[รีวิว] GLASS คนเหนือมนุษย์ – จักรวาลกี๊คสุดเจ๋งของ เอ็ม ไนต์ ชยามาลาน
Our score
8.0

GLASS

จุดเด่น

  1. ใครชอบ Unbreakable คือหลงรักแน่ๆ
  2. หนังเอาใจกี๊คคอมิกสุดๆ
  3. มีแอบจิกกัดการเมือง
  4. หนังมีมุกฮา เวิร์คๆหลายมุก

จุดสังเกต

  1. ถ้าหวังว่าหนังจะแอ็คชั่นคงผิดหวังแน่ๆ
  • ตรรกะ ความสมบูรณ์ของบท

    8.0

  • ความสมบูรณ์ของงานสร้าง

    8.0

  • คุณภาพของการแสดง

    8.0

  • ความสนุกแบบหนังบันเทิง

    8.0

  • ความคุ้มค่าตั๋ว

    8.0

หลัง เดวิด ดันน์ (บรูซ วิลลิส) ฮีโร่กระดูกเหล็ก และ เควิน (เจมส์ แม็คอวอย)ชาย 24 บุคลิกอันตราย ถูกจับเข้าโรงพยาบาลจิตเวศ พวกเขาต้องทุกข์ทรมานจากการรักษาของ ดร. เอลลี สเตเปิล (ซาราห์ พอลสัน) จิตแพทย์ผู้หวังเปลี่ยนคนไข้ให้เลิกหลงผิดในพลังพิเศษ โดยหารู้ไม่ว่าจอมวางแผนอย่าง อีไลจาห์ กลาส (แซมมวล แอล แจ็คสัน)อดีตคู่แค้นของดันน์ก็มีแผนในใจที่หวังให้โลกได้เห็น ฮีโร่ และ ผู้ร้าย เปิดศึกนองเลืองกันบนอาคารที่สูงที่สุดในเมือง

สนับสนุนเนื้อหาโดย Major Cineplex

นับว่า Glass เป็นโปรเจคต์ในฝันที่ เอ็ม ไนต์ ชยามาลาน เจ้าพ่อหนังหักมุมอยากสร้างมาร่วม10กว่าปี โดยนำตัวละคร ดันน์ และ กลาส มาจาก Unbreakable (2000) และ เควิน มาจาก Split (2016) ถักทอเรื่องราวระหว่างฮีโร่กับอสูร โดยไม่ลืมมีมุกจิกกัดการเมืองอเมริกาตามสไตล์ของผู้กำกับ จะว่าไปสไตล์หนังของ Glass คือถอดความ “Unbreakable” มาเลยแหละ เป็นหนังของกี๊คการ์ตูนคอมิก แบบพูดถึงจักรวาล-ประวัติศาสตร์คอมิกจนเชื่อว่าเหล่า กี๊คการ์ตูน คือกรี๊ดสลบเลย และยังคงสไตล์ ชยามาลาน ทั้งอารมณ์ขัน มุกจิกกัดสังคม รวมถึงการปรากฎตัวเป็นคาเมโอ ของผู้กำกับเองที่คราวนี้ ดูแกมันส์มากให้ตัวเองเล่นซะยาวเชียว จนผลลัพธ์คือหนังที่ดูสนุกนะครับ แต่ก็เฉพาะกลุ่มพอควร เพราะถ้าคนดูกลุ่มที่ไม่เชื่อในสิ่งที่ผู้กำกับเล่าก็จะเกลียดไปเลยเหมือนตอน Unbreakable นั่นแหละ โดยแก่นเรื่องแล้วสิ่งที่ Glass พยายามนำเสนอคือเรื่องราวของ ‘ตัวตน’ ซึ่งตรงนี้ยอมรับเลยว่า ชยามาลาน ได้โชว์ทักษะอันรุ่มรวยในการเล่าเรื่องได้ดีจริงๆทั้งการจับตรรกะของคอมิกเรื่องราวฮีโร่-ผู้ร้าย มาผสมเข้ากับการวิพากษ์ให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำทางประวัติศาสตร์ได้อย่างคมคาย

 ซึ่งหากมองให้ลึก การที่ กลาส มองคอมิกในฐานะประวัติศาสตร์ชิ้นหนึ่งแต่รัฐบาลไม่ต้องการให้คนเชื่อว่าเป็นเรื่องจริงมิหนำซ้ำพวกเขายังพยายามใส่ความคนอย่าง ดันน์ เควิน และ กลาส ให้กลายเป็นเพียงคนบ้า ก็ไม่ต่างจากรัฐบาลเผด็จการที่หาเรื่องใส่ไฟคนเห็นต่าง หรือ คนตั้งคำถามกับการบริหารประเทศของรัฐ จนตรรกะที่ดูเพ้อเจ้อกลับค่อยๆแข็งแรงด้วยแมสเสจที่หนังกำลังพูดถึงอย่างมั่นอกมั่นใจนั่นเอง เพราะหากแทนตัวละครด้วยชนกลุ่มน้อยทั้งคนผิวสี ชนพื้นเมือง หรือชาวต่างชาติ ก็ไม่ต่างจากเรื่องจริงที่เจอได้ทั่วไปในอเมริกา
ซึ่งนั่นทำให้ Identity หรือ ตัวตน ที่แม้ในเรื่องจะแทนค่าเป็น ฮีโร่อย่างดันน์ , อสูรอย่างเควิน หรือ จอมบงการอย่างกลาส  กลายเป็นประเด็นที่หนังต่อยอดถึงขั้นไปพูดถึงอำนาจของปัจเจกชนที่กล้าลุกมาเปลี่ยนแปลงประเทศจนรัฐสั่นคลอน ซึ่งถือเป็นประเด็นการเมืองร่วมสมัยที่ชยามาลานเลือกเล่าในยุครัฐบาล โดนัลดฺก์ ทรัมป์ หลัง The Village (2004) ที่ชยามาลานพูดถึงการปกครองด้วยความกลัวในสมัยรัฐบาล จอร์จ ดับเบิลยู บุช ทำให้เห็นว่าภายใต้หนังที่ดูเหมือนรวมจักรวาลฮีโร่ตามกระแสกลายเป็นงานตั้งคำถามกับสังคมได้อย่างลุ่มลึกอย่างไม่น่าเชื่อ
แต่เห็นผมวิเคราะห์การเมืองในหนังอย่าเพิ่งมองว่าหนังออกมาเคร่งเครียดน่าเบื่อนะครับ ตรงกันข้ามเลยหนังมีมุกฮาๆหลายมุกเลย ซึ่งส่วนใหญ่มาจากจอมขโมยซีนอย่าง เจมส์ แม็คอวอย ที่เล่นเป็นเควินและเหล่าตัวตน 24 ตัวตนได้อย่างมีสีสัน ส่วนบรูซ วิลลิส ก็ทำให้เราหายคิดถึงด้วยบทเท่ๆอย่างเดวิด ดันน์ ฮีโร่ศาลเตี้ยที่แม้จะชราภาพแต่ความเท่ไม่ได้ลดลงเลย หรือกระทั่งคนที่ถือเป็นต้นเรื่องอย่าง แซมมวล แอล แจ็คสัน ก็ทำให้ตัวละคร กลาส ที่เหมือนด้านตรงข้ามกับ นิค ฟิวรี่ ที่ดูฉลาดคาดเดาไม่ได้จนหนังดูสนุกมาก และไม่กล่าวถึงไม่ได้คือการปรากฏตัวของน้อง อันยา เทเลอร์ จอย ที่ออกมาแต่ละทีนี่ใจบางมาก ทั้งสวย น่ารัก หุ่นทรมานจิตใจ แถมเล่นดีจนเราเชื่อเลยว่า ต่อให้ต้องเป็นอสูรก็ยอม หากได้ใกล้ชิดน้องจอย ฮ่าาาาา
ตีตั๋วร่วมศึกฮีโร่ อสูร และจอมบงการ พร้อมจุดหักมุมแบบเดาไม่ถูก คลิกเลย