คุณผู้ชมเคยสงสัยไหมครับว่า “โซลาร์เซลล์” ที่ติดตามหลังคาบ้านเรือนหรือโรงงานอุตสาหกรรม เขาสร้างกันอย่างไร ต้องผ่านกระบวนอะไรบ้างกว่าจะเป็นโซลาร์เซลล์หนึ่งแผง?
ผมเองก็อยากรู้เหมือนกัน วันนี้ก็เลยมา แบไต๋บุก บุกมาดูถึงโรงงานประกอบแผงโซลาร์ของคนไทย Solar PPM โรงงานนี้มีมาตรฐานการผลิตระดับสากลที่ส่งไปขายหลายทวีปเลยครับ เขาสร้างกันอย่างไร เดี๋ยวไป #beartai กัน
คุณผู้ชมครับนี่คือ คุณ กฤษณ์ พรพิไลลักษณ์ กรรมการ บริษัท พรพรมเม็ททอล จำกัด (มหาชน) และซีอีโอของ Solar PPM ด้วยครับ
ก่อนอื่นเลยผมอยากรู้ว่าโรงงานนี้ มีที่มาที่ไปอย่างไรบ้างครับ? ทำไมคนไทยถึงเป็นเจ้าของได้ 100% เพราะปกติแล้วจะเป็นการร่วมทุนกัน
ต้องบอกก่อนว่า Solar PPM เป็นบริษัทในเครือของ บริษัท พรพรหมเม็ททอล จำกัด (มหาชน) ซึ่งเรามองเห็นว่าเทรนด์ในการธุรกิจที่เกี่ยวกับความยั่งยืนกำลังมา ก็เลยไปเปิดบริษัทลูกที่ทำเกี่ยวกับพลาสติกที่ชื่อ…. และโซลาร์เซลล์ Solar PPM โดยในช่วงแรกเริ่มเราร่วมมือกับ Vina Solar ในการเอาเทคโนโลยีการผลิตระดับโลกมาใช้ แต่ก่อนส่วนใหญ่เราผลิตส่งไปขายต่างประเทศ แต่ช่วงหลัง 5 ปีที่ผ่านมาเรา ให้ความสำคัญในการทำแบรนด์ของตัวเองในชื่อ Solar PPM ครับ และ ผู้บริหารได้ตัดสินใจเทคหุ้นส่วนคืนมาทั้งหมดครับ ทำให้โรงงานนี้ถือว่าเป็นของคนไทย 100% ครับ เราเลยมีสิทธิ์เปิดให้คุณหนุ่ยเข้ามาดูภายในโรงงานได้ครับ ซึ่งที่อื่นเขาจะไม่เปิดให้เข้าไปดูง่าย ๆ นะครับ
สำหรับกระบวนการแรกก่อนจะลงมือผลิตแผงโซลาร์เซลล์ก็คือ MES หรือ Manufacturing Execution System เป็นการสร้างบาร์โค้ดเพื่อใช้ระบุโซลาร์เซลล์เป็นรายแผ่นเลยครับ ข้อมูลทั้งหมดนี้ใช้เก็บข้อมูลคุณภาพการผลิตด้วยนะครับ ซึ่งลูกค้าของเราสามารถเข้ามาดูย้อนหลังได้เพื่อเพิ่มความมั่นใจในคุณภาพการผลิตครับ
ในห้องแรกเราจะเรียกว่า สตริงเกอร์ พูดง่าย ๆ คือการเอาเซลล์มาตัดครึ่ง แล้วต่อกันแบบอนุกรมให้เป็นแผงด้วยริบบอน เพื่อทำให้แต่ละเซลล์สามารถรับส่งไฟฟ้าหากันได้ครับ
แล้วเราไม่ได้ผลิตเซลล์เองหรอครับ?
เราไม่ได้ผลิตที่นี่เองเพราะว่า เซลล์มีเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมาก cell ที่เราใช้เป็นเทคโนโลยีใหม่ ที่มีขนาดใหญ่กว่าเดิมมาก และสามารถผลิตไฟฟ้าต่อแผ่น ได้มากกว่าเซลล์ทั่วไปในท้องตลาดครับ ปกติหนึ่งแผงใหญ่จะผลิตไฟได้ราว ๆ 500W แต่ของ Solar PPM จะผลิตได้ 600W
แน่นอนว่าก่อนจะส่งมอบสตริงทั้งหมดไปสู่ขั้นตอนถัดไปจะต้องมีการควบคุมคุณภาพด้วยครับ เราใช้ผู้เชี่ยวชาญเพื่อดูว่าแต่ละเซลล์เชื่อมต่อกันสมบูรณ์หรือไม่ ก่อนจะบรรจุใส่ถาดเพื่อไปยังขั้นตอนต่อไปที่เรียกว่า การเลย์อัป
ข้อสังเกต
เอาล่ะครับเรามาพูดถึงข้อสังเกตที่แบไต๋จะเอามาฝากคุณผู้ชมเสมอ ข้อสังเกตของ Solar PPM ที่ผมได้มาจากการคุยกับวิศวกรหน้างานก็คือ ถ้าคุณต้องการซื้อแผงโซลาร์มาใช้งานร่วมกับอุปกรณ์อื่น ๆ ที่มีอยู่ อาจจะเข้ากันไม่ได้ เพราะตัวแผงผลิตไฟได้มากกว่าทั่วไป แนะนำว่าให้ปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญก่อนครับ
วันนี้เราก็ได้รู้กันแล้วว่าโซลาร์เซลล์หนึ่งแผงสร้างขึ้นลผลิตมาได้อย่างไร ถ้าใครสนใจก็สามารถติดต่อ Solar PPM ได้ที่เว็บไซต์ https://www.solarppm.com/ หรือโทร 02-628-6100 ได้เลยครับ