เมื่อพูดถึงอาการทางจิตเราต้องเข้าใจให้ตรงกันก่อนว่า คนที่มีอาการเหล่านี้ไม่ใช่คนป่วยหรือคนบ้า แต่คือคนที่มีอาการผิดปกติที่ไม่สามารถควบคุม หรือเป็นในสิ่งที่คนปกติทั่วไปเป็นได้ ซึ่งหลายคนอาจจะไม่เข้าใจหรือเห็นภาพว่าอาการทางจิตนั้นเป็นอย่างไร วันนี้เราขอยกตัวละครในอริเมะเรื่องต่าง ๆ มาเป็นแบบอย่าง ให้คุณเข้าใจว่าอาการทางจิตต่าง ๆ นั้นเป็นอย่างไร โดยเราจะไม่ได้ชี้นำหรือบอกว่าตัวละครที่เรายกมานำเสนอนั้นเป็นอาการทางจิต แต่จะบอกว่าตัวละครเหล่านั้นแค่มีแนวโน้มว่าจะเป็นเท่านั้น เรียกว่าอ่านเพื่อเป็นความรู้ก็แล้วกัน เพื่อว่าเราได้เจอคนที่มีการเหล่านี้จะได้เข้าใจและรู้ว่าต้องทำอย่างไร มาดูกันดีกว่าว่ามีตัวละครไหนที่มีแนวโน้มอาการทางจิตแปลก ๆ กันมาบ้างมาดูไปพร้อมกันเลย

Adjustment Disorder ภาวะซึมเศร้าจนแสดงความก้าวร้าวออกมาโดยไม่รู้ตัว Yor Forger จาก SPY X FAMILY

SPY X FAMILY

เริ่มต้นตัวละครแรกที่เราหยิบมาพูดถึงกับคุณแม่นักฆ่าฉายา “Thorn Princess” กับ ยอร์ ฟอร์เจอร์ (Yor Forger) จาก ‘SPY X FAMILY’ ซึ่งหลายคนที่เคยอ่านหรือดูอนิเมะเรื่องนี้มาแล้ว อาจจะไม่ทันสังเกตเห็นว่าตัวของยอร์นั้นมีอาการ ‘Adjustment Disorder’ ที่หมายถึงปฏิกิริยาทางอารมณ์หรือพฤติกรรมต่อเหตุการณ์ที่ตึงเครียด จนมีการเปลี่ยนแปลงในตัวบุคคล ที่ถ้าให้เข้าใจง่ายขึ้นก็หมายถึงภาวะซึมเศร้าจนแสดงความก้าวร้าวออกมาโดยไม่รู้ตัว ซึ่งสิ่งที่ทำให้เราทราบว่ายอร์เป็นอาการนี้ เพราะหลายครั้งที่ตัวลูกสาวอย่าง อาเนีย ฟอร์เจอร์ (Anya Forger) ที่มีความสามารถในการอ่านความคิดคนได้ ทำให้เราเห็นสิ่งที่ยอร์คิดไม่ว่าจะเป็นการตัดสินใจที่ใช้ความรุนแรงเป็นที่ตั้ง หรือคิดแต่เรื่องความรุนแรงเสมอ ซึ่งความคิดแบบนี้ไม่ว่าจะดูยังไงมันก็ไม่ปกติ และการแสดงออกจากการเป็นนักฆ่าก็ยิ่งเป็นตัวยืนยันในเรื่องนี้เป็นอย่างดี โดยอาการของโรค ‘Adjustment Disorder’ นี้มักเกิดจากการถูกกดดันจากสังคมในเรื่องต่าง ๆ ที่มากเกินไป จนทำให้ผู้ป่วยวิตกกังวลจนหาทางระบายออกไม่ได้ และในเรื่องยอร์ก็ถูกกดดันจากทั้งน้องชายและที่ทำงานในเรื่องการมีครอบครัวที่ตรงกับอาการของโรค โดยวิธีแก้ก็ง่ายมาก ๆ นั่นคือการให้ผู้ป่วยไปอยู่ในสังคมที่มีความเข้าใจไม่กดดัน ซึ่งสิ่งที่ยอร์เจอในเรื่องก็คือวิธีแก้ที่ถูกต้องที่สุด

SPY X FAMILY

Capgras Delusion โรคคิดว่าคนรอบตัวไม่ใช่ตัวจริงแต่เป็นคนอื่นปลอมตัวมา Bubaigawara Jin จาก My Hero Academia

My Hero Academia

คราวนี้มาดูอาการทางจิตแปลก ๆ ที่เรียกว่า ‘Capgras Delusion’ ที่หมายถึงอาการทางจิตที่คิดว่าคนรอบตัวไม่ใช่ตัวจริงแต่เป็นคนอื่นปลอมตัวมา จนเกิดความหวาดระแวงเก็บตัวและไม่ไว้ใจใคร เพราะคิดว่าทุกคนคือตัวปลอมเพื่อมาทำร้ายตน ซึ่งอาการของโรคนี้ก็คล้าย ๆ กับตัวละครใน ‘My Hero Academia’ อย่าง บูไบกาวาระ จิน (Bubaigawara Jin) หรือฉายาวายร้ายว่า “Twice” กับความผิดปกติทางจิตที่มาพร้อมกับพลังของเขา ที่สามารถสร้างร่างโคลนของคนขึ้นมาได้ แต่ปัญหาคือเขาไม่สามารถควบคุมร่างโคลนที่สร้างขึ้นมาได้ ซึ่งในตอนแรกสิ่งที่จินทำคือการสร้างร่างโคลนตัวเองขึ้นมาเพื่อทำงานต่าง ๆ แทนตัวเอง จนสุดท้ายร่างโคลนนั้นก็ทะเลาะและฆ่ากันเอง ซึ่งจินที่เป็นร่างหลักก็โดนลูกหลงไปด้วย  นับจากนั้นเขาก็เกิดกลัวการสร้างร่างตัวเองขึ้นมา เพราะเขารู้สึกไม่มั่นใจว่าตัวเองนั้นคือตัวจริงไหม และตัวจริงจะมาในรูปแบบของใครก็ได้เพื่อมาทำร้ายเขา จนทำให้จินสวมหน้ากากตลอดเวลาเพื่อปกปิดตัวตน เพราะกลัวว่าตัวจริงจะปลอมตัวเป็นคนรู้จักมาในวันหนึ่งและฆ่าเขา ซึ่งสิ่งที่ทำให้เรามั่นใจว่าจินเป็นโรค ‘Capgras Delusion’ คือการสวมหน้ากากและพูดในสิ่งที่ตรงข้ามไปมา เพราะไม่มั่นใจว่าสิ่งที่ตนพูดนั้นจะเปิดเผยตัวตนออกมานั่นเอง ซึ่งสุดท้ายจินก็สามารถเอาชนะเรื่องนี้ไปได้ด้วยการปกป้องคนสำคัญ แต่วิธีนี้เป็นทางแก้ที่ผิดและยากมากในการรักษาเพราะต้องใช้ยาและการบำบัดยาวนานกว่าจะแก้อาการนี้ได้

My Hero Academia

Intermittent Explosive Disorder อาการโกรธชั่ววูบ Higashikata Josuke จาก JoJo’s Bizarre Adventure 4 Diamond is Unbreakable

 JoJo's Bizarre Adventure

เชื่อว่าหลายคนที่เคยอ่านหรือดูอนิเมะ ‘JoJo’s Bizarre Adventure 4 Diamond is Unbreakable’ มาแล้วคงจะทราบว่าในเรื่องนี้มีตัวละครคนหนึ่งที่มีอาการทางจิตที่เรียกว่า การโกรธชั่ววูบหรือการแสดงพฤติกรรมหุนหันพลันแล่นก้าวร้าวรุนแรงอย่างกะทันหัน หรือการแสดงวาจาที่โกรธจัดแบบที่ควบคุมตัวเองไม่ได้ เมื่อเจอสิ่งกระตุ้นที่ทำให้รู้สึกไม่พอใจไม่สบายใจ หรือไม่ถูกใจอย่างรุนแรงที่เรียกว่า ‘Intermittent Explosive Disorder’ ซึ่งที่มาของอาการนี้ทางการแพทย์ยังไม่สามารถหาสาเหตุที่มาได้อย่างชัดเจน ซึ่งอาการทางจิตนี้ก็ตรงกับของ ฮิงาชิคาตะ โจสุเกะ (Higashikata Josuke) พระเอกของเรื่อง ที่เขาจะมีอาการ ‘Intermittent Explosive Disorder’ แบบชนิดที่ว่าโกรธแบบไม่มีเหตุผลโกรธเลือดขึ้นหน้าจนสามารถอัดคน ๆ นั้นให้เละคามือโดยไม่สนใจอะไรทั้งนั้น เมื่อมีคนไปต่อว่าทรงผมของเขา ที่ทรงผมนี้มาจากผู้มีพระคุณของเขาในวัยเด็กที่เคยช่วยชีวิตโจสุเกะเอาไว้ นับจากนั้นเขาก็ทำผมทรงนี้มาตลอดเพื่อเคารพชายคนนั้น ดังนั้นถ้าคุณไม่อยากเจ็บตัวก็อย่าไปล้อทรงผมพี่แกละ

 JoJo's Bizarre Adventure

Glossophobia โรคกลัวการพูดกับคนอื่น Komi Shouko จาก Komi-san wa, Comyushou desu

Komi Shouko จาก Komi-san wa, Comyushou desu

อีกหนึ่งอาการทางจิตที่เชื่อว่าหลายคนในบ้านเราก็เป็นอาการนี้ กับการไม่มีความมั่นใจไม่กล้าพูดกับคนอื่นหรือพูดในที่สาธารณะ ซึ่งสิ่งที่เกิดกับคนที่เป็นอาการนี้จะเกิดอาการตัวสั่นเหงื่อออกหัวใจเต้นรัวอย่างควบคุมไม่ได้ จนอยากจะวิ่งออกจากห้องหรืออยู่ห่างจากสถานการณ์ที่ทำให้เครียดตรงนั้น ซึ่งทุกสิ่งที่กล่าวมานั้นเกิดขึ้นกับ โคมิ โชโกะ (Komi Shouko) จาก ‘Komi-san wa, Comyushou desu’ หรือในชื่อไทยว่า “โฉมงามพูดไม่เก่งกับผองเพื่อนไม่เต็มเต็ง” ซึ่งในทุกตอนของอนิเมะจะมีการพูดถึงอาการของ ‘Glossophobia’ อยู่ทุกครั้ง เพื่อบอกคนดูให้ทราบว่าอาการนี้มันคือสิ่งที่ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมได้ ดังนั้นการบังคับหรือสั่งให้คนที่ไม่กล้าพูดต่อหน้าคนอื่นทำ มันยิ่งทำให้ทุกอย่างแย่ลงเหมือนที่คุณโคมิทำ ที่เมื่อเธอพยายามจะพูดกับคนอื่นเธอจะตัวสั่นเหงื่อออก จนบางครั้งก็วิ่งหนีออกมาซึ่งตรงกับอาการของโรคนี้ ดังนั้นถ้าคุณมีเพื่อนที่เป็นแบบนี้ก็อย่าไปว่าเขาหรือเธอหยิ่งที่ไม่พูด แต่ควรเข้าใจและชวนคุยมาก ๆ ให้เขาหรือเธอเข้าสังคมและรู้ว่าตนเองนั้นไม่ใช่คนผิดปกติ แบบที่เพื่อน ๆ ในอนิเมะทำคือสิ่งที่ถูกต้องที่สุด

Komi Shouko จาก Komi-san wa, Comyushou desu

Androphobia (Fear of Men) โรคกลัวผู้ชาย Himiko จาก Btooom!

Btooom!

หลายคนคงจะเกิดความรู้สึกสับสนกับอาการของโรค ‘Androphobia Fear of Men’ หรือ “โรคกลัวผู้ชาย” ที่ไม่ได้หมายถึงผู้ป่วยจะหวาดกลัวเวลาเจอมนุษย์ผู้ชาย แต่อาการทางจิตของโรคนี้จะหมายถึงความรู้สึกระแวงไม่ไว้ใจไม่โอเค เมื่อต้องอยู่ใกล้เพศชายไม่ว่าคนนั้นจะเป็นเด็กคนแก่หรือแค่เดินผ่าน คน ๆ นั้นจะพยายามออกห่างหรือสร้างกำแพงป้องกันตัวเองจากเพศชายทั้งหมด แบบที่ ฮิมิโกะ (Himiko) ตัวละครสาวสวยจากเรื่อง ‘Btooom!’ เป็น โดยต้นเหตุของอาการทางจิตนี้จะเกิดจากการถูกกระทำอันรุนแรงทั้งทางร่างกายและจิตใจจากเพศชาย จนทำให้ตัวคน ๆ นั้นรู้สึกไม่ไว้ใจกลัวเพศตรงข้าม ซึ่งตรงกับที่ฮิมิโกะโดน เพราะไม่ว่าเธอจะเจอผู้ชายคนไหนเธอก็มักจะถูกลวนลาม หรือมองเธอในฐานะทางเพศตลอดเวลา ซึ่งสิ่งนี้มันส่งผลกระทบไปยังคนรอบข้างที่ไม่พอใจในสิ่งที่เธอเป็น ซึ่งเมื่อเจอมาก ๆ บ่อย ๆ ซ้ำ ๆ จึงทำให้เด็กสาวรู้สึกเกลียดกลัวระแวงผู้ชายทุกคน ซึ่งวิธีแก้คือการเข้าหาเปิดใจไม่แสดงกิริยาหรือมองเธอในทางเพศ ซึ่งตามเนื้อเรื่องสิ่งที่พระเอกของเราทำนั้นคือสิ่งที่ถูกต้องที่สุด

Btooom!

PTSD โรคกระทบทางจิตใจ Kamado Nezuko จาก Kimetsu no Yaiba

Kimetsu no Yaiba

เมื่อพูดถึงอาการ ‘PTSD’ คนที่เคยชมภาพยนตร์หรือดูอนิเมะน่าจะรู้จักอาการทางจิตที่เรียกว่า ‘Post-Traumatic Stress Disorder’ ที่เกิดจากการเผชิญเหตุการณ์สะเทือนใจอย่างรุนแรงอย่างภัยพิบัติสงครามหรือถูกทำร้ายร่างกาย จนทำให้เกิดความรู้สึกหวาดกลัวในสิ่งที่จะเกิดขึ้น ไปจนถึงความรู้สึกโกรธเมื่อเห็นภาพหรือสิ่งที่คล้ายกับที่ตนเคยเป็น แบบที่ คามาโดะ เนสึโกะ (Kamado Nezuko) จากเรื่อง ‘Kimetsu no Yaiba’ หรือ “ดาบพิฆาตอสูร” เป็น ที่เมื่อใดที่เนสึโกะเห็นภาพของคนที่ถูกอสูรฆ่า อาการ ‘PTSD’ ของเธอจะเกิดขึ้นทันที พร้อมภาพของครอบครัวที่ถูกฆ่าจะลอยเข้ามาในหัว โดยในกรณีของเนสึโกะนั้นจะต่างกับคนทั่วไปตรงที่เธอจะรู้สึกโกรธแทนที่จะรู้สึกกลัวในสิ่งที่เกิดขึ้น คงเพราะเธอถูกสะกดจิตในช่วงต้นเรื่องว่าเธอต้องปกป้องมนุษย์ นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เนสึโกะเลือกที่จะโกรธและเข้าหาศัตรู แทนที่จะวิ่งหนีเมื่อเจอเหตุการณ์เดียวกับที่ตนเคยเจอในอดีตนั่นเอง ซึ่งหลายคนก็เดาว่าถ้าเนสึโกะไม่ถูกสะกดจิตในตอนนั้น เธอคงจะรู้สึกกลัวจนไม่กล้าสู้มากกว่าจะโกรธแน่นอน

Kimetsu no Yaiba

Escapism หนีจากโลกแห่งความจริงอันโหดร้าย Takeya Yuki จาก School-Live!

 School-Live!

ถ้าโลกแห่งความจริงมันช่างโหดร้ายก็หนีจากโลกแห่งความจริง แล้วไปอยู่ในโลกแห่งจินตนาการเสียก็สิ้นเรื่อง เหมือนที่ ทาเคยะ ยูกิ (Takeya Yuki) จาก ‘School-Live!’ เป็น ซึ่งสำหรับคนที่ไม่รู้จักอนิเมะเรื่องนี้จะกล่าวถึงโลกในตอนนี้ ที่ทุกคนกลายเป็นซอมบี้ไปจนหมด เหลือเพียงเด็กนักเรียนหญิงกลุ่มเดียวที่บังเอิญอยู่ในโรงเรียน ที่มีระบบน้ำไฟพร้อมพอที่จะอาศัยอยู่ได้ ขณะที่ยูกิคือคนที่รอดชีวิตแต่ด้วยอาการกระทบกระเทือนทางจิตใจอย่างรุนแรง ที่เห็นเพื่อนคนรู้จักถูกฆ่ากลายเป็นซอมบี้ จึงทำให้เธอสร้างโลกแห่งจินตนาการขึ้นมาเพื่อหนีจากความจริงอันโหดร้าย ซึ่งอาการนี้เรียกว่า ‘Escapism’ ที่คนซึ่งเป็นอาการนี้จะแยกโลกแห่งความจริงและโลกแห่งจินตนาการไม่ออก ที่มักจะเกิดจากการถูกกระทบกระเทือนทางจิตใจขั้นรุนแรงแบบที่ยูกิโดน  ซึ่งวิธีแก้คือการให้เจ้าตัวค่อย ๆ เปิดใจรับรู้สิ่งที่เกิดขึ้นทีละน้อย เพราะการบังคับให้ผู้ป่วยรับรู้ จะยิ่งเป็นการซ้ำเติมให้ผู้ป่วยรับในสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้ จนปิดกั้นจิตใจหนักกว่าเดิม ซึ่งสิ่งที่เพื่อน ๆ ทำในเรื่องคือสิ่งที่ถูกต้องที่สุด

 School-Live!

Alien Hand Syndrome แขนเอเลี่ยน Izumi Shinichi จาก Kiseijuu Sei no Kakuritsu

Kiseijuu Sei no Kakuritsu

ปิดท้ายกับอาการทางจิตสุดแปลกที่หลายคนอาจจะไม่เชื่อว่านี้จะมีอยู่จริง กับอาการที่เรียกว่า ‘Alien Hand Syndrome’ หรืออาการที่แปลตรงตัวว่า “แขนเอเลี่ยน” ที่ผู้ป่วยจะไม่สามารถควบคุมแขนนิ้วมือตัวเองได้ ที่ในบางครั้งมันอาจจะร้ายแรงขนาดที่ว่ามือนั้นมาบีบคอเจ้าของร่างเหมือนถูกผีสิงเลยก็มี ซึ่งอาการทางจิตเหล่านี้ส่วนมากจะเป็นผลข้างเคียงจากการผ่าตัดสมองมา ซึ่งมีน้อยมากที่จะเกิดขึ้นกับคนปกติทั่วไป ซึ่งวิธีแก้คืออาการนี้จะหายไปเองหลังการผ่าตัดไปไม่นาน และถ้าพูดถึงมือเอเลี่ยนเราก็ต้องคิดถึงเรื่อง ปรสิตเดรัจฉาน ‘Kiseijuu Sei no Kakuritsu’ ที่ตัวเอกอย่าง อิซุมิ ชินิจิ (Izumi Shinichi) เป็น แต่ในกรณีของชินิจิเป็นนั้นมันคือการสิงสู่ของเอเลี่ยนปริศนา ที่เกิดความผิดพลาดในการเข้าสิงสมองมาอยู่ในมือแทน จนทำให้มือข้างนั้นมีชีวิตที่เรียกตัวเองว่า มิกิ (Miki) ที่ชินิจิก็ไม่สามารถควบคุมแขนตัวเองได้แถมยังพูดคุยกันรู้เรื่องด้วย ซึ่งตรงกับอาการทางจิตในบทความนี้ที่สุด

Kiseijuu Sei no Kakuritsu

ก็จบกันไปแล้วกับการแนะนำอาการทางจิตแบบแปลก ๆ ที่หลายคนไม่เคยทราบมานำเสนอ โดยเอาตัวละครในอนิเมะมาเป็นตัวอย่าง ซึ่งตัวละครเหล่านี้มีอาการใกล้เคียงกับโรคเหล่านั้น แต่เราไม่ได้ชี้นำหรือบอกว่าตัวละครเหล่านี้ป่วยแต่แค่มีอาการคล้ายกันเท่านั้น ซึ่งอาการเหล่านี้ไม่ใช่อาการของคนบ้าหรือต้องรับการรักษา แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการเข้าใจคนที่ป่วยแบบที่เรื่องราวในอนิเมะเหล่านี้ทำ ซึ่งทุกเรื่อง (ยกเว้นเรื่องสุดท้าย) คนรอบตัวทำถูกต้องที่สุด นั่นคือการเข้าใจให้โอกาสและเปิดใจรับความผิดปกตินั้น ไม่ให้คนป่วยอาการเหล่านี้คิดว่าตัวเองแปลกหรือแตกต่างกับคนอื่น และเราก็หวังว่าบทความนี้จะเป็นตัวช่วยถึงคนที่มีเพื่อนพ่อแม่พี่น้องที่มีอาการเหล่านี้ รู้ว่าพวกเขาหรือเธอนั้นไม่ได้บ้าหรือหยิ่งอะไร แต่มันคือสิ่งที่เขาหรือเธอไม่สามารถควบคุมมันได้ ดังนั้นอย่างไปบังคับให้แก้ไขในสิ่งที่เป็น แต่จงเปิดใจยอมรับเข้าใจนั่นคือยารักษาที่ดีที่สุดในการรักษาทุกโรคที่เรากล่าวมาทั้งหมด

พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส