“มีแต่คนบ้าเท่านั้น ที่จะทำสิ่งเดิมซ้ำ ๆ แต่กลับหวังผลลัพธ์ที่แตกต่าง” นี่คือคำพูดของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นักฟิสิกส์ผู้ยิ่งใหญ่ของโลก ซึ่งแน่นอนว่าเป้าหมายในการสร้าง “ชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น” ให้กับลูกค้าของทีเอ็มบีธนชาต หรือทีทีบี จะสำเร็จเป็นจริงได้ ย่อมต้องทำอะไรที่แตกต่างออกไป
นั่นจึงเป็นที่มาของการพูดคุยในวันนี้ กับหัวหน้าทีมดิจิทัล ทีทีบี สปาร์ค ที่ไม่ได้มีแค่หนึ่ง แต่มีถึงสอง! คือ คุณนริศ อารักษ์สกุลวงศ์ และคุณรัชกร ชยาภิรัตครับ
ก่อนอื่นเลยผมต้องขอถามก่อนที่จะเริ่มพูดคุยกันแบบเจาะลึกว่า ttb spark คืออะไร
ttb spark คือ ทีม digital unit ของ ttb โดยเป้าหมายของ spark คือ การสร้างสรรค์ไอเดียและพัฒนาดิจิทัลโซลูชัน เพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการที่ช่วยให้ลูกค้ามีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น ทีม spark เองจะช่วยเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถด้านดิจิทัลของ ttb ภายใต้ concept “Humanized Digital Banking” หรือ ดิจิทัลแบงก์กิ้งที่เป็นมิตร รู้จัก และรู้ใจลูกค้า Digital solution ที่เราพัฒนาจะต้องแก้ pain point ของลูกค้าได้จริง เพื่อยกระดับการให้บริการลูกค้าได้หลากหลายครอบคลุมทุกความต้องการ ทั้งลูกค้ารายย่อย และ ลูกค้าธุรกิจ
แล้วจุดเริ่มต้นของ ttb spark เกิดขึ้นได้อย่างไร และมีบทบาทหน้าที่อะไรครับ
ต้องเรียนว่า เรื่องเทคโนโลยีไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับอุตสาหกรรมธนาคาร เราอยู่ในจุดที่กว่า [70-80%] ของผู้ใช้บริการธนาคารในประเทศไทย มีบัญชี mobile banking เพราะฉะนั้น การตัดสินใจที่สำคัญสำหรับธนาคารในยุคนี้คงไม่ใช่ว่าจะทำหรือไม่ทำเรื่องดิจิทัล แต่คงเป็นเรื่องของ How หรือจะทำอย่างไรมากกว่า ซึ่งถ้าดูตัวอย่างในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทั้งในและนอกประเทศ ผมคิดว่าแบ่งออกได้เป็น 2 แนวคิด
แนวคิดแรกซึ่งเราอาจจะพอได้ยินกันพอสมควร คือ การสร้างความเปลี่ยนแปลงแบบ outside-in หรือเริ่มจากภายนอก โดยการไปตั้ง Joint Venture หรือบริษัทลูก เพื่อพัฒนาธุรกิจใหม่ ๆ เพราะเชื่อว่า การเปลี่ยนแปลงบนองค์กรเดิมเกิดขึ้นได้ยาก และใช้เวลานาน
ส่วนอีกแนวคิดนึง คือ การเปลี่ยนแบบ inside-out หรือเริ่มจากภายใน ด้วยความเชื่อที่ว่า องค์กรมีความพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง และถ้าทำได้สำเร็จ ก็จะมี impact ที่ scale ได้เร็วกว่า
โดยต้องเรียนว่า คงไม่ได้มีทางใดถูกหรือผิดนะครับ แต่สิ่งสำคัญคือการเลือกทางเดินให้เหมาะสมกับแต่ละองค์กร ซึ่งถ้าดูในอุตสาหกรรมธนาคาร เพื่อน ๆ ของเราอาจจะมองไปในแนวทางแรกซะมากกว่า แต่สำหรับ ttb เราเลือกที่จะเดินตามแนวทาง inside-out เพราะ 2-3 ปัจจัยด้วยกัน
DNA หรือ วัฒนธรรมองค์กร : ถึงแม้วันนี้ ttb จะถูกนับเป็นหนึ่งใน D-SIBs แต่จริง ๆ เราก็นับเป็นน้องเล็กที่สุดใน D-SIBs แบงค์ และเอาจริง ๆ องค์กรของเราก็เติบโตมาจากธนาคารขนาดกลางที่ผ่านการเปลี่ยนแปลงมาหลายต่อหลายครั้ง เพราะฉะนั้นเราเชื่อว่าเราเป็นองค์ที่ไม่ได้มีขนาดใหญ่จนเกินไปที่จะเปลี่ยนแปลง
Know-how หรือความรู้ความสามารถ: ต้องเรียนว่าเรื่อง Digital ไม่ใช่เรื่องใหม่ของธนาคาร ttb จริง ๆ ผมเชื่อว่าหลาย ๆ คนยังพอจำแบรนด์ ME by TMB ได้ ซึ่งต้องเรียกว่าได้ว่าเป็น digital bank รุ่นบุกเบิกของประเทศไทย เพราะฉะนั้นเราค่อนข้างมั่นใจกับ know-how ที่บุคลากรปัจจุบันของเรามีอยู่ว่าสามารถแข่งขันได้
Timing: อย่างที่เรียนตอนต้นนะครับ ณ จุดนี้ต้องเรียนว่า ประเทศไทยเราถือว่าค่อนข้าง mature ในเชิงของการนำเทคโนโลยีมาใช้ในวงการธนาคาร ผู้บริหารและทีมงานของเรา ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ ที่ค่อนข้างจะเข้าใจว่า digital คืออะไร และสามรถนำ digital มาช่วยให้ธนาคารดำเนินธุรกิจได้ดีขึ้นอย่างไร และเป็นประโยชน์ต่อลูกค้าได้อย่างไรบ้าง
เพราะฉะนั้น บทบาทของ ttb spark คือ การเป็น Change agent ที่จะเข้ามาเปลี่ยนวิธีการดำเนินธุรกิจของธนาคารให้ตอบโจทย์โลกดิจิทัลยิ่งขึ้น โดยที่บุคลากรของ ttb spark จะต้องทำงานเคียงบ่าเคียงใหล่ไปพร้อม ๆ กับบุคลากรในฝั่ง Busines เดิมที่ธนาคารมีอยู่ เพราะเราเชื่อจริง ๆ ว่า เราต้องอาศัยความรู้ความสามารถทั้งฝั่ง Business และ Digital ในการที่จะช่วย unlock innovation ใหม่ ๆ ที่จะทำให้ลูกค้าของธนาคารมีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นอย่างแท้จริง
แล้วคนที่ต้องการต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้างครับ ต้องเก่งด้านเทคโนโลยีมากน้อยแค่ไหน ?
“ttb spark” ประกอบด้วยทีมงาน talent ที่ทุกทีมจะได้ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด มีลักษณะเป็นแบบ BizTech เป็นทีม Business & Tech / Developer แต่ละคนจะมี ownership ของ project ที่ดูแล และมีส่วนร่วมในการกำหนด direction ของแต่ละ project เป็น unit ที่เป็น self governing มีการทำงานแบบ Agile ดังนั้นทุกคนจะได้ลงมือทำจริง เพื่อรับผิดชอบในส่วนดิจิทัลโซลูชันสำหรับทั้งลูกค้าบุคคลและลูกค้าธุรกิจ ซึ่งแต่ละทีมจะประกอบด้วย
- ทีม Business owner ที่ดูและทั้งส่วนของ digital solution ให้กับลูกค้าทั้งกลุ่มลูกค้าบุคคลและลูกค้าธุรกิจ
- ทีม Business Analyst
- ทีม UX/UI ที่คอยดูแลเรื่อง User experience
- ทีม Solution Architect
- ทีม Tech / Developer ทำให้สามารถพัฒนาและนำเสนอ solution ออกสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็ว
- ทีม Quality Assurance
นอกจากนั้น ที่ ttb spark ยังมีทีมงานที่ focus เรื่องการพัฒนา ttb touch mobile app ของเราโดยเฉพาะ เพราะเราเชื่อเรื่องของการพัฒนาต่อยอดที่ไม่สิ้นสุด และยังรวมไปถึงทีมงานที่ focus เรื่องของการพัฒนา solutions ใหม่ ๆ ที่นอกเหนือไปจากเรื่องของการธนาคาร หรือ beyond banking ด้วย เพื่อจะได้มี solution ใหม่ ๆ ออกมาช่วยตอบโจทย์และเป็นประโยชน์กับลูกค้าได้อย่างรอบด้าน ทำให้ที่ผ่านมา ttb spark ได้พัฒนาโซลูชันที่สามารถแก้ปัญหาให้กับลูกค้าอย่างยั่งยืน และเป็นการแก้ปัญหาทั้ง Ecosystem ให้กับลูกค้าได้อย่างแท้จริง
เมื่อช่วงต้น มีการพูดถึงแนวคิด Humanized Digital Banking ช่วยอธิบายเพิ่มหน่อยครับว่ามันคืออะไร ?
อาจจะขอขยายความคำว่า Humanized Digital Banking สักนิดนึงนะครับ อยากให้มองเรื่องนี้ในภาพ spectrum ด้านนึง เป็น การดำเนินธุรกิจธนาคารในรูปแบบเก่า โดยมีสาขาเป็นศูนย์กลางของ business model ส่วนอีกด้านหนึ่ง คือ Virtual bank ที่พยายามจะนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการในรูปแบบดิจิตอลทั้งหมด คำถามที่เราคุยกันภายในค่อนข้างเยอะ คือ ttb อยากยืนอยู่ตรงไหนบน spectrum นี้ ซึ่งคำตอบที่ออกมา คือ เราเลือกที่จะเดินบนแนวคิด Humanized digital banking โดยจะเปลี่ยนศูนย์กลางของ business model จากสาขา มาสู่ digital platform แต่แทนที่จะนำเรื่องนี้แบบ pure digital คือเป็นโลกอีกใบนึงควบคู่ไปกับโลกของสาขาที่ไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน เราอยากให้ digital platform นี้เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ลูกค้าสามารถ connect กับพนักงานของเราได้ดีขึ้น และสามารถมอบประสบการณ์บนแอปพลิเคชันได้เสมือนหนึ่งลูกค้าเดินมาใช้บริการที่สาขา เพราะฉะนั้นโลกออนไลน์และโลกออฟไลน์จะต้องเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้แก่ลูกค้าของธนาคาร
แล้วลูกค้าจะสามารถ connect หรือเชื่อมต่อกับพนักงานได้อย่างไรครับ ?
อีกเรื่องที่สำคัญ คือ คำว่า Humanized หรือ Human touch ไม่ได้แปลว่าต้องใช้คนเสมอไปนะครับ บางส่วนเป็นเรื่องของการนำเองเทคโนโลยีอย่าง data analytics มาใช้เพื่อสร้างประสบการณ์เสมือนหนึ่งลูกค้ากำลังเดินเข้าไปใช้บริการกับสาขาใกล้บ้าน ที่พนักงานของธนาคารรู้ว่าเค้าคือใคร อายุเท่าไหร่ มีครอบครัวรึยัง มีความต้องการทางการเงินอย่างไร
เพราะฉะนั้น ttb touch จะไม่เป็นแค่ platform for transactions สำหรับการทำธุรกรรม โอน เติม จ่าย ในชีวิตประจำวัน แต่ต้องช่วยให้ลูกค้าสามารถบริหารจัดการเรื่องง่าย ๆ ได้ เช่น เปิดบัญชี ดูข้อมูลลงทุน สมัครสินเชื่อ และรวมไปถึงการให้คำแนะนำ ช่วยเหลือ และนำเสนอสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ได้ในระดับบุคคล เพื่อช่วยให้ลูกค้ามีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น
เราได้เข้าใจแนวคิด ‘Humanized Digital Banking’ กันไปแล้ว แต่อาจจะยังนึกภาพไม่ออก ว่าเราจะใช้งานได้อย่างไร ผมขอถามแบบเจาะลึกกันซักนิดว่า ทาง ttb spark ได้ทำอะไรบ้างในการปรับโฉม ttb touch และมีฟีเจอร์อะไรที่น่าสนใจบ้างครับ
ในปีนี้เราเตรียมที่จะพลิกโฉมแอปพลิเคชัน ttb touch ให้กลายเป็นผู้ช่วยส่วนตัวและที่ปรึกษาที่รู้ใจ ช่วยให้ชีวิตทางการเงินของลูกค้าดีขึ้นได้อย่างรอบด้าน ตามแนวทางกลยุทธ์ Humanized Digital Banking ของธนาคาร โดยมีไฮไลต์ 5 ฟีเจอร์เด่น คือ
ผู้ช่วยส่วนตัวที่ให้ข้อมูลและแจ้งเตือนเรื่องสำคัญที่เกี่ยวกับลูกค้าโดยเฉพาะ ด้วยการใช้ Data Analytics วิเคราะห์พฤติกรรม นำเสนอ และช่วยแจ้งเตือนในธุรกรรมสำคัญต่าง ๆ เช่น จ่ายบิลค่าน้ำ ค่าไฟ บิลโทรศัพท์มือถือ โดยที่ลูกค้าไม่ต้องตั้งเตือน
ให้คำแนะนำและทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย อาทิ บริการด้านประกันที่จะช่วยรวบรวมข้อมูลและแสดงผลภาพรวมความคุ้มครองทั้ง 3 ด้าน คือ ดูแลสุขภาพ ออมเพื่อเกษียณ และดูแลคนข้างหลัง โดยแสดงให้เห็นว่าประกันที่มีครอบคลุมและเพียงพอกับ Lifestyle และ Life Stage ของลูกค้าหรือไม่ ทำให้เรื่องประกันที่ซับซ้อนกลายเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ง่าย
การทำประกันที่ไม่ต้องพบตัวแทน เราต้องตรวจสุขภาพไหมครับ หรือต้องแสดงหลักฐานอะไรว่าเราสามารถทำประกันนี้ได้ ?
รวบรวมและจัดระเบียบเอกสารทางการเงินไว้บน ttb touch สะดวกในการค้นหา เรียกดูง่าย และขอเอกสารได้ ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปสาขาอีกต่อไป เช่น เอกสารรับรองสถานะทางการเงิน และเอกสารข้อมูลเครดิตบูโร
รวบรวมสิทธิประโยชน์ไว้ในที่เดียว พร้อมเลือกสรรแคมเปญโปรโมชันที่เหมาะสำหรับลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าไม่พลาดทุกความคุ้มค่าที่ธนาคารมอบให้
และในอนาคต ttb touch จะเป็นมากกว่าผู้ช่วยและที่ปรึกษาเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับการธนาคาร โดยจะเข้ามาช่วยจัดการด้านอื่น ๆ เช่น การบริหารจัดการเรื่องการจ่ายค่างวดสินเชื่อรถ ต่อประกัน รวมไปถึงการขายรถและการหาซื้อรถคันใหม่มาทดแทน เพื่อทำให้ชีวิตของลูกค้าดีขึ้นรอบด้านได้อย่างแท้จริง กับฟีเจอร์ล่าสุด My Car ที่จะรวบทั้ง Ecosystem ของรถยนต์ ที่ประกอบด้วยผู้ขาย ผู้ให้บริการ การซื้อประกัน การติดต่อเรื่องกู้ยืม ไว้บนฟีเจอร์นี้ใน ttb touch ที่จะเพิ่มความสะดวกสบาย คล่องตัว และยกระดับประสบการณ์ของผลิตภัณฑ์ด้านสินเชื่อรถยนต์ที่เป็นบริการที่โดดเด่นของ ttb
เรียกว่ายกเครื่องใหม่ของจริง ในฐานะผู้ใช้ ttb touch นี่ผมตื่นเต้นจริง ๆ เลยนะครับ อย่างนี้เราสามารถเรียก ttb touch ว่าเป็น One Stop Service Application ได้ไหมครับ ในเมื่อครบเครื่องขนาดนี้ ทำได้แทบทุกธุรกรรม ไม่ต้องมีแอปอื่นมาเสริมเลย
สิ่งหนึ่งที่เป็นข้อสังเกตและทำให้ผมทึ่ง คือ ในช่วงเวลาไม่นานหลังการตั้งทีม ttb spark ดูเหมือนพวกคุณได้ทำให้หลายสิ่งหลายอย่างเกิดขึ้นได้จริง รวมถึงการยกเครื่องแอป ttb touch สิ่งที่ผมอยากทราบคืออะไรเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จ หรือ Key Success Factor สำหรับ ttb spark ครับ ?
Key Success Factor ของเราคือ ทีม talent คนรุ่นใหม่ที่มีความเชื่อเดียวกันในการ จุดไอเดีย…ให้ทุกสิ่งเป็นจริงได้ หรือ Spark New Possibilities โดยเรามุ่งที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงที่มีความหมาย โฟกัสที่การสร้างชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นให้กับลูกค้า รวมไปถึงการที่มี Digital DNA หรือที่เรียกว่า DARE DNA ที่ประกอบด้วย
- Daring กล้ายืนหยัดในสิ่งที่เชื่อว่าถูกต้อง และดีที่สุดสำหรับลูกค้า
- Agile กล้าล้ม ลุกเร็ว เพื่อเรียนรู้และพัฒนาให้เร็วกว่า
- REAL ทุกสิ่งที่ทำ จับต้องได้จริง
- Energetic เต็มเปี่ยมไปด้วยพลัง และสนุกกับการได้สร้างสรรค์สิ่งใหม่
ซึ่ง DNA ที่อยู่ในตัวทีมงานของเรา จะทำให้เราสามารถนำเสนอ Solution ใหม่ ๆ ที่จะช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลงที่มีความหมาย ทำให้ลูกค้าของเรามีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น ตามความเชื่อของเราคือ Spark New Possibilities
จริงอยู่ที่ว่าตอนนี้มี DNA ที่แข็งแรงแล้ว แต่เราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ปัจจุบัน ธุรกิจการเงินถือเป็นหนึ่งในธุรกิจที่เกิด Digital disruption มากที่สุด ส่งผลให้พฤติกรรมของผู้คนเปลี่ยนไปอย่างมาก แล้วแนวโน้มของ digital solution ของธุรกิจการเงินในอนาคต ttb spark มองไว้ว่าจะเป็นอย่างไร ?
ในเรื่องของ digital solution ที่จะนำเสนอผ่าน ttb touch เรามองเป็น 3 ด้านด้วยกัน
ด้านแรก เป็นเรื่องของการเอาผลิตภัณฑ์และบริการต่าง ๆ ที่มีอยู่ในสาขามาวางบนแอปพลิเคชั่น ttb touch โดยวัตถุประสงค์คือ ลูกค้าทุกคนเสมือนมีสาขาธนาคารอยู่ในมือถือของตัวเอง สามารถใช้ฟังชั่น self service ในการดำเนินการเรื่องต่าง ๆ ด้วยตัวเอง และหาต้องการความช่วยเหลือก็สามารถพูดคุยกับพนักงานของธนาคารได้ผ่านแอปพลิเคชั่น
ด้านที่สอง เป็นเรื่องของการคิดค้นผลิตภัณฑ์ด้านการเงินใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นมาเพื่อโลกดิจิทัลอย่างแท้จริง … เรากำลังพูดถึงผลิตภัณฑ์ที่ไม่เคยมีมาก่อนด้วยข้อจำกัดของสาขาหรือเทคโนโลยีในอดีต
ด้านที่สาม เป็นเรื่องของพัฒนา solution ที่มากกว่าเรื่องของการเงินการธนาคาร หรือ beyond banking อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เรา focus ในวันนี้ ยังยึดหลักการสร้างประโยชน์ต่อลูกค้าอย่างแท้จริง โดยมุ่งเน้นสร้างจากจุดแข็งของเรามากกว่าไปรุกตลาดในด้านใหม่ ๆ ที่เราไม่ได้มี competitive edge โดยหนึ่งในเรื่องที่เริ่มทำไปแล้ว และจะอยู่ใน ttb touch ที่กำลังจะ launch คือ My car widget โดย ttb เป็นผู้นำด้านสินเชื่อรถยนต์ เรามีคู่ค้าและพันธมิตรใน Auto Ecosystem เป็นจำนวนมาก ที่เราพร้อมจะร่วมมือ collaborate เพื่อนำเสนอ solution ที่ตอบโจทย์ลูกค้าที่มีรถ ตั้งแต่เริ่มตัดสินใจซื้อรถ ไปจนถึงการช่วยขายรถ เราเชื่อว่าการที่เราต่อยอดจากจุดแข็งของเรา จะสามารถทำให้เรา offer สิ่งที่ตอบโจทย์และเป็นประโยชน์กับลูกค้า ทั้งระบบ ทั้งเจ้าของรถ อู่รถ เต้นรถ dealer รถต่าง ๆ
เท่าที่ฟังมาทั้งหมดมีหลายสิ่งที่ต้องทำ ดูเป็น Mission ที่ Challenge ทาง ttb spark มีแนวทางในการหาน้อง ๆ เพื่อมาเสริมทัพ ร่วมทำ Mission ให้สำเร็จอย่างไรบ้าง มีอะไรฝากน้อง ๆ ที่สนใจไหม
เราต้องการเสริมทีม และเปิดรับสมัครคนรุ่นใหม่ที่สนใจ
- REAL Growth ที่นี่ทุกคนจะไม่ใช่แค่ได้ทำงานที่สนุก ท้าทาย แต่จะได้โอกาสและความรับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่
- REAL Agility ที่นี่จะได้อิสระในการทำงานเพื่อความคล่องตัว และสร้างสรรค์ผลงานให้ดียิ่งขึ้น
- REAL Benefit ที่นี่จะให้ทุกคนบริหารในแบบ CEO ของ Squad ตัวเอง ได้คิด ทำ ลงมือจริง
- REAL Talent ที่นี่คือองค์กรที่ Agile แบบแท้จริง จะมีคนเก่ง ๆ จากสายงานต่าง ๆ มาช่วยกันทำให้งานออกมาดีที่สุด เรียนรู้ร่วมกัน และเติบโตไปด้วยกัน
และเรายังมี ttb spark academy ที่เปิดโอกาสให้น้อง ๆ มหาวิทยาลัย ได้มีโอกาสมาร่วมงานกับคนเก่ง ๆ เพื่อเตรียม groom น้อง ๆ young blood ที่สนใจด้าน tech & data ให้ได้มีประสบการณ์จริงในการทำงานผ่านโปรแกรมต่าง ๆ โดยเราได้มีการวางแผนเป็น early career, mid career และ pipeline recruiting และเป็นการเปิดโอกาสให้กลับมาร่วมงานกันในอนาคตต่อไป
ถือเป็นข่าวดีมาก ๆ สำหรับนิสิตและนักศึกษามหาวิทยาลัยนะครับ แล้วถ้าน้อง ๆ สนใจต้องติดต่อช่องทางไหนครับ ?
เรามี LinkedIn ttb spark หรือส่ง CV ได้ที่ ttbspark.com ครับ
ทั้งหมดนี้ เรียกได้ว่าคือสิ่งที่จะตอกย้ำความมุ่งมั่นของทีทีบี ที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงที่มีความหมายให้กับชีวิตลูกค้าผ่านดิจิทัลเทคโนโลยีด้วยแนวคิด Humanized Digital Banking เพื่อให้ทุกประสบการณ์การใช้บริการบนดิจิทัลตอบโจทย์ รู้ใจ และเข้าใจ
และสำหรับนิสิตและนักศึกษามหาวิทยาลัยที่สนใจก็ฝากไว้ด้วยนะครับ สำหรับ ttb spark มาร่วมสร้างชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นทั้งในวันนี้และอนาคตไปด้วยกันครับ