Finding Dory อนิเมชั่นลำดับที่ 17 ของ Pixar ได้เข้าฉายอย่างเป็นทางการแล้ว และดูเหมือนจะประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูงด้วย แล้วอะไรคือเหตุผลทำทำให้ Pixar ยังคงประสบความสำเร็จในการสร้างอนิเมชั่นมาอย่างต่อเนื่องยาวนานหลายสิบปี
Pete Docter ผู้กำกับภาพยนตร์อนิเมชั่นของ Pixar อย่าง Monsters, Inc. และ Inside Out พร้อมด้วย Jim Morris ประธาน Pixar Animation Studios จะมาอธิบายเกี่ยวกับสิ่งที่ทำให้อนิเมชั่นของ Pixar มีความพิเศษมากกว่าสตูดิโอใดๆ
ทำให้ตัวละครในเรื่องเป็นตัวแทนของผู้ชม
![upfinal02](https://www.beartai.com/wp-content/uploads/2016/06/upfinal02.jpg)
Pixar ต้องการให้ตัวละครเป็นตัวแทนของผู้ชม
Pete Docter กล่าวว่า หลักการสร้างสรรค์ของบริษัทคือ จะไม่มีผู้ชมคนใดแคร์ตัวละครอย่าง Dory หรือ Merida (Brave) หรือ Wall-E เลย ถ้าหากพวกเขาไม่รู้สึกหรือสัมผัสถึงอารมณ์ของตัวละครเหล่านั้นไปพร้อมๆกันได้
“ตัวละครก็เปรียบเสมือนตัวแทนของผู้ชม”
– Pete Doctor กล่าว
“เนื่องจากตัวละครในเรื่องจะเรียนรู้และค้นหาข้อมูลต่างๆไปพร้อมกับผู้ชม และเมื่อภาพยนตร์มาถึงตอนจบ ผู้ชมก็จะรู้สึกถึงอารมณ์ของการเดินทางแบบเดียวกับที่ตัวละครรู้สึก”
Pixar รู้ดีว่าถ้าหากคนดูเรียนรู้ข้อมูลได้ก่อนที่ตัวละครจะรู้ พวกเขาก็จะรู้สึกอยู่เหนือกว่าเหล่าตัวละครนั้น แต่ถ้าหากรู้ช้ากว่า พวกเขาก็จะรู้สึกด้อยกว่า ดังนั้นการที่ทำให้คนดูและตัวละครได้เรียนรู้ไปพร้อมๆกัน จะทำให้คนดูรู้สึกเหมือนเป็นหนึ่งเดียวกับตัวละคร
บอกเล่าเรื่องราวเล็กๆที่ผู้ชมเข้าใจได้
![photo 3-29](https://www.beartai.com/wp-content/uploads/2016/06/photo-3-29.jpg)
Toy Story มีเรื่องราวที่ทั้งเด็กและผู้ใหญ่สามารถเข้าใจได้
Jim Morris อธิบายว่าเนื้อเรื่องก็เป็นอีกสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ผู้ชมเข้าถึงอารมณ์ของภาพยนตร์มากขึ้น
“แก่นของเนื้อเรื่องไม่จำเป็นต้องยิ่งใหญ่อะไร แต่อาจเป็นเล็กๆ ที่เราทุกคนสามารถเข้าถึงได้”
- Jim Morris กล่าว
ลองดูได้จากภาพยนตร์อนิเมชี่นเรื่องแรกอย่าง Toy Story ที่ได้สอนให้เด็กๆรู้จักข้อดีของการร่วมมือกันทำงานมากกว่าจะหยิ่งไม่สนใจใคร
หลงเหลือบางสิ่งให้คนดูได้รับรู้
![inside-out-riley](https://www.beartai.com/wp-content/uploads/2016/06/inside-out-riley.jpg)
นอกเหนือจากเรื่องราวเกี่ยวกับอารมณ์ของ Riley แล้ว Inside Out ยังบอกเล่าเกี่ยวกับความรู้สึกเมื่อเราต้องโตขึ้น
เรื่องราวในภาพยนตร์อาจจะดูเรียบง่าย แต่ Pixar นั้นมีความช่ำชองในการสร้างความซับซ้อนให้มากขึ้นไปอีกเพื่อสะท้อนถึงผู้ชมในหลายช่วงอายุ
Andrew Stanton ผู้เขียนบทและผู้กำกับของ Pixar ได้เปิดเผยเมื่อปี 2013 ว่า ในต้นยุค 2000 เขารู้สึกกังวลมากเหมือนกับว่าเขาคอยปกป้องลูกชายของเขามากเกินไป และได้ดัดแปลงสิ่งที่เขารู้สึกกังวลนั้นมาเป็น Finding Nemo ในปี 2003 ซึ่งแสดงให้เด็กๆ เห็นถึงผลกระทบจากการกระทำของพวกเขา และทำให้ผู้ปกครองได้เห็นข้อเสียของการที่คอยปกป้องลูกมากเกินไป
อีกหนึ่งตัวอย่างก็คือ Inside Out ในปี 2015 ซึ่ง Pete Docter ได้กล่าวว่าภาพยนตร์ดังกล่าวได้สะท้อนประสบการณ์ 2 ด้านในชีวิตของเขา คือ ชีวิตช่วงวัยเด็กที่ต้องย้ายบ้านจาก Minnesota ไปประเทศ Denmark และการที่ลูกสาวของเขาค่อยๆเปลี่ยนจากเด็กร่าเริงเป็นวัยรุ่นขี้โมโห
การนำเรื่องราวเหล่านั้นมาดัดแปลงเป็นเรื่องราวของความคิดในหัวของเด็ก 11 ขวบที่มีความแปลกแยกด้านอารมณ์ ทำให้ Pete Doctor ได้มีโอกาสค้นพบบทเรียนในการให้ความเคารพต่ออารมณ์ต่างๆของเรา
สร้างต้นแบบสำหรับสานต่อความสำเร็จในอนาคต
Finding Dory จะยังคงสานต่อความสำเร็จที่ Pixar ปูทางเอาไว้มากว่า 30 ปีได้
“มันไม่ใช่แค่เรื่องราวของการตามหาครอบครัวของ Dory เท่านั้น แต่มันยังเกี่ยวกับการได้รับรู้ว่าครอบครัวที่คุณกำลังตามหานั้นอาจจะอยู่ข้างๆคุณมาตลอด” Kirsten Acuna บรรณาธิการอาวุโสของ Tech Insider กล่าวในบทวิจารณ์ Finding Dory
ผู้ชมจะหัวเราะอย่างสนุกสนาน เพราะ Dory เป็นปลาขี้ลืมที่อารมณ์ดีอยู่เสมอ แต่จะร้องไห้เมื่อได้รู้ว่า
“Dory ต้องทนทุกข์ในชีวิตวัยเด็กที่แสนจะเจ็บปวดกับการเรียนรู้ถึงความ “พิการ” ของตน”
และเมื่อผู้ชมกลับบ้านไป พวกเขาอาจจะมองโลกไปอีกแบบหนึ่งเลยก็ได้
นั้นคือสิ่งที่ Pixar มีความเข้าใจในการสร้างภาพยนตร์มากกว่าสตูดิโออื่นๆ มันคือการสร้างตัวละครที่ผู้เข้าถึงได้พร้อมด้วยเรื่องราวที่นำไปถึงแก่นแท้ของการใช้ชีวิต
อันอาจจะไม่ได้สำคัญอะไรหากเรื่องราวในภาพยนตร์จะถูกมองผ่านสายตาของสัตว์ประหลาด หุ่นยนต์ รถยนต์ หรือปลาการ์ตูนธรรมดาทั่วไป แต่ด้วยความรู้สึกของผู้ชมที่มองผ่านสายตัวละครเหล่านั้น ทำให้เรื่องราวที่ดีในภาพยนตร์อยู่เหนือความแตกต่างด้านสายพันธุ์ของตัวละครได้อย่างไม่ต้องสงสัย
ท้ายที่สุด Dory อาจจะเป็นปลาสีฟ้าขี้ลืม แต่…
“เรื่องราวของเธอนั้นเต็มเปี่ยมไปด้วยจิตวิญญาณของมนุษย์แทบทั้งสิ้น”
ที่มา : techinsider