สิ้นสุดการรอคอย สำหรับรายชื่อผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลอันทรงเกียรติที่สุดของวงการภาพยนตร์ ซึ่งสถาบันศิลปะและวิชาการทางภาพยนตร์ (Academy of Motion Picture Arts and Sciences – AMPAS) ผู้จัดงานการประกาศรางวัลออสการ์ (Academy Awards) ครั้งที่ 96 (Oscars 2024) ได้ประกาศออกมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
โดยในปีนี้ พิธีการจะจัดขึ้นในค่ำคืนของวันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม (ตามเวลาท้องถิ่น) ณ โรงภาพยนตร์ดอลบี เธียเตอร์ (Dolby Theatre) ฮอลลีวูด รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา และถ่ายทอดสดผ่านทางเครือข่ายสถานีโทรทัศน์ ABC และยังคงได้ จิมมี คิมเมล (Jimmy Kimmel) พิธีกรเจ้าของรายการทอล์กโชว์ ‘Jimmy Kimmel Live!’ กลับมารับหน้าที่ดำเนินรายการอีกครั้งต่อจากปีที่แล้ว และเป็นการกลับมายืนบนเวทีออสการ์เป็นครั้งที่ 4
ในปีนี้ถือเป็นปีแรกที่ AMPAS ได้นำกฏใหม่ที่เรียกว่า ‘Diversity Rules’ มาใช้เป็นครั้งแรก โดยเป็นการออกกฏเพื่อส่งเสริมความหลากหลายและความเท่าเทียมให้เกิดขึ้นทั้งในภาพยนตร์ และการดำเนินงานขององค์กรโดยรวม ทั้งในมิติของเชื้อชาติ เพศ ร่างกาย สีผิว กฏนี้จะเป็นการกำหนดมาตรฐานของภาพยนตร์ที่จะได้เสนอชื่อเข้าชิงรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม จะต้องผ่านเกณฑ์พื้นฐาน 2 ข้อ จากทั้งหมด 4 ข้อ
ได้แก่
1. การกำหนดให้นักแสดงหลักอย่างน้อย 1 คน หรือ 30% ของนักแสดงสมทบ ต้องเป็นตัวแทนของกลุ่มคนที่มีความหลากหลาย และ/หรือมีธีม และเส้นเรื่องที่กล่าวถึงในประเด็นด้านความหลากหลาย
2. ตำแหน่งระดับหัวหน้าในแผนกต่าง ๆ จำนวนอย่างน้อย 2 คน และทีมงานอย่างน้อย 30% ต้องเป็นตัวแทนสะท้อนความหลากหลายและเท่าเทียม
3. กลุ่มเด็กฝึกงาน และผู้ช่วยในกองถ่าย จะต้องมีความหลากหลายด้วยเช่นกัน
4. ด้านการตลาดและการโฆษณา ต้องมีการสะท้อนถึงความหลากหลายและเท่าเทียมด้วย
สำหรับผู้ที่ได้เข้าชิงรางวัลออสการ์ประจำปีนี้ ถือว่าไม่พลิกล็อกไปจากการประกาศรางวัลเวทีก่อนหน้านี้แบบไม่พลิกโผมากนัก มีหนังจากปีที่แล้วหลายเรื่องที่ประสบความสำเร็จทั้งด้านคำวิจารณ์และรายได้ ตบเท้าเข้าชิงรางวัลเป็นกอบเป็นกำ โดยหนังที่ได้เข้าชิงรางวัลมากที่สุดในปีนี้ได้แก่ ‘Oppenheimer’ ที่ได้เข้าชิงมากที่สุดถึง 13 รางวัล ตั้งแต่สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม, ผู้กำกับยอดเยี่ยม, นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม รวมทั้งสาขาบทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยม และสาขาออกแบบงานสร้างยอดเยี่ยม รวมทั้งสาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม ที่ คิลเลียน เมอร์ฟี (Cillian Murphy) สามารถเข้าชิงในสาขานี้ได้เป็นครั้งแรก
ส่วนหนังคู่ขวัญอย่าง ‘Barbie’ มีชื่อเข้าชิงทั้งหมด 8 รางวัล (จาก 7 สาขา) อาทิ ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม, บทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยม โดยเฉพาะจากผลงานเพลง “I’m Just Ken” และ “What Was I Made For ? ” ที่กวาดรางวัลหลายเวทีมาแล้ว ก็ได้เข้าชิงสาขาเพลงประกอบดั้งเดิมยอดเยี่ยม (Best Original Song) ไปแบบแพ็กคู่ ส่วนหนังตัวเก็งอีกเรื่องอย่าง ‘Killers of the Flower Moon’ ก็มาแรง เข้าชิงทั้งหมด 10 สาขา ทั้งสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ผู้กำกับยอดเยี่ยม และ ลิลลี แกลดสโตน (Lily Gladstone) สร้างประวัติศาสตร์ในฐานะชาวพื้นเมืองอเมริกันคนแรก ที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงสาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม
ส่วนสาขาอื่น ๆ ที่น่าสนใจก็มีตั้งแต่ หนังอินดี้สุดเฮี้ยนคำวิจารณ์ดีอย่าง ‘Poor Things’ ที่ได้เข้าชิงมากถึง 11 สาขา รวมทั้ง เอ็มมา สโตน (Emma Stone) ‘Poor Things’ ที่ได้เข้าชิงสาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม ส่วนสาขาแอนิเมชันยอดเยี่ยม ตัวเก็งปีนี้ถือเป็น East Meet West ของแท้ เพราะ หนังแอนิเมชันญี่ปุ่นทั้ง ‘The Boy and the Heron’ ที่เพิ่งคว้ารางวัลลูกโลกทองคำ ได้เข้าชิงร่วมกับ ‘Spider-Man: Across the Spider-Verse’ และ ‘Elemental’ จากค่าย Disney และ Pixar
ส่วนในฝั่งของหนังสตรีมมิง ปีนี้ Netflix ยังคงมาแรงเช่นเคย หากไม่นับรวม ‘Killers of the Flower Moon’ จากค่าย Apple TV+ หนังคุณภาพ ‘Maestro’ จากฝีมือการกำกับ-เขียนบท-ร่วมแสดงของ แบรดลีย์ คูเปอร์ (Bradley Cooper) เป็นหนังที่ได้เข้าชิงมากที่สุดทั้งหมด 7 สาขา นอกจากนี้ ม้ามืดที่ไม่ควรมองข้ามอย่าง ‘Anatomy of a Fall’ หนังสัญชาติฝรั่งเศส ที่มาแรงได้เข้าชิงมากถึง 5 สาขา
ส่วนในปีนี้ ค่าย A24 มาเงียบ ๆ แต่เน้น ๆ ส่ง 2 หนังคุณภาพทั้ง ‘The Zone of Interest’ เข้าชิง 5 สาขา รวมทั้งสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม และสาขาภาพยนตร์ต่างประเทศยอดเยี่ยม และ ‘Past Lives’ หนังฟอร์มดีที่ได้เข้าชิง 2 รางวัล ทั้งสาขาสาขาบทภาพยนตร์ดั้งเดิมยอดเยี่ยม และสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยมด้วยเช่นกัน
รายชื่อผู้เข้าชิงรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 96
- สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (Best Picture)
‘American Fiction’
‘Anatomy of a Fall’
‘Barbie’
‘The Holdovers’
‘Killers of the Flower Moon’
‘Maestro’
‘Oppenheimer’
‘Past Lives’
‘Poor Things’
‘The Zone of Interest’
- สาขาผู้กำกับยอดเยี่ยม (Best Director)
จัสตีน ตรีเย (Justine Triet) ‘Anatomy of a Fall’
มาร์ติน สกอร์เซซี (Martin Scorsese) ‘Killers of the Flower Moon’
คริสโตเฟอร์ โนแลน (Christopher Nolan) ‘Oppenheimer’
ยอร์กอส ลานธิมอส (Yorgos Lanthimos) ‘Poor Things’
โจนาธาน เกลเซอร์ (Jonathan Glazer) ‘The Zone of Interest’
- สาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม (Best Actor in a Leading Role)
แบรดลีย์ คูเปอร์ (Bradley Cooper) ‘Maestro’
โคลแมน โดมิงโก (Colman Domingo) ‘Rustin’
พอล จิอาแมตติ (Paul Giamatti) ‘The Holdovers’
คิลเลียน เมอร์ฟี (Cillian Murphy) ‘Oppenheimer’
เจฟฟรีย์ ไรต์ (Jeffrey Wright) ‘American Fiction’
- สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (Best Actress in a Leading Role)
แอนเน็ต เบนนิง (Annette Bening) ‘Nyad’
ลิลลี แกลดสโตน (Lily Gladstone) ‘Killers of the Flower Moon’
แซนดรา ฮิลเลอร์ (Sandra Hüller) ‘Anatomy of a Fall’
แครี มัลลิแกน (Carey Mulligan) ‘Maestro’
เอ็มมา สโตน (Emma Stone) ‘Poor Things’
- สาขาบทภาพยนตร์ดั้งเดิมยอดเยี่ยม (Best Original Screenplay)
‘Anatomy of a Fall’
‘The Holdovers’
‘Maestro’
‘May December’
‘Past Lives’
- สาขาบทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยม (Best Adapted Screenplay)
‘American Fiction’
‘Barbie’
‘Oppenheimer’
‘Poor Things’
‘The Zone of Interest’
- สาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (Best Supporting Actor)
สเตอร์ลิง เค บราวน์ (Sterling K. Brown) ‘American Fiction’
โรเบิร์ต เดอนีโร (Robert De Niro) ‘Killers of the Flower Moon’
โรเบิร์ต ดาวนีย์ จูเนียร์ (Robert Downey Jr.) ‘Oppenheimer’
ไรอัน กอสลิง (Ryan Gosling) ‘Barbie’
มาร์ก รัฟฟาโล (Mark Ruffalo) ‘Poor Things’
- สาขานักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (Best Supporting Actress)
เอมิลี บลันต์ (Emily Blunt) ‘Oppenheimer’
แดเนียล บรูกส์ (Danielle Brooks) ‘The Color Purple’
อเมริกา เฟอร์เรรา (America Ferrera) ‘Barbie’
โจดี ฟอสเตอร์ (Jodie Foster) ‘Nyad’
ดาไวน์ จอย แรนดอล์ฟ (Da’Vine Joy Randolph) ‘The Holdovers’
- สาขาเพลงประกอบดั้งเดิมยอดเยี่ยม (Best Original Song)
“The Fire Inside” ‘Flamin’ Hot’
“I’m Just Ken” ‘Barbie’
“It Never Went Away” ‘American Symphony’
“What Was I Made For ? ” ‘Barbie’
Wahzhazhe (A Song for My People)” ‘Killers of the Flower Moon’
- สาขาแอนิเมชันยอดเยี่ยม (Best Animated Feature Film)
‘The Boy and the Heron’
‘Elemental’
‘Nimona’
‘Robot Dreams’
‘Spider-Man: Across the Spider-Verse’
- สาขาดนตรีประกอบดั้งเดิมยอดเยี่ยม (Best Original Score)
‘American Fiction’
โดย ลอรา คาร์ปแมน (Laura Karpman)
‘Indiana Jones and the Dial of Destiny’
โดย จอห์น วิลเลียมส์ (John Williams)
‘Killers of the Flower Moon’
โดย ร็อบบี โรเบิร์ตสัน (Robbie Robertson)
‘Oppenheimer’
โดย ลุดวิก เยอรันซัน (Ludwig Göransson)
‘Poor Things’
โดย เจอร์สกิน เฟนดริกซ์ (Jerskin Fendrix)
- สาขาออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม (Best Costume Design)
‘Barbie’
‘Killers of the Flower Moon’
‘Napoleon’
‘Oppenheimer’
‘Poor Things’
- สาขาตัดต่อภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (Best Film Editing)
‘Anatomy of a Fall’
‘The Holdovers’
‘Killers of the Flower Moon’
‘Oppenheimer’
‘Poor Things’
- สาขาออกแบบเสียงยอดเยี่ยม (Best Sound)
‘The Creator’
‘Maestro’
‘Mission: Impossible – Dead Reckoning Part One’
‘Oppenheimer’
‘The Zone of Interest’
- สาขาแต่งหน้าและออกแบบทรงผมยอดเยี่ยม (Best Makeup and Hairstyling)
‘Golda’
‘Maestro’
‘Oppenheimer’
‘Poor Things’
‘Society of the Snow’
- สาขาภาพยนตร์ขนาดสั้นยอดเยี่ยม (Best Live Action Short Film)
‘The After’
‘Invincible’
‘Knight of Fortune’
‘Red, White and Blue’
‘The Wonderful Story of Henry Sugar’
- สาขาแอนิเมชันขนาดสั้นยอดเยี่ยม (Best Animated Short Film)
‘Letter to a Pig’
‘Ninety-Five Senses’
‘Our Uniform’
‘Pachyderme’
‘War is Over! Inspired by the Music of John & Yoko’
- สาขาเทคนิคพิเศษยอดเยี่ยม (Best Visual Effects)
‘The Creator’
‘Godzilla Minus One’
‘Guardians of the Galaxy Vol. 3’
‘Mission: Impossible – Dead Reckoning Part One’
‘Napoleon’
- สาขาถ่ายภาพยอดเยี่ยม (Best Cinematography)
‘El Conde’
‘Killers of the Flower Moon’
‘Maestro’
‘Oppenheimer’
‘Poor Things’
- สาขาออกแบบงานสร้างยอดเยี่ยม (Best Production Design)
‘Barbie’
‘Killers of the Flower Moon’
‘Napoleon’
‘Oppenheimer’
‘Poor Things’
- สาขาสารคดีขนาดสั้นยอดเยี่ยม (Best Documentary Short Subject)
‘The ABCs of Book Banning’
‘The Barber of Little Rock’
‘Island in Between’
‘The Last Repair Shop’
‘Nǎi Nai & Wài Pó’
- สาขาสารคดียอดเยี่ยม (Best Documentary Feature)
‘Bobi Wine: The People’s President’
‘The Eternal Memory’
‘Four Daughters’
‘To Kill a Tiger’
’20 Days in Mariupol’
- ภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยม (Best International Feature Film)
‘Io Capitano’ (อิตาลี)
‘Perfect Days’ (ญี่ปุ่น)
‘Society of the Snow’ (สเปน)
‘The Teachers’ Lounge’ (เยอรมนี)
‘The Zone of Interest’ (สหราชอาณาจักร)
ที่มา: Variety
พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส