ในยุคนี้ ใคร ๆ ก็เริ่มพูดถึงเรื่อง IoT หรือ Internet of Things หรืออุปกรณ์รอบตัวที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ แล้วทำงานประสานกัน สั่งงานผ่านสมาร์ทโฟนได้อย่างง่ายดาย วันนี้แบไต๋ขอจับมือกับ Interlink ผู้จำหน่ายสายแลนและอุปกรณ์แบรนด์ LINK มาแนะนำเทคโนโลยีตัวหนึ่งที่เป็นรากฐานของ IoT อย่าง PoE หรือ Power over Ethernet ให้คุณได้อ่านกันแบบเต็ม ๆ ว่าคืออะไรกันแน่ ?

PoE คืออะไร ?

PoE หรือ Power over Ethernet คือการส่งไฟฟ้าไปในสายแลน แทนที่จะต้องลากสายแลนเข้าอุปกรณ์ แล้วต้องลากสายไฟไปเลี้ยงด้วย ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง แถมยังปลอดภัยกับชีวิตเพราะใช้ไฟแบบ DC ที่ส่วนใหญ่จะมีแรงดันต่ำกว่าไฟ AC (แต่บางครั้งแรงดันจะสูงกว่าขึ้นอยู่กับการนำไปใช้งาน) เหมาะมากสำหรับอุปกรณ์ที่ไม่ต้องเคลื่อนย้าย หรือต้องติดตั้งในระยะไกลๆ เช่นกล้องวงจรปิด ทำให้เราสามารถติดตั้งกล้องวงจรปิดได้ไกลกว่า 100  เมตร โดยไม่ต้องเดินสายไฟ (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณภาพของสายสัญญาณ) หรือติดตั้งตัวกระจายสัญญาณ Wi-Fi ทั้งอาคาร โดยไม่ต้องทำปลั้กไฟเพิ่ม รวมไปถึงเซนเซอร์ตรวจวัดต่างๆ หรือระบบ Home Automation ในบ้านเป็นต้น

จุดเริ่มต้นของเทคโนโลยี PoE

เทคโนโลยี PoE เริ่มใช้จริงจังตั้งแต่ปี 2003 เป็นต้นมาหลังจาก IEEE ออกมาตรฐาน IEEE 802.3af มา ซึ่ง PoE ในเวอร์ชั่นแรกนี้สามารถจ่ายไฟได้สูงสุด 15.4 W ต่อสายแลน 1 เส้น แล้วก็พัฒนาต่อมาเป็น PoE+ หรือ IEEE 802.3at ที่จ่ายไฟได้ 30 W ในปี 2009 และมาตรฐานล่าสุดที่กำลังจะออกในปี 2018 นี้คือ IEEE 802.3bt ที่สามารถจ่ายไฟได้สูงสุด 100 W นี่ทำให้ปัจจุบันเราสามารถเปิดคอมได้ทั้งเครื่องด้วยไฟจากสายแลนเส้นเดียวแล้วนะ

จุดเด่น (สุด ๆ) ของเทคโนโลยี PoE

จุดเด่นจริง ๆ ของเทคโนโลยี PoE นี้คือการที่เราไม่ต้องใช้สายแลนแบบพิเศษแต่อย่างใด เพียงแค่ใช้สายแลน Link รุ่นมาตรฐานก็สามารถทำงานได้ทันที เพียงแค่ใช้อุปกรณ์เติมไฟเข้าไปในสายก็สามารถใช้งานได้ทันที

แน่นอนว่าทาง LINK นั้นมีอุปกรณ์สำหรับทำงานกับ PoE หลายตัวครับ ตั้งแต่กลุ่ม Switch PoE+ ที่เปลี่ยนสายแลนรับ-ส่งข้อมูลตามปกติมากระจายเป็นสายแลนพร้อมไฟฟ้าแบบ PoE ซึ่งมีให้เลือกทั้งแบบ Industrial ที่ติดตั้งในกล่องนอกอาคาร หรือแบบ Commercial สำหรับติดตั้งในอาคาร แถมยังเลือกได้อีกว่าจะเป็นสวิทซ์เบสิกแบบ Unmanaged ที่เสียบสายแล้วใช้งานได้เลย หรือสวิทซ์แบบ Lite Managed สำหรับคนที่ต้องการใช้งานแบบจัดการได้บ้างครับ

ส่วนถ้าใครที่มี Swtich อยู่แล้ว ไม่อยากลงทุนซื้อ Switch PoE ใหม่ LINK ก็มีอุปกรณ์ที่เรียกว่า PoE Injector สำหรับเติมไฟฟ้าเข้าไปในสายแลนแบบไม่ต้องเปลี่ยนอุปกรณ์เดิม และถ้าใช้งานกับอุปกรณ์ปลายทางที่ไม่รองรับ PoE ทาง LINK ก็มีอุปกรณ์เสริม PoE Cable Separator สำหรับแยกไฟฟ้าออกจากสายสัญญาณออกมาเพื่อเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ได้ คือแม้อุปกรณ์ปลายทางไม่รองรับ PoE เราก็ยังสามารถเดินสายแลนเส้นเดียวเพื่อใช้งานได้อยู่ดี

สรุป

เทคโนโลยี Power over Ethernet หรือ PoE จึงถือได้ว่าเป็นรากฐานที่สำคัญสำหรับอุปกรณ์ IoT ในปัจจุบันแและอนาคตอันใกล้นี้ ซึ่งดูจากอุปกรณ์ต่างๆ ที่บริษัท Interlink นำเข้ามาขายในแบรนด์ LINK ก็น่าจะวางระบบเครือข่ายกันได้ไม่ยากนะครับ สามารถใช้กับอุปกรณ์ชุดเดิมได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนยกชุด สำหรับใครที่มีปัญหาสงสัยเกี่ยวกับระบบ PoE ก็สามารถติดต่อกับทาง Interlink ได้โดยตรงผ่านไลน์ @interlinkfan เลยครับ