The 1975 ออก MV จากงานเพลงในอัลบั้มที่ 3 A Brief Inquiry into Online Relationships ที่ใกล้จะวางแผงแล้ว แต่ละตัวมีลูกเล่นมากมายให้แฟนๆ ได้ขบคิด และถอดรหัสกันว่าซุกซ่อนสาส์นอะไรเอาไว้บ้าง อย่างเพลงก่อนหน้านี้ Love It If We Made It ก็เหมือนเป็นบทบันทึกความเป็นไปและภาพสะท้อนของสังคมร่วมสมัย (อ่านเรื่องราวของ MV นี้ได้ที่นี่ครับ) ล่าสุดกับเพลง ‘Sincerity Is Scary’ ที่ดูเพลินด้วยสุนทรียทางภาพยนตร์มาเต็ม ไม่ว่าจะเป็นองค์ประกอบศิลป์ เสื้อผ้า หน้าผม นักแสดง และการถ่ายลองเทค (แบบมี hidden cut) ก็เหมือนกับว่าไม่ได้แค่ดูเพลินอย่างเดียว แต่กลับมีอะไรบางอย่างซุกซ่อนเอาไว้
ลองมาดู MV เพลงนี้และคิดเล่นๆกันครับว่า ในนี้มี easter eggs อะไรซ่อนไว้บ้าง
งั้นเรามาดูกันดีกว่าครับ ว่าเพลงนี้มีอะไรซุกซ่อนเอาไว้บ้าง
1. นาฬิกาปลุกตอนที่แม็ตตี้ตื่นนอน
หากหยุดภาพล้วลองมองดูดีๆจะเห็นว่าที่หน้าปัดนาฬิกานั้นมีสี่เข็ม หนา 2 บาง 2 ตัวเข็มหยุดอยู่ที่เลข 1 9 7 5 อันเป็นชื่อของวงนั่นเอง
2. ภาพที่แขวนไว้ที่กำแพง
ภาพที่แขวนไว้ที่กำแพง นั้นเป็นผลงานในโปรเจค ‘I like America and America likes me’ ของ Joseph Beuys ศิลปินผู้ลือลั่นชาวเยอรมัน เรื่องราวอันเป็นที่มาของภาพชิ้นนี้เกิดขึ้นในปี 1974 ที่ Beuys ทำงานศิลปะชิ้นหนึ่งโดยใช้ตัวเองเป็นสื่อ เขาขังตัวเองไว้กับเจ้าโคโยตี้ (หมายถึงหมาโคโยตี้นะครับ ไม่ใช่สาวนักเต้น 55) แล้วเอาผ้ามาคลุมตัวไว้ให้เจ้าโคโยตี้มันฉีกมันทึ้งเอา ช่างติสต์จริงๆ ว่ากันว่าหมาป่าโคโยตี้เนี่ย เป็นสัญลักษณ์ของการเปลี่ยนแปลงและการก้าวไปข้างหน้า
3.เลขที่ประตู คือ 1975
อันนี้ชัดแจ่มแจ๋ว
4. No Rome มาเป็น Cameo
No Rome หนุ่มฟิลิปปินส์ที่มาไกลได้เข้ามาเป็นศิลปินในสังกัดเดียวกันกับ The 1975 คือ Dirty Hit โดย The 1975 ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในงานเพลงของ No Rome ทั้งช่วยโปรดิวซ์ แต่งเพลง รวมไปถึง แม็ตตี้เองก็เคยไปเล่นใน MV เพลง Narcissist ของ No Rome ที่ feat. กับ The 1975 ด้วยเช่นกัน เรียกได้ว่ามีสายสัมพันธ์แนบแน่นแบบนี้จะไม่ให้มาปรากฏตัวได้ยังไง ส่วนหมาน้อยลายจุดที่เดินมากับ No Rome ก็คือหมาน้อยตัวเดียวกันกับใน MV Narcissist นั่นเอง
5. ชายลึกลับใส่สูทสวมถุงกระดาษไว้ที่หัว
ถุงกระดาษที่ชายหนุ่มสวมนั้นมีข้อความว่า “A Brief Inquiry into Online Relationships” ซึ่งเป็นชื่อของอัลบั้มใหม่ที่กำลังจะวางแผงนั่นเอง ส่วนตัวข้อความและถุงกระดาษนี้มี reference มาจากถุงกระดาษของ ‘I am not famous anymore’ ของไซอา ลาบัฟ นั่นเอง
6.พาดหัวข่าวในหนังสือพิมพ์
พาดหัวข่าวในหนังสือพิมพ์นั้นคือ “modernity has failed us” ซึ่งเป็นข้อความที่มีความเชื่อมโยงกับ MV ก่อนหน้านี้ซึ่งก็คือ ส่วนชื่อหัวหนังสือพิมพ์ The Macomb Tribune นั้นคือหนังสือพิมพ์รายวันรายแรกในอังกฤษที่เข้าสู่ระบบออนไลน์
7. มอบดอกไม้และเต้นโยกย้าย
ช่วงที่แม็ตตี้มอบดอกไม้ให้กับคุณป้า ก่อนที่จะมาเต้นโยกย้ายกับชายหนุ่มคนหนึ่งนั้นมี reference มาจาก MV เพลง ‘A Change of Heart’ นั่นเอง
8. การเต้นคู่ดูโอแดนซ์
การเต้นคู่ดูโอตรงจุดนี้ทำให้นึกถึงหนังมิวสิคัลยุคเก่าๆ และแน่นอนใช่เลย การเต้นตรงนี้มันมีที่มาจากฉากหนึ่งในภาพยนตร์เรื่อง My Sister Eileen (1955) ในซีนที่มีชื่อว่า Alley Dance นั่นเอง
9.วู้ว นี่มันไมเคิล แจ็คสันแน่นอน!
ใช่เลยครับ ทั้งหมวก ทั้งท่าเต้น ตรงจุดนี้ตั้งใจจะ tribute แด่ king of pop ไมเคิล แจ็คสันแน่นอน
10. เต้นรูดเสา!
555 ตรงนี้ไม่ใช่ pole dance แต่อย่างใดครับ หากแต่เป็นการคารวะฉากหนึ่งในหนังเพลงสุดคลาสสิคเรื่อง Singing in The Rain ที่นำแสดงโดย Gene Kelly นั่นเองครับ ใครเป็นคอหนังน่าจะจดจำกันได้แน่นอน
11. มาเตะบอลกัน
การเตะบอลตรงนี้ทำให้คิดไปถึง MV ‘Settle Down’ ของวงครับ
12. เล่นตังเต
ไอ้แบบนี้บ้านเราเรียกเล่น “ตังเต” ครับส่วนฝรั่งเค้าเรียก “hopscotch” ซึ่งดูจากท่าทางแล้ว สามารถอ่านออกได้เป็นตัวเลย “1975” ครับ
13. ป้ายหน้าโรงหนัง
ป้ายหน้าโรงหนังเป็นข้อความที่เคยปรากฏใน MV Robbers มาก่อนซึ่งมันเป็นภาษาฝรั่งเศสแปลเป็นอังกฤษได้ว่า ‘the poetry is in the streets’ ซึ่งเป็นคำสำคัญของวง และเคยปรากฏอยู่ในหลายรูปแบบทั้งใน MV และในเนื้อเพลงของวงต่างกรรมต่างวาระกันไป
14. ที่หน้าต่างเล็กๆข้างโรงหนังเป็นโปสเตอร์อัลบั้มของ The 1975 ที่มีชื่อยาวที่สุดในสามโลก
มันคือ ‘I like it when you sleep for you are so beautiful yet so unaware of it’ สตูดิโออัลบั้มลำดับที่สองของ The 1975 นั่นเอง
15. สาวน้อยหน้าขาวในตอนท้ายของ MV ชวนให้คิดถึงการแต่งหน้าใน MV เพลง ‘A Change of Heart’
สาวน้อยมาปรากฏตัวในรูปแบบของตัวละครหนังเงียบ (ที่ตัวเป็นสีขาวดำแถมมีฟิล์มเกรนติดมาด้วยอีกต่างหาก) ซึ่งเหมือนกับใน MV ‘A Change of Heart’ ที่เป็นภาพขาวดำ
จากนั้นแม็ตตี้ก็ค่อยๆรินรดน้ำลงไปบนร่มของเด็กน้อยก่อนที่จะเปลี่ยนให้เธอกลายจากตัวละครในโลกขาวดำมาสู่โลกสีในที่สุด สะท้อนภาพการเปลี่ยนแปลงของโลกภาพยนตร์นั่นเองครับ
ที่มา