ประเด็นเรื่องโลกร้อนทำให้คนหันมาสนใจเรื่องพลังงานสะอาดมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ไฟฟ้า หรือแม้แต่การติดโซลาร์เซลล์ ทั้งช่วยประหยัดค่าไฟ ลดการปล่อยคาร์บอนและยังเก็บไฟที่ได้ขายต่อคืนให้การไฟฟ้าได้อีกด้วย
ขออนุญาตหน่วยงานราชการ
- การติดตั้งโซลาร์เซลล์ต้องขออนุญาตหน่วยงานราชการ 3 ส่วนด้วยกัน คือ
- หน่วยงานราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการยื่นใบอนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลงอาคารหรือรื้อถอนอาคาร (อ.1)
- ขออนุญาตคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.)
- ขอขนานไฟฟ้ากับกฟน. และกฟภ.
- หรือใครต้องการเปลี่ยนเป็นมิเตอร์ TOU สำหรับคนที่ใช้ไฟช่วงกลางคืนได้ถูกลง ก็สามารถแจ้งกับการไฟฟ้าได้เลย
งบประมาณเท่าไหร่
ค่าใช้จ่ายในการติดโซลาร์เซลล์ในปัจจุบันปี 2023 ยังเป็นตัวเลข 6 หลัก ครอบคลุมค่าแผงโซลาร์ อินเวอร์เตอร์ แบตเตอรี่ รวมถึงค่าติดตั้ง
โซลาร์เซลล์ On-grid หรือ Off-grid
คำศัพท์ที่บอกว่าระบบไฟโซลาร์เซลล์ของคุณเชื่อมต่อกับระบบไฟของการไฟฟ้าหรือไม่ กล่าวคือ ระบบ On-Grid จะทำงานร่วมกับไฟของการไฟฟ้า เมื่อแดดหมดจะสลับให้อัตโนมัติ ในขณะที่ Off-grid จะอาศัยไฟจากแดดล้วน ๆ ไม่ใช้ไฟของการไฟฟ้าเลย ซึ่งระบบนี้นิยมใช้ในต่างจังหวัดที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง
หากต้องการขายไฟคืนล่ะ
สำหรับใครที่มีแบตเตอรี่กักเก็บไฟสำรองแล้วต้องการขายไฟคืนให้กับการไฟฟ้า ปัจจุบันการไฟฟ้ารับซื้อไฟคืนในราคา 2 บาท 20 สตางค์ (ถูกกว่าที่เราซื้อจากการไฟฟ้าในราคา 2 บาท 60 สตางค์) อย่างไรก็ตามต้องมีการขออนุญาตกับการไฟฟ้าก่อน และให้ยื่นขอเป็นช่วง ๆ ไปนั่นเอง
เลือกผู้ผลิต
เมื่อตัดสินใจว่าจะติดโซลาร์เซลล์ ถึงเวลาเลือกผู้ผลิตที่ต้องการ เพื่อให้เขาช่วยออกแบบระบบโซลาร์ที่เหมาะกับบ้านคุณได้ว่าควรติดที่ขนาดเท่าไหร่ เริ่มต้นที่ขนาด 3kW หรือจะจัดเต็มที่ 20 kW รวมถึงแดดของประเทศไทยเป็นแดดอ้อมใต้ ฉะนั้นหลังคาบ้านที่เหมาะควรหันไปทางทิศใต้
หลายเจ้ามีหน้าร้านเป็นของตัวเองสามารถเดินเข้าไปสอบถามและสัมผัสของจริงจากผู้ผลิตได้โดยตรง อย่าง Huawei นี่ไงครับ
หลายคนอาจยังไม่รู้ว่า Huawei ผลิตอุปกรณ์โซลาร์เซลล์ให้กับบริษัทอื่น ๆ มานานแล้ว Huawei ก่อตั้งแผนก Huawei Digital Power คอยผลักดันเรื่องความยั่งยืนด้วยพลังงานสะอาดตั้งแต่ปี 2021 ซึ่งจุดเด่นของระบบโซลาร์จาก Huawei คือเขามาพร้อมคอนเซปต์ 1+4+X
1 คือระบบอินเวอร์เตอร์ ที่ช่วยแปลงกระแสไฟจากแดดสู่พลังงานไฟฟ้า ซึ่ง Huawei ผลิตอินเวอร์เตอร์เองและมีระบบป้องกันอาร์คแบบแอคทีฟ ตรวจจับความเสี่ยงจากไฟไหม้ได้ภายใน 2 วินาที หมดกังวลเรื่องไฟลัดวงจร
4 คืออุปกรณ์จาก Huawei ที่ประกอบด้วย
- แบตเตอรี่ไว้กักเก็บไฟฟ้า ขนาดตั้งแต่ 5 – 30 kWh
- ตู้ชาร์จ EV กำลังไฟตั้งแต่ 1.4 – 22 kW บ้านใครมีรถ EV นี่ตอบโจทย์เลย
- ออปติไมเซอร์ อุปกรณ์ช่วยเพิ่มการทำงานของแผ่นโซลาร์ให้ผลิตไฟได้เต็มที่แม้จะมีเงาบังบนหลังคา
- แอป Fusionsolar ที่เอาไว้ใช้ดูการทำงาน วิเคราะห์การใช้ไฟภายในบ้าน ไฟที่ผลิตได้ ไปจนถึงระยะซ่อมบำรุงของระบบโซลาร์เซลล์
X คือเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านที่สามารถนำไฟฟ้าที่ผลิตได้ไปใช้ต่อนั่นเอง
ใครที่สนใจอยากติดโซลาร์เซลล์จาก Huawei การันตีเรื่องซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ด้วยชื่อชั้นระดับโลก ปัจจุบันสามารถเดินเข้าไปชมโซลูชันพลังงานสะอาดได้ใน Huawei Experience Store 15 สาขา ในกรุงเทพฯ เชียงใหม่ ระยอง ชลบุรี และสงขลา
อย่าลืมนะครับ พลังงานสะอาดเริ่มง่ายที่ตัวคุณ ผมเริ่มแล้ว คุณล่ะเริ่มหรือยัง?