หลังจากที่ผู้กำกับชาวจีน Jia Zhang-ke ได้ส่งจดหมายเปิดผนึกในช่วงกักตัวเพื่อหลีกเลี่ยงการติด COVID-19 จากกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับการแนวคิดการใช้ชีวิตในยุคปัจจุบันนี้
ล่าสุด อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล (Apichatpong Weerasethakul) ผู้กำกับไทยที่ได้รับการยอมรับไปทั่วโลก ก็ได้ส่งจดหมายเปิดผนึกบอกเล่าความรู้สึกของเช่นกัน จากบ้านของเขาในจังหวัดเชียงใหม่
“ผมประทับใจจดหมายของ Jia Zhangke ซึ่งทำให้ผมเข้าใจถึงความสำคัญของ ญาติพี่น้อง ในระหว่างช่วงที่ต้องกักตัวเองอยู่นี้ ผมปรารถนาที่จะทำสิ่งเดียวกันคือ แบ่งปันความคิดเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้แก่ผู้อ่านต่อไป”
คุณอภิชาติพงศ์ ได้กล่าวถึงการเดินทางของชีวิตที่เปรียบได้กับภาพยนตร์ที่พาผู้ชมเดินทางไปยังจุดหมายที่ผู้สร้างวางเอาไว้
“ผมได้คิดถึงคำว่า “การเดินทาง” เมื่อครั้งที่เรายังออกเดินทางตอนยังเด็ก จิตใจอันว่าวุ่นของเราจะคอยย้ำคำเดิมตลอดว่า “จะไปถึงหรือยัง ?”, “เมื่อไรจะไปถึง ?” เมื่อโตขึ้น เราเริ่มให้ความสนใจกับสิ่งต่าง ๆ มากขึ้น และได้พานพบหลายสิ่งมากมาย เราสังเกตเห็นต้นไม้, บ้านเรือน, ป้ายสัญลักษณ์, และยานพาหนะต่าง ๆ เราฝึกให้ใจเราสงบลงในระหว่างการเดินทาง เรารู้ว่าจะต้องไปถึงจุดหมายปลายทางแน่นอน
ภาพยนตร์เองเปรียบได้กับการเดินทาง มันขับเคลื่อนเราไปข้างหน้าไปยังจุดมุ่งหมายที่ต่างกันออกไป ตลอดเส้นทางนั้นคือการค่อย ๆ เติมเต็มไปเรื่อย ๆ ยิ่งผู้สร้างภาพยนตร์มีความช่ำชองมากเท่าไร ก็จะยิ่งทำให้ผู้ชมเพลิดเพลินจนลืมเวลา และยิ่งทำให้เข้าใกล้คำว่าศิลปะการสร้างภาพยนตร์มากขึ้นเท่านั้น และส่วนสำคัญอย่าง ผู้ออกแบบเครื่องแต่งกาย, ช่างแต่งหน้า, คนถือไมค์บูม, ทีมจัดแสง, คนตัดต่อ, คนทำดนตรีประกอบ และทีมงานทุกคน พวกเขาทำงานอย่างหนักเพื่อนำพาผู้ชมไปให้ถึงจุดหมายปลายทางให้ได้
แต่การเดินทางของ COVID-19 นั้น ไม่เหมือนกับภาพยนตร์ หรือการเดินทางบนท้องถนน จุดหมายปลายทางของการเดินทางนี้ไม่พร่ามัว พวกเราส่วนใหญ่ต้องอยู่แต่ในบ้าน เราต้องมองออกนอกหน้าต่างไปที่วิวเดิม ๆ …เรายังคงมองมันไปเรื่อย ๆ”
ต่อมาคุณอภิชาติพงศ์ ได้กล่าวถึงพฤติกรรมของผู้ชมที่อาจเปลี่ยนไปหลังผ่านพ้นวิกฤติ COVID-19 ไปแล้ว โดยผู้คนจะได้ดูชีวิตของคนอื่นมากขึ้น
“ผมรู้สึกถึงความอ่อนแอทั้งกายใจ เราได้ตระหนักถึงนาฬิกาชีวิตของเรา ทั้งภายนอกและในจิตใจ ผมจำกิจวัตรยามเข้าของผมค่อนข้างชัดเจน ผมจำทุกก้าวที่ผมเดินในขณะไปเตรียมอาหารเข้าได้ ผมจำทิศทางการเคลื่อนของดวงอาทิตย์ตามเส้นเวลาได้
เพื่อคงสติของเราไม่ให้กระเจิงไป พวกเราบางคนใช้เทคนิกการฝึกควบคุมสติ เราพยายามสังเกตสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา, อามรณ์, การกระทำ, เวลา, ความไม่แน่นอนของชีวิต เมื่ออนาคตนั้นยังคลุมเครือ ปัจจุบันก็คือสิ่งที่ทรงคุณค่าที่สุด
ผมได้จินตนาการว่า สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนี้อาจทำให้เกิดคนกลุ่มหนึ่งที่สามารถพัฒนาทักษะการจดจ่อกับ ณ ช่วงเวลาหนึ่ง ได้นานกว่าคนกลุ่มอื่น พวกเขาสามารถจ้องมองบางสิ่งบางอย่างได้เป็นเวลานาน พวกเขาเติบโตขึ้นพร้อมด้วยการรับรู้ทั้งหมดทุกอย่าง
หลังจากที่เราได้เอาชนะไวรัสร้ายนี้ได้ และอุตสาหกรรมภาพยนตร์ได้กลับมาเดินหน้าอีกครั้ง คนกลุ่มใหม่นี้ (เรียกว่านักชมภาพยนตร์) จะไม่ต้องการเดินทางไปกับภาพยนตร์แบบเดิม ๆ อย่างที่เคยเป็น พวกเขาได้เป็นเลิศในศิลปะการดู ทั้งการดูเพื่อนบ้าน, ดูบนดาดฟ้า และดูที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ พวกเขาได้รับการฝึกผ่านวิดีโอคอลจำนวนมากกับเพื่อน พวกเขาต้องการภาพยนตร์ที่มีความใกล้เคียงกับชีวิตจริงมากขึ้น พวกเขาต้องการภาพยนตร์ที่เป็นปัจจุบัน ซึ่งจะไม่มีการเติมเต็มระหว่างทาง หรือจุดหมายปลายทางอีกต่อไป”
คุณอภิชาติพงศ์ เริ่มลงลึกถึงสภาวะจิตใจของคนในสังคมใหม่ที่ต่างเร่งรีบและเย็นชา
“พวกเขาจะได้รับการแนะนำใช้ชมภาพยนตร์ของ Béla Tarr (เบลา ทาร์), Tsai Ming-Liang (ไฉ้ หมิงเลี่ยง), Lucrecia Martel อาจจะมีของ อภิชาติพงศ์ (ตัวเขาเอง) และ Pedro Costa (เปโดร กอสตา) ด้วย ผู้สร้างภาพยนตร์เหล่านี้อาจกลายเป็นคนร่ำรวยจากการขายตั๋วเข้าชมได้เป็นจำนวนมาก พวกเขาอาจขื้อแว่นกันแดด หรือกองกำลังทหารรับษาความปลอดภัย พวกเขาอาจจะซื้อคฤหาสน์ หรือรถยนต์ หรือโรงงานบุหรี่ และหยุดสร้างภาพยนตร์ไปเลย แต่ทันทีที่ผู้ชมได้ชมภาพยนตร์อันเนิบช้าเหล่านี้ก็อาจกล่าวโทษว่าเดินทางเร็วเกินไปด้วยซ้ำ อาจมีป้ายประท้วงที่เขียนว่า เราไม่ต้องการพล็อตเรื่อง, ไม่ต้องการการเคลื่อนกล้อง, ไม่ต้องการการตัอต่อ, ไม่ต้องการดนตรี และไม่ต้องการให้มีอะไรเลย
จะมี Covid-19 Cinema Manifesto (CCM) เกิดขึ้นในโลกภาพยนตร์ เพื่อปลดแอกตนเองออกจากโครงสร้างและการเดินทาง ภาพยนนตร์ของเราจะไม่เป็นที่พึงพอใจ จุดหมายปลายทางที่ถูกวางไว้คือผู้ชมที่รู้แจ้งแทบจะทุกทุกสิ่ง”
- ปล. รายชื่อผู้สร้างภาพยนตร์ข้างต้น ล้วนแล้วแต่นำเสนอผลงานเชิงศิลปะที่มีความเนิบช้า แต่เต็มไปด้วยรายละเอียด
“อาจมีการรณรงค์ไปทั่วโลกคล้ายโรคระบาด อาจมีเทศกาลภาพยนตร์ Nothing Film Festival™ กลายเป็นคนเย็นชาที่แกล้งทำเป็นมีความรู้สึก พวกเขาหายใจและเคี้ยวอาหารช้า ๆ, ไม่แสดงความรุ้สึกทางใบหน้า จากนั้นก็กลับไปร้องตะโกนที่บ้าน เขานอนและไปตะโกนต่อในฝัน
ไม่นานคนกลุ่มนี้ก็เริ่มมารวมตัวกันในตรอกมืด ๆ พวกเขาเริ่มพูดกันอย่างรวดเร็วโดยไม่ยอมให้อีกฝ่ายพูดจบประโยคเสียก่อน พวกเขาดื่มด่ำกับความคิดหลาย ๆ อย่างพร้อมกัน”
วันหนึ่งได้มีชายหนุ่มบอกว่าเขามีภาพยนตร์มาให้ดี เขาชวนเพื่อนไปดูที่ห้องใต้ดิน คนกลุ่มนี้ต่างตกตะลึงและจ้องมองภาพของฉากนอกกระจกรถยนต์เป็นเวลา 3 ชั่วโมง เป็นครั้งแรกที่พวกเขาได้นั่งเฉย ๆ และสงบจิตใจ
แม้จะมีการสั่งห้าม แต่ก็มีการฉายภาพยนตร์นี้ต่อไปที่สถานที่ลับต่าง ๆ ผู้คนต่างรวมตัวกันมาดูภาพกิ่งไม้, ทะเล, สายลม เป็นระยะเวลาหลายชั่วโมง”
ในท้ายที่สุด คุณอภิชาติพงศ์ ได้เปรียบเปรยถึงการกลับยังมาสู่จุดเริ่มต้นของการชมภาพยนตร์แบบช้า ๆ กันอีกครั้ง
“บ่ายวันหนึ่ง ได้มีการฉายภาพผู้ชายกำลังนอนหลับเป็นเวลา 5 ชั่วโมง ตามมาด้วย
ภาพของชาย 3 คน นั่งอยู่ที่โต๊ะในช่วงบ่าย โดยคนหนึ่งกำลังสูบบุหรี่และอ่านหนังสือพิมพ์ ส่วนอีก 2 คน กำลังเล่นไพ่ จากนั้นคนที่สูบบุหรี่ก็เรียกให้หญิงสาวนำขวดไวน์มาให้ เขารินไวน์ให้กับเพื่อน ๆ และดื่มกันพร้อมส่งเสียงดัง จากนั้นหญิงสาวก็กลับมาพร้อมถาด แล้วจึงแย่งแก้วของชายที่สูบบุหรีไป (ณ จุด ๆ นี้ ผู้ชมคนหนึ่งเก็บอาการไว้ไม่อยู่ เขาก้าวออกไปข้างนอกและปิดตาลง)
ชายที่สูบบุหรี่ยังคงอ่านหนังสือพิมพ์ต่อไป เขาชี้ไปที่บทความให้เพื่อดู พวกเขาหัวเราะร่วน ในขณะเดียวกัน เขาก็หยิบกระดาษแผ่นหนึ่งออกมาจากกล่องบุหรี่ หรือซองจดหมาย …ภาพยนตร์จบลง และผู้ชมยังนั่งนิ่งอย่างเงียบ ๆ
ชาย 3 คน ในภาพยนตร์ ดูเหมือนจะเป็นคนไร้สามัญสำนึกและความรู้สึกผิดชอบ ซึ่งมีความยาว 67 วินาที
จากนั้นจึงฉายภาพยนตร์ที่มีรถไฟมาจอดเทียบสถานี แล้วผู้คนจึงเดินลงมาพบปะกันบนชานชาลา โดยมีความยาว 50 วินาที และภาพยนตร์อีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งเป็นภาพช่วงบ่ายที่คนงานดินออกมาจากโรงงาน โดยมีความยาว 46 วินาที”
- ปล. เป็นการกล่าวอ้างถึงภาพยนตร์ต่าง ๆ คือ ภาพยนตร์ขนาดสั้นยุคแรก ๆ ที่ยังไม่ใช้ฟิล์ม (ยุค 1890s) โดยใช้เฟรมภาพต่อเนื่องฉายผ่านเครื่อง Kinetoscope ความยาว 67 วินาที, ภาพยนตร์เรื่องแรกของโลกที่มีชื่อว่า “Arrival of the Train” ซึ่งความยาว 50 วินาที และภาพยนตร์เรื่องแรก ๆ ของประเทศฝรั่งเศส เรื่อง “Employees Leaving the Lumie’re Factory” ซึ่งเป็นผลงานของพี่น้องของน้อง ลูมิแอร์ และความยาว 46 วินาที
อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล เป็นผู้กำกับไทยที่ได้รับรางวัลมากมายจากต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รางวัลจากเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ (Cannes Film Festival) ไม่ว่าจะเป็น
- Blissfully Yours หรือ สุดเสน่หา (2002) : ชนะรางวัล Un Certain Regard Award และชิงรางวัล Palme d’Or
- Tropical Malady หรือ สัตว์ประหลาด (2004) : ชนะรางวัล Jury Prize
- Uncle Boonmee Who Can Recall His Past Lives หรือ ลุงบุญมีระลึกชาติ (2010) : ชนะรางวัล Palme d’Or
- Cemetery of Splendor หรือ รักที่ขอนแก่น (2015) : ชิงรางวัล Un Certain Regard Award
ทั้งนี้ ผลงานของ อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล จะเน้นไปที่การแสดงให้เห็นวิถีชีวิตของไทยอันเนิบช้า แต่ลงลึกถึงจิตใจอันเปราะบาง ซึ่งน่าสนใจว่าผู้ชมในยุคต่อไปจะมองผลงานอันล้ำค่าเหล่านี้เป็นอย่างไรบ้าง
ข้อมูลอ้างอิง : filmkrant
พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส