ไม่บ่อยครั้งนักที่เราจะได้เห็นสภาพบรรยากาศที่สุดขั้วเกิดขึ้นในสถานที่เดียวกัน เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ช่างภาพท้องถิ่นชาวซีเรียได้บันทึกภาพที่แปลกตาของ ‘ทะเลทรายซาฮารา’ ซึ่งเป็นทะเลทรายที่ใหญ่และขึ้นชื่อว่าเป็นพื้นที่ที่แห้งแล้งและมีอุณหภูมิสูงที่สุดในโลก กลับถูกปกคลุมด้วยผลึกหิมะไปทั่วพื้นที่ โดยเฉพาะในบริเวณประเทศแอลจีเรียและโมร็อกโก กลายเป็นภาพแปลกตาที่หาได้ยากซึ่งเกิดขึ้นได้ไม่บ่อยนัก ครั้งนี้ถือว่าเป็นครั้งที่ 4 ในรอบ 42 ปี ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกับอุณหภูมิเฉลี่ยที่ลดต่ำลงเหลือเพียง -3 องศา

ทะเลทรายซาฮารา
ทะเลทรายซาฮารา
ทะเลทรายซาฮารา
‘การิม บูเชตาตา’ (Karim Bouchetata) ช่างภาพผู้บันทึกช่วงเวลาหิมะตกในทะเลทรายซาฮารา

‘การิม บูเชตาตา’ (Karim Bouchetata) ช่างภาพท้องถิ่นแห่งเมือง ‘ไอน์ ซีฟรา’ (Ain Sefra) ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศแอลจีเรีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่บนทะเลทรายซาฮารา ได้บันทึกภาพหิมะปกคลุมเนินทราย และภาพสัตว์ทะเลทรายอย่างแกะและอูฐ ที่ดำรงชีวิตอยู่ท่ามกลางหิมะปกคลุมที่หายากและน่าแปลกตา อันเกิดจากสภาพอากาศหนาวเย็นจัดได้ในช่วงเข้าของวันที่ 19 มกราคมที่ผ่านมา ก่อนที่จะละลายหายไปอย่างรวดเร็วภายในวันเดียวกัน สร้างความประหลาดใจให้แก่ประชาชน 35,000 คนที่อาศัยอยู่ในเมืองนี้เป็นอย่างมาก

ทะเลทรายซาฮารา
ทะเลทรายซาฮารา
ทะเลทรายซาฮารา

‘ไอน์ ซีฟรา’ (Ain Sefra) มีฉายาว่า “ประตูแห่งทะเลทรายซาฮารา” (The Gateway to the Sahara Desert) เป็นพื้นที่ทะเลทรายถูกล้อมรอบไปด้วยเทือกเขาแอตลาส (Atlas) อยู่ติดกับบริเวณพรมแดนระหว่างประเทศแอลจีเรียและโมร็อกโก ตั้งอยู่เหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 1,000 เมตร (3,280 ฟุต) โดยปกติแล้วในช่วงเดือนมกราคมของทุกปี อุณหภูมิเฉลี่ยจะลดต่ำลงเหลือเพียง 14 องศาเซลเซียส ขณะที่ในช่วงฤดูร้อน พื้นที่บริเวณนี้จะมีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงถึง 38 องศาเซลเซียส

ทะเลทรายซาฮารา

มีการบันทึกว่า ในช่วงกลางคืนก่อนวันที่ 19 มกราคม อุณหภูมินั้นลดลงเหลือเพียง -3 องศาเซลเซียส (-27 องศาฟาเรนไฮต์) ทำให้เกิดพายุหิมะ และมีหิมะตกลงมาปกคลุมเนินทะเลทรายในช่วงกลางวัน โดยในครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 4 ในรอบ 42 ปีที่เคยเกิดขึ้น นับตั้งแต่ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในปี 1979 ซึ่งมีความรุนแรงจนทำให้ไม่สามารถเดินทางได้

ทะเลทรายซาฮารา
ทะเลทรายซาฮารา
ทะเลทรายซาฮารา

ส่วนในเดือนธันวาคม ปี 2016 มีบันทึกว่าเคยมีหิมะตกปกคลุมผืนทรายหนาถึง 1 เมตร จนทำให้ดาวเทียม Landsat 7 สามารถมองเห็นและเก็บภาพได้จากนอกโลก และอีกครั้งเมื่อวันที่ 7 มกราคม ปี 2018 พบว่ามีหิมะตกเฉลี่ยประมาณ 40 เซนติเมตร (15 นิ้ว)

ทะเลทรายซาฮารา
ภาพจากดาวเทียม Landsat 7 ที่ถ่ายไว้เมื่อเดือนธันวาคม ปี 2016
ที่เคยมีหิมะตกปกคลุมผืนทรายหนาถึง 1 เมตร จนทำให้สามารถมองเห็นหิมะได้จากนอกโลก

ปกติแล้ว พื้นที่ทะเลทรายนั้นมีความแห้งแล้ง และมีอุณหภูมิสูงในตอนกลางวัน โดยเฉพาะทะเลทรายซาฮารา ที่มีพื้นที่มหาศาลถึง 9,200,000 ตารางกิโลเมตร (ขนาดใกล้เคียงกับประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศจีน) ถือว่าเป็นทะเลทรายที่ร้อนและแห้งแล้งที่สุดในโลก มีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 58 องศาเซลเซียส (136.4 องศาฟาเรนไฮต์) ทำให้มีฝนตกลงมาน้อยมาก ส่วนใหญ่ฝนมักจะตกลงมาไม่ถึงพื้นทราย

ทะเลทรายซาฮารา
ทะเลทรายซาฮารา

และถึงแม้ว่า โดยปกติแล้วอุณหภูมิในทะเลทรายช่วงเวลากลางคืนจะลดลงอย่างรวดเร็วจนอาจทำให้เกิดหิมะตกได้ แต่ก็ถือว่าเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก เพราะหิมะมักจะละลายไปอย่างรวดเร็วในช่วงเช้า ในกรณีที่เกิดขึ้นในพื้นที่ไอน์ ซีฟรา คาดว่าอาจเกิดจากความกดอากาศสูงที่เคลื่อนตัวผ่านไปยังพื้นที่ทะเลทราย ทำให้อุณหภูมิลดลง จนทำให้หิมะที่ปกคลุมเนินทรายละลายช้าลงกว่าปกติ


อ้างอิง | อ้างอิง | อ้างอิง | อ้างอิง

พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส