ล่วงเลยเข้าสู่ครึ่งหลังของปี 2565 แล้ว แต่บรรยากาศการลงทุนยังคงไม่สดใส มีแต่ร่วงลงและเข้าสู่ ‘ภาวะหมี’ ตลาดสินทรัพย์ต่าง ๆ ที่ไม่ว่าจะหันไปหาตลาดไหนก็มีแต่ความอึมครึมปกคลุม
สาเหตุหนึ่งก็มาจากแนวโน้มเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นทั่วโลก และการเร่งแก้ไขปัญหาที่หลายประเทศเลือกใช้อย่าง ‘การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย’ ก็ทำให้หลายประเทศเข้าสู่ภาวะถดถอย หรือ Recession ครับ
โดยการสำรวจของสำนักข่าว Bloomberg พบว่า มีความเป็นไปได้ราว 38% ที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยภายใน 12 เดือนข้างหน้านี้ รวมถึงตัวชี้วัดอย่างหลาย ๆ อย่าง ที่บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจจะเข้าสู่สภาวะถดถอยในไม่ช้า ดูจากที่หลายบริษัทเริ่มปลดคนออก ไม่จ้างเพิ่ม และตัวเลขความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่อยู่ในระดับที่ต่ำมากที่สุด ในรอบสิบปี
ในเมื่อสถานการณ์ดูไม่สู้ดีแบบนี้ แล้วนักลงทุนอย่างเราจะทำอย่างไรต่อไป วันนี้ Funds for Fun พูดคุยกับคุณเอม มทินา วัชรวราทร, CFA® Head of Investment Strategy จาก BBLAM ครับ
พอ GDP ของสหรัฐฯ ประกาศออกมาว่าเติบโตเพียง -0.9% ในไตรมาสที่ 2 สหรัฐฯ ก็เข้าสู่สภาวะเศรษฐกิจถดถอยทันที เพราะว่าคำนิยามของ Technical Recession คือ GDP หดตัว 2 ไตรมาส ติดต่อกัน
แต่พอวันนั้นตลาดกลับเขียวขจีไปหมด เหตุผลหนึ่งเป็นเพราะว่า ตลาดคาดการณ์ไว้ตั้งแต่ต้นปีแล้ว โดยเฉพาะตอนเดือนกุมภาพันธ์ที่สงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนเกิดขึ้น ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะถดถอยแน่ ๆ ทำให้พวกที่เป็น Defensive Play เช่น Utilities โครงสร้างพื้นฐาน ที่เป็นธุรกิจพวกไฟฟ้า น้ำประปา ท่อก๊าซ ปรับตัวขึ้นมาค่อนข้างมาก
นอกจากนี้ บริษัทที่ในโลกการลงทุนถือว่าเป็น Sector ปลอดภัย เช่น Healthcare ก็ปรับตัวขึ้นมาได้อย่างงดงาม เพราะฉะนั้น ขอตอบคำถามที่ว่า ทำไมประกาศว่าเศรษฐกิจถดถอยแล้วหุ้นบวก มันเป็นเพราะว่าตลาดลงมาก่อนล่วงหน้ามากแล้ว เช่น Nasdaq ลงไป 30% ตลาด S&P 500 ปรับตัวลงไป 20% จนเป็นตลาดหมีนั่นเองค่ะ
เอมขอย้อนกลับไปสักเล็กน้อยนะคะ เพื่อให้ทุกคนเห็นภาพตรงกัน โดยการเกิดตลาดหมีนี่เรียกว่าไม่ง่าย โดยในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา เราเจอตลาดหมีเพียง 26 ครั้ง ถือว่าไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยเลย มันจะต้องมีเหตุการณ์ครั้งใหญ่ หรือวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่จริง ๆ ตลาดหมีจึงจะเกิดขึ้น และแต่ละครั้งที่เกิดตลาดหมี ตลาดจะตกลงเฉลี่ย 38% โดยที่ตลาดหมีของสหรัฐฯ มีอายุเฉลี่ย 12 เดือน ส่วนตลาดหมีของเอเชียจะมีอายุเฉลี่ย 9 เดือน และถึงแม้ว่าตลาดหมีจะสร้างความเจ็บปวด แต่ก็มีอายุที่สั้นกว่าตลาดกระทิงค่ะ
โดยทุก ๆ ครั้งที่เกิดตลาดหมี จะมีตลาดกระทิงตามมาเสมอ และตลาดหมี จะมี Bear Market Rally เกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง แปลว่า ตลาดปรับตัวขึ้นมาได้ 10-15% แต่ไม่ใช่ตลาดขาขึ้น
นี่จึงเป็นข้อที่ 2 ที่เอมคิดว่า ทำไมตลาดถึงมีแรง Rebound กลับมาได้ เพราะว่าหลังจากการประชุมเฟด ตลาดก็ดูมีความกังวลน้อยลงเกี่ยวกับเรื่องเงินเฟ้อ และมาให้น้ำหนักเรื่องเศรษฐกิจถดถอยมากขึ้น ซึ่งกลายเป็นว่า ข่าวร้ายกลายเป็นข่าวดีในตลาด เพราะตลาดตีความว่าเฟดอาจจะขึ้นดอกเบี้ยไม่ได้ไกล อย่างมากก็น่าจะเป็น 3.25% แล้วก็ไม่น่าจะขึ้นต่อ หรือลดดอกเบี้ยด้วยซ้ำ ก็ทำให้ตลาดคิดว่าเฟดไม่น่าใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากไปกว่านี้ ก็เลยทำให้ตลาด Rebound กลับมาได้ พูดง่าย ๆ ก็คือเขียวขจีอย่างที่เห็นกันค่ะ
แต่อันนี้ตลาดก็อาจจะมองบวกมากเกินไป อย่างแรกที่เราเรียนรู้ได้คือ “ผู้นำตลาดจะไม่เหมือนเดิม หลังจากที่เกิดตลาดหมี” ค่ะ
ยกตัวอย่าง ก่อนหน้าจะเกิด Tech Bubble ช่วงก่อนปี 2000 กลุ่มหุ้นเทคโนโลยีเคยเป็นผู้ชนะที่นำพาตลาดขึ้นไป แต่หลังจากตลาดหมีจบไป กลุ่มเทคฯ ไม่สามารถกลับมาเป็นผู้ชนะได้อีกเลย กลับกลายเป็นกลุ่มพลังงานที่เป็นผู้ชนะพาตลาดขึ้นไป อย่างไรก็ตาม หุ้นกลุ่มเทคฯ ก็ยังสามารถให้ผลตอบแทนเป็นอันดับที่ 2 (INS.กราฟ)
หรืออีกตัวอย่าง ในปี 2007 ก่อนที่เกิดวิกฤตการเงิน Global Financial Crisis ที่สหรัฐฯ หุ้นกลุ่มพลังงานก็เคยเป็นผู้ชนะ แต่พอเกิดวิกฤต ก็กลับกลายเป็นกลุ่ม Consumer Discretionary (สินค้าฟุ่มเฟือย) และพวกสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีบริษัท Amazon และ Facebook อยู่ในนั้นด้วย กลับกลายเป็นผู้ชนะ เราจะเห็นว่าจาก 2 ตัวอย่างที่กล่าวมา ผู้ชนะจะหมุนเวียน สับเปลี่ยนกันไปหลังจากเกิดตลาดหมีค่ะ
เพราะฉะนั้นในรอบนี้ หุ้นเทคฯ ที่เคยเป็นผู้ชนะตอนโควิด หลังจากนี้หุ้นเทคฯ ก็อาจจะยังให้ผลตอบแทนดีอยู่ แต่ก็จะไม่ใช่พระเอกที่นำพาตลาดขึ้นไปได้เหมือนเดิม กลุ่มที่เล่นก็อาจจะเปลี่ยนมาเป็นหุ้นกลุ่มพลังงาน โดยเฉพาะพลังงานสะอาด รถยนต์ไฟฟ้า หรือเทคโนโลยีเบื้องหลัง เช่น ชิปและเซมิคอนดักเตอร์แทนค่ะ
จริง ๆ แล้ว เงินเฟ้อถือเป็นจุดเปลี่ยนของปี 2022 ค่ะ โดยสิ่งที่เราเริ่มเห็นกันแล้วคือ “เงินเฟ้อ” ที่ปรับตัวขึ้นสูงมาก โดยเป็นผลกระทบมาจากนโยบายการคลังของสหรัฐฯ ที่มีการแจกเช็กให้กับประชาชน และยังมีเฟดที่อัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบ จนทำให้ Balance Sheet หรืองบดุล ปรับตัวขึ้นไป 2 เท่า
นอกจากนี้ เงินเฟ้อในปีนี้มาจากสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนที่มีการใช้มาตรการคว่ำบาตร จนทำให้เกิดการขาดแคลนทั้งพลังงานและก๊าซธรรมชาติ ซึ่งการขาดแคลนพลังงานเหล่านี้จะไม่ใช่ปัญหาแค่เพียงปีเดียว แล้วหายไป
โดยที่ผ่านมาบริษัทพลังงานต่าง ๆ ได้ลดการลงทุนเรื่องพลังงานไปมาก เพราะมีแรงกดดันจากสังคมและผู้ถือหุ้น ในเรื่องนโยบายลดโลกร้อน และธุรกิจต้องไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จึงทำให้บริษัทพลังงานทั่วโลก เลือกที่จะไม่ลงทุนเพิ่ม หากมีกำไรก็เอาไปจ่ายหนี้ หรือเอากลับคืนให้กับผู้ถือหุ้น ไม่ก็ปันผลออกมา ทำให้เราไม่ได้มีการลงทุนในด้านพลังงานอย่างเพียงพอ ราคาพลังงานจึงไม่สามารถปรับตัวลงมาได้ทันทีที่มีความต้องการใช้ ประกอบกับปัญหาเรื่องการขาดแคลนอาหารอีก ปัจจัยทั้งหมดนี้จึงทำให้เงินเฟ้อเกิดขึ้นในปีนี้ และจะกลายเป็นเทรนด์ในช่วง 10 ปีนี้ค่ะ เรียกว่าให้ทำใจได้เลยว่าปัญหานี้จะไม่ได้อยู่กับเราแค่ช่วงเวลาสั้น ๆ แต่จะอยู่กับเราไปอีกนานค่ะ
ทีนี้ถ้าถามว่า ภาวะเงินเฟ้อสูง ดอกเบี้ยแพง เราจะลงทุนอะไรกันดี เอมมองว่า หุ้นที่เป็นหุ้นเติบโตสูง ๆ ก็จะมีโอกาสกลับมาลำบาก ในขณะที่หุ้นที่ได้ประโยชน์จากเงินเฟ้อ เช่น พลังงาน หรือหุ้นที่มีความสามารถในการขึ้นราคา จะยังคงให้ผลตอบแทนที่ดี ซึ่งหุ้นเหล่านี้ รวมถึงหุ้นประเภทโครงสร้างพื้นฐาน ที่ไม่ว่าเศรษฐกิจจะดีหรือไม่ ก็มีการต้องการใช้อยู่เสมอ และมีความสามารถในการขึ้นราคา เอมยกตัวอย่างว่าเร็ว ๆ นี้ อย่างเช่นประเทศไทยก็มีข่าวว่าจะต้องขึ้นค่าไฟ ซึ่งเราในฐานะผู้บริโภคต้องจ่ายเพิ่ม แต่ในมุมบริษัทก็คือสามารถชาร์จเพิ่มได้ ในขณะที่ต้นทุนสูงขึ้น ก็แปลว่า ยังสามารถคงกำไรไว้ได้
และนี่ก็คือเรื่องที่ 2 ที่เราเรียนรู้จากตลาดหมีคือ “หาบริษัทที่มีความสามารถในการขึ้นราคา” ค่ะ ถ้าหลักการเลือกหุ้น ถือว่าไม่เปลี่ยน ยังไงเราก็ต้องเลือก หุ้นที่ราคายังต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง หุ้น High-Quality Stocks ที่มีความสามารถในการแข่งขันในระยะยาว หรือมีความสามารถในการแข่งขันด้านราคา ทำให้สามารถส่งผ่านต้นทุนสินค้าไปยังผู้ซื้อได้ มีกระแสเงินสดที่สม่ำเสมอ และแนวโน้มผลประกอบการแข็งแกร่งค่ะ
และนี่ก็คือเรื่องที่ 3 ที่เราเรียนรู้จากตลาดหมีครั้งนี้คือ ไม่ว่าจะอยู่ในตลาดช่วงใด ให้ยึดในหลักการลงทุนเดิม คือ เลือกบริษัทโดยดูกระแสเงินสด สามารถปันผลได้สม่ำเสมอ มีผู้บริหารดี และไม่ซื้อหุ้นที่ Overvalued หรือแพงเกินไปนั่นเองค่ะ
อย่างที่เอมบอกไปตอนต้นว่า หลังจากเกิดตลาดหมีแล้ว ก็ไม่ได้แปลว่าทุกบริษัทเทคโนโลยีจะให้ผลตอบแทนไม่ดี
แต่เราอาจต้องคัดเลือกหุ้นให้ละเอียดมากขึ้น ถี่ถ้วนมากขึ้น โดยหุ้นเทคฯ ที่มีการเติบโตสูง ๆ แต่ยังไม่มีกำไร พื้นฐานไม่รองรับ ก็อาจจะกลับมาได้ยาก
แต่หุ้นเทคฯ ที่มีคุณภาพ มีพื้นฐานที่ดี จะปรับตัวลงน้อยกว่าหุ้นเทคฯ ประเภทแรก ยกตัวอย่าง Tech Bubble เมื่อปี 2000 ถ้าเทียบระหว่างหุ้น Amazon กับหุ้น Pets.com ที่ราคาทั้งสองบริษัทต่างก็ลงมา 80% เช่นเดียวกัน แต่หุ้น Amazon กลายเป็นหุ้นที่ขึ้น 4,000% ในอีก 20 ปีผ่านมา (INS.กราฟเปรียบเทียบ Amaz on กับ Pets.com)
ดังนั้น ในช่วงเวลานี้ จึงเป็นช่วงที่เราต้องค้นหาหุ้นเทคฯ พื้นฐานดี ราคาไม่แพง ซึ่งเอมขอแนะนำหุ้นเทคฯ ในกลุ่ม Semiconductor, Cloud, Cybersecurity เพราะเราเชื่อว่านี้เป็นโอกาสในการลงทุนในหุ้นเทคฯ ที่มีกำไรแล้ว และน่าจะเป็นผู้ชนะในระยะยาวค่ะ ดังนั้น กองทุนบัวหลวงโกลบอลอินโนเวชั่นและเทคโนโลยี (B-INNOTECH) ที่ลงทุนในหุ้นเทคฯ ขนาดใหญ่ และมีสไตล์การลงทุนที่ค่อนข้าง Conservative โดยพิจารณามูลค่าเป็นหลักในการลงทุน ไม่ซื้อหุ้นที่ Overvalued หรือของที่แพงเกินมูลค่าพื้นฐาน ก็น่าจะตอบโจทย์นักลงทุนหลาย ๆ คนค่ะ
แม้ว่าเงินเฟ้อจะยังสูงอยู่หรือเศรษฐกิจจะถดถอย นักลงทุนก็ยังสามารถลงทุนได้ เมื่อเรามีข้อมูลและคำแนะนำดี ๆ จาก BBLAM นะครับ ท้ายคลิปนี้ผมขอสรุปสั้น ๆ อีกสักครั้งนะครับว่า 3 เรื่องที่เราเรียนรู้จากตลาดหมีครั้งนี้คือ
- ผู้นำตลาดจะไม่เหมือนเดิม หลังจากที่เกิดตลาดหมี
- มองหาบริษัทที่มีความสามารถในการขึ้นราคา
- เลือกบริษัทที่มีคุณภาพ พื้นฐานดี และราคาไม่แพงจนเกินไป
โดยกองทุนที่เราสามารถเข้าไปลงทุนเพื่อรับผลตอบแทนจากการสิ้นสุดตลาดหมีในครั้งนี้ มีให้เลือกถึง 2 กองทุนครับ นั่นคือ กองทุนบัวหลวงหุ้นโกลบอล อินฟราสตรัคเจอร์ (B-GLOB-INFRA) ที่มีการลงทุนในบริษัทโครงสร้างพื้นฐาน พลังงาน และพลังงานสะอาดจากทั่วโลก และ กองทุนบัวหลวงโกลบอลอินโนเวชั่นและเทคโนโลยี (B-INNOTECH) ที่ลงทุนในหุ้นเทคฯ ขนาดใหญ่ และมีอำนาจในการกำหนดราคาครับ
สำหรับนักลงทุนที่สนใจ สามารถสอบถามข้อมูลได้ที่ โทร 0 2674 6488 กด 8 หรือดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.bblam.co.th หรือลงทุนได้ง่าย ๆ ผ่าน “BF Fund Trading” แอปพลิเคชันเพื่อการลงทุนในกองทุนของ BBLAM โดยตรง ซึ่งเปิดให้ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ ทั้ง iOS และ Android ครับ
คำเตือน: กองทุนรวมนี้มีลักษณะเฉพาะและความเสี่ยงเฉพาะ ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนการตัดสินใจลงทุน