ผมเชื่อว่าคนที่ดูหนัง ฟังเพลง หรือติดตามสมาร์ตโฟนรุ่นใหม่ ๆ ต้องเคยได้ยิน Dolby Vision และ Dolby Atmos มาตรฐานเรื่องภาพและเสียงที่มาแรงที่สุดในยุคนี้ครับ แต่อยากรู้ไหมครับว่ากระบวนการที่จะทำให้เนื้อหาหรือหนังสักเรื่องรองรับมาตรฐาน Dolby Vision หรือ Dolby Atmos ต้องทำอย่างไรบ้าง
วันนี้ผมพามาพบกับผู้ที่อยู่เบื้องหลังของผลักดันมาตรฐาน Dolby Atmos ในวงการโรงภาพยนต์ทั่วประเทศไทย และทั่ว southeast asia รวมแล้วมากกว่า 3000 โรง ที่สำคัญเป็นบริษัทคนไทยแท้ครับ วันนี้ผมพามาบุก GoldenDuck บริษัทที่ปรึกษาและให้บริการโซลูชันเกี่ยวกับโรงภาพยนตร์ในไทยมากว่า 40 ปี และเป็นพาร์ทเนอร์กับ Dolby Laboratories จากสหรัฐอเมริกาครับ
Dolby Laboratories ก่อตั้งโดย Ray Dolby เมื่อปี 1965 ในสหราชอาณาจักร โดยผลิตภัณฑ์แรกคือ Dolby Noise Reduction ระบบลดสัญญาณรบกวนในเทป ก่อนที่จะย้ายสำนักงานใหญ่ไปตั้งในอเมริกาเมื่อปี 1976 และพัฒนาระบบเสียงสำหรับภาพยนตร์ออกมามากมาย ตัวที่สำคัญคือ Dolby Digital ระบบเสียง 5.1 ที่เริ่มใช้ในปี 1992 และเป็นมาตรฐานเสียงสำคัญมาถึงปัจจุบัน
นอกจากนี้ก็มี Dolby Surround 7.1 ในปี 2010 จนพัฒนามาเป็น Dolby Atmos ในปี 2012 และ Dolby Vision มาตรฐานด้านภาพ HDR ตัวแรกของโลกในปี 2014 แล้วมาตรฐานล่าสุดของ Dolby คืออะไรบ้าง ผมเริ่มจาก Dolby Vision ก่อนนะครับ
ที่ผ่านมาการถ่ายวิดีโอจะบันทึกอยู่ในมาตรฐาน SDR หรือ Standard Dynamic Range ที่บันทึกข้อมูลแม่สีละ 8 bit รวมแล้วสามารถบันทึกข้อมูลสีได้ 16.7 ล้านสี แต่ Dolby Vision คือการกำหนดมาตรฐานและ Workflow ในการทำงานทั้งหมดให้เป็น HDR หรือ High Dynamic Range ให้สามารถเก็บสีสันช่วงกว้างขึ้นสูงสุด 12 bit ต่อแม่สีหรือ 68,000 ล้านสี พร้อมเก็บ Metadata ของแต่ละเฟรมภาพเพื่อปรับสีสันให้เข้ากับอุปกรณ์ปลายทางด้วย
เรื่องเสียงต้องเล่าในโรงหนังครับ ที่โชว์รูมของ GoldenDuck มีโรงภาพยนตร์ขนาดย่อมๆ ที่จัดเต็มชุดเครื่องเสียงจาก Dolby เพื่อโชว์ Dolby Atmos ให้ได้สัมผัสเต็มๆ ทุกโสตประสาท
Dolby Atmos เป็นระบบเสียงที่พัฒนาขึ้นมาจากระบบ 5.1 และ 7.1 เดิม โดยเพิ่มแหล่งเสียงจากเหนือศีรษะเข้าไป ซึ่งในโรงหนังก็จะมีลำโพงแขวนอยู่บนเพดานจริงๆ เพื่อสร้างเสียงจากด้านบน ส่วนชุด Dolby Atmos ตามบ้านก็จะใช้ลำโพงยิงขึ้นเพดานเพื่อสะท้อนเสียงลงมา
นอกจากนี้ยังมีการประมวลผลเสียงแบบแยกวัตถุ ทำให้เกิดลูกเล่นเสียงวิ่งไปมารอบตัวได้
จบช่วงบรีฟความรู้เบื้องต้น รู้แบบนี้เวลาซื้อหาทีวี ซาวด์บาร์ ระบบเครื่องเสียงสำหรับห้องชมภาพยนตร์ หรือเลือกดูเนื้อหาก็อย่าลืมดูตราของ Dolby Vision และ Dolby Atmos นะครับ มันการันตีได้เลยว่าใช้เทคโนโลยีล่าสุดของ Dolby แล้ว
มาต่อในมุมผู้สร้างสรรค์บ้างครับ ว่ากระบวนการทำเนื้อหาให้เป็น Dolby Vision และ Dolby Atmos ต้องทำอย่างไรถ้าทีมโปรดักชันในไทยดูคลิปนี้ แล้วเรียนรู้กระบวนการสร้างเนื้อหาสำหรับ Dolby Vision และ Dolby Atmos แบบนี้บ้าง ก็สามารถมาเยี่ยมชมโชว์รูมของ Gd Experience แห่งนี้ได้ที่ Stadium one ชั้น4 อาคาร active box ใกล้ๆ สนามกีฬาแห่งชาติครับ คุณสิทธิพรและทีมงาน GoldenDuck พร้อมให้ข้อมูลเสมอ