Release Date
05/09/2024
ความยาวหนัง
104 นาที
แนวหนัง
ตลก แฟนตาซี
ผู้กำกับ
ทิม เบอร์ตัน
นักแสดง
ไมเคิล ตีตัน, เจนนา ออร์เทกา, วิโนนา ไรเดอร์
Our score
7.4[รีวิว] Beetlejuice Beetlejuice – บอกว่าเป็น Wednesday The Movie ก็ไม่ผิด !
บอกว่าเป็น Wednesday The Movie ก็ไม่ผิด !
ปมเรื่องใหม่ใน 'Beetlejuice Beetlejuice' ต้องบอกว่ามันเต็มไปด้วยปมที่ซับซ้อนเกินกว่าหนังความยาว 104 นาทีจะทำให้ทุกปมเคลียร์หมดทั้งความขัดแย้งระหว่างแอสทริดกับลิเดียที่มีตัวแปรสำคัญอย่าง รอรี (รับบทโดยจัสติน เธอร์โรซ์, Justin Theroux) โปรดิวเซอร์รายการผีที่มาคบหากับลิเดียเพื่อผลประโยชน์บางอย่าง หรือจะเป็นปมความรักปั๊ปปี้เลิฟระหว่างแอสทริดกับเจเรมี ตัวละครของคอนทิที่เรากล่าวไปแล้วก็มีความซับซ้อนหักมุมอะไรบางอย่างที่แทบจะไปขยายเป็นหนังอีกเรื่องหนึ่งได้
รวมถึงการเปิดเผยความลับของบีเทิลจูซส์ที่เกี่ยวพันกับความแค้นของเดอลอเรสที่ผลปรากฎว่ามันไม่ได้มีความสำคัญมากไปกว่าการประกาศความคลั่งรักของทิม เบอร์ตันต่อโมนิกา เบลุชชีจนต้องให้นางมีซีนเปิดตัวเวีย์ด ๆ จนแฟนพี่เบอร์ตันอดเอาไปเปรียบเทียบว่านี่มันคือภาพลอกลายที่เอาไปซ้อนทับกับคาแรกเตอร์ที่เขาเคยมอบให้ เฮเลนา บอนแฮม คาร์เตอร์ (Helena Boham Carter) ภรรยาคนก่อนอย่างไม่มีผิดเพี้ยนเลยนี่นา
ซึ่งก็พอจะบอกได้ว่าหากพิจารณาในด้านการดำเนินเรื่องแล้ว 'Beetlejuice Beetlejuice' มีแผลเต็มตัวไม่ต่างจากบรรดาศพเดินได้ในเรื่องเท่าใดนักดังนั้นสิ่งที่แฟนหนังรุ่นก่อนพอจะบันเทิงกับมันได้คงเป็นรายละเอียดบางอย่างที่ยังสานต่อมาจากหนังภาคแรกเช่นความเพี้ยนและไดอาล็อกตลกร้ายและแอ็กติ้งสุดฮาของแคเธอรีน โอ ฮาร่าที่ไม่ยอมให้บทดีเลียของเธอเป็นเพียงตัวประกอบทื่อ ๆ ส่วนไมเคิล คีตันแม้จะถูกลดบทบาทลงและไม่กระฉับกระเฉงเหมือนเมื่อ36ปีก่อนแต่การแสดงของเขาก็เป็นการประทับตราได้ว่าถ้าเป็น บีเทิลจูซส์ ต้องคีตันเท่านั้นเพราะการแสดงและการปรากฎตัวของเขายังน่าจดจำเสมอ ส่วนวิโนนา ไรเดอร์ อาจจะใจร้ายแต่ต้องยอมรับจริง ๆ ว่าบทลิเดียของเธอในหนังภาคนี้ดูจืดชืดเกินไปหน่อย
จุดเด่น
- เสน่ห์ของ เจนน่า ออร์เทก้าตรึงคนดูได้ตลอดทั้งเรื่อง
- การขยายขอบเขตการผจญภัยไปสู่โลกอาฟเตอร์ไลฟ์ (Afterlife)ทำได้ตื่นตาตื่นใจ
- 'Day-O (Banana Boat Song)' เพลงของแฮร์รี่ เบลลาฟองต์ (Harry Belafonte) ที่เป็นเพลงฮิตจากหนังภาคแรกได้ถูกนำมาแปลงเป็นเวอร์ชันอะแคปเปลาโดย Alfie Davis & The Sylvia Young Theatre School Choir ในฉากงานศพของชาร์ลส์ ที่ไพเราะและน่าจดจำ
- บทตลกร้ายยังทำงานได้ดี
- ไมเคิล คีตันยังน่าจดจำเสมอแม้จะถูกลดทอนบทบาทลงไป
จุดสังเกต
- ตัวละครเดอลอเรสเปิดตัวน่าสนใจ แต่กลับมีบทบาทน้อยกว่าที่คาดหวัง
- หนังมีหลายปมเกินไปและจัดการคลายปมเรื่องได้ไม่ดีนัก
- กลายเป็นหนังภาคต่อที่มีเกี่ยวพันกับหนังภาคแรกน้อยมาก ตัวละครจากภาคแรกถูกลดบทบาทโดยเฉพาะ บีเทิลจูซส์ จนไม่สัมพันธ์กับชื่อเรื่องเท่าที่ควร
-
บทภาพยนตร์
6.0
-
โปรดักชัน
8.0
-
การแสดง
7.5
-
ความบันเทิง
8.0
-
ความคุ้มค่าในการรับชม
7.5
ในปี 1988 หนังอย่าง Beetlejuice ได้แจ้งเกิดทั้งผู้กำกับทิม เบอร์ตัน (Tim Burton) และนักแสดงหนุ่มในเวลานั้นอย่าง ไมเคิล คีตัน (Michael Keaton) จนต่อมาทั้งคู่ได้สร้างตำนานการนำแบทแมนมาสู่จอเงินถึง 2 ภาค และผ่านมา 36 ปี ไอเดียในการสร้างภาคต่อตำนาน Beetlejuice ก็สำเร็จและออกฉายในชื่อ ‘Beetlejuice Beetlejuice’ ในปี 2024 ที่เรากำลังจะกล่าวถึงต่อไปนั่นเอง
เหตุการณ์ในหนังจะตัดมาที่ช่วงเวลาปัจจุบันเมื่อ ลิเดีย ดีตซ์ (รับบทโดย วิโนนา ไรเดอร์, Winona Ryder) พร้อมแม่เลี้ยงอย่าง ดีเลีย (รับบทโดย แคเธอรีน โอ ฮาร่า, Catherine O’Hara) ต้องเผชิญความสูญเสียครั้งใหญ่ ชาร์ลส์ คุณพ่อของเธอประสบอุบัติเหตุเครื่องบินตก และงานศพของคุณพ่อก็พาลิเดีย ดีเลีย พร้อมด้วย แอสทริด (รับบทโดยเจนนา ออเทกา, Jenna Ortega) ลูกสาวตัวแสบแห่งตระกูลดีตซ์กลับมาสู่วินเทอร์ริเวอร์และบ้านหลังเดิมของพวกเธออีกครั้ง
และด้วยความอยากรู้อยากเห็น แอสทริด ก็ดันเข้าไปในห้องใต้หลังคาและได้พบกับโมเดลเมืองวินเทอร์ริเวอร์ที่มีเจ้าผีขี้จุ๊ยส์อย่าง บีเทิลจู๊ดส์ (รับบทโดย ไมเคิล คีตัน, Michael Keaton) ที่สบโอกาสหวังสานต่อพิธีแต่งงานกับลิเดียเพื่อให้เขากลับมาอยู่ในโลกคนเป็นได้อย่างอิสระ แต่อุปสรรคสำคัญของเขาคือ เดอลอเรส (รับบทโดย โมนิกา เบลุขชี, Monica Bellucci) ถ่านไฟเก่าที่ดันประกอบร่างตัวเองขึ้นใหม่ และกลับมาเพื่อหวังแก้แค้นบีเทิลจู๊ดส์ก่อนเขาจะเข้าพิธีวิวาห์ได้สำเร็จ
หากให้กล่าวกันตรง ๆ ก็ต้องบอกว่า ‘Beetlejuice Beetlejuice’ เป็นหนังภาคต่อที่อาจจะไม่ได้แคร์การสานต่อตำนานหรือเรื่องเล่าในหนังภาคแรกมากนัก และลักษณะการดำเนินเรื่องเองก็ดูเป็นหนังสปินออฟที่หยิบจุดเด่นของหนังภาคแรกมาเล่าในอีกมุมมากกว่า เพราะในขณะที่มันได้นักแสดงต้นฉบับทั้ง 3 คนกลับมาในหนังภาคต่อ แต่ตัวบทเองกลับไปมีศูนย์กลางเรื่องที่ตัวละครแอสทริด เพื่อหวังเอาใจผู้ชมรุ่นใหม่มากกว่าแฟนหนังเมื่อ 36 ปีก่อน
โดยข้อดีสำคัญที่หนังน่าจะตรึงผู้ชมไว้ได้ก็คือเสน่ห์ของ เจนน่า ออร์เทก้า ที่ได้ฐานแฟนคลับมาจาก ‘Wednesday’ ซีรีส์สปินออฟจาก ‘The Addams Family’ ใน Netflix มารับบทแอสทริดซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจที่คาแรกเตอร์แอสทริดคือแทบจะถอดมาจากซีรีส์ดัง เพียงแค่ลดความกอทิกแต่เต็มไปด้วยแววตาขบถเหมือนเดิม และออร์เทก้าก็จับสายตาคนดูได้อยู่หมัดจริง ๆ จึงไม่น่าแปลกใจที่บทหนังจะเทเรื่องราวมาที่ตัวละครของเธอ แถมยังมีบทโรแมนติกชวนจิกหมอนกับ อาร์เธอร์ คอนทิ (Arthur Conti) หนุ่มหล่อที่สาว ๆ เห็นแล้วน่าจะโดนตกได้ไม่ยาก
อีกจุดที่หนังภาคนี้พาเรื่องราวมาห่างไกลจากหนังภาคแรกมาก ๆ คือการขยายขอบเขตการผจญภัยไปสู่โลกอาฟเตอร์ไลฟ์ (Afterlife) หรือปรโลกที่มีระบบตรวจคนเข้าเมืองเหมือนสนามบิน และมีการเพิ่มชานชาลารถไฟส่งวิญญาณหรือโซลเทรน (Soul Trane) ที่ทิม เบอร์ตันดูจะสนุกกับไอเดียนี้ถึงขั้นออกแบบให้ชานชาลาเต็มไปด้วยคนผิวดำในทรงผมแอฟโฟรกำลังเต้นเพลงฟังก์ดิสโก เพื่อล้อกับ Soul ที่เป็นทั้งวิญญาณและแนวดนตรีอย่างสนุกสนานและเปี่ยมความคิดสร้างสรรค์
ส่วนปมเรื่องใหม่ใน ‘Beetlejuice Beetlejuice’ ต้องบอกว่ามันเต็มไปด้วยปมที่ซับซ้อนเกินกว่าหนังความยาว 104 นาทีจะทำให้ทุกปมเคลียร์หมด ทั้งความขัดแย้งระหว่างแอสทริดกับลิเดียที่มีตัวแปรสำคัญอย่าง รอรี (รับบทโดยจัสติน เธอร์โรซ์, Justin Theroux) โปรดิวเซอร์รายการผีที่มาคบหากับลิเดียเพื่อผลประโยชน์บางอย่าง หรือจะเป็นปมความรักปั๊ปปี้เลิฟระหว่างแอสทริดกับเจเรมี ตัวละครของคอนทิที่เรากล่าวไปแล้วก็มีความซับซ้อนหักมุมอะไรบางอย่างที่แทบจะไปขยายเป็นหนังอีกเรื่องหนึ่งได้
รวมถึงการเปิดเผยความลับของบีเทิลจู๊ดส์ที่เกี่ยวพันกับความแค้นของเดอลอเรสที่ผลปรากฏว่ามันไม่ได้มีความสำคัญมากไปกว่าการประกาศความคลั่งรักของทิม เบอร์ตันต่อโมนิกา เบลุชชี จนต้องให้นางมีซีนเปิดตัวเวีย์ด ๆ จนแฟนพี่เบอร์ตันอดเอาไปเปรียบเทียบว่านี่มันคือภาพลอกลายที่เอาไปซ้อนทับกับคาแรกเตอร์ที่เขาเคยมอบให้ เฮเลนา บอนแฮม คาร์เตอร์ (Helena Bonham Carter) ภรรยาคนก่อนอย่างไม่มีผิดเพี้ยนเลยนี่นา
ซึ่งก็พอจะบอกได้ว่าหากพิจารณาในด้านการดำเนินเรื่องแล้ว ‘Beetlejuice Beetlejuice’ มีแผลเต็มตัวไม่ต่างจากบรรดาศพเดินได้ในเรื่องเท่าใดนัก ดังนั้นสิ่งที่แฟนหนังรุ่นก่อนพอจะบันเทิงกับมันได้คงเป็นรายละเอียดบางอย่างที่ยังสานต่อมาจากหนังภาคแรก เช่น ความเพี้ยนและไดอาล็อกตลกร้ายและแอ็กติงสุดฮาของแคเธอรีน โอ ฮาร่า ที่ไม่ยอมให้บทดีเลียของเธอเป็นเพียงตัวประกอบทื่อ ๆ ส่วนไมเคิล คีตัน แม้จะถูกลดบทบาทลงและไม่กระฉับกระเฉงเหมือนเมื่อ36ปีก่อน แต่การแสดงของเขาก็เป็นการประทับตราได้ว่าถ้าเป็น บีเทิลจู๊ดส์ ต้องคีตันเท่านั้น เพราะการแสดงและการปรากฏตัวของเขายังน่าจดจำเสมอ ส่วนวิโนนา ไรเดอร์ อาจจะใจร้ายแต่ต้องยอมรับจริง ๆ ว่าบทลิเดียของเธอในหนังภาคนี้ดูจืดชืดเกินไปหน่อย
อีกส่วนที่ทำให้หนังน่าจดจำคงหนีไม่พ้นเพลง ‘Day-O (Banana Boat Song)’ เพลงของแฮร์รี่ เบลลาฟองต์ (Harry Belafonte) ที่เป็นเพลงฮิตจากหนังภาคแรกได้ถูกนำมาแปลงเป็นเวอร์ชันอะแคปเปลลาโดย Alfie Davis & The Sylvia Young Theatre School Choir ในฉากงานศพของชาร์ลส์ ที่ไพเราะและน่าจดจำ และหนังก็ดูเล่นสนุกกับการเลือกเพลงมาใช้ประกอบซีนต่าง ๆ ทั้ง ‘Right Here Waiting’ ของริชาร์ด มาร์กซ์ (Richard Marx) ที่บีเทิลจู๊ดส์ใช้หลอกหลอนลิเดีย ไปจนถึงเพลง ‘Someone Left the Cake Out In the Rain’ ของ แม็กอาร์เธอร์ พาร์ค (MacArthur Park) ในฉากเต้นที่อดนึกถึงซีรีส์ ‘Wednesday’ ไม่ได้เลย
โดยสรุปแล้ว ‘Beetlejuice Beetlejuice’ ก็ยังคงเป็นหนังที่ให้ความบันเทิงได้อย่างยอดเยี่ยม แฟนจากหนังภาคก่อนก็จะฟินกับรายละเอียดต่าง ๆ ที่เบอร์ตันใส่มา ทั้งงานศิลปะประหลาด ๆ ของดีเลีย (ที่มีข่าวว่าถูกขโมยไปจากกองถ่ายด้วย) ไปจนถึงเจน บัทเทอร์ฟิลด์ ตัวละครนายหน้าขายบ้านจากหนังภาคแรกยังก็อุตส่าห์ตามมาในหนังภาคนี้ แม้จะมีการเปลี่ยนตัวนักแสดงมาเป็น เอมี นัตทอลล์ (Amy Nuttall) และที่สำคัญมากคือการฉายในระบบ IMAX With Laser ที่หนังให้สัดส่วนภาพใกล้เคียงกับสัดส่วนของหนังที่ถ่ายไอแม็กซ์มาก ๆ เพราะอัตราส่วนหนังคือ 1.85:1 ซึ่งให้ภาพที่เป็นส่วนสูงได้ดีดูเต็มตาและระบบเสียง 12 แทร็กของไอแม็กซ์ก็ทำให้ทั้งเพลงประกอบ สกอร์ หรือซาวนด์เอฟเฟกต์ต่าง ๆ ทำงานกับผู้ชมได้เต็มที่มาก ๆ