แรงบันดาลใจของ พอล แม็กคาร์ตนีย์ และ จอห์น เลนนอน คู่หูนักแต่งเพลงหลักของวงสี่เต่าทอง The Beatles นั้นมีที่มาที่กว้างขวางและหลากหลายมาก แม้ว่าส่วนใหญ่แล้วมันจะมีรากฐานมาจากเพลงร็อกแอนด์โรล ความรัก แรงปรารถนา และ การออกตระเวนราตรี แต่มีอยู่หนึ่งต้นทางของแรงบันดาลใจที่แฟน ๆ จะต้องต้องประหลาดใจเมื่อรู้ว่า “Psycho” ภาพยนตร์คลาสสิกของราชาหนังระทึกขวัญ อัลเฟรด ฮิตช์ค็อก (Alfred Hitchcock) นั้นมีอิทธิพลต่อบทเพลงสุดคลาสสิกเพลงหนึ่งของวงสี่เต่าทอง

ภาพยนตร์เรื่อง Psycho (1960) ภาพยนตร์คลาสสิกของราชาหนังระทึกขวัญ อัลเฟรด ฮิตช์ค็อก (Alfred Hitchcock)

ความสามารถในการแต่งเพลงของแม็กคาร์ตนีย์นั้นเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม นักร้องและมือเบสของวงคนนี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในนักแต่งเพลงชาวอังกฤษที่ดีที่สุดตลอดกาลซึ่งเป็นรางวัลที่เขาครองตำแหน่งมาจนถึงทุกวันนี้และยังคงได้รับการยกย่องอยู่เสมอในทุก ๆ ครั้งที่เขาได้เปิดตัวผลงานใหม่ ในขณะที่นักแต่งเพลงคนอื่น ๆ อาจได้รับแรงบันดาลใจมาจากงานวรรณกรรม ความรักของคนหนุ่มสาวและชีวิตประจำวัน แต่ดูเหมือนว่าพอล แม็กคาร์ตนีย์จะพบหนทางที่มากกว่านั้นนั่นคือการค้นพบแรงบันดาลใจจากความสยองและระทึกขวัญและปล่อยให้สิ่งนั้นปลุกพลังความสร้างสรรค์ออกมาจนกลายเป็นหนึ่งในบทเพลงที่แม็กคาร์ตนีย์รักที่สุดนั่นคือ ‘Eleanor Rigby’

สี่เต่าทองเดอะบีเทิลส์

แม็กคาร์ตนีย์ไม่ได้ถูกดึงดูดเข้าไปในตัวละครที่ลึกลับซับซ้อนอย่างนอร์แมน เบตส์หรือการฆาตกรรมที่เป็นหัวใจของภาพยนตร์เรื่องนี้ แต่เป็นบทเพลงประกอบของหนังต่างหากที่กระตุ้นให้แม็กคาร์ตนีย์เกิดแรงบันดาลใจ และคิดว่าเสียงเครื่องสายอันแหลมคมราวคมมีดที่กรีดแทงเข้ามาในร่างกายนั้นจะเข้ากันได้ดีกับบทเพลง Eleanor Rigby

ซาวด์แทร็กของหนังประพันธ์ขึ้นโดย เบอร์นาร์ด เฮอร์มานน์ (Bernard Herrmann) ยอดนักประพันธ์เพลงแห่งวงการภาพยนตร์ เป็นหนึ่งในผลงานเพลงประกอบที่ถูกกล่าวขานมากที่สุดในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์และเป็นหนึ่งในผลงานที่อยู่ท่ามกลางกระแสธารของศิลปะอาวองการ์ดอันล้ำหน้าในยุค 60s เฮอร์มานน์ได้นำเครื่องดนตรีคลาสสิกอย่างไวโอลินที่ให้เสียงอันอิ่มอุ่นมาเปลี่ยนเป็นอาวุธที่รุนแรงเชือดเฉือนและทิ่มแทงสร้างความระทึกเข้าไปในความรู้สึกของเราได้ ใครล่ะจะลืมฉากฆาตกรรมในห้องอาบน้ำได้ลงเมื่อบทเพลงนี้ได้ทำหน้าที่ของมันได้อย่างดีในฉากสุดระทึกอันเป็นตำนานนี้

หลังจากได้ชมผลงานชิ้นเอกของฮิตช์ค็อกและระทึกใจไปกับสกอร์ของเฮอร์มานน์แล้ว แม็กคาร์ตนีย์ก็ไปเล่าแรงบันดาลใจที่เกิดขึ้นให้จอร์จ มาร์ตินโปรดิวเซอร์มือฉมังแห่งวงเดอะบีเทิลส์ฟัง พร้อมทั้งส่งสกอร์ของหนังให้กับมาร์ติน

เขา [พอล] มาหาผลพร้อมกับ ‘Eleanor Rigby’ อันเป็นเพลงที่ต้องการเสียงเครื่องสายมาก ๆ และเสียงเครื่องสายนั้นก็ไม่ควรจะราบรื่นเรียบร้อยในแบบที่ใช้ในเพลง ‘Yesterday’ แต่มันจะต้องเป็นเสียงที่กัด ๆ และน่าหงุดหงิดมาก

มาร์ตินได้รับเอาสกอร์หนัง Psycho ไปฟังรวมไปถึงสกอร์ชิ้นสำคัญจากหนังอีกเรื่องหนึ่งที่แต่งโดยเฮอร์มานน์นั่นก็คือ Fahrenheit 451 ผลงานสุดคลาสสิกจากกลุ่ม French New Wave ผลงานการกำกับของ ฟร็องซัว ทรูว์โฟ (François Truffaut) และเริ่มทำงานอย่างขยันขันแข็งเพื่อบทเพลง Eleanor Rigby สกอร์จากหนังทั้ง 2 เรื่องมีการใช้เสียงจากเครื่องสายที่โดดเด่น ซึ่งนั้นเป็นไอเดียที่ดีสำหรับมาร์ตินที่จะสร้างท่วงทำนองอันแข็งแกร่งให้กับ Eleanor Rigby

ฮิตช์ค็อกและเฮอร์มานน์

วิศวกรของสตูดิโอ เจฟฟ์ เอเมอริก ​(Geoff Emerick) ใช้วิธีการวางไมโครโฟนไว้ใกล้กับนักดนตรีที่กำลังบันทึกเสียงเครื่องสาย ซึ่งมันทำให้นักดนตรีค่อนข้างหงุดหงิดไปบ้างเพราะไมโครโฟนอยู่ใกล้เกินไป ในตอนแรกพวกเขาจะไม่ยอมเล่นหากไม่ย้ายไมโครโฟนออกไปให้ไกลกว่านี้ แต่สุดท้ายก็เจอมาร์ตินกล่อมจนยอมตามในที่สุด การวางไมโครโฟนไว้ใกล้กับนักดนตรีทำให้เสียงเครื่องสายใน Eleanor Rigby มีเสียงที่ “กัดและเสียดแทง” เหมือนอย่างในสกอร์หนังเรื่อง Psycho ซึ่งซาวด์ของเพลงจะช่วยกล่อมเกลาความเหงาและสิ้นหวังของเนื้อร้อง ทำให้ผลลัพธ์ที่ออกมาคือความกลมกล่อมและสมดุล

Psycho ได้สร้างแรงบันดาลใจให้กับบทเพลงจนสมบูรณ์แล้ว แต่ในส่วนของเนื้อร้องนั้นแรงบันดาลใจได้เกิดขึ้นมาในอีกรูปแบบหนึ่ง เมื่อผมเริ่มแต่งทำนอง ผมก็พัฒนาเนื้อเพลงไปด้วย ซึ่งทั้งหมดนั้นมาจากบรรทัดแรกของเพลงเลย ผมเองก็ยังสงสัยว่ามีผู้หญิงที่ชื่อ Eleanor Rigby จริงหรือเปล่า ตอนนั้นจะมีจริงหรือไม่เราไม่รู้ แต่หลังจากที่แม็กคาร์ตนีย์ได้สร้างเรื่องราวของหญิงชราผู้โดดเดี่ยวผ่านท่วงทำนองและเนื้อร้องอันเปี่ยมด้วยชีวิตแล้วเราเชื่อว่ามีแน่ ๆ

ซึ่งมีเรื่องหนึ่งที่น่าตกใจอยู่เหมือนกันนั่นคือชื่อ Eleanor Rigby ถูกพบบนหลุมศพที่โบสถ์ St. Peter’s Parish อันเป็นสถานที่ที่เลนนอนและแม็กคาร์ตนีย์พบกันตอนวัยรุ่น ในการให้สัมภาษณ์ในปี 2018 แม็กคาร์ตนีย์กล่าวว่าเขาไม่รู้จักบุคคลที่ชื่อ Eleanor Rigby หรือหลุมศพนี้เลยเมื่อตอนที่เขาเขียนเพลงนี้

ชื่อ Eleanor Rigby บนหลุมศพที่โบสถ์ St. Peter’s Parish ภาพจาก : Pinterest

แม็กคาร์ตนีย์ได้เล่าถึงที่มาของหญิงชราที่ชื่อ Eleanor Rigby ไว้ว่า “เพลง Eleanor Rigby มีที่มาจากหญิงชราที่ผมเคยรู้จักเมื่อตอนยังเด็ก ด้วยเหตุผลอะไรก็ไม่รู้ผมมักมีความสัมพันธ์ที่ดีกับหญิงชราในละแวกบ้านผมอยู่ 2-3คน เมื่อไม่นานนี้ผมก็คิดขึ้นมาว่าผมไม่รู้ว่าตอนนี้ผมจะเจอพวกเขาได้อย่างไร มันไม่เหมือนกับว่าพวกเขาเป็นครอบครัว แต่ผมมักวิ่งไปหาพวกเขาและซื้อของให้พวกเขาเสมอนั่นทำให้ผมรู้สึกดีมาก ผมมักจะนั่งคุยกับพวกเขาและพวกเขามักมีเรื่องราวที่น่าทึ่งมาเล่าให้ผมฟังเสมอ นั่นคือสิ่งที่ผมชอบมาก ๆ  พวกเขาจะมีเรื่องราวจากช่วงสงครามมาเล่าและหญิงชราเหล่านี้ก็เคยเข้าร่วมในสงครามด้วย”

Eleanor Rigby

Died in the church and was buried along with her name

Nobody came

Father McKenzie

Wiping the dirt from his hands as he walks from the grave

No one was saved”

แม็กคาร์ตนีย์ได้เล่าถึงที่มาของหญิงชราที่ชื่อ Eleanor Rigby ไว้ว่า “เพลง Eleanor Rigby มีที่มาจากหญิงชราที่ผมเคยรู้จักเมื่อตอนยังเด็ก ด้วยเหตุผลอะไรก็ไม่รู้ผมมักมีความสัมพันธ์ที่ดีกับหญิงชราในละแวกบ้านผมอยู่ 2-3คน เมื่อไม่นานนี้ผมก็คิดขึ้นมาว่าผมไม่รู้ว่าตอนนี้ผมจะเจอพวกเขาได้อย่างไร มันไม่เหมือนกับว่าพวกเขาเป็นครอบครัว แต่ผมมักวิ่งไปหาพวกเขาและซื้อของให้พวกเขาเสมอนั่นทำให้ผมรู้สึกดีมาก ผมมักจะนั่งคุยกับพวกเขาและพวกเขามักมีเรื่องราวที่น่าทึ่งมาเล่าให้ผมฟังเสมอ นั่นคือสิ่งที่ผมชอบมาก ๆ  พวกเขาจะมีเรื่องราวจากช่วงสงครามมาเล่าและหญิงชราเหล่านี้ก็เคยเข้าร่วมในสงครามด้วย”

Eleanor Rigby เป็นเพลงเดียวของเดอะบีเทิลส์ที่ไม่มีใครในวงเล่นเครื่องดนตรีเลย พวกเขาเพียงร้องคลอไปกับเสียงบรรเลงจากเครื่องสายเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีการถกเถียงกันระหว่างจอห์น เลนนอนและพอล แม็กคาร์ตนีย์ว่าใครเป็นคนเขียนเพลงนี้มากกว่ากัน แต่ด้วยการเป็นคนค้นพบแรงบันดาลใจทั้งในทำนองและเนื้อร้องที่มีการเล่าเรื่องอันโดดเด่นจึงมีแนวโน้มไปทางแม็กคาร์ตนีย์มากกว่า

เรามาฟังเพลง ‘Eleanor Rigby’ ของ The Beatles กันอีกสักทีและค้นหาแรงบันดาลใจจากซาวด์แทร็กหนังเรื่อง Psycho ที่ซ่อนอยู่ในบทเพลงนี้กันครับ

Source

Far Out Magazine

Cheatsheet

Rollingstone

Genius

Paul McCartney Breaks Down His Most Iconic Songs | GQ

พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส