ปัจจุบันเริ่มมียานยนต์ไฟฟ้าออกมาวิ่งบนถนนมากขึ้น ทั้งรถที่ใช้พลังงานไฟฟ้าล้วน ๆ และรถยนต์ที่ทำงานควบคู่ระหว่างเครื่องยนต์และมอเตอร์ไฟฟ้า จนอาจทำให้หลายคนสงสัยว่าแล้วมันต่างกันอย่างไร จริง ๆ แล้วรถไฟฟ้าสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่

1. รถไฮบริด (Hybrid Electric Vehicle-HEV)

รถไฮบริดใช้เครื่องยนต์เป็นกำลังขับเคลื่อนหลัก ทำงานร่วมกับมอเตอร์ไฟฟ้าเพื่อเพิ่มกำลัง โดยสามารถใช้เครื่องยนต์ช่วยเปลี่ยนพลังงานกลไปเป็นพลังงานไฟฟ้า และไปเก็บสำรองไว้ในแบตเตอรี่ ทำให้รถไฮบริดสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงน้อยกว่ารถยนต์ทั่วไป

2. รถปลั๊ก-อิน ไฮบริด (Plug-in Hybrid Electric Vehicle-PHEV)

รถปลั๊ก-อิน ไฮบริดต่อยอดจากระบบไฮบริด แต่มีข้อดีกว่าคือสามารถชาร์จพลังงานไฟฟ้าจากภายนอกได้ โดยยังใช้พลังงานจาก 2 แหล่งพร้อมกันคือ ใช้เครื่องยนต์ขับเคลื่อนหลัก ควบคู่กับมอเตอร์ไฟฟ้า ข้อดีของรถประเภทนี้สามารถขับขี่ได้ไกลขึ้น เนื่องจากสามารถเติมพลังงานไฟฟ้าตามสถานีชาร์จได้นั่นเอง

ทั้งนี้รถปลั๊ก-อิน ไฮบริดยังแบ่งได้ 2 ประเภทคือ Extended Range EV (EREV) ที่เน้นการทำงานโดยใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นหลักและ Blended PHEV ที่เป็นการทำงานผสมผสานระหว่างเครื่องยนต์กับไฟฟ้า

3. รถไฟฟ้าแบตเตอรี่ (Battery Electric Vehicle-BEV)

รถไฟฟ้าที่เรียกได้ว่าใช้พลังงานไฟฟ้าแบบ 100% โดยอาศัยมอเตอร์ไฟฟ้าส่งกำลังหลัก ไม่มีเครื่องยนต์และไม่ต้องใช้น้ำมันในการขับเคลื่อน ซึ่งขนาดและประเภทของแบตเตอรี่มีผลต่อระยะทางในการขับขี่โดยตรง

4. รถไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell Electric Vehicle-FCEV)
รถที่ผลิตพลังานไฟฟ้าจากไฮโดรเจน ซึ่งมีค่าความจุพลังงานจำเพาะที่สูงกว่าแบตเตอรี่ แต่ก็มีข้อเสียตรงที่ข้อจำกัดในเรื่องการผลิตไฮโดรเจนและสถานที่เติมไฮโดนเจน ที่มีน้อยกว่าสถานีชาร์จไฟเสียอีก

ตอบข้อสงสัยรถไฟฟ้าทำงานต่างกันตรงไหน?

แม้จะขึ้นชื่อว่ารถไฟฟ้าเหมือนกัน แต่รถไฟฟ้าทำงานไม่เหมือนกัน ซึ่งหากเข้าใจระบบการทำงานของรถไฟฟ้าแต่ละประเภทแล้ว ก็สามารถนำมาตัดสินใจได้ว่าตัวเองเหมาะจะใช้รถไฟฟ้าประเภทไหน 

เริ่มที่รถไฟฟ้า BEV เนื่องจากใช้มอเตอร์ไฟฟ้ารับกระแสไฟฟ้าจากแบตเตอรี่
เหมือนแบตโทรศัพท์ เมื่อใช้งานแล้วระดับแบตจะลดลงเรื่อย ๆ แต่สามารถชาร์จผ่านทางแท่นชาร์จสาธารณะหรือ Wall Charger ตามบ้าน ใช้เวลา 6-8 ชั่วโมงสำหรับการชาร์จ และ 15-30 นาทีในโหมด Quick Charge 

ในขณะที่รถประเภท FCEV ใช้พลังไฟฟ้ามาจากปฏิกิริยาของไฮโดรเจนเหลวกับออกซิเจนในแผงเซลล์เชื้อเพลิง จนได้น้ำกับกระแสไฟฟ้ามาออกมา ซึ่งน้ำจะถูกทิ้งไปทางท่อไอเสียและส่งกระแสไฟฟ้าไปเก็บในแบตเตอรี่ รถประเภทนี้มีข้อเสียคือหาสถานีบริการไฮโดรเจนยาก หมดแล้วหมดเลย

และรถไฟฟ้าแบบ PHEV หรือปลั๊ก-อิน ทำงานคล้ายรถไฮบริดคือเครื่องยนต์กับมอเตอร์ไฟฟ้าทำงานร่วมกัน มีโหมด EV ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าอย่างเดียวได้ เมื่อพลังงานไฟฟ้าหมดจะเปลี่ยนไปใช้เครื่องยนต์ขับเคลื่อนแทน ข้อแตกต่างกับรถไฮบริดคือ สามารถชาร์จกระแสไฟฟ้าผ่านแท่นชาร์จ

ปลั๊ก-อิน ไฮบริดต้อง Mitsubishi Outlander PHEV

โหมด PHEV นี่เองที่เป็นรูปแบบการทำงานของ Mitsubishi Outlander PHEV มอเตอร์ไฟฟ้าคู่ (หน้า-หลัง) ทำงานควบคู่กับเครื่องยนต์เบนซิน MIVEC แบบ DOHC 2.4 ลิตร ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ และ Super All Wheel Control (S-AWC) แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนขนาดใหญ่ 13.8 กิโลวัตต์/ชั่วโมง 

ด้วยการผสาน 2 พลังงานทั้งน้ำมันและไฟฟ้า วิ่งรวมได้ไกลยิ่งขึ้น ประหยัดและให้ความมั่นใจตลอดการขับขี่ นอกจากนี้ยังวิ่งด้วยพลังงานไฟฟ้า 100% ได้ไกลถึง 55 กิโลเมตร ทั้งนี้ตัวรถมีโหมดการขับขี่ 3 แบบ ได้แก่

EV Drive mode โหมดการขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าเพียว ๆ โดยอาศัยพลังงานจากแบตเตอรี่ 100% ทำความเร็วสูงสุดได้ถึง 135 กิโลเมตร/ชั่วโมง เงียบและให้พลังงานสะอาด ปราศจากการใช้เชื้อเพลิงและการปล่อยก๊าซ CO2

Hybrid mode โหมดการขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าผสานการทำงานของเครื่องยนต์ โดยใช้พลังงานไฟฟ้าเมื่อขับเคลื่อนอยู่ในความเร็วระดับต่ำ และใช้เครื่องยนต์ช่วยทำงานเมื่อเร่งความเร็วโดยฉับพลัน หรือเร่งเครื่องขึ้นทางลาดชัน

Parallel Hybrid mode โหมดการขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์เป็นกำลังหลัก และเสริมด้วยกำลังจากมอเตอร์ไฟฟ้า จะทำงานเมื่อขับขี่ด้วยความเร็วสูงหรือต้องการเร่งแซง

จะเห็นได้แล้วว่าการใช้งานรถปลั๊ก-อิน ไฮบริดมีข้อได้เปรียบตรงที่ เป็นการทำงานผสานระหว่างเครื่องยนต์และมอเตอร์ไฟฟ้า สามารถเร่งความเร็วได้มากกว่าเครื่องยนต์ทั่วไป อีกทั้งยังประหยัดน้ำมันได้มากขึ้น เพราะสามารถเปลี่ยนไปใช้โหมดขับขี่ด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าเพียว ๆ ได้ ที่สำคัญ ยังสามารถชาร์จไฟภายในบ้านได้อีกด้วย นี่แหละคือจุดเริ่มต้นของยนตรกรรมยุคใหม่ที่จะกลายเป็นมาตรฐานของรถในอนาคต

พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส