วันที่ 4 พฤษภาคมของทุกปี แฟน ๆ หนังสงครามแห่งดวงดาวที่สร้างกันมาตั้งแต่ยุค 70s และกลายเป็นหนังที่ขับเคลื่อนวัฒนธรรมกีค วัฒนธรรมพอป และมีแฟนเดนตายปวารณาตัวเป็นแฟนพันธุ์แท้ Star Wars จากรุ่นสู่รุ่นมายาวนานน่าจะจำวันนี้ได้แม่น เนื่องจากถือว่าเป็นวัน Star Wars เพราะการเรียกชื่อวันและเดือนของวันนี้ในภาษาอังกฤษว่า May the Fourth ไปพ้องเสียงกับคำว่า May the Force Be with You หรือ “ขอพลังจงสถิตย์อยู่กับท่าน” ซึ่งเป็นเหมือนคำทักทาย กล่าวลา และอวยพรของเหล่าเจไดมาสเตอร์ที่เป็นทีมพระเอกของเรื่องตลอดมา

จุดเริ่มต้นที่มาของการเรียนแบบนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทีมผู้สร้างหรือแฟน ๆ Star Wars โดยตรง โดยเกิดจากการชนะการเลือกตั้งของนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของสหราชอาณาจักร Margaret Thatcher ในปี 1979 เธอได้ฉลองชนะการเลือกตั้งครั้งแรกในครั้งนั้นด้วยการซื้อโฆษณาหนังสือพิมพ์ชื่อดัง และพิมพ์คำว่า “May The Fourth Be With You, Maggie Congratulations” คำที่เหมือนเป็นวลีฮิตประจำหนัง Star Wars เป็นจำนวนครึ่งหน้ากระดาษหนังสือพิมพ์ ตั้งแต่นั้นมาคำ ๆ นี้เลยได้รู้จักเป็นวงกว้างมากกว่าเฉพาะกลุ่มแฟนหนัง

Margaret Thatcher ฉลองชนะการเลือกตั้งครั้งแรกด้วยการซื้อโฆษณาหนังสือพิมพ์ชื่อดัง และพิมพ์คำว่า “May The Fourth Be With You, Maggie Congratulation” ปี 1979

ในปีนี้หนังสงครามอวกาศก็จะมีอายุครบ 43 ปีแล้ว แม้ว่าวันที่ 4 พฤษภาคมจะไม่ใช่วันครบรอบการฉายวันแรกของ Episode 4 ภาค The New Hope (ในตอนแรกที่ออกฉายหนังใช้ชื่อแค่ Star Wars แบบไม่มีชื่อภาค) แบบเป๊ะ ๆ แต่ก็ยังอยู่ในเดือนเดียวกัน เพราะหนังเข้าฉายวันแรก 27 พฤษภาคม 1977 มาจนถึงตอนนี้หนังก็มีภาคหลักไปแล้วถึง 9 ภาคและภาคแยกอีก 2 ยังไม่นับซีรีส์ทางช่องสตรีมมิง Disney+ ที่เตรียมต่อขยายไปได้อีกหลายเรื่อง และฉบับแอนิเมชันของ Clone Wars ที่ตามดูกันไม่หวาดไหว แม้ว่าภาคล่าสุด Episode 9 The Rise of Skywalker จะโดนวิจารณ์ในทางลบอย่างหนักและทำรายได้ไม่เข้าเป้า แต่เชื่อเถอะว่า LucasFilm ยังมีแผนการกับแฟรนไชส์นี้อีกยาว (อย่างที่ไม่เคยจบมาเหมือนภาคสุดท้ายของ 2 ไตรภาคที่แล้วนั่นเอง)

ภาพ Banner หน้าจอ Disney+ วันนี้สำหรับแฟน ๆ ที่จะเข้าไปชมสตรีมมิงหนัง Star Wars

ภาพ Banner หน้าจอ Disney+ วันนี้สำหรับแฟน ๆ ที่จะเข้าไปชมสตรีมมิงหนัง Star Wars

Star Wars: Episode IV-The New Hope (1977)

The New Hope (1977)

The New Hope (1977)

  • ผู้กำกับ: George Lucas
  • นักแสดง: Mark Hamill, Harrison Ford, Carrie Fisher, Peter Cushing, Alec Guinness
  • วันที่เข้าฉาย: 25 พฤษภาคม 1977
  • ทุนสร้าง: 11 ล้านเหรียญฯ
  • รายรับรวมทั่วโลก: 775 ล้านเหรียญฯ

Star Wars: Episode V-The Empire Strikes Back (1980)

The Empire Strikes Back (1980)

The Empire Strikes Back (1980)

  • ผู้กำกับ: Irvin Kershner (007: Never Say Never Again, RoboCop 2, Eyes of Laura Mars)
  • นักแสดง: Mark Hamill, Harrison Ford, Carrie Fisher, Alec Guinness, Billy Dee Williams
  • วันที่เข้าฉาย: 20 มิถุนายน 1980
  • ทุนสร้าง: 18 ล้านเหรียญฯ
  • รายรับรวมทั่วโลก: 547 ล้านเหรียญฯ

Star Wars: Episode VI-Return of the Jedi (1983)

Return of the Jedi (1983)

Return of the Jedi (1983)

  • ผู้กำกับ: Richard Marquand (Jagged Edge, Eye of the Needle, The Lagacy)
  • นักแสดง: Mark Hamill, Harrison Ford, Carrie Fisher, Billy Dee Williams, Frank Oz, James Earl Jones
  • วันที่เข้าฉาย: 25 พฤษภาคม 1983
  • ทุนสร้าง: 32.5 ล้านเหรียญฯ
  • รายรับรวมทั่วโลก: 475 ล้านเหรียญฯ

Star Wars: Episode I-The Phantom Menace (1999)

The Phantom Menace (1999)

The Phantom Menace (1999)

  • ผู้กำกับ: George Lucas
  • นักแสดง: Liam Neeson, Ewan McGregor, Natalie Portman, Jake Lloyd, Terrence Stamp, Ray Park
  • วันที่เข้าฉาย: 19 พฤษภาคม 1999
  • ทุนสร้าง: 115 ล้านเหรียญฯ
  • รายรับรวมทั่วโลก: 1,027 ล้านเหรียญฯ

Star Wars: Episode II-Attack of the Clones (2002)

Attack of the Clones (2002)

Attack of the Clones (2002)

  • ผู้กำกับ: George Lucas
  • นักแสดง: Hayden Christensen, Ewan McGregor, Natalie Portman, Christopher Lee, Samuel L. Jackson, Ian McDiarmid
  • วันที่เข้าฉาย: 16 พฤษภาคม 2002
  • ทุนสร้าง: 115 ล้านเหรียญฯ
  • รายรับรวมทั่วโลก: 653 ล้านเหรียญฯ

Star Wars: Episode III-The Revenge of the Sith (2005)

Revenge of the Sith (2005)

Revenge of the Sith (2005)

  • ผู้กำกับ: George Lucas
  • นักแสดง: Hayden Christensen, Ewan McGregor, Natalie Portman, Christopher Lee, Samuel L. Jackson, Ian McDiarmid
  • วันที่เข้าฉาย: 19 พฤษภาคม 2005
  • ทุนสร้าง: 113 ล้านเหรียญฯ
  • รายรับรวมทั่วโลก: 868 ล้านเหรียญฯ

Star Wars: Episode VII-The Force Awakens (2015)

The Force Awakens (2015)

The Force Awakens (2015)

  • ผู้กำกับ: J.J. Abrams (Star Trek 1-2, Mission Impossible 3, Super 8)
  • นักแสดง: Mark Hamill, Harrison Ford, Carrie Fisher, Adam Driver, Daisy Ridley, John Boyega, Oscar Isaac, Lupita Nyong’o, Andy Serkis
  • วันที่เข้าฉาย: 18 ธันวาคม 2015
  • ทุนสร้าง: 245 ล้านเหรียญฯ
  • รายรับรวมทั่วโลก: 2,068 ล้านเหรียญฯ

Rogue One: A Star War Story (2016)

Rogue One (2016)

Rogue One (2016)

  • ผู้กำกับ: Gareth Edwards (Godzilla, Monsters)
  • นักแสดง: Felicity Jones, Diego Luna, Donnie Yen, Ben Mendelsohn, Forrest Whitaker, Mad Mikkelsen, Riz Ahmed
  • วันที่เข้าฉาย: 16 ธันวาคม 2016
  • ทุนสร้าง: 200 ล้านเหรียญฯ
  • รายรับรวมทั่วโลก: 1,056 ล้านเหรียญฯ

Star Wars: Episode VIII-The Last Jedi (2017)

The Last Jedi (2017)

The Last Jedi (2017)

  • ผู้กำกับ: Rian Johnson (Knives Out, Looper)
  • นักแสดง: Mark Hamill, Carrie Fisher, Laura Dern, Adam Driver, Daisy Ridley, John Boyega, Oscar Isaac, Lupita Nyong’o, Andy Serkis, Kelly Marie Tran
  • วันที่เข้าฉาย: 15 ธันวาคม 2017
  • ทุนสร้าง: 317 ล้านเหรียญฯ
  • รายรับรวมทั่วโลก: 1,332 ล้านเหรียญฯ

Solo: A Star Wars Story (2018)

Solo (2018)

Solo (2018)

  • ผู้กำกับ: Ron Howard (The Da Vinci Code, Apollo 13, A Beautiful Mind)
  • นักแสดง: Alden Ehrenreich, Emilia Clarke, Woody Harrelson, Thandie Newton, Paul Bettany, Donald Glover
  • วันที่เข้าฉาย: 25 พฤษภาคม 2018
  • ทุนสร้าง: 275 ล้านเหรียญฯ
  • รายรับรวมทั่วโลก: 392 ล้านเหรียญฯ

Star Wars: Episode IX-The Rise of Skywalker (2019)

The Rise of Skywalker (2019)

The Rise of Skywalker (2019)

  • ผู้กำกับ: J.J. Abrams (Star Trek 1-2, Mission Impossible 3, Super 8)
  • นักแสดง: Mark Hamill, Carrie Fisher, Adam Driver, Daisy Ridley, John Boyega, Oscar Isaac, Lupita Nyong’o, Kerri Russell, Kelly Marie Tran
  • วันที่เข้าฉาย: 20 ธันวาคม 2019
  • ทุนสร้าง: 275 ล้านเหรียญฯ
  • รายรับรวมทั่วโลก: 1,074 ล้านเหรียญฯ

กว่าจะเป็นหนัง Star Wars และหนทางอันไกลโพ้นของ George Lucas

  • George Lucas เริ่มเรียนภาพยนตร์ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียใต้ (USC) ทำหนังสั้น 20 นาทีชื่อเรื่อง THX-1138 4EB ที่ทำให้เขากลายเป็นนักศึกษาภาพยนตร์ที่โดดเด่นที่สุดในรุ่น หลังเรียนจบเขาจับมือกับรุ่นพี่จากสถาบันเดียวกันอย่าง Francis Ford Coppola ขยายงานหนังสั้นกลายเป็นหนังยาว THX-1138 (1971) นำแสดงโดย Robert Duvall และ Donal Pleasence แต่โรงถ่ายไม่โอเค และเรียกเงินที่ให้ทุน Coppola ไปทำหนัง 300,000 เหรียญฯ คืน
George Lucas ในกองถ่าย

George Lucas ในกองถ่าย THX-1138 (1971)

Play video

  • Lucas ตั้งบริษัทผลิตหนังของตัวเอง ทำหนังเรื่องแรกชื่อ American Graffiti (1973) ให้กับค่าย Universal เล่าเรื่องของเด็กวัยรุ่นขับรถท่องราตรีในคืนสุดท้ายหลังจบการศึกษาและเตรียมแยกย้ายกันไปตามทาง ที่มาของเรื่องคือ Lucas ถูก Coppola ท้าว่าเขาจะกล้าทำหนังตลกเหลวไหลได้ไหม (ปกติทำแต่หนังจริงจัง) เมื่อฉายรอบทดลอง Universal ไม่พอใจหนัง ท้ายที่สุดหนังได้เข้าชิงรางวัลออสการ์ปี 1975 ทั้งสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม และผู้กำกับยอดเยี่ยม (Lucas ได้เข้าชิงรางวัลจากการกำกับหนังสตูดิโอเรื่องแรกในชีวิต)
George Lucas กำกับผู้กำกับ Ron Howard ที่ตอนนั้นยังเป็นนักแสดงอยู่ ใน American Graffit (1973)

George Lucas กำกับผู้กำกับ Ron Howard ที่ตอนนั้นยังเป็นนักแสดงอยู่

George Lucas กำกับผู้กำกับ Ron Howard ที่ตอนนั้นยังเป็นนักแสดงอยู่ ใน American Graffit (1973)

George Lucas กำกับผู้กำกับ Ron Howard ที่ตอนนั้นยังเป็นนักแสดงอยู่ ใน American Graffit (1973)

Play video

  • เงิน 25,000 เหรียญฯ ที่เป็นค่าตัวของ Lucas จากงานกำกับ American Graffiti (1973) ถูกใช้ไปจนหมดตลอด 2 ปีที่เขาเขียนบทหนังของ Star Wars ในเวลานั้นค่ายหนังอย่าง Universal และ United Artists ต่างก็เมินบทหนังเรื่องนี้ จนกระทั่ง Alan Ladd Jr. หัวหน้าฝ่ายผลิตภาพยนตร์จาก 20th Century Fox ยื่นมือเข้ามาช่วย และมอบเงิน 15,000 เหรียญฯ ให้กับ Lucas เพื่อไปพัฒนาบทต่อให้เสร็จ
Alan Ladd Jr. กับ George Lucas

Alan Ladd Jr. กับ George Lucas

  • Lucas เขียนบทหนังต่ออีกถึง 9 เดือนเต็ม และเปลี่ยนบทไปมาอยู่หลายครั้ง เคยคิดจะใช้นักแสดงญี่ปุ่นเล่นหมดทั้งเรื่องเพื่อลดต้นทุน เขาอยากทำออกมาให้มีแนวเหมือนกับ Flash Gordon (เคยสร้างมาแล้วหลายครั้งทั้งฉบับปี 1936, 1954 และ 1980 ยุคเดียวกันกับ Star Wars เข้าฉาย) และเหตุที่เขาใช้เวลาเขียนนานในตอนแรก เพราะเขาจับยัดหนังทั้งไตรภาคให้มาอยู่ในเรื่องเดียว ภายหลังเขาจึงแยกออกมาเป็น 3 ภาคอย่างที่เห็นกัน
Flash Gordon (1980) ต้นฉบับของหนังเรื่องนี้คือแรงบันดาลใจของ Lucas

Flash Gordon (1980) ต้นฉบับของหนังเรื่องนี้คือแรงบันดาลใจของ Lucas

  • ในเวลานั้น เพื่อนผู้กำกับของเขาอย่าง Francis Ford Coppola ได้โน้มน้าวให้ Lucas ไปกำกับ Apocalypse Now (1979) ที่เป็นหนังที่เคร่งเครียดและเป็นแนวที่นิยมในสมัยนั้น แต่ Lucas ยืนยันว่า เขาอยากสร้างหนังที่เป็นตำนานสมัยใหม่ เพื่อให้เด็ก ๆ และวัยรุ่นมองเห็นคุณค่าของความดี
Michael Jackson, Francis Ford Coppola และ George Lucas

Michael Jackson, Francis Ford Coppola และ George Lucas

Apocalypse Now (1979)

Apocalypse Now (1979)

  • ในทีแรกงบของหนังอยู่ที่ 3.5 ล้านเหรียญฯ สุดท้ายงบก็งอกบานปลายไปถึง 12.5 ล้านเหรียญฯ (รวมค่าเสียหายจากการถ่ายทำล่าช้า) โดย 2.5 ล้านเหรียญฯ ถูกใช้ไปกับเทคนิคพิเศษตั้งแต่ก่อนเริ่มถ่ายทำซีนแรกด้วยซ้ำ แต่ท้ายที่สุดหนังที่ใช้เวลาถ่ายทำทั้งหมด 13 สัปดาห์ ทำรายได้จากทั่วโลกไป 775 ล้านเหรียญฯ
  • Harrison Ford กลับไปทำงานเป็นช่างไม้อยู่อีกพักหนึ่งหลังจากปิดกล้อง American Graffiti (1973) จนกระทั่งคนทำหน้าที่คัดเลือกนักแสดง แนะนำเขากับ Lucas ให้มารับบน “ฮาน โซโล” Ford บอกว่า Lucas บอกว่าหนังเรื่องนี้จะเป็นหนังทุนต่ำและให้ค่าตัวเขาไม่มากนัก ต่อมา Lucas จึงแบ่งส่วนแบ่งกำไรให้กับนักแสดงทุกคนเพิ่ม ซึ่ง Ford มองว่ามากเกินกว่าที่เขาควรจะได้
Harrison Ford ใน American Graffiti (1973)

Harrison Ford ใน American Graffiti (1973)

  • Mark Hamill ผู้รับบท “ลุค สกายวอล์กเกอร์” (ก่อนหน้านี้ Lucas จะใช้ว่า “ลุค สตาร์คิลเลอร์) ไปออดิชันบทสมทบในหนังเรื่อง Carrie (1976) ของผู้กำกับ Brian De Palma โดยเข้าใจว่า Lucas ที่เป็นเพื่อนของ Palma และนั่งอยู่ในห้องทดสอบบทด้วยเป็นผู้ช่วยผู้กำกับ Lucas ส่งบทไปให้ Hamill และเรียกมาทดสอบร่วมกับ Ford ซึ่ง Hamill เข้าใจว่ามาทดสอบบทหนัง Flash Gordon ที่รับบทโดย Ford และเขารับบทเป็นผู้ช่วย
ผู้กำกับ Brian De Palma ในกองถ่าย Carrie (1976)

ผู้กำกับ Brian De Palma ในกองถ่าย Carrie (1976)

  • ความฉลาดและมองการไกลของ Lucas คือการกำหนดข้อตกลงในสัญญาระหว่างเขากับค่าย Fox ในตอนทำหนัง (ที่ไม่น่าจะดังได้เลยในสายตาของค่าย) ให้สิทธิ์ในการสร้างภาคต่อ การใช้ชื่อ เครื่องหมาย ตัวละคร และสิทธิ์ในการผลิตสินค้าของเล่นทั้งหมดเป็นของ Lucas ซึ่งในเวลานั้นค่ายหนังยังไม่เห็นความสำคัญของลิขสิทธิ์และสิทธิ์ต่าง ๆ จากหนัง ทุกวันนี้แค่ภาพร่างการออกแบบหนัง ฝีมือของ Ralph McQuarrie ที่เป็นสินค้าลิขสิทธิ์ประเภทสิ่งพิมพ์ก็ทำกำไรให้กับ Lucas อย่างมหาศาล
ภาพวาดงานออกแบบการสร้างของ Ralph McQuarrie

ภาพวาดงานออกแบบการสร้างของ Ralph McQuarrie

ภาพวาดงานออกแบบการสร้างของ Ralph McQuarrie

ภาพวาดงานออกแบบการสร้างของ Ralph McQuarrie

  • Ralph McQuarrie ออกแบบหน้าตาของตัวละคร “ดาร์ธ เวเดอร์” (Darth Vader มาจากการผสมคำว่า Death Water และ Dark Father) จากโจทย์ที่ได้รับบรีฟว่า เป็นชุดที่มีหน้ากากให้หายใจในอวกาศได้  เขาจึงวาดตรงตระแกรงให้แทนส่วนฟัน ต่อมา John Mollo ผู้ทำหน้าที่เป็น Costume Design ของเรื่องนำแนวคิดภาพร่างนั้นมาต่อยอด เพื่อสร้างชุดที่มีต้นทุนราว 1,173 เหรียญฯ เขาเติมแรงบันดาลใจจากชุดของซามูไร เสื้อโค้ตทหารในสงครามโลกครั้งที่ 1 และหมวกของพวกทหารนาซีเข้าไป
ดาร์ธ เวเดอร์ ใน The New Hope (1977)

ดาร์ธ เวเดอร์ ใน The New Hope (1977)

  • David Prowse คือผู้มารับบทเป็น “ดาร์ธ เวเดอร์” ด้วยความที่ตัวใหญ่ เขาจึงถูกจ้างไปเล่นบทที่ต้องใช้คนตัวโต ๆ เล่นอย่างบทบอดี้การ์ดใน A Clockwork Orange (1971) หรือในบทมิโนทอร์ของซีรีส์ Doctor Who (1972) แต่เสียงที่ได้ยินตลอดทั้งเรื่องนั้นไม่ใช่เสียงของเขา แต่ให้เสียงพากย์โดย James Earl Jones (เจ้าของเสียงมูฟาซา พ่อของซิมบาใน The Lion King ทั้งฉบับการ์ตูนและฉบับ Live Action) เขามารับอัดเสียงในเวลาเพียง 2 ชั่วโมงครึ่งก็เสร็จงาน ต่อมาทีมงานที่ดูแลเรื่องซาวนด์เอฟเฟกต์ ก็เอาเสียงของ Jones ไปทำการอัดใส่หน้ากากสกูบาสำหรับดำน้ำจนเสียงออกมาอย่างที่แฟนหนังได้ยินกัน
David Prowse คนขวาสุด ในกองถ่าย The New Hope (1977)

David Prowse คนขวาสุด ในกองถ่าย The New Hope (1977)

  • Lucas โทรหาเพื่อนของเขาอย่างผู้กำกับ Steven Spielberg เพื่อให้ช่วยฟังสกอร์หรือเพลงประกอบหนังของ Star Wars ที่ใช้ John Williams ทำเพลงเช่นเดียวกับหนังของ Spielberg ที่ก็เข้าฉายในปีนั้นคือ Close Encounters of the Third Kind (1977) ซึ่งพอ Spielberg ได้ฟังก็ถึงกับบอกกับ Lucas ว่า “เขามอบผลงานที่ดีที่สุดให้กับหนังของคุณไปแล้ว” ท้ายที่สุด Williams เข้าชิงออสการ์จากผลงานในหนังทั้งสองเรื่อง และก็เป็นจากหนัง Star Wars ที่ทำให้เขาคว้าออสการ์ไป
นักประพันธ์เพลง John Williams กับ Lucas และ Kathleen Kennedy ผู้อำนวยการ LucasFilm คนปัจจุบัน

นักประพันธ์เพลง John Williams กับ Lucas และ Kathleen Kennedy ผู้อำนวยการ LucasFilm คนปัจจุบัน

  • ตัวละครใหม่ที่ปรากฎตัวเป็นครั้งแรกในภาค The Empire Strikes Back (1980) คือ “มาสเตอร์โยดา” ที่เป็นหุ่นเชิดและให้เสียงโดยนักแสดง Frank Oz ผู้พากย์เสียงเป็น “มิสพิกกี้” จากรายการหุ่นเชิดชื่อดังของอเมริกาอย่าง The Muppet Show ส่วนหน้าตาของโยดานั้น Stuart Freeborn ทีมออกแบบตัวละครของหนังบอกว่า เขานำเอาลักษณะใบหน้าตลก ๆ ของตัวเองมาผสมกับดวงตาที่ดูอัจฉริยะของนักวิทยาศาสตร์ชื่อก้อง Albert Einstein
Stuaut Freeborn ผู้ออกแบบตัวละครของ Star Wars

Stuaut Freeborn ผู้ออกแบบตัวละครของ Star Wars

เมื่อเอาโยดา มาเปรียบเทียบกับ Albert Einstein นักวิทยาศาสตร์ชื่อดัง

เมื่อเอาโยดา มาเปรียบเทียบกับ Albert Einstein นักวิทยาศาสตร์ชื่อดัง

  • เกิดดรามาระหว่าง Lucas และสมาพันธ์วิชาชีพผู้กำกับหนังและนักเขียนบทหนังในตอนนั้น เมื่อการที่ Lucas ขึ้นชื่อผู้กำกับเป็นคนแรกก่อนทีมงานคนอื่น ๆ ใน End Credit ถือเป็นการผิดกฎของสมาพันธ์ ตอนภาค The New Hope นั้นเขายังไม่ถูกปรับ แต่พอมาภาค Empire Strikes Back นั้น Lucas และ Irvin Kershner ผู้กำกับ ถูกปรับเป็นเงินถึง 50,000 เหรียญฯ ทำให้ Lucas ตัดสินใจลาออกจากสมาพันธ์และกลายเป็นผู้กำกับอิสระตั้งแต่นั้นมา ซึ่งจากเหตุการณ์นั้นทำให้ Speilberg เพื่อนผู้กำกับที่เขาอยากให้มากำกับ Return of the Jedi มากำกับไม่ได้เพราะเป็นสมาชิกของสมาพันธ์ เขาจึงให้ Richard Marquand ผู้กำกับชาวเวลส์มาแทน แต่ก็อีก Marquand ไม่มีประสบการณ์ถ่ายทำหนังใหญ่ที่เต็มไปด้วยเอฟเฟกต์มาก่อน ภาพที่เห็นก็คือ Lucas ต้องยืนประกบ Marquand ตลอดทั้งเรื่อง (เหมือน Lucas เป็นผู้กำกับและ Marquand เป็นผู้ช่วยผู้กำกับมากกว่า)
3 ผู้กำกับ Star Wars ไตรภาคแรกที่ถ่ายทำ Lucas และ Marquand

3 ผู้กำกับ Star Wars ไตรภาคแรกที่ถ่ายทำ Kershner, Lucas และ Marquand

  • หน้าแรกของบทหนังฉบับร่างที่ 1 ของภาค Return of the Jedi (1983) ถูกเขียนขึ้นเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 1981 ใช้ชื่อภาคนี้ว่า Revenge of the Jedi และใช้ชื่อนี้มาโดยตลอด จนกระทั่งถึงตอนที่ทำใบปิดหนังและหนังตัวอย่างแรกก็ยังใช้ชื่อนี้ มาเปลี่ยนหลังจากนั้นเป็น Return of the Jedi โดย Lucas ให้เหตุผลว่า เจไดไม่ล้างแค้น
Return of the Jedi (1983)

Return of the Jedi (1983)

  • หลังจากจบภาค Return of the Jedi (1983) Lucas บอกมาตลอดยุค 90s ว่ายังไม่คิดอยากจะกลับไปทำหนังไตรภาคต้นแม้ว่าจะเขียนโครงเรื่องไว้หมดแล้ว ตั้งแต่ทำไตรภาคที่สอง จนกระทั่งปลายยุค 90s เริ่มมีกระแสเรียกร้องจนท้ายที่สุด Lucas ก็กลับมาทำ แต่นับตั้งแต่ภาค The New Hope เขาก็ไม่เคยอยากกลับมากำกับ เพียงแค่อยากเป็นโปรดิวเซอร์มากกว่า จนมาถึง Episode I: The Phantom Menace เขาก็ติดต่อเพื่อนผู้กำกับหลายคนทั้ง Steven Spielberg, Robert Zemeckis จาก Back to the Future และ Forrest Gump รวมถึง Ron Howard ที่เขาเคยกำกับใน American Graffiti แต่ก็ไม่มีใครรับงานนี้ Howard เคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่า “มันถือเป็นเกียรติมาก แต่มันก็เป็นงานที่ยากเกินจะทำไหว” (Howard มากำกับ Solo: A Star War Story (2018) แบบเสียบแทนผู้กำกับเดิมที่ถูกไล่ออกไป แต่สุดท้ายมันก็คงยากเกินจริง ๆ เพราะหนังก็เจ๊งแม้จะดูสนุกพอสมควร) สุดท้ายเขาเลยลงมากำกับเอง
บรรยากาศในกองถ่าย The Phantom Menace (1999) กับ Natalie Portman

บรรยากาศในกองถ่าย The Phantom Menace (1999) กับ Natalie Portman

บรรยากาศในกองถ่าย The Phantom Menace (1999) กับ Liam Neeson

บรรยากาศในกองถ่าย The Phantom Menace (1999) กับ Liam Neeson

  • หน้าแรกของบทหนัง Episode I เขียนเมื่อวันที่ 13 มกราคม 1995 เขาให้ชื่อภาคนี้ว่า The Beginning ก่อนจะเปลี่ยนเป็น The Phantom Menace ในบทร่างแรกความยาว 15 หน้าที่เขาเขียนโครงไว้ตั้งแต่ปี 1976 โดยปรับเปลี่ยนอายุของ “อนาคิน สกายวอล์กเกอร์” จากอายุ 12 เป็น 9 ขวบ เพื่อความสมจริงในการเจาะตัวละครตอนยังเป็น “ผ้าที่ยังขาวสะอาด” และจะได้ดูโศกนาฏกรรมก่อนเขาเป็นดาร์ธ เวเดอร์ในท้ายที่สุด
บรรยากาศในกองถ่าย The Phantom Menace (1999) กับนักแสดงเด็ก Jake Lloyd

บรรยากาศในกองถ่าย The Phantom Menace (1999) กับนักแสดงเด็ก Jake Lloyd

  • หน้าแรกของบทหนัง Episode II เขียนเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2000 ใช้ชื่อว่า Jar Jar Great Adventure โดยอ้างอิงจากตัวละคร “จาร์จาร์บิงส์” ที่ Lucas ชอบที่สุดและอยากเป็นตัวละครตัวนี้ที่สุด โดยเขาถอดแบบมาจากตัวละคร “กูฟี่” ตัวละครคลาสสิกของ Disney หลังจากภาคแรกของไตรภาคที่ 2 โดนนักวิจารณ์ถล่มยับก็ทำให้ Lucas เสียความมั่นใจไปพอสมควร จึงให้มือเขียนบท The Young Indiana Jones Chronicle มาช่วยเกลาบทให้เสร็จก่อนเปิดกล้องแค่ 1 สัปดาห์ นอกจากนั้น Attack of the Clones ยังถูกบันทึกไว้ว่า เป็นหนังฟอร์มยักษ์ที่ถ่ายด้วยกล้องดิจิทัล (ไม่ใช้ฟิล์มเลย) ตลอดเรื่องเป็นเรื่องแรกของโลก
ในกองถ่าย Attack of the Clones (2005)

ในกองถ่าย Attack of the Clones (2002)

  • George Lucas ที่ขึ้นชื่อเรื่องการไม่ชอบกำกับหนัง เหตุผลหนึ่งเพราะเขารู้ตัวดีกว่าเป็นคนเขียนบทไม่เก่ง โดยเฉพาะการเขียนบทสนทนาของตัวละคร เป็นเหตุให้ในภาค 3 The Revenge of the Sith (2005) นั้นเขาใช้แค่โครงร่างที่ Lucas เรียกว่าเป็น “พิมพ์เขียว” ในการกำกับเท่านั้น และทำให้กองถ่ายนี้ถ่ายไปเขียนบทสนทนาไป ในอดีต Harrison Ford เคยบ่นอย่างไม่ปลื้ม Lucas ว่า “คุณควรเขียนบทลงบนกระดาษ ไม่ใช่เอาแต่พูดออกมาจากปากคุณนะจอร์จ” แม้ว่าท้ายที่สุดทั้ง 3 ไตรภาคจะยังทำได้ไม่ยอดเยี่ยมเท่าไตรภาคแรกที่สร้างไว้ แต่ก็ทำให้จิ๊กซอว์ที่ขาดหายไปถูกเติมเต็ม รวมถึงแฟน ๆ ก็ได้เห็นการเปลี่ยนผ่านของอนาคินสู่ดาร์ธ เวเดอร์อย่างสมบูรณ์
Lucas ในกองถ่าย Revenge of the Sith (2005)

Lucas ในกองถ่าย Revenge of the Sith (2005)

  • ในปี 2012 George Lucas ได้ตัดสินใจขายบริษัท LucasFilm ของเขาให้บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Disney ด้วยมูลค่า 4,050 ล้านเหรียญฯ (หรือถ้าประเมินมูลค่าเป็นเงินบาทในปัจจุบัน จะอยู่ที่ 139,400 ล้านบาท) ที่หากนับรายได้ที่ Star Wars นับตั้งแต่ภาค The Force Awakens จนถึงปัจจุบันทำได้ ก็เกินจำนวนเงินนี้ไปแล้ว พร้อมกับยกตำแหน่งประธานบริหารหรือ CEO ให้กับ Kathleen Kennedy เพื่อนสนิทที่ทำงานให้กับ LucasFilm มานาน (อำนวยการสร้างหนังอย่าง Back to the Future, Jurassic Park, Indiana Jones) ในตอนนั้น Lucas บอกว่า “ตั้งแต่ตอนแรกที่ Star Wars ออกฉาย มีแต่คนพูดว่า นี่คือหนังที่ Disney ควรจะสร้าง ผมคิดว่าถ้า Star Wars ได้อยู่ที่ Disney จะมีโอกาสมากมายที่แฟรนไชส์นี้จะได้รับซึ่งหาไม่ได้จากสตูดิโออื่น” อย่างไรก็ตาม ภายหลังก็มีดรามาเล็ก ๆ เกิดขึ้นว่า Lucas ได้ขายทรีตเมนท์หรือโครงร่างของไตรภาคที่ 3 ให้กับ Disney ไปด้วย ก่อนที่สุดท้าย Disney จะไม่หยิบเรื่องราวนั้นมาใช้เลย ทำให้ Lucas ออกอาการงอนเล็กน้อย
George Lucas ถึงเวลาปล่อยมือจากแฟรนไชส์ Star Wars สู่อ้อมอก Disney เมื่อปี 2012

George Lucas ถึงเวลาปล่อยมือจากแฟรนไชส์ Star Wars สู่อ้อมอก Disney เมื่อปี 2012

 

เรียบเรียงจาก: Starpics Special-Star Wars The Skywalker Saga (Complete Edition EP.I-IX)

อ้างอิง

อ้างอิง

 

 

พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส