิทัลเลย มันก็เป็นความลำบากหรือบางคนที่พออยู่ในโลกดิจิทัลแล้วทิ้งฟิคสิคอลไปเลย บางทีก็ตัดโอกาสตัวเอง คือไม่ได้ลำบากอะไรแต่ว่าโอกาสตัวเอง เพราะว่าคนที่เขาคลั่งไคล้หรือหลงใหลอยู่ในความเป็นอะไรที่มันจับต้องได้ก็ยังมี แล้ววันหนึ่งในความเป็นฟิสิคอลมันจะหวนกลับมา เหมือนอย่างทุกวันนี้ที่เริ่มมีไวนิล มีเทป มีอะไรกลับมาทุกอย่างมันไม่ได้หายไป จริง ๆ แล้วมันแค่วิวัฒน์ไปตามยุคตามสมัยของมัน
beartai: ในมุมองพี่แมว มองว่า NFT มันจะสามารถสร้างรายได้จนนักดนตรีสามารถดำรงชีวิตได้ไหม มันจะมีรายได้เหมือนสมัยที่ได้ส่วนแบ่งจาก CD เทป ไหม มีรายได้จากการแสดงโชว์ไหม หรือในยุคสมัยใหม่มันก็จะกลายเป็นว่านอกจากได้ส่วนแบ่งจากสตรีมมิงแล้วก็รวมยูทูบด้วยละกันถือเป็นออนไลน์แพลตฟอร์ม รวมถึงโชว์ซึ่งโควิดก็โชว์ได้ไม่มากก็คงไม่ได้เต็มที่ จะมองว่าแล้ว NFT มันน่าจะเป็น ช่องทางใหม่ของศิลปินที่จะสามารถอยู่รอดในยุคปัจจุบันได้ไหม รายได้มันแทนกันได้เลยรึเปล่า ในมุมมองพี่แมง
จิรศักดิ์: สำหรับที่ลองทำมาประมาณ 2 – 3 เดือนนี้ ถ้าเอารายได้ ถ้ามาเทียบเคียงกับคำว่ามันเทียบลำบาก มันเทียบกัน อย่างเราไปโชว์ครั้งนึงเราได้เป็นแสน แต่ว่าขาย NFT มันมีความมันต้องทำต้องขยันมาก ๆ ต้องทำงานต่อเนื่อง ต้องทำงานเอง เพราะว่า NFT ในรูปแบบของบริษัท มันก็ต้องผ่านเข้าบริษัท คนที่ทำงานเอง ก็คือได้คนเดียว
beartai: ก็คือถ้าอย่างนั้นก็ต้องแบ่งประเภทของการทำงานถูกไหม ถ้าเกิดเป็นลักษณะของทำเพลงได้ แบบพี่แมวสามารถทำทุกกระบวนการได้เอง ก็มีโอกาสสร้างรายได้ด้วยตัวเองได้ เพราะตัวเองก็เป็นศิลปินด้วย นักดนตรีด้วย ประพันธ์เพลงด้วยก็คือจบ คนนี้มีโอกาสเติบโตได้
จิรศักดิ์: ใช่ แล้วมันมีเรื่องของการตั้งราคา คือแรก ๆ เราอาจจะตั้งราคาไม่สูงมากเพื่อที่จะสร้างฐานให้คนรู้จักคอนเน็กชันของเราก่อน รู้จักงานของเราก่อน ผมตั้งงานขายครั้งแรกแค่ 0.03 อีเธอเรียม มันประมาณ 90 กว่าเหรียญ ตีประมาณ 3,000 บาท ต่อ 1 ชิ้น ต่องาน 1 งาน แล้วบางคนบอกตั้งได้สูงกว่านั้น มองว่าราคาให้มันไล่ขึ้นไปเอง ซึ่งเราไม่ต้องไปกำหนด คือคนที่ชอบงานเราเขาจะแห่เข้ามาซื้อเอง ในวันที่เขารู้จักงานเราแล้วก็ชื่นชอบในงานเรา แล้วก็เห็นวาไรตี้เห็นอะไรต่าง ๆ เขาจะมาเก็บไล่เก็บงานของเราเอง เริ่มต้นเรายังไม่ต้องบอกว่าเกี่ยงเพราะราคาถูก คุณภาพดีแต่ราคาถูกใครจะไม่เอาใช่ไหม ทำงานให้มีคุณภาพดี ๆ ไว้แต่ราคาไม่ต้องแพงมาก แต่ก็ไม่ได้ต่ำจนเกินไป 0.03 กำลังดีสำหรับการเริ่มต้น แล้วมันก็เกิดการซื้อขายเกิดขึ้นเอง มือสองตอนนี้กลายเป็นในคอลเล็กชันผม มีคนที่ซื้อไป 0.03 แต่เอาไปขายที่ 1 อีเธอเรียม
beartai: เท่ากับเอามาตั้งใหม่
จิรศักดิ์: แล้วถ้า 1 อีเธอเรียม เอาเป็นว่า 0.1 ก็คือ 10,000 ถ้า 1 อีเธอเรียม ก็ประมาณ 100,000
beartai: แล้วเราได้ส่วนแบ่งไหม
จิรศักดิ์: ได้ 10%
beartai: เรามาพูดถึงค่ายเพลง Yes I am กันบ้าง
จิรศักดิ์: Yes I am หลายคนไม่รู้ว่ามีงานมีการทำเพราะว่าเวลาโพสต์บนเฟซบุ๊กไม่ได้บอกว่าว่างจริง ๆ ผมทำอยู่ประมาณ 2 ปีแล้วแต่บังเอิญเป็นช่วงที่โควิดมันมาพอดี ศิลปินก็เลยมีการนำเสนอขายงานอะไรบ้าง เพราะว่าอยู่ในช่วงปรับกระบวนถ้ามันออนกราวนด์ไม่ได้โชว์ไม่ได้อะไรไม่ได้ พอเข้าสู่ยุคของ NFT ผมก็เลยไปพัฒนาสกิลในเรื่องของ NFT เพื่อที่จะเอามาพัฒนางานของบริษัทคือ Yes I am ก็เป็นค่ายที่ถ้าพูดถึงยูนิตมันก็จะมี 4 ส่วน ส่วนหนึ่งคือให้บริการด้านดนตรีทำเพลง สมมติพี่อยากจะจ้างทำเพลงองค์กรอยากจะได้พี่ดี้นิติพงษ์ ห่อนาค มาเขียนเนื้อให้อยากจะให้พี่พล Clash มาเรียบเรียงให้ก็จะประสานตรงนี้ให้ อันที่สองก็จะดูแลลิขสิทธิ์ให้เพราะหลายคนทำเพลงได้ แต่ว่าดูแลลิขสิทธิ์ไม่เป็น เวลาเขาเอาเพลงไปใช้ในงานโฆษณางานรายการทีวีไม่รู้จะเรียกเก็บยังไง ไม่มีระบบตรวจสอบเราก็ดูแลให้ ส่วนที่สาม ก็จะเป็นเรื่องของ บริหารจัดการศิลปิน ก็ทั่วไปว่าเราก็ดูแลงานเรื่องขายคิวคอนเสิร์ตเป็นพรีเซ็นเตอร์เอาไปแสดงซีรีส์เล่นละครช่วยบริหารจัดการในเรื่องของอาชีพนักร้องของเขาว่าบางคนไม่มีคอนเน็กชัน คือศิลปินเก่ง ๆ เยอะแต่ว่าเขาไม่มีคอนเน็คชั่น เราก็ช่วยดูแลตรงนี้ให้ รวมไปถึงการตลาดด้วยคือ ส่วนที่ 4 จริง ๆ ทำธุรกิจโชว์ด้วยแต่ว่าตอนนี้มันเป็นเรื่องของเมตาเวิร์สเพราะว่าออนกราวน์ไม่ได้มันก็จะมีเรื่อง Digital Marketing โชว์บิส Musicservice แล้วก็เรื่องของการเผยแพร่
beartai: ตอนนี้มีศิลปินในสังกัดกี่คน
จิรศักดิ์: ก็มีประมาณ 6 – 7 คนแล้วก็มีคัดเพิ่มเติมเข้ามาในค่ายก็จะแบ่งหมวดหมู่เป็นศิลปินที่ร้องเพลงฟังสบาย ๆ หน่อย เพราะ ๆ อย่าง ไอซ์ ธมลวรรณ น้องเบสท์ที่เป็นแชมป์ The Voice จะมีอีก 4 – 5 คนแล้วก็มี Next Generation คือเด็กรุ่นใหม่ที่ทำเพลงเองได้ก็จะเป็นแนวฮิปฮอป R&B แล้วแต่พี่อาจจะมองผมว่าเป็น Rock ไม่มีเพลงร็อกเลยเหรอ
beartai: ใช่ทำไมไม่พูดสักที
จิรศักดิ์: ก็มีลูกทุ่ง ต้องมีแน่ ๆ แต่เป็นลูกทุ่งแบบอาจจะตามยุคตามสมัยในลูกทุ่งอินดี้แล้วก็อันที่ 4 ก็เป็นอินดี้ Indy มีทั้งรูปแบบของวงแล้วก็เดี่ยว คือถามว่าไม่มีร็อกเลยเหรอถ้ามีก็เอามาก็ส่วนใหญ่วงร็อก เขาอยากจะทำเองส่วนใหญ่ก็ที่มีจะเป็นศิลปินเดี่ยวที่ยังไม่สามารถทำงานเองได้เอาจริง ๆ ค่ายเพลงมีบทบาทน้อยมากเพราะว่าคนทำกันเองหมดเพราะฉะนั้นผมเลยวางโพซีชั่นของค่ายไว้ว่าเป็นพี่เลี้ยงจริง ๆ ศิลปินอาจจะไม่ต้องเป็นศิลปินในค่ายอาจจะเป็นศิลปินข้างนอกที่มาจอยกับเราในเรื่องให้เราดูแลสิทธิ์ให้หรือว่าให้เราดูแลงานโชว์ให้หรือลูกค้าที่เป็นองค์กรหน่วยงานหรือแบรนด์อะไรต่าง ๆ อาจจะมาใช้บริการเราในเรื่องของหาพันธมิตรทำเพลงเขียนเนื้อเราก็ประสานเรื่องนี้ให้ทำธุรกิจโชว์
beartai: ทีนี้พี่แบ่งหมวดหมู่ยังไงให้คนมองเขามาที่ YES I AM มันจะมองเป็นยังไงเหมือนสมัยก่อนที่เรามองเห็นแต่ละค่ายก็จะเป็นคนนี้ของตัวเอง ทีนี้บุคลิกของ YES I AM เป็นยังไง
จิรศักดิ์: จริง ๆ บุคลิกของ YES I AM เป็นศิลปินที่เป็นเด็กใหม่เด็กที่แบบว่าเขาจะมีซาวนด์ของเขาเด็กทุกวันนี้ศิลปินที่ทำเพลงเองอย่างน้องแคมป์ มนัสวี อันนี้อาจจะคิดว่าเป็นศิลปินใหม่ปีที่เป็นแนวอินดี้เขาจะเป็นซาวนด์แบบสมัยใหม่ซานวด์แบบเด็ก ๆ ถามว่าตัวที่บอกว่าเป็นร็อกดูเข้ม ๆ ขัง ๆ หน่อยมีไหมคือตรงนั้นเขาสื่อยากจะมีที่เขาจุดยืนแล้วก็เขาไม่มาพึ่งค่ายเพราะฉะนั้นงานของ YES I AM งานที่แบบว่าเด็ก ๆ ใส ๆ เพราะผู้บริหารยังเด็กอยู่ก็จะเป็นแนวนั้นถ้าจะเป็น R&B ฮิปฮอป ก็จะเป็นทางเด็ก ๆ รุ่นนี้
beartai: วาง โรดแมปยังไงในแต่ละปีมีผลงานออกมาสักกี่ซิงเกิลเพราะสมัยยุคใหม่เขาไม่พูดว่าอัลบั้มแล้วมันน่าจะมีศิลปินสักกี่คนหรือว่าสักกี่เพลงเราวางไว้ยังไง
จิรศักดิ์: มีวางไว้อยู่เหมือนกัน จริง ๆ แล้วอาจจะมีวางตั้งแต่ต้นปีแล้วแต่เผอิญสถานการณ์มันไม่เอื้ออำนวยมันก็เลยเลื่อน ๆ ไปแต่เร็ว ๆ นี้ก็จะมีน้องโฟกัสออกมาแล้วเป็นเป็นลูกทุ่ง แต่เป็นลูกทุ่งแต่ไม่ใช่ลูกทุ่งแบบรุ่นเก่านะเป็นลูกทุ่งแบบโอป้าหน่อยถ้าจากตรงนี้ไปถึงปลายปีน่าจะมีสัก 3 – 4 ซิงเกิลเพราะว่ากำลังพัฒนาระบบ ถ้าจบเร็วก็จะอาจมีมากกว่านั้นเพราะว่าไม่ต้องรอคอนเสิร์ตไม่ต้องมาโชว์
beartai: หมายความว่าศิลปินที่ออกมาใหม่ทั้งหลายก็คือจะมุ่งไปสู่เรื่องนี้
จิรศักดิ์: ใช่ตอนนี้ เวิร์กช็อปศิลปินทุกคนเลยจับมาวาดรูป
beartai: ขอรีเชด คือยังไงศิลปินในสังกัดพี่คือจะมีเหมือนปกติคนอื่นเขาทั่วไปเขามีลง Streaming ก็ทำ
จิรศักดิ์: มี
beartai: อันนี้เป็นจุดพิเศษของศิลปินพี่
จิรศักดิ์: ใช่คือจับมาทำ NFT หมดเลยคือถ้าวาดรูปไม่เป็นให้ไอเดียมาแล้วเราก็ปั้นโมเดลให้วาดรูปให้แล้วเพลงก็เป็นเพลงที่มาประกอบอยู่ใน NFT แต่เพลงที่ไปขายบนสตรีมมิง บนยูทูบ ก็จะเป็นอีกอันหนึ่งจะไม่เกี่ยวกับ NFT น้อง ๆ ผมจับทำเวิร์กช็อปไปเมื่อเร็ว ๆ นี้ก็มีความกระตือรือร้นวาดรูปบางคนวาดเป็นอยู่แล้วคนที่ยังไม่เป็นก็หัดวาดรูปพัฒนาด้านแนวความคิด ด้านฝีมือเราไม่ว่ากันเพราะว่าตรงนั้นจริง ๆ เราซัปพอร์ตได้แต่ไอเดียต้องมาจากเขาอยากบางคนอยากวาดต้นกระบองเพชรอยากจะทำคอนเซ็ปต์แนวต้นกระบองเพชรบางคนอยากจะทำแนวแบบว่า หนูชอบกินพี่หนูชอบวาดอะไรที่เกี่ยวกับการกินไอเดียพวกนี้มันน่ารักผมอยากจะให้เขาพัฒนามุมมองตรงนี้เพราะนั้นงาน NFT งานที่ทุกคนทำได้ผมมองว่าทุกคนทำได้อยู่ที่ตัว คอนเซ็ปต์อยู่ที่ตัวไอเดียเองเดียวเกือบ
beartai: คือเราอาจจะไม่ต้องลงมือทำเองก็ได้ให้คนอื่นทำให้ตัวเองต้องเป็นคนคิดตัดสินใจและดูแลทั้งหมด
จิรศักดิ์: แต่ก่อนเราว่ากินข้าวถ่ายรูปเป็นคอนเทนต์ ขึ้นโซเชียล ตอนนี้ผมมองทุกอย่างเป็นไอเทมหมดเห็นน้อง ๆ เต้นเห็นเสื้อผ้าเห็นการแต่งหน้ามันคือไอเทม มันอยู่ที่ไอเดียเพราะนั้นจับน้อง ๆ ในค่ายมาพัฒนาตัวความคิดสร้างงาน NFT จากสิ่งใกล้ตัวทุกอย่างมันสามารถที่จะสร้างรายได้ได้หมดถ้าเรารู้จักที่จะพัฒนามุมมอง
beartai: เรามองรายได้ยังไงคือแต่เดิมโชว์แน่นอนเป็นรายได้หลักเพราะสตรีมมิงแต่ไหนแต่ไร่มันคงไม่ใช่รายได้หลักของเรา รายได้หลักของเราคือโชว์ NFT ถือว่ามันเป็นอีกอันหนึ่งที่มันน่าจะทำรายได้ พี่แมวมองว่ามันจะเป็นสักกี่เปอร์เซ็นต์จากรายได้ทั้งหมด
จิรศักดิ์: ตอนนี้มันน่าจะยังมาทดแทนกันไม่ได้เพียงแต่ผมมองว่า Music NFT จะเติบโตในอีก 2 ปีนี้มาแน่ ๆ ลองจับตามองเพราะว่าในกลุ่ม NFT ที่ผมเข้าไปอยู่กลุ่มที่เป็นดนตรีเขารุดหน้าไปเยอะมากแล้วก็ผมเอาไอเดียเหล่านั้นมาพัฒนางานในบริษัทของตัวเองเพราะฉะนั้นผมมองว่า NFT Music เป็นสิ่งที่ต้องจับตามอง
beartai: คือ ณ ตอนนี้รายได้มันไม่ได้พอสำหรับจะเป็นเปอร์เซ็นต์ให้กับที่เราว่าโชว์ หรือค่าสตรีมมิง
จิรศักดิ์: น่าจะประมาณตอนนี้น่าจะสัก 20 %
beartai: จากรายได้ทั้งหมด
จิรศักดิ์: ใช่ครับไม่เกิน 20 %
beartai: แล้วเอาที่ไหนมาจ่ายเขา
จิรศักดิ์: มันก็จะมีลิงก์กับ NFT ที่เขาจะต้องมีสะสมมีซื้อได้ระดับหนึ่งแล้วเพื่อที่จะได้แอ็กเคานต์ ตัวนี้กว่าที่จะอันนี้ผมยังคิดไม่จบนะ
beartai: อันนี้คือเป็นไอเดียแรก
จิรศักดิ์: ใช่คนที่ซื้องาน NFT หรือเป็นแฟนคลับของศิลปินคนนี้มีอัพเลเวลมามีเลเวลเท่านั้นเท่านี้ก็จะได้ แอ็กเคานต์นี้ไป แอ็กเคานต์ตัวนี้ก็จะไปจริง ๆ เหรียญตัวนี้มันเป็นเหรียญที่เขาเอาไปซื้อของอะไรไม่ได้มันเป็นเหรียญเอาไว้ใช้ในเมเทอร์เวิคในกลุ่มในแพลตฟอร์มอย่างเช่นใช้แลกของตัวนี้ใช้เป็นสิทธิ
beartai: เป็นระบบปิด
จิรศักดิ์: ไม่ปิดคิดว่าอยากจะทำไว้ให้สำหรับค่ายอื่นหรือคนอื่นมาใช้บริการได้ด้วยกำลังพัฒนาระบบตัวนี้อยู่เพราะว่ามันมีคนที่ทำของเมืองนอกคนที่ทำ ๆ อยู่ก็กำลังศึกษาแล้วก็พูดคุยกับเขาอยู่ว่ายังไงกับคนไทยก็มียื่นข้อเสนอมาเหมือนกันว่าทำได้มันต้องพัฒนามาจาก Play to earn แต่ว่ารูปแบบของการจ่ายมันอาจจะจ่ายเป็นไม่ต้องเป็นเหรียญก็ได้ earn ในที่นี้จะเป็นในรูปแบบอื่นก็ได้
beartai: อันนั้นก็ยังมี Subscribe ถูกไหม ทั้ง 2 อย่างพวกสตรีมมิงแค่กำลังนึกภาพว่าแล้วรายได้หลักมันคืออะไรแค่อยากรู้รอจิมันก็คือฝั่งศิลปินได้เงินแม้กระน้อยก็ตาม
จิรศักดิ์: อย่าเรียกว่าเงิน รายได้หลักในที่นี้ผมบอกเมื่อกี้อาจจะเป็น รายได้จากอะไรสักอย่างในยุคแรก ๆ ในเริ่มต้นเราอาจจะเป็น รายรับในสิ่งที่เป็นของชําร่วยหรือว่าสิ่งที่พิเศษ เพราะว่าเราไม่ได้เป็นแพลตฟอร์มที่มันเป็นของตัวเองเราอาจจะยังให้เหรียญให้อะไรยังไม่ได้แต่ รายรับในที่นี้จะเป็น รายรับในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งอาจจะเป็นระบบปิดก่อนแล้วค่อยมาเปิดเป็นวงกว้างให้ใช้สอยกัน
beartai: มีอะไรเพิ่มเติมไหมที่ผมยังไม่ได้ถามอยากจะบอก
จิรศักดิ์: ยังไงก็ฝากติดตามความคืบหน้าของ Yes I am ทาง Facebook Yes I am music ใน youtube ก็ Yes I am music เหมือนกันเร็ว ๆ นี้น่าจะมีอะไรดี ๆ ของศิลปินในค่ายออกมาให้ได้ชมกันเพราะกำลัง workshop กันอย่างเมามัน