ปัจจุบันการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน ไม่ว่าจะเป็นการใช้พลังงานแสงอาทิตย์หรือพลังงานลม เริ่มมีบทบาทมากขึ้น ทั้งนี้ก็ยังมีข้อกัดบางอย่าง เพราะพลังงานเหล่านี้สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้แค่บางช่วงเวลาเท่านั้น
สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เล็งเห็นความสำคัญและพยายามสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน ผ่านระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage System) หรือ ESS ระบบที่ว่านี้สำคัญกับประเทศไทยอย่างไร ทำหน้าที่อะไร และให้ประโยชน์แก่ใครบ้าง ไปฟังแพนแบไต๋กันเลยครับ
ระบบกักเก็บพลังงานรูปแบบ ESS เป็นหัวใจสำคัญของระบบพลังงานไฟฟ้ายุคใหม่ ที่อาศัย ‘แบตเตอรี่’ เป็นแหล่งกักเก็บพลังงาน จากแสงอาทิตย์หรือพลังงามลม เปรียบเสมือนพาวเวอร์แบงค์ที่ช่วยกักเก็บพลังงานสำรองไว้ใช้ยามจำเป็นและควบคุมความเสถียร ให้สามารถนำพลังงานไฟฟ้าไปใช้งานได้ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่ว่าจะเป็นใช้ภายในบ้านเรือน โรงพยาบาล อาคารสำนักงาน รถยนต์พลังงานไฟฟ้า ไปจนถึงโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าขนาดใหญ่
เป้าหมายของ ESS ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในเมือง แต่ยังมีประโยชน์ในพื้นที่ห่างไกลที่ไฟฟ้าเข้าไปไม่ถึง เช่น บนดอยหรือเกาะต่างๆ วันนี้ผมพาไปดูของจริง ว่าที่นี่ผลิตไฟฟ้าเองจากพลังงานธรรมชาติ เพื่อจ่ายไฟคนทั้งหมู่บ้านได้ยังไง ตามผมไปเลยครับ
ตอนนี้ผมอยู่ที่บ้านผาด่าน จังหวัดลำพูนแล้วครับ ที่นี่เป็นตัวอย่างของชุมชนที่ใช้ระบบ ESS ด้วย Smart Grid หรือแผงโซลาร์เซลล์มาช่วยแปลงพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้า แล้วนำมาเก็บไว้ที่แบตเตอรี่ เพื่อใช้จ่ายไฟเลี้ยงยังชุมชนทั้งหมดครับ
จะเห็นได้ว่า ESS เข้ามาตอบโจทย์ความต้องการของพลังงานทดแทนอย่าง แสงอาทิตย์ที่มีเวลากำจัด ให้สามารถกักเก็บและจ่ายไฟไปยังชุมชนจากพลังงานทดแทนได้ตลอด 24 ชั่วโมงนั่นเอง แม้ ESS จะเป็นระบบเล็ก ๆ แต่ก็ช่วยลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าและความจำเป็นในการสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ จึงถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของระบบไฟฟ้ายุคใหม่เลยทีเดียวครับพี่หนุ่ย
นี่แหละครับระบบกักเก็บพลังงาน ที่มี ‘แบตเตอรี่’ เป็นหัวใจสำคัญ เรียกได้ว่า ESS นี่ช่างอยู่รอบตัวเราจริงๆ เลยนะครับ ทั้งรถยนต์ไฟฟ้า EV หรือแม้แต่การกักเก็บไฟสำรองบ้าน ซึ่งในอนาคตการกักเก็บพลังงานทดแทนจะช่วยลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้า และการสิ้นเปลืองทรัพยากรได้
ทั้งนี้ภาครัฐเข้ามาส่วนสนับสนุน ทั้งในด้านกฎหมาย การส่งเสริมด้านภาษีนำเข้าและสรรพสามิต รวมถึงกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิตแบตเตอรี่ ไปจนถึงส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา นวัตกรรมและบุคลากรไปพร้อมๆ กัน
ซึ่ง ‘แบตเตอรี่’ จะเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการพาประเทศไปสู่การเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society) หรือสังคมคาร์บอนเป็นศูนย์ในอนาคตอย่างแน่นอนครับ