สื่อญี่ปุ่นรายงานว่า อธิการบดีของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยโอซากะ (Hospital of Osaka University School of Medicine) ประเทศญี่ปุ่น ได้ออกมาแถลงข่าวเมื่อวันที่ 20 ตุลาคมที่ผ่านมาว่า พบความผิดปกติของระบบท่อประปาของอาคารในแผนกคลินิกของโรงพยาบาลโอซากา ของคณะแพทยศาสตร์มีความผิดปกติ ซึ่งทำให้ก๊อกน้ำ 120 ตัวเชื่อมต่อกับท่อน้ำสำหรับใช้บริโภคและทำความสะอาด กลับเชื่อมต่อกับท่อน้ำที่ใช้ในห้องน้ำเชื่อมต่อกับน้ำที่ได้จากการบำบัดสำหรับใช้ในห้องสุขามานานเกือบถึง 30 ปี

โรงพยาบาล ห้องน้ำ ญี่ปุ่น
อาคารพยาบาล คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยโอซากะ (Hospital of Osaka University School of Medicine)

เว็บไซต์ข่าวของหนังสือพิมพ์ ‘โยะมิอุริ ชิมบุน’ (Yomiuri Shimbun) ของญี่ปุ่นได้รายงานว่า เมื่อวันที่ 20 ตุลาคมที่ผ่านมา บุคลากรของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยโอซากา ได้แถลงข่าวอย่างเป็นทางการว่า อาคารแผนกคลินิกของโรงพยาบาล ที่อยู่ในบริเวณพื้นที่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยโอซากะ ที่ตั้งอยู่ ณ เมืองซุยตะ จังหวัดโอซากะ ได้ตรวจพบว่ามีความผิดปกติของระบบท่อประปาภายในอาคาร

โรงพยาบาล ห้องน้ำ ญี่ปุ่น
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยโอซากะ (Hospital of Osaka University School of Medicine)

โดยพบว่า หัวก๊อกน้ำ 120 ตัวที่เจ้าหน้าที่และผู้ป่วยภายในโรงพยาบาลใช้สำหรับบริโภค ทั้งเป็นน้ำดื่ม ล้างมือ บ้วนปาก ฯลฯ นั้นเป็นท่อน้ำที่ต่อมาจากระบบสุขาเพื่อสำหรับใช้ในห้องส้วม เนื่องจากเป็นน้ำบาดาลที่ไม่ได้มีการบำบัดอย่างถูกสุขลักษณะเพียงพอสำหรับใช้ในการบริโภค ทำให้เจ้าหน้าที่และผู้ป่วยจึงได้ใช้น้ำเหล่านั้นในการบริโภคอย่างไม่ตั้งใจมานานถึง 30 ปี

https://www.youtube.com/watch?v=Y4jg9BUTI1M&ab_channel=ANNnewsCH

ตามรายงานพบว่า อาคารโรงพยาบาลแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นแล้วเสร็จในปี 1993 หรือเมื่อ 28 ปีที่แล้ว โดยในระหว่างก่อสร้างคาดว่า มีการออกแบบและวางระบบที่ผิดพลาดในระหว่างการวางระบบน้ำประปา โดยแทนที่จะวางระบบน้ำสะอาดที่ผ่านการบำบัดต่อเข้าท่อน้ำสำหรับบริโภค ผู้รับเหมากลับสลับต่อท่อน้ำบาดาลที่มีการบำบัดอย่างง่าย ๆ สำหรับน้ำเพื่อใช้ชำระในห้องสุขาแทนมาตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ซึ่งกว่าจะพบปัญหานี้ก็ต้องรอมานานกว่า 30 ปี ในระหว่างที่กำลังมีการสำรวจเพื่อเตรียมโครงการก่อสร้างอาคารเพื่อการวินิจฉัยและรักษาโรคสำหรับผู้ป่วยนอกแห่งใหม่ โดยเจ้าหน้าที่ที่ทำการสำรวจได้พบสิ่งผิิดสังเกตนี้เข้า

โดยปกติแล้ว โรงพยาบาลได้มีการตรวจคุณภาพน้ำ เพื่อตรวจดูสี กลิ่น รสชาติ และคุณภาพด้านอื่น ๆ เป็นประจำสัปดาห์ละครั้งอยู่แล้ว ซึ่งในบันทึกการตรวจคุณภาพน้ำตั้งแต่เดือนเมษายน ปี 2014 ของมหาวิทยาลัยโอซากะ ไม่พบว่ามีสิ่งแปลกปลอมหรือความผิดปกติที่ทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพแต่อย่างใด

โรงพยาบาล ห้องน้ำ ญี่ปุ่น
‘คาซึฮิโกะ นะกะทะนิ’ (Kazuhiko Nakatani) ผู้อำนวยการโรงพยาบาล และรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยโอซากะ
โรงพยาบาล ห้องน้ำ ญี่ปุ่น
อาคารพยาบาล คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยโอซากะ (Hospital of Osaka University School of Medicine)

‘คาซึฮิโกะ นะกะทะนิ’ (Kazuhiko Nakatani) ผู้อำนวยการโรงพยาบาล และรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยโอซากะ ได้โค้งคำนับและกล่าวขออภัยในกรณีนี้ระหว่างการแถลงข่าวว่า “ผมมีความรู้สึกเสียใจเป็นอย่างมาก ที่โรงพยาบาลของมหาวิทยาลัย ที่ให้บริการการรักษาพยาบาลระดับสูงนั้นทำให้เกิดความกังวลโดยไม่จำเป็น แม้ว่าจะมีการตรวจคุณภาพน้ำสัปดาห์ละครั้ง แต่ผมก็ไม่อาจจะพูดได้เต็มปากว่า (น้ำจากห้องสุขา) จะส่งผลต่อสุขภาพหรือไม่”

และยังมีการเผยเพิ่มเติมว่า อาคารทั้ง 105 แห่งภายในวิทยาเขต มีวางระบบท่อน้ำบาดาลเข้ากับก๊อกน้ำที่ใช้บริโภคด้วยเช่นกัน ซึ่งในขณะนี้ทางมหาวิทยาลัยกำลังทำการตรวจสอบระบบท่อประปาทั่วทั้งวิทยาเขตอย่างละเอียด

โรงพยาบาล ห้องน้ำ ญี่ปุ่น

เหตุการณ์นี้ทำให้เกิดกระแสขึ้นอย่างกว้างขวางในญี่ปุ่น ทำให้ชาวเน็ตญี่ปุ่นจำนวนมากต่างแสดงความเห็นต่าง ๆ เช่น “นี่ไม่ใช่ความผิดของโรงพยาบาล แต่คนที่ทำงานก่อสร้างควรต้องรับผิดชอบ” “อย่างไรก็ตาม ก็ควรต้องมีการตรวจสอบอย่างละเอียดว่าใคร และเมื่อไรที่มีการเชื่อมต่อท่อน้ำผิดพลาด” “ก็หวังว่าคงไม่่มีใครมีปัญหาสุขภาพจากเรื่องนี้ล่ะนะ”

และ “เหมือนเพื่อนเคยบอกกับฉันมาก่อนนะว่าน้ำที่โรงพยาบาลนี้รสชาติดี แต่ว่าการที่ไม่ได้พบปัญหาอะไรก็ไม่ได้แปลว่าคุณภาพน้ำไม่มีปัญหาหรอกนะ”


อ้างอิง | อ้างอิง | อ้างอิง | อ้างอิง

พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส