หลังประกาศ พระราชกำหนดในสถานการณ์ฉุกเฉินฉบับที่ 7 (การผ่อนปรนระยะที่ 2) ที่ให้เริ่มมีผลบังคับใช้วันที่ 17 พฤษภาคมเป็นต้นไป อันมีเนื้อหาสำคัญในกาารผ่อนปรนให้กิจการต่าง ๆ กลับมาเปิดทำการได้ตามกำหนด ในที่สุดกองถ่ายทำภาพยนตร์และรายการโทรทัศน์ อันเป็นฟันเฟืองสำคัญในอุตสาหกรรมบันเทิงบ้านเราจะมีโอกาสได้กลับมาเปิดกล้องถ่ายทำกันเสียที โดยมีเงื่อนไขและแนวปฏิบัติที่ชัดเจนมากขึ้น และ WHAT THE FACT ก็จะขอสรุปแนวปฏิบัติต่าง ๆ โดยอ้างอิงทั้งข้อมูลจากราชกิจจานุเบกษาฉบับล่าสุดและข้อมูลจาก กลุ่มสมาพันธ์ทีมงานถ่ายทำภาพยนตร์และดิจิทัลมีเดีย (ประเทศไทย) หรือ FDCA : Film & Digital Media Crew Association (Thailand) มาผนวกกันแต่ละข้อ จะมีอะไรบ้างนั้น เราลองมาดูกันทีละข้อเลย
1. ทีมงานรับผิดชอบตัวเอง
ในส่วนแรกแทบไม่ได้ต่างจากมาตรการของธุรกิจอื่น ๆ ที่จะต้องรับผิดชอบตัวเองเพื่อการป้องกันโรค โดยมีเนื้อหาจาก ราชกิจจานุเบกษา ดังนี้
ให้ผู้ร่วมงานทุกคน สวมหน้ากากอนามัย หรือ หน้ากากผ้า นักแสดงให้สวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้า ก่อนเข้าและออกจากหน้าฉาก
ซึ่งตรงนี้ถือเป็น ฐานวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) ที่น่าจะคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว
2. ล้างมือ
ตรงนี้เชื่อเลยว่าจะเป็นการเปลี่ยนวิถีชีวิตคนกองถ่ายให้คำนึงถึงสุขลักษณะมากขึ้น โดยเนื้อหาของราชกิจจานุเบกษา ระบุไว้ชัดเจนว่า
ให้มีจุดบริการล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค
เรียกได้ว่าจะเป็นการเพิ่มในส่วนของงบประมาณที่กองถ่ายจะต้องใช้เงินเพิ่มในส่วนนี้แน่ ๆ เพื่อให้เกิดสุขอนามัยในกองถ่ายให้ได้มากที่สุด
3. การคัดกรองผู้ป่วย
หนึ่งในส่วนกิจกรรมที่ต้องเพิ่มมาสำหรับการออกกองถ่ายพ.ศ.นี้เลยคือการต้องผ่านด่านตรวจก่อนเข้าทำงาน ซึ่งข้อความในราชกิจจานุเบกษาระบุไว้ว่า
มาตรการคัดกรองไข้ และอาการไอ หอบเหนื่อยจาม หรือเป็นหวัด สำหรับผู้ร่วมงาน และนักแสดง
ตามขีดความสามารถ
ซึ่งก็แน่นอนว่าเครื่องมือวัดอุณหภูมิและ แอลกอฮอล์เจล จะกลายเป็นอาวุธด่านแรกที่ช่วยให้ทุกคนทำงานกันได้ปลอดภัยมากขึ้น
4. การเว้นระยะห่างและการจัดการพื้นที
ตรงนี้ในราชกิจจานุเบกษา เน้นเป็นพิเศษ โดยมีทั้งมาตรการหลักอย่าง
1. การถ่ายทำรายการโทรทัศน์ ภาพยนตร์และวีดีทัศน์ ซึ่งเมื่อรวมคณะทำงานหน้าฉากและทุกแผนก
แล้วต้องมีจำนวนไม่เกิน 50 คน และต้องไม่มีผู้ชมเข้าร่วมรายการ
2. ให้เว้นระยะนั่งหรือยืนห่างกันอย่างน้อย ๑ เมตร
3. ให้ควบคุมจำนวนผู้ร่วมงาน มิให้แออัดและเป็นการรวมกลุ่ม ทั้งนี้โดยส่วนงานหน้าฉากมีการรวมกลุ่มได้
ไม่เกิน ๑๐ คน หรือเป็นไปตามมาตรการป้องกันโรคตามที่ราชการกำหนดและให้ออกนอกบริเวณถ่ายทำ
ทันทีเมื่อเสร็จภารกิจ
ส่วนมาตรการเสริมที่ได้ระบุไว้ในราชกิจจานุเบกษามีดังนี้
1. จัดให้มีการระบายอากาศที่ดีขณะถ่ายทำภายในอาคาร และเลี่ยงการถ่ายทำในบริเวณที่อับอากาศ
2. เลือกใช้พื้นที่ถ่ายทำที่มีบริเวณกว้างเพียงพอ เพื่อให้แบ่งพื้นที่ตามส่วนงานให้ชัดเจน
ในอัตราส่วน 1 คนต่อ 10 ตารางเมตร และแต่ละส่วนงานห่างกันอย่างน้อย 2 เมตร
3. ให้มีการเว้นระยะห่าง ทั้งผู้ดำเนินรายการ ผู้ร่วมรายการ ผู้อยู่เบื้องหลังการผลิตต่างๆ และงด
รูปแบบกิจกรรมที่มีโอกาสใกล้ชิดกัน ทั้งนี้ให้งดผู้ร่วมชมการถ่ายทำ
นอกจากนี้ยังมีรายละเอียดเพิ่มเติมที่ทาง สมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทยได้แนะนำได้แก่
- ให้จัดตารางการทำงานให้ทำงานหน้าเซ็ตฉากละไม่เกิน 1 ชั่วโมง
- ลงทะเบียนการถ่ายทำในแอป ไทยชนะ ล่วงหน้าก่อนถ่ายทำ 3 วัน
- จัดตารางการถ่ายทำไม่ให้เกินกำหนดเคอร์ฟิว
- ต้องมีการจัดทำทะเบียนรายชื่อทีมงาน พร้อมเบอร์ติดต่อและข้อมูลการเดินทางก่อนวันถ่ายทำ
ซึ่งตรงนี้ก็ถือเป็นมาตรการที่รัดกุมพอสมควร แต่จะให้ดีอยากให้ทางกองถ่ายลองพิจารณาการแบ่งสถานีประจำการจากมาตรการของ Lionsgate เพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัยประกอบด้วยก็จะดีมากครับ
อ่านมาตรการความปลอดภัยของ Lionsgate ได้ที่นี่ https://www.beartai.com/lifestyle/432234
5. การทำความสะอาดอุปกรณ์
แน่นอนเลยว่า อุปกรณ์และพื้นที่ที่ใช้ในกองถ่ายมักถูกเปลี่ยนมือใช้งานอยู่บ่อยครั้งและในราชกิจจานุเบกษาก็ระบุมาตรการหลักไว้ว่า
ทำความสะอาดอุปกรณ์ พื้นผิวสัมผัสบ่อยๆ ทั้งก่อนและหลังทำงาน และกำจัดขยะมูลฝอย
ซึ่งตรงนี้ต่อไปอาจจะมีการลงรายละเอียดที่มากขึ้น เพราะจากมาตรการกองถ่ายของเมืองนอก ระบุไว้ถึงขนาดกำหนดให้ทำความสะอาดก่อนถ่ายทำกี่ชั่วโมง และต้องทิ้งห้องปิดล็อกไว้ไม่ให้ใครเข้าจนกว่าจะถึงเวลาที่ได้คัดกรองคนเข้าทำงานเลยทีเดียว
6. ให้คำแนะนำและทำความเข้าใจร่วมกันในทีมงาน
ตรงนี้หลายคนอ่านแล้วอาจจะสงสัยว่า มาตรการต่าง ๆ ก็ออกมาแล้วทุกคนพึงรู้และปฏิบัติกันได้อยู่แล้วไม่ใช่เหรอ แต่เพื่อความรัดกุม การกำหนดมาตรการรองให้มีการให้คำแนะนำถึงแนวปฏิบัติต่าง ๆ ก็ย่อมทำให้ทุกคนได้รับรู้และยอมรับในกติการร่วมกันได้ดีกว่าครับ และในราชกิจจานุเบกษาก็มาตรการรองออกมา ความว่า
ให้มีการให้คำแนะนำ ผู้ร่วมงาน นักแสดง และ Outsource ทุกคนก่อนเริ่มงาน พร้อมทั้งมี การตรวจตรา ควบคุม กำกับ การทำงาน ลดการรวมกลุ่ม ใกล้ชิดกันและพูดคุยเสียงดัง ตามมาตรการ ฯ อย่างเคร่งครัด
7. หน่วยงานรับผิดชอบ
ในราชกิจจานุเบกษาได้กำหนดหน่วยงานที่รับผิดชอบไว้ 3 หน่วยงานได้แก่
1) ก รุง เ ท พ ม ห า น ค ร ศปก.จังหวัด ศปก.อ ำเภอ ศปก.ตำบล และ อปท. มีหน้าที่กำกับดูแล
2) วธ. ออกคู่มือการปฏิบัติตามความเหมาะสมกับพื้นที่ และ กำกับดูแล ให้เป็นไปตามมาตรการที่กำหนด
3) ศปม. จัดกำลังสายตรวจร่วม ตำรวจ ทหาร สธ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อตรวจการประกอบการ
ห รื อการจัด กิจกรรมให้เป็นไปตามมาตรการที่กำหนด
โดยสรุปแล้วเป็นส่วนของการบอกหน่วยงานที่รับผิดชอบดังนี้เริ่มตั้งแต่ ศูนย์ปฏิบัติ (ศปก) ทั้ง จังหวัด อำเภอ ตำบล โดยมี องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท) ดูแล โดยทาง ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง (ศปม) จะจัดกำลังในการตรวจทั้ง ตำรวจ ทหาร และ สาธารณสุข (สธ) มาดูแลกำกับการดำเนินกิจการให้เป็นไปตามที่ได้ตกลงกันไว้ และแน่นอน กระทรวงวัฒนธรรม (วธ) จะรับหน้าที่ในการออกคู่มือปฏิบัติงานแก่เหล่ากองถ่ายต่าง ๆ ซึ่งจากข่าวที่ได้รับมาตัวคู่มือจะออกมาในวันที่ 18 พฤษภาคม 2563 ครับ
อัปเดตล่าสุดจากรายการทางเพจ สมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ คือ กองถ่ายทำภาพยนตร์และรายการไม่ต้องขออนุญาติทางการแล้วนะครับ โดยทางการจะเช็คจากระบบของแอปพลิเคชัน “ไทยชนะ” เอาครับ
8. การจัดเตรียมอาหาร
อาหารถือเป็นอีกหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญในการทำงานกองถ่ายและถือเป็นจุดเสี่ยงที่สุดในการแพร่เชื้อโรค โดยในราชกิจจานุเบกษาได้ให้มาตรการรองไว้ดังนี้
ให้มีการจัดอาหารและเครื่องดื่มเป็นส่วนบุคคล ไม่ให้ตักอาหารในภาชนะหรือใช้อุปกรณ์ร่วมกัน
ซึ่งก็ถือเป็นแนวปฏิบัติของหลาย ๆ กองถ่ายทั่วโลกอย่างของ Lionsgate ก่อนหน้านี้ก็ถึงกับมีแนะนำว่าควรจัดเป็นอาหารกล่องให้ทีมงาน นักแสดง แต่ละคนแยกกันไปทานส่วนตัวได้เลย และแน่นอนว่าการแยกภาชนะและเทรนด์ในการใช้ภาชนะและช้อน ส้อม พลาสติกแบบใช้แล้วทิ้งน่าจะกลายเป็นมาตรฐานใหม่ในการเสิร์ฟอาหารกองถ่ายเป็นแน่แท้
9. ระบบการลงทะเบียนออนไลน์
ในข้อความของราชกิจจานุเบกษาระบุไว้เพียงคร่าว ๆ ถึงการใช้แอปพลิเคชันในการลงทะเบียน และใช้ควบคุมความหนาแน่นของกลุ่มบุคคลไว้เพียงว่า
จัดให้มีการลงทะเบียนก่อนเข้ากองถ่ายทำ และเพิ่มมาตรการใช้แอพพลิเคชั่นทางโทรศัพท์เคลื่อนที่
ตามที่ทางราชการกำหนด หรือใช้มาตรการควบคุมด้วยการบันทึกข้อมูลและรายงานทดแทนด้วย
ซึ่งแอปพลิเคชัน ที่ว่าก็คือแอป “ไทยชนะ” นั่นเองซึ่งหลักการทำงานคร่าว ๆ มีดังนี้
- เจ้าของกิจการ หรือ บริษัทโปรดักชัน จะต้องลงทะเบียนกิจการของตนในแอปก่อน เริ่มวันที่ 17 พฤษภาคม 2563
- รับ QR CODE จากเว็บไซต์ที่ให้ลงทะเบียน
- พิมพ์ QR CODE ติดหน้าร้าน หรือ สถานที่ถ่ายทำของตน โดยต้องระบุพื้นที่ที่จะใช้ทำงานให้ชัดเจนเพื่อคำนวนว่า พื้นที่ดังกล่าวรองรับทีมงานได้ประมาณกี่คน ไม่ให้หนาแน่นเกินไป
- ระบบจะให้คะแนนพื้นที่ของกิจการนั้น ๆ
แนวปฏิบัติของ กลุ่มสมาพันธ์ทีมงานถ่ายทำภาพยนตร์และดิจิทัลมีเดีย (ประเทศไทย)
ไม่เพียงแต่หน่วยงานราชการเท่านั้นแต่ด้านเอกชนเองก็มีความพยายามในการกำหนดแนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยที่เข้มข้นอีกระดับโดยจะขออนุญาติยกชุดภาพนำเสนอของคุณ ภควัต สุพรรณขันธ์ ในชื่อเฟซบุ๊ค Gong Suphanakhan เป็นผู้ริเริ่มการรวมกลุ่มคนกองถ่ายกลุ่มนี้ขึ้นมา มานำเสนอด้านล่างได้เลยครับ
ตัวเลขเพื่อเป็นแนวปฏิบัติในงานถ่ายทำ
แผนภาพแสดงกิจกรรมกองถ่าย
นอกจากนี้ยังมีแผนผังที่รายการสดทางเพจ สมาคมผู้กำกับภาพยนตร์แห่งประเทศไทยได้ทำเป็น 3D Floorplan จำลองการวางผังทีมงานไว้คร่าว ๆ อีกด้วย
ปิดท้ายกันที่วีดีโอบันทึกการถ่ายทอดสดวันที่ 17 พฤษภาคม 2563 ที่น่าจะตอบคำถามคาใจใครหลายคนทั้ง การลงทะเบียนแอป ไทยชนะ และ รูปแบบการถ่ายเททีมงานเข้ากองถ่ายได้เห็นภาพที่สุดแล้ว
อ้างอิง