คุณผู้ชมครับ จากรายงานของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้เผยว่าในไตรมาสที่ 4 ของปี 2021 ที่ผ่านมา มีผู้ว่างงานกว่า 6.3 แสนคน “ซึ่งจะดีไหมครับ ถ้าเรามีหลักประกันชีวิต เรียนจบแล้วมีงานตรงสายที่รองรับในทันที”

เราอยู่กันที่ MUT มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร ที่ได้รับรางวัลจากหน่วยงานระดับสากล SCImago Institutions Rankings1 ในปี 2021 ให้เป็นอันดับ 1 ของมหาวิทยาลัยเอกชนที่ขึ้นชื่อด้านวิศวกรรมศาสตร์ นอกจากนี้นักศึกษาที่จบไป “กว่า 95% ได้งานทำตรงสายทันที” เพราะที่นี้นักศึกษาจะได้เรียนรู้เครืองมือที่ใช้งานในอุตสาหกรรมของจริง พร้อมหลักสูตรเรียนรู้การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากงานแบบจริง ๆ ผมหนุ่ย พงศ์สุข แบไต๋ให้รู้จักกันครับ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานครมีให้เลือกเรียนด้วยกัน 3 คณะนะครับ แน่นอนอันแรกเป็นวิศวะกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะบริหารธุรกิจ ซึ่งทั้งสองคณะนี้มีหลักสูตรอินเตอร์ให้เลือกด้วย กับปิดท้ายกับคณะสัตวแพทยศาสตร์

แต่เราจะขอเจาะจงไปที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะชูโรงของที่นี่กันหน่อยว่ามีการเรียนการสอนที่เข้มข้นขนาดไหน ตอนนี้ผมอยู่ที่ตึก Mahanakorn Institute of Innovation หรือตัวย่อว่า MIIX6 ใช้ทุนในการสร้าง 180 ล้านบาท เพื่อทำให้อาคารนี้กลายเป็นตึกแห่งการบ่มเพาะนักสร้างนวัตกรรม ให้นักศึกษาได้เรียนได้ลงมือทำจริงผ่านเครื่องมือที่ใช้ในอุตสาหกรรมของจริง เอาเป็นว่าเดี๋ยวผมจะพาทัวร์แต่ละห้องครับ

ห้องพิมพ์ขึ้นรูปสามมิติ (3D Printing Room) ก็เป็นห้องที่ให้นักศึกษานำแบบที่ออกแบบไว้มาพรินต์ ซึ่งจะพรินต์ขึ้นมาเล่น ๆ หรือจะส่งงานอาจารย์ หรือสามารถนำสิ่งที่พรินต์ออกมาไปใช้งานจริงได้ในห้องปฎิบัติการหุ่นยนต์ครับ

ห้องปฏิบัติการหุ่นยนต์ (Robotics LAB) เห็นที่แขนควบคุมของหุ่นยนต์ไหมครับ เราพรินต์มาจากห้องขึ้นรุปสามมิติและนำมาใช้กับห้องนี้ได้ ในปัจจุบันแขนกลเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นมากในอุตสาหกรรม ซึ่งทางมหาวิทยาลัย ก็มีห้องปฏิบัติการหุ่นยนต์ (robotics lab) ให้นักศึกษาได้เรียน ได้เขียนโปรแกรม การผลิตนักศึกษาใช้ในการฝึกเขียนชุดคำสั่งให้ ซึ่งจะเป็นแขนกลให้ได้เรียนกันหลากหลายแบรนด์ชั้นนำ ทั้ง ABB2, KUKA3 , Han’s4 และ Co-bot5

ทีนี้พอเรียนรู้การสั่งการแขนกล กระบวนการต่อไปคือเราต้องสามารถที่จะควบคุมสั่งการอุปกรณ์ในอุตสาหกรรมได้แบบจำนวนมาก ซึ่งนำไปสู่ห้องถัดไปกับห้องปฎิบัติการ PLC

ห้องปฏิบัติการ PLC (Programmable Logic Control) PLC ถ้าให้อธิบายให้เห็นภาพ นิยามง่าย ๆ นี่คืออุปกรณ์ในการควบคุมเครื่องจักรจำนวนมากแบบอัตโนมัติ ตั้งแต่ต้นทางจนปลายทาง ก็ต้องใช้โปรแกรม PLC และทำงานร่วมกับระบบหุ่นยนต์แขนกล ซึ่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร นำเครื่อง PLC ที่ใช้จริงในภาคอุตสาหกรรมมาให้ได้เรียนรู้กันทั้งจากของบริษัท SIEMENS ที่โซนอเมริกาและยุโรปเลือกใช้ กับ PLC จากบริษัท Mitsubishi ที่พบเจอได้บ่อยในประเทศญี่ปุ่น และแถบเอเชียรวมไปถึงบ้านเรา อีกทั้งแบรนด์ Mitsubishi ยังได้ออกทุนสนับสนุนในการสร้างห้องแล็บนี้ขึ้นมา และนักศึกษาก็ตอบแทนด้วยการคว้ารางวัลชนะเลิศประกวดหุ่นยนต์ติดต่อกับ 3 ปีซ้อน

ทีนี้อะไรจะสามารถทดสอบได้ว่าคำสั่งการควบคุมที่เราทำขึ้นมาได้ผลละ? ก็นำไปสู่ห้องถัดไปครับ กับ โรงงานผลิตน้ำดื่ม

โรงงานผลิตน้ำดื่ม (Process Control and Automation LAB) นี่คือห้องจำลองไลน์การผลิตตั้งแต่การนำวัตถุดิบเข้ามา ผลิตไปจนถึงแพคสินค้าพร้อมส่งไปขาย จะเห็นว่ามีขบวนการต่าง ๆ จากห้องที่ผ่านมาเข้ามาเกี่ยวข้อง หลาย ๆ ที่ ก็เรียนกันแบบ เป็น station แต่เมื่อเรียนจบเทอม ก็จะได้เห็นภาพรวมของการ integrate ไลน์ผลิตตั้งแต่ต้นจนสุดท้าย แต่ในห้องปฏิบัติการนี้จะให้นักศึกษาได้เรียนและเห็นภาพรวมตั้งต้นจนสุดทางของการผลิต

เครื่องที่เราเห็นอยู่ตรงนี้จะเป็นเครื่องที่ใช้งานจริงในอุตสาหกรรมโรงงานผลิตน้ำ ซึ่งนักศึกษาจะได้เรียนกระบวนการที่เป็นระบบอัตโนมัติ ตั้งแต่นำวัตถุดิบเข้า จนได้มาเป็นผลิตภัณฑ์ ซึ่งในห้องนี้สิ่งที่นักศึกษาจะได้นำ PLC มาลองสั่งการ และะตรวจกระบวนการผลิตจากโรงงานต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องรู้ เช่น การตรวจวัดค่าต่าง ๆ ทั้ง การไหลของของเหลว, วัดความเป็นกรด, วัดแรงดัน หรือแม้แต่วัดอุณหภูมิ และทั้งนี้ยังเปิดโอกาสให้นำเสนอแนวทาง หรือการลดขั้นตอนการผลิตได้เช่นกันเพื่อจะได้เป็นประสบการณ์ในโลกการทำงานของจริง ซึ่งในห้องนี้คณะบริหารธุรกิจเองก็จะได้เข้ามารับรู้การทำงานเพื่อเข้าใจการแก้ไขปัญหาในเชิงธุรกิจด้วยเช่นกันครับ

นอกจากนี้ทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานครได้วิจัยและค้นคว้ากับทางสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ สทป. สร้าง “หุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิด” ขึ้นมา โดยฝีมือคนไทยที่ใช้งานได้จริง โดยในตอนนี้หุ่นยนต์ได้ถูกส่งไปใช้งานในพื้นที่จริงที่นาราธิวาส เพื่อช่วยลดการสูญเสียชีวิตของเจ้าหน้าที่และการเผชิญหน้ากับความเสี่ยงในการเก็บกู้วัตถุระเบิด

และในวิศวะสาขาอื่น ๆ ทางมหาวิทยาลัยก็ยังคงใช้คอนเซปต์ให้นักศึกษาได้เรียนรู้และใช้เครื่องมือที่ถูกใช้งานจริง ๆ เช่นในสาขาวิศวกรรมโยธา นักศึกษาจะได้เรียนรู้พฤติกรรมของน้ำผ่านแลบไฮดรอลิกส์ ทั้งแรงดัน ปั้ม น้ำในท่อ การสูญเสียพลังงาน การไหลในทางน้ำเปิด เป็นต้น

ห้องปฏิบัติการวิศวกรรมโครงสร้างที่มี Strong Wall และ Strong Floor สามารถใช้ทดสอบพฤติกรรมโครงสร้าง เช่น คาน พื้น เสา ผนัง ขนาดเสมือนจริง โดยรับน้ำหนักได้ถึง 500 ตัน และสามารถทดสอบพฤติกรรมของโครงสร้างที่รับแรงแผ่นดินไหว ที่แม้ประเทศไทยจะไม่ค่อยเกิดขึ้น แต่ทางมหาวิทยาลัยก็นำมาดัดแปลงใช้เพื่อเป็นสื่อการเรียนการสอน ซึ่งในบ้านเรามีเพียงไม่กี่ชุด

ตอนนี้ผมอยู่กับผศ. ดร.ภานวีย์ โภไคยอุดม หรือว่าอาจารย์ตั้ว อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร ผู้ที่กำหนดทิศทางที่น่าสนใจให้ที่แห่งนี้จนได้รับรางวัลจากทาง SIR เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนอันดับ 1 ของประเทศไทย

การจะมาเรียนที่นี่ ต้องมีพื้นฐานด้านวิศวกรรมศาสตร์มาก่อนไหม?
คิดว่าเพราะอะไรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานครถึงได้รางวัล SIR?
อะไรคือเหตุผลที่ทำให้นักศึกษา จบแล้วมีงานทำตรงสายกว่า 95% ?

ถ้าพูดถึงคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นคณะหลักของที่นี่ มีโครงสร้างหลักสูตรอย่างไร ได้ข่าวมาว่ามีการเปลี่ยนแปลงเยอะต่างไปจากเดิม ?

ข้อสังเกต

ทีนี้ก็มาถึงข้อสังเกตที่กองบรรณาธิการแบไต๋จะฝากไว้ให้คุณผู้ชมได้พิจารณาในทุกรีวิวเสมอนะครับ สถานที่ตั้งของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานครโดยตรงจุดปักหมุดในแผนที่ คือ 140 ถนนเชื่อมสัมพันธ์ แขวงกระทุ่มราย “เขตหนองจอก” กรุงเทพฯ 10530

ซึ่งคุณผู้ชมน่าจะเห็นพ้องต้องกันใช่ไหมครับว่าระยะทางช่างดูไกลตัวเมืองพอสมควร แถมยังไม่มีรถไฟฟ้าผ่าน ถ้าไม่มีรถส่วนตัวก็ต้องอาศัยการเดินทางหลายต่อ แต่ความไกลปืนเที่ยงนี้ในแง่การเรียนการสอนไม่ถือว่าเป็นอุปสรรคแน่นอนครับ

รีวิวที่ดีต้องมีราคา

สำหรับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร ในหลักสูตรคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ค่าเทอมชำระในปีแรกกับสาขาถูกที่สุดจะอยู่ที่ 37,150 บาท ส่วนในเทอมถัด ๆ มาอันนี้ตามแต่หน่วยกิตที่ลง แต่ก็จะอยู่ที่ราว ๆ 40,000 – 45,000 บาท

ส่วนถัดมาถ้าเป็นคณะบริหารธุรกิจถูกที่สุดจะอยู่ที่ 29,100 บาท ในเทอมถัด ๆ มาจะอยู่ที่ราว ๆ 22,000 – 25,000 บาท

และคณะสุดท้ายกับสัตวแพทย์ อันนี้มีราคาเดียวคือ 64,850 บาท ในเทอมถัด ๆ มาจะอยู่ 65,000 บาทครับ

โดยในเทอมแรกของทุกคณะสามารถชำระครั้งแรกได้ก่อนที่ 10,000 บาท และแบ่งชำระส่วนที่เหลือได้ 3 ครั้งครับ

และนี่คือมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร มหาวิทยาลัยที่การันตีได้ว่าคุณจะได้จบไปทำงานที่ตรงสาย เพราะได้ผ่านสมรภูมิจำลองผ่านอุปกรณ์ในภาคอุตสหากรรมของจริง