Trends

เทรนด์ไทย เทรนด์โลก ความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจรอบตัว

เนื้อหาล่าสุด

สภาองค์กรของผู้บริโภค เสนอยกเลิกรถบัส 2 ชั้น ชี้จุดอ่อนที่ระบบตรวจสภาพรถ และประกันภัยภาคบังคับที่จำกัด 10 ล้านบาท

BT beartai ได้สัมภาษณ์คุณสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสำนักงานสภาองค์กรของผู้บริโภค ประเด็นอุบัติเหตุรถบัสทัศนศึกษา ซึ่งทางสภาองค์กรของผู้บริโภคกำลังผลักดันหลายเรื่องให้ปลอดภัยขึ้น

Play video

ขยะอิเล็กทรอนิกส์ หายนะเงียบที่โลกต้องเผชิญ | กรีนดีอยู่ดี

Status Post
LIFE Trends

สีที่แท้จริงของธงชาติไทย รัฐกำหนดในระบบสี L*a*b*

รูปลักษณ์และสีสันของธงชาติไทยนั้นถูกกำหนดครั้งล่าสุดในวันที่ 30 กันยายน 2560 ซึ่งคณะทำงานได้มีการนำธงชาติไทยจาก 3 แหล่งคือ 1. ธงชาติจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ 2. ธงชาติจากพิพิธภัณฑ์ธงชาติไทย และ 3. ธงจากราชนาวี มาพิจารณาเป็นธงอ้างอิงในการวัดค่าสี ซึ่งสุดท้ายสีต้นแบบที่ราชการอ้างอิงชุดนี้มาจากธงของราชนาวี ซึ่งวัดด้วยเครื่อง Colorimetric spectrophotometer โดยกรมวิทยาศาสตร์บริการ

ซึ่งรหัสสีที่ระบุเป็นค่าแนะนำนี้ กำหนดในระบบสี L*a*b* ที่สามารถระบุเนื้อสีที่แท้จริงได้ โดยไม่ต้องระบุตัวแปรอื่นอย่างชนิดกระดาษหรือหมึกเหมือนระบบสี CMYK ที่ค่าสีเดียวกันจะพิมพ์ออกมาคนละสีกันบนกระดาษและหมึกที่ต่างกัน
ระบบสี L*a*b* หรือ CIELAB color space นั้นถูกกำหนดขึ้นตั้งแต่ปี 1976 โดย International Commission on Illumination (ย่อว่า CIE ตามชื่อฝรั่งเศสคือ Commission internationale de l’éclairage) องค์กรกลางด้านแสง, การเรืองแสง, สี, ขอบเขตสีระหว่างประเทศ

โดยระบบสี L*a*b* นั้นพัฒนาขึ้นมาจากการรับรู้แสงสีของมนุษย์ อ้างอิงจากการศึกษาทฤษฎีสีตรงข้าม (Opponent process) และ ทฤษฎีสีสี่หลัก (Unique hues) ที่บอกว่า 4 สีหลักของมนุษย์คือ แดง, เขียว, น้ำเงิน, เหลือง L*a*b* จึงเป็นระบบสีที่สามารถกำหนดค่าของทุกสีที่มนุษย์มองเห็นออกมาได้ ซึ่งขอบเขตสีที่เราเคยได้ยินอย่าง sRGB, DCI-P3 ก็ล้วนเป็นขอบเขตที่แคบกว่าสีที่ L*a*b* ระบุได้

ระบบสีนี้ประกอบด้วย 3 แกนที่สามารถแสดงผลเป็นลูกบอล 3 มิติของสีได้

L* = Luminosity หรือความสว่าง มีค่าตั้งแต่ 0-100
a* = ค่าสีไล่ตั้งแต่เขียวถึงแดง มีค่าตั้งแต่ -128 (สีเขียว) ถึง 128 (สีแดง)
b* = ค่าสีไล่ตั้งแต่น้ำเงินถึงเหลือง มีค่าตั้งแต่ -128 (สีน้ำเงิน) ถึง 128 (สีเหลือง)

เพราะฉะนั้นการระบุสีของธงไตรรงค์ในเอกสารราชการเป็น L*a*b* โดยระบุค่า ∆E* (delta E) หรือความผิดเพี้ยนของสีเอาไว้ด้วย ก็เพื่อถ่ายทอดสีจริง ๆ ของธงไตรรงค์ออกมาได้ ทำให้สามารถนำไปแปลงเป็น RGB หรือ CMYK ที่เหมาะสมกับการใช้ต่าง ๆ ได้ถูกต้องที่สุด

Status Post
LIFE Trends

PETA ออกโรงตำหนิสวนสัตว์ ใช้ “หมูเด้ง” หาประโยชน์เข้าตัว วอนปล่อยฮิปโปแคระกลับป่า

ล่าสุด PETA ก็ออกโรงโจมตีเจ้าหมูเด้ง ฮิโปแคระสุดน่ารัก ที่กำลังเป็นกระแสและเป็นมีมทั่วโลก ว่าสวนสัตว์หาประโยชน์จากการขายตั๋ว และสัตว์เหล่านี้ควรถูกปล่อยไปอยู่ธรรมชาติ จนชาวเน็ตออกมาแสดงพลังตำหนิหน่วยงานนี้กันแบบมืดฟ้ามัวดิน และไล่ให้ไปดูแลสัตว์ที่ถือวิสาสะไปจับมาเลี้ยง แต่สุดท้ายไม่มีงบเพียงพอ จนต้องรมยาไปหลายต่อหลายตัว และอ้างว่าปล่อยให้ตายไปเสียดีกว่าเลี้ยงแบบไม่ดี จากการเจ็บป่วย หรือสาเหตุอะไรก็ตามแต่ ซึ่งจากสถิติจนถึงปี 2023 PETA ได้มีการรมยาสัตว์ต่าง ๆ มากกว่า 46,000 ตัวแล้ว ก็ไม่แน่ใจว่ารักสัตว์แบบใดเหมือนกันนะครับ

ซึ่งก่อนหน้านี้ช่อง JenniferWVegan หนึ่งในทีม PETA ก็ได้โจมตีสวนสัตว์เขาเปิดเขาเขียวในทำนองว่า “ความจริงของเจ้าหมูเด้ง ฮิปโปแคระที่กำลังเป็นไวรัลทั่วโลกอินเตอร์เนตในขณะนี้ หมูเด้งเป็นฮิปโปแคระที่น่าสงสารที่สุด ต้องอาศัยอยู่ในพื้นคอนกรีต และเราไม่ควรเพาะพันธุ์ ฮิปโปแคระในสถานที่ปิดแบบนี้ อย่าไปแชร์โพสต์หมูเด้ง และอย่าไปเที่ยวสวนสัตว์ด้วยนะ”

หลังจากโพสต์นั้นเป็นกระแส ก็มีคนต่างชาติหลายรายออกมาโต้ตอบเธอเยอะมาก ว่าสวนสัตว์แห่งนี้ได้รับรางวัลมากมาย ในเรื่องของการดูแลสัตว์เป็นอย่างดี แถมเป็นศูนย์อนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าหายาก และให้ความรู้ความเข้าใจกับประชาชน และร่วมมือกับองค์กรสัตว์ชั้นนำทั่วโลก คุณไปเอาข้อมูลมั่วซั่วแบบนี้มาจากไหน แต่เธอก็สู้มือและโต้ตอบแบบสู้ไม่ถอย และก็มีคนมาแซวว่าไม่แปลกใจ ที่เธอเป็นวีแกน (ไม่ทานเนื้อสัตว์) และทำงานอยู่ PETA เพราะมีช่วงนึงประเทศไทยก็ถูกใส่ร้ายแบบนี้ว่าใช้ลิงในการเก็บกะทิ จนถูกแบนออกจากห้างสรรพสินค้าชั้นนำหลายแห่ง ทั้งที่มันไม่ใช่เรื่องจริง

นอกจากนั้น ยังมีผู้ใช้งานหลายคนเห็นต่างจากเจ้าของช่อง ให้ความคิดเห็นว่าการเพาะพันธุ์สัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ผิดตรงไหน ก็เพราะมันถูกคุกคามจนจะหมดไป หน่วยงานต่าง ๆ จึงต้องร่วมมือกันอนุรักษ์ไว้ในที่ปิด เพื่อให้มันยังเหลืออยู่บนโลก นอกจากนั้นการทำสวนสัตว์เปิดแบบนี้ จะเอากำไรมาจากไหนอย่างที่เธอพูด ค่าเข้าก็ถูกแสนถูก และค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูสัตว์ก็แพงมาก ดูแม่หมูเด้งสิ ถ่ายตอนไหนก็กินไม่หยุด แต่ก็มีบางคนที่คล้อยตามและเห็นด้วยกับเธอเช่นกัน ถึงจะจำนวนน้อยกว่าหลายเท่าตัวก็ตาม

AI-THE NEXTGEN ทรู ดิจิทัล อคาเดมี เตรียมเปิดตัวโซลูชัน AI ใหม่เพื่อพัฒนาคนในองค์กร !

ทรู ดิจิทัล อคาเดมี เตรียมเปิดตัวโซลูชัน AI ใหม่เพื่อพัฒนาคนในองค์กร ในงาน AI-THE NEXTGEN ที่จะช่วยยกระดับองค์กรการพัฒนาคนในยุค AI

สรุปกลยุทธ์ Customer Segment ด้วยการเลือกคนที่ใช่ เลิกใส่ใจคนไม่สำคัญ จากงาน MITCON 2024

พี่หนุ่ย การตลาดวันละตอน แชร์เรื่อง Customer Segment Strategies ตั้งแต่แกนหลักของการแบ่งลูกค้าคืออะไร ไปจนถึงหลายเคสธุรกิจใช้แล้วที่ได้ผลจริง

เผยภาพแรกของจุดสุดท้ายเรือดำน้ำ Titan หลังคร่าชีวิตลูกเรือ 5 คนระหว่างดำชมซากไททานิก

การสอบสวนของหน่วยยามฝั่งสหรัฐ (US Coast Guard) เผยว่าข้อความสุดท้ายจากลูกเรือ 5 คนของยานดำน้ำ Titan ก่อนที่จะเกิดการระเบิดจนเสียชีวิตทั้งหมดคือ "ทุกอย่างปกติดี" ...อ่านต่อ

Status Post
LIFE Trends

ชวนชมคอนเสิร์ตการกุศลออนไลน์ Tech Fight Flood และบริจาคช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม

15 กันยายน 67 นี้ 16.00น. – 20.00น. ชาว Tech จับมือกัน จัดคอนเสิร์ตการกุศลออนไลน์

“Tech Fight Flood เทคสู้ฟลัด ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม” [ผ่านช่องทาง Live]

พบกับศิลปิน ตูน Bodyslam, จอห์น นูโว, ติ๊ก ชิโร่, แอ๊ป ธุวชิต, ฮาร์ท สุทธิพงศ์, โอ๋ ซีเปีย, เฟื่องลดา และศิลปินอีกมากมาย บรรเลงดนตรีโดย iHearBand สมทบทุนเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม จังหวัดเชียงราย

ไลฟ์พร้อมกันในหลายช่องทาง

Facebook : เทคสู้ฟลัด (Tech Fight Flood)
Facebook : ล้ำหน้าโชว์ / Tech Offside
Youtube : TechOffside
Facebook : BT Beartai

ศิลปิน ดารา อินฟลูฯ ท่านใดสนใจเข้าร่วมงาน หรือต้องการเป็น Media Partner ติดต่อคุณยูกิ โทร 095-517-6447

สมทบทุน บริจาค ช่วยเหลือพี่น้องผู้ประสบภัยน้ำท่วมจังหวัดเชียงรายโดยตรงได้ที่ สำนักธรรมบริการไร่เชิญตะวัน จังหวัดเชียงราย

และสามารถบริจาคสิ่งของจำเป็นได้ที่ #มูลนิธิกระจกเงา

เลขที่ 191 ซอยวิภาวดี62 แยก 4-7
แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ 10210
โทร 061-9091840

ร่วมติด Hashtag #techfightflood #เทคสู้ฟลัด

อิทธิพลของ ‘พายุยางิ’ เปิดเส้นทางการไหลของน้ำ จากเหตุการณ์น้ำท่วมเชียงราย

ก่อนหน้านี้ทางกรมอุตุนิยมวิทยาได้เผยผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน 10 วันข้างหน้า (8 – 17 กันยายน 2567) โดยอ้างอิงจากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป (ECMWF) ...อ่านต่อ