[รีวิว] Come Play : หนังสยองขวัญไร้พิษภัยนั่งดูได้ทั้งครอบครัว
Our score
5.0

Rate : 13+

Run Time : 1hrs 36 m.

Drama, Horor, Mystery

Director Jacob Chase

Writer Jacob Chase

Stars Azhy RobertsonGillian JacobsJohn Gallagher Jr.

[รีวิว] Come Play : หนังสยองขวัญไร้พิษภัยนั่งดูได้ทั้งครอบครัว
Our score
5.0

[รีวิว] Come Play : หนังสยองขวัญไร้พิษภัยนั่งดูได้ทั้งครอบครัว

จุดเด่น

  1. มีไอเดียแปลกใหม่ในการนำเสนอปีศาจในหนัง
  2. เล่นกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้ชวนสะดุ้ง
  3. อีซา โรเบิร์ตสัน รับภาระเมนหลักของเรื่องได้ดี แม้อายุยังน้อย

จุดสังเกต

  1. ไม่ได้มีความน่ากลัวเลย
  2. ซีจีอสรุกายแลร์รี ทำออกมาหยาบมาก
  • คุณภาพงานสร้าง

    5.0

  • นักแสดง

    6.0

  • บทภาพยนตร์

    5.0

  • ความบันเทิง

    5.0

  • คุ้มค่าเวลารับชม

    4.0

Come Play หนังผีที่ออกฉายไปตั้งแต่ปี 2020 แต่เพิ่งลง Netflix แล้วก็ฮิตติดอันดับทันที ต้องบอกก่อนนะครับว่าเรื่องนี้เป็นหนังฟอร์มเล็กมาก ๆ สมควรสร้างลงสตรีมมิงตั้งแต่แรก ไม่สมควรฉายโรงเลย เพราะออกฉายในช่วงที่โควิดยังไม่ซาด้วย หนังใช้ทุนสร้างไป 9 ล้านเหรียญ ได้เงินค่าตั๋วกลับมาแค่ 13 ล้านเหรียญ คือที่ผ่านมา เราเห็นหนังสยองขวัญทุนต่ำแบบนี้ แต่ทำออกมาน่ากลัว ได้รับเสียงร่ำลือแบบปากต่อปาก กลายเป็นหนังฮิตร้อยล้านกันมาก็เยอะแล้ว แต่ไม่ใช่สำหรับ Come Play ครับ หนังเป็นผลงานของ จาคอบ เชส (Jacob Chase) ผู้กำกับที่โนเนมสุด ๆ เพราะมีแต่ผลงานหนังสั้น ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือเรื่อง Larry หนังสั้นแค่ 5 นาที เรื่องของอสุรกายต่างมิติที่ออกมาตามล่าเด็กขี้เหงาแล้วลากกลับไปอยู่กับมัน ซึ่งเชสก็นำเอาพล็อตเรื่องนี้ล่ะ มาขยายเป็น Come Play ที่เขาเหมารวมทั้งหน้าที่เขียนบทและกำกับ

หนังมีตัวแสดงหลัก ๆ อยู่แค่ครอบครัว พ่อ-แม่ และ โอลิวเวอร์ ลูกชาย (Azhy Robertson)วัย 9 ปีของครอบครัว โอลิเวอร์มีปัญหาด้านการออกเสียง ทำให้น้องไม่พูดกับใคร สื่อสารกับพ่อแม่และคนรอบข้างด้วยแอปออกเสียงในโทรศัพท์มือถือ หนังความยาวแค่ 96 นาที ก็เลยเดินหน้าไปแบบรวดเร็ว เปิดเรื่องก็แนะนำสมาชิกครอบครัวและการมาถึงของ แลร์รี ไปพร้อมกันเลย ส่วน แลร์รี ก็เป็นอสุรกายที่ผู้กำกับเชสสร้างสรรค์ขึ้นมาในรูปของนิทานสำหรับเด็ก ที่อยู่ดี ๆ ก็โผล่มาบนหน้าจอมือถือของโอลิเวอร์ พอโอลิเวอร์เปิดอ่านไปทีละหน้า ก็เป็นการแนะนำตัวแลร์รีให้โอลิเวอร์และคนดูได้รู้จักมันไปพร้อมกัน แลร์รีเป็นอสุรกายตัวลีบ ๆ ยาว ๆ ท่าทางเก้งก้างที่อยู่ในมิติไหนสักแห่ง ด้วยรูปร่างที่น่าเกลียดน่ากลัวทำให้แลร์รีไม่มีเพื่อน รู้สึกเหงาจึงออกมาสื่อสารกับโอลิเวอร์ผ่านทางนิทานเรื่องนี้และต้องการชักชวนให้โอลิเวอร์ไปอยู่กับมัน

ข้อกำหนดของแลร์รีคือจะสื่อสารกับเหยื่อได้ผ่านทางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีหน้าจอทั้งมือถือ แท็บเล็ต มอนิเตอร์ และทีวี ซึ่งบทหนังก็ค่อย ๆ เผยขีดความสามารถของแลร์รีไปเรื่อย ๆ ไปพร้อมกับฉากสยองที่สอดแทรกมาเป็นระยะ ๆ ก็ถือว่า Come Play มีทั้งความละม้ายกับ Babadook อยู่มาก ทั้งในเรื่องของปีศาจที่ออกมาจากนิทาน และความผูกพันของแม่กับลูกชาย แต่เชสก็ปรับให้แตกต่างด้วยการเพิ่มเรื่องข้อจำกัดในการสื่อสารของแลร์รีขึ้นมา ว่าจะมองเห็นตัวมันได้ผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น ซึ่งเชสก็ใช้ประโยชน์จากจุดนี้ได้ดีในหลาย ๆ ฉาก ที่ทั้งพ่อ แม่ และโอลิเวอร์ ได้เห็นแลร์รีทั้งโดยบังเอิญและตั้งใจ และฉากเหล่านี้ก็น่าตอบสนองความพอใจกลุ่มคนรักหนังสยองขวัญได้บ้าง ที่ได้ลุ้นกับภาพมืด ๆ ว่าแลร์รีจะโผล่มาให้สะดุ้งตอนไหน และแน่นอนว่าถ้าได้ดูฉากเหล่านี้ในโรงที่มืด ๆ ย่อมได้อรรถรสมากกว่า หนังมีฉากตุ้งแช่พอควร แล้วก็ทำให้สะดุ้งได้จริง แต่ไม่ได้สะดุ้งกับภาพหรอกนะ สะดุ้งกับเสียงประกอบมากกว่า

เนื้อหาของ Come Play เหมือนถูกเล่ามาแบบระมัดระวังขั้นสุด หนังก็เลยได้เรต PG13 ซึ่งจริง ๆ แล้วน่าจะได้ PG เลยด้วยซ้ำ เพราะหนังสะอาดมาก ไม่มีคำหยาบ ไม่มีภาพรุนแรงใด ๆ เลย แลร์รีก็เป็นอสุรกายที่ดูอัปลักษณ์ด้วยสรีระมากกว่าที่จะรู้สึกน่ากลัว เพราะเห็นแค่รื้อข้าวของแล้วก็รังแกเด็กแค่นั้น เป้าหมายไม่ได้ต้องการฆ่าใคร แค่ต้องการมาลักพาเด็กไปอยู่กับมันแค่นั้น ด้วยคุณสมบัติเหล่านี้ก็เลยทำให้แลร์รีไม่ได้มีความน่ากลัว ช่วงแรก ๆ ที่เป็นอสุรกายล่องหน ยังเปิดโอกาสให้ผู้กำกับเล่นอะไรได้มากกว่าช่วงที่แลร์รีปรากฏตัวท้ายเรื่องเสียอีก อาจจะด้วยความที่เป็นหนังทุนต่ำ ทุกครั้งที่แลร์รีปรากฏตัวก็จะต้องเป็นฉากแบบมืด ๆ แล้วเป็นภาพมุมกว้าง เห็นแลร์รีในระยะไกล ๆ ทำให้ทีมงานไม่ต้องใส่รายละเอียดอะไรในตัวแลร์รีมากนัก ประหยัดงบ

อาซี โรเบิร์ตสัน (Azhy Robertson) มารับบทเป็นโอลิเวอร์ เป็นบทที่รับภาระหนักสุดในเรื่อง เพราะบทน้องคือเด็กที่ไม่พูด ก็เลยต้องสื่อสารด้วยสีหน้าและสายตาเท่านั้น ซึ่งน้องก็ทำได้ดี บวกกับน้องเป็นเด็กที่หน้าตาน่าเอ็นดูด้วย ก็เลยทำให้เรา ๆ พอใจที่จะเห็นน้องบนจอไปเรื่อย ๆ ส่วนตัวละครอื่น ๆ ก็ไม่มีอะไรให้พูดถึงนะ สุดท้าย ผู้กำกับเชสกลัวว่าหนังตัวเองจะกลวงโบ๋เกินไป ก็เลยทิ้งท้ายด้วยการสอดแทรกสาระ ถึงจุดประสงค์ของแลร์รี มาจากการที่พ่อแม่ยุคใหม่ปล่อยให้ลูกอยู่กับหน้าจอมากเกินไป จนขาดปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน ๆ หรือจะหยิบเอาเรื่องแลร์รีมาไว้หลอกเด็กก็ได้ ว่าถ้าติดหน้าจอมากเกินไป ผีแลร์รีจะมาจับตัว สาระมั้ยล่ะ

ส่วนคอหนังสยองขวัญ อย่าคาดหวังความน่ากลัวจากเรื่องนี้ มีอะไรดู ดูไปก่อนเลยจ้ะ