กลายเป็นประเด็นที่ชาวเน็ตทั่วทั้งประเทศต่างจับตาเรื่องราวในบทต่อไปของขวัญ อุษามณี ไวทยานนท์ ที่มีชีวิตดั่งนิยาย ซึ่งเรื่องราวดราม่าที่ผ่านมาแอดคิดว่าเราคงหาอ่านกันไม่ยากจากอินเทอร์เน็ต แบไต๋จึงขอวิเคราะห์ให้ฟังกันดีกว่าว่าชาวโซเซียลอย่างเราๆ ได้เรียนรู้อะไรจากเรื่องนี้บ้าง
ทุกเรื่องที่เคยโพสต์ลงอินเทอร์เน็ต จะถูกขุดขึ้นมาได้เสมอ แม้ถูกลบไปแล้ว
เรื่องราวพื้นฐานที่อาจเรียกว่า “คู่มือการใช้เน็ต 101” ที่ทุกคนควรรู้เลยก็ว่าได้ คือทุกเรื่องราวที่ถูกโพสต์ขึ้นอินเทอร์เน็ตไปแล้ว ก็มีโอกาสถูกขุดขึ้นมาได้เสมอ อย่างเรื่องของขวัญ-อุษามณีคือภาพ IG และคอมเมนต์ต่างๆ แม้แต่ตัวรายการที่ครอบครัวเคยไปออก ก็ถูกขุดขึ้นมาเป็นหลักฐานยืนยันเพื่อหาความจริงได้เสมอ
คนไทยลืมง่าย ไม่จริงนะครับ โซเซียลพิสูจน์แล้ว
ข้อแนะนำสำหรับชาวเน็ต อะไรที่แสดงด้านที่ไม่ดีของเราก็อย่าไปแสดงออกในอินเทอร์เน็ตเลยครับ วันดีคืนดีข้อความหรือรูปภาพเหล่านั้นอาจย้อนศรมาปักกลางใจเราได้ เวลาหงุดหงิดมากๆ แนะนำให้ด่า เ-ี้ย กับต้นกล้วยจะปลอดภัยกว่า
คนไทย ยังไงก็นิสัยคนไทย
กรณีของขวัญ-อุษามณีเราจะเห็นนิสัยคนไทยที่ขัดเป็นโดมิโน่ได้ชัดเจนมาก
- คนไทยเทิดทูลคนกตัญญู
- คนดีของคนไทยต้องไม่พูดเยอะ เน้นเป็นผู้ถูกกระทำ
- ถ้าเมื่อใดคนดีเริ่มกระทำกลับ กระแสอาจจะตีกลับได้
ตัวละครในเรื่องนี้คือ ขวัญ เป็นลูกกตัญญูมาตลอดในความคิดของคนไทย และเจ้าตัวยังไม่ตอบโต้เรื่องดราม่าดังกล่าวเท่าใดนัก มีแต่อีกฝ่ายที่ออกสื่อเยอะในรอบนี้ ทำให้ฝั่งขวัญได้คะแนนสงสารไปท่วมท้น
แต่ลองนึกภาพ ถ้ามีใครสักคนที่เกี่ยวข้องกับขวัญตอบโต้คุณแม่อย่างรุนแรง โมเดลโดมิโนนี้จะล้มทันที เพราะคนไทยไม่ชอบนิสัยเด็กเถียงผู้ใหญ่ (ซึ่งอาจจะเห็นมาแล้วจากกรณีเพื่อนชายของขวัญ ที่เป็นปฐมบทก่อนกรณีนี้)
ข้อแนะนำสำหรับชาวเน็ต สิ่งที่ต้องระวังมากๆ สำหรับการตอบโต้กับคนไทยคือ อย่าลามปามถึงพ่อแม่ ผู้มีพระคุณโดยไม่จำเป็น ถึงตามข้อเท็จจริงจะถูกต้อง แต่นิสัยคนไทยจะบิดเบือนให้ดูเลวได้ และความเข้มแข็งผิดทาง อาจได้ผลลัพธ์ที่ไม่คาดหวังได้
ความดีความชอบครั้งก่อน ไม่เกี่ยวกับครั้งนี้
ดราม่าในอินเทอร์เน็ตบางทีไม่ได้จบกันแค่ยกเดียว มี Aftershock ตามมาเรื่อยๆ แม้ชนะไปในยกก่อนๆ แล้ว อย่าเหลิงว่าคนอื่นจะเห็นดีเห็นงามกับตัวเองไปได้ตลอดจนออกตัวแรงกันไป ซึ่งกรณีของขวัญก็แสดงให้เห็นแล้วว่า แม้ชาวเน็ตจะเอาใจช่วยอีกฝั่งมากกว่าในคราวก่อน แต่สำหรับประเด็นใหม่ เมื่อออกตัวเยอะเกินไป ก็กลับกลายเป็นความหมั่นไส้แทน
ข้อแนะนำสำหรับชาวเน็ต เมื่อเชื้อไฟใกล้ปะทุ จะมีดราม่ากับใครจนห้ามไม่ได้แล้ว ดึงสติดูโมงยาม ดูทิศทางลมนิดหนึ่งว่ากระแสไปทางไหน แล้วอย่าลืมว่าอะไรที่อยู่ในเน็ตมันอาจตามมาหลอกหลอนเราได้ในอนาคต ไม่ว่าเราจะเป็นเจ้าของดราม่า หรือผู้สนับสนุนดราม่า
ดราม่าอาจะสนุกเมื่อมันไม่ใช่เรื่องของตัวเอง แต่อย่าลืมดึงตัวเองให้อยู่เหนืออารมณ์ร่วม แล้วคิดนิดหนึ่งให้ดราม่ามีสาระบ้าง คุ้มกับเวลาที่เข้าไปเผือกนะครับ เอาแหละแอดก็เผือกมากไปแล้ว กลับไปเขียนข่าวไอทีต่อ บายๆ