ปัจจุบันหลาย ๆ คนก็จะมีแอปฯ ฟังเพลงที่ติดเครื่องอยู่เป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็น Joox, Spotify หรือฝั่ง iOS ก็จะมี Apple Music เป็นตัวเลือกมาให้อีกข้อ ซึ่งทั้ง 3 แอปฯ นี้เรียกได้ว่าสามารถตอบโจทย์การฟังเพลงของคนทั้งโลกได้ งานนี้มาดูกันว่าจุดเด่นของแต่ละตัวมีอะไรบ้างได้ที่นี่เลย

ตารางเปรียบเทียบ มิวสิค สตรีมมิ่ง ทั้ง 3 แอป

Joox

ค่าบริการอุปกรณ์ที่สามารถใช้ได้คุณภาพของเสียงการฟังเพลงPlaylistคุณสมบัติอื่น ๆ

แบบฟรี ให้ทำตามเงื่อนไขต่างๆ มีดังนี้

ชวนเพื่อน รับ VIP ฟรี 45 วัน
ฟังเพลงผ่านเว็บไซด์สนุก บน PC รับฟรี 5 วัน
แชร์เพลง รับ VIP 12 ชม.
แบบ VIP

VIP ราย 1 สัปดาห์ 69 บาท
VIP ราย 1 เดือน 129 บาท
VIP ราย 3 เดือน 349 บาท
VIP ราย 6 เดือน (ครึ่งปี) 629 บาท
VIP ราย 12 เดือน (1 ปี) 1,100 บาท

สมาร์ทโฟน/แท็บเล็ต: สามารถใช้งานได้กับ iPhone/iPad (iOS) และ อุปกรณ์ที่ใช้ Android

คอมพิวเตอร์:  สามารถเข้าไปฟังได้ที่ Sanook! Music

คุณภาพของเสียง ขึ้นอยู่กับรูปแบบของการเชื่อมต่อ ทั้งแบบใช้ข้อมูล (3G/4G) และใช้ Wi-Fi มีดังนี้

ต่ำ  มีขนาดไฟล์ 0.5MB – 1MB / เพลง (ใช้ได้เฉพาะการเชื่อมต่อแบบใช้ข้อมูล 3G/4G)
ปกติ มีขนาดไฟล์ 1MB – 2MB / เพลง
กลาง มีขนาดไฟล์ 3MB – 4MB / เพลง
สูง (HQ) มีขนาดไฟล์ 6MB – 10MB / เพลง (เฉพาะ VIP)
สูงสุด (Hi-Fi) มีขนาดไฟล์ 20MB – 30MB (เฉพาะ VIP)

ลองค้นหาเพลง ฤดูที่แตกต่าง

ลองค้นหาเพลง ฤดูที่แตกต่าง

ไม่เจอเพลง Chala Head Chala

หน้า Music Player
เมื่อลองค้นหาเพลงดู ส่วนใหญ่จะเน้นไปเพลงไทยหรือสากลที่อยู่ในกระแส โดยเฉพาะเพลงไทยจะมีมากเป็นพิเศษ ส่วนเพลงเก่า คลาสสิก แบบเฉพาะทางนั้น ยังไม่ค่อยเจอเท่าไหร่ (โดยเฉพาะเพลงอนิเมะญี่ปุ่นที่ผู้เขียนชอบ ขนาดหาเพลง Chala Head Chala จากเรื่อง Dragonball ยังไม่เจอเลย) บางเพลงเก่า เมื่อลองค้นหากลับไม่เจอ เช่น เพลง ฤดูที่แตกต่าง เมื่อพิมพ์ไปตรงๆ จะไม่ปรากฏตรงส่วนของเพลง แต่จะมีตรงคำว่า ศิลปิน อัลบั้ม หรือเพลย์ลิสต์ แต่ถ้าพิมพ์ต่อท้ายกับ บอย โกสิยพงษ์ ถึงจะขึ้นมา บางเพลงก็ถูกจำกัด ถ้าเป็นแบบฟรี จะไม่สามารถฟังเพลงในกลุ่ม VIP ได้ ทำให้หลายครั้งที่อยากฟังเพลง ต้องไปกด VIP ฟรีก่อนถึงจะมาฟังได้ อาจจะเสียเวลาไปนิดนึงในการทำตามเงื่อนไข

เมื่อเวลาที่เราใช้งานแบบฟรี เมื่อเราฟังเพลงไปได้สักพัก เมื่อจบเพลงหนึ่ง ก็จะมีเสียงโฆษณาของแอปขึ้นมาเป็นระยะๆ อาจจะทำให้ใครรู้สึกสะดุดกับการฟังเพลงไปบ้าง แต่ถ้าเคยชินแล้วก็คงไม่เป็นอะไร แต่ถ้าใครไม่อยากให้มีโฆษณา คงต้อง VIP ละครับ

และยังมีการร่วมมือกับ DTS ผู้ให้บริการด้านระบบเสียง สามารถใช้งานได้ฟรี 3 เดือน

เลือกดู Playlist ที่มีอยู่

สร้าง Playlist เอง
Playlist ในแอป: มีให้เลือกหลากหลายอารมณ์ดี ทั้งบทเพลงพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 9 เพลงฮิตในกระแส แนวเพลงที่เราชอบ (เช่น EDM Inter ลูกทุ่ง  K-Pop อินดี้ หมอลำ) หรือตาม Theme อารมณ์ของเรา (เช่น ผู้หญิงอกหัก เพลงฮิตฟีเจอร์ริ่ง เพลงชิลล์ชาวร็อค Throwback R&B และอื่นๆ) ก็มีให้เลือกฟัง

การสร้าง Playlist เพลงเอง: เนื่องด้วยการค้นหาเพลง ที่บางเพลงอยู่ในกลุ่ม VIP ทำให้เราไม่สามารถใส่ทุกเพลงที่ต้องการลงไปได้ เว้นแต่เราสมัคร VIP ไปตลอด ส่วนเวลาเราเลือกเพลงลงไปตามลำดับ เพลงที่ลงล่าสุดจะเป็นลำดับแรกที่เราเลือก ทำให้เราต้องมาจัดลำดับของเพลงเอง อาจจะยุ่งยากสำหรับใครที่ต้องการจัดเพลงใน Playlist ตามลำดับก่อนหลัง ที่ต้องมาจัดลำดับเพลงเองทุกเพลงที่เราเลือก

เลือก Lyric Card

สร้าง Lyric Card

ร้องคาราโอเกะ

กำลังร้องคาราโอเกะ

ร้องเสร็จก็ลองฟังสักหน่อย

ดู MV

อ่านบทความ

อ่านบทความ

ดู Joox Live

ดู Joox Live
Lyric Card แชร์เนื้อเพลงท่อนที่ชอบ สามารถทำได้ด้วยการเลือก Lyric Card แล้วเลือกท่อนที่ชอบและสามารถแชร์ได้เลย
Sing เป็นการร้องเพลงคาราโอเกะ ลูกเล่นใหม่ของแอป ทำให้เราสามารถร้องเพลงที่เราชอบและสามารถเก็บบันทึกเสียงที่เราร้องได้ ซึ่งก็มีหลายเพลงที่เรารู้จัก สามารถร้องได้ แต่ก็ไม่สามารถร้องได้ทุกเพลง ต้องเป็นเพลงที่มีคำว่า Sing อยู่ในเพลง เมื่อเราเริ่มร้อง ก็จะต้องรอดาวน์โหลดสักครู่ ก็จะมีหน้าต่างเนื้อเพลงขึ้นมา เราสามารถปรับรูปแบบได้ ทั้งใส่เสียงร้องปกติเพื่อไกด์ให้เรา หรือจะตัดออกไปก็ได้ หรือจะปรับลดคีย์ของเพลงเพื่อให้เราร้องได้ง่ายขึ้นก็ได้ จะให้ตัด Intro ออก หรือจะให้จบตอนนั้น หรือเริ่มใหม่อีกครั้งก็ทำได้ เป็นอีกลูกเล่นหนึ่งที่น่าสนใจ ไว้สำหรับเราหัดร้องเพลงได้
คอลัมน์เพลง เป็นบทความ ความรู้ สิ่งที่น่าสนใจของเพลงมานำเสนอให้เราได้รู้
MV เราสามารถดูมิวสิควีดีโอเพลงที่เราชอบได้
Joox Live  รายการ การแสดง กิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นคอนเสิร์ต ไลฟ์สไตล์ หรือรายการสนุกๆ ที่ดำเนินรายการโดยศิลปิน

Apple Music

ค่าบริการอุปกรณ์ที่สามารถใช้ได้คุณภาพของเสียงการฟังเพลงPlaylistคุณสมบัติอื่น ๆ

แบบฟรี สามารถทดลองฟังได้สูงสุด 3 เดือน หลังจากนั้นต้องสมัครแบบเสียค่าบริการรายเดือน

แบบเสียค่าบริการรายเดือน ดังนี้

แบบนักศึกษา (ต้องมีการสมัครและยืนยันการลงทะเบียนโดย UNiDAYS ก่อน โดยใช้งานได้สูงสุด 48 เดือน หรือ 4 ปี) เดือนละ 69 บาท
แบบบุคคล เดือนละ 129 บาท
แบบครอบครัว (ฟังได้สูงสุด 6 คน และต้องใช้ “การแชร์กันในครอบครัว” ของ iCloud) เดือนละ 199 บาท

สมาร์ทโฟน/แท็บเล็ต: สามารถใช้งานได้กับ iPhone/iPad (มีติดตั้งให้กับระบบ iOS แล้ว) และ อุปกรณ์ที่ใช้ Android

คอมพิวเตอร์:  ต้องติดตั้งโปรแกรม iTunes เพื่อใช้งาน

อื่นๆ: สามารถใช้งานได้ใน Apple Watch Series 3 ขึ้นไป / อุปกรณ์สำหรับติดตั้งระบบ CarPlay บนรถ / ลำโพงไร้สาย Sonos

คุณภาพเสียงในการฟังสตรีม บิตเรทสูงสุดอยู่ที่ 256 kbps

ลองค้นหาเพลง Chala Head Chala

เพลง Chala Head Chala ที่ค้นหาได้

ลองค้นหาเพลง Season Change หรือ ฤดูที่แตกต่าง

เพลง Season Change หรือ ฤดูที่แตกต่าง ที่ค้นหาได้

หน้า Music Player

เราสามารถใส่เพลงของเราลง Library หรือเพิ่มใน Playlist ของเราได้

เมื่อลองค้นหาเพลงดู ก็มีหลายเพลงให้เราเลือก ทั้งเพลงในกระแส หรือเพลงเก่าก็สามารถค้นหาได้ เมื่อได้ลองค้นหาเพลง Chala Head Chala ก็มีอยู่หลายเวอร์ชั่น ทั้งเวอร์ชั่นต้นฉบับกับแบบ Live ของคุณ Hironobu Kageyama ที่มาร้องเอง กับเวอร์ชั่นที่วง Flow ร้องในอัลบั้ม Flow Anime Best Kiwami และยงมีอีกหลายเวอร์ชั่นที่มีการร้อง Cover ไว้ ซึ่งก็แล้วแต่เราจะเลือกฟังได้ ส่วนเพลงเก่า เมื่อลองหาเพลง ฤดูที่แตกต่าง ของคุณบอย โกสิยพงษ์ ก็มีให้เลือกทั้งจากอัลบั้มแรก Rhythm & Boyd อัลบั้ม Piano & I Part 2 ของคุณโต๋ ศักดิ์สิทธิ์ หรือจากอัลบั้ม Nop from the Different Scene ก็มีเช่นกัน เราสามารถเลือกฟังกันได้สะดวกดี

เมื่อเราใช้งานกับ iTunes ที่คอมพิวเตอร์ของเรา เราสามารถนำเพลงของตัวเองใส่เข้าไปใน iCloud แล้วสามารถเพิ่มเพลงเข้าไปใน Playlist ของเราได้ ทำให้เราสามารถเอาเพลงอะไรก็ได้ของเรามาใส่ในระบบได้ ตราบเท่าที่เรามีพื้นที่ใน iCloud ตามที่เราสมัครฟรี (5 GB) หรือเสียเงินสมัครก็ได้ (50 GB: 35 บาท/เดือน, 200 GB: 99 บาท/เดือน, 2 TB: 349 บาท/เดือน)

ในเมนู Music Player เราสามารถเลือกได้ ทั้ง

Add to the Library เพิ่มเพลงไปในคลังของเรา
Add to a Playlist เพิ่มเพลงใน Playlist ของเราเอง
Create Station สร้างสถานีเพลงเป็นของเราเองได้
Share Song แชร์ลิงก์เพลงไปในสื่อสังคมออนไลน์ก็ได้

Playlist ที่แอปแนะนำ

เมื่อเราเข้ามาเลือกเพลง ก็จะมาที่หน้าแบบนี้ เราก็กดบวกได้เลย

แนะนำเพลงใหม่ใน New Release

Playlist ที่เราแอดเข้ามา

Playlist ตั้งเอง เป็น Playlist รวมเพลง Anime ที่ชอบ

ด้านล่างของ Playlist จะมีแนะนำศิลปินที่เราน่าจะชอบฟังด้วย

Playlist ในแอป: เมื่อเข้าไปที่ For You ก็จะพบกับ Playlist เพลง โดยจะจัดโดยเพลงที่เราชอบเปิดฟังบ่อยๆ หรือเพลง New Release ใหม่ๆ ที่น่าสนใจ ก็จะเอามาลงให้เราได้เห็นด้วย

การสร้าง Playlist เพลงเอง: การสร้าง Playlist นั้น สามารถทำได้ง่าย ด้วยการไปที่ Library เลือก New Playlist ใส่ชื่อ Playlist ใส่รายละเอียด ตั้งค่าว่าจะให้เห็นชื่อผู้สร้าง กับตั้งเป็นสาธารณะหรือไม่ ใส่เพลงที่เราชอบ จากนั้นกด Done โดยเราสามารถเลือกได้จาก Browse 

Connect Posts รวมบทความหรือข่าวสารศิลปิน

เข้ามาด้านในก็มีเพลงแนะนำจากข่าวให้เราฟังได้ด้วย

หน้า Radio

Radio ที่น่าสนใจ
Connect Posts ข่าวสารของศิลปิน เราสามารถติดตามข่าวสารของศิลปินที่เราชื่นชอบ ด้วยการกด Follow โดยเราสามารถอ่านข่าว หรือ Comment ลงไปก็ได้
Radio สถานีเพลง ถ้าเราขี้เกียจแอดเพลงเอง ก็เลือกจากส่วนนี้ได้ ก็จะมีสถานีเพลงให้เราได้เลือกฟังได้หลากหลายดี

Spotify

ค่าบริการอุปกรณ์ที่สามารถใช้ได้คุณภาพของเสียงการฟังเพลงPlaylistคุณสมบัติอื่นๆ

แบบฟรี ไม่สามารถเลือกเล่นเพลงได้เอง จะเล่นได้เฉพาะแบบสุ่มเท่านั้น

แบบเสียค่าบริการรายเดือน สามารถเลือกเพลงเล่นได้ มีดังนี้

Premium เดือนละ 129 บาท
Family (ใช้งานได้สูงสุด 6 คน รวมตััวเราเอง) เดือนละ 199 บาท

Mac OS
Windows
Linux
Chromebook
iOS
Android (Google Play / Amazon)
Windows Phone / Windows Mobile

Desktop

แบบฟรี ได้คุณภาพเสียง Ogg Vorbis 160 kbps
แบบ Premium ได้คุณภาพเสียง 320 kbps
Web Player

แบบฟรี ได้คุณภาพเสียง AAC  128 kbps
แบบ Premium ได้คุณภาพเสียง 256 kbps
iPhone / iPad / Android

Normal – ได้คุณภาพเสียง 96kbit/s.
High – ได้คุณภาพเสียง 160kbit/s.
Extreme – ได้คุณภาพเสียง 320kbit/s.
Automatic – ขึ้นอยู่กับคุณภาพการเชื่อมต่อ

ลองค้นหาเพลง Chala Head Chala ดู

ผลการค้นหา ส่วนใหญ่มีแต่เพลง Cover ไม่มีเพลงต้นฉบับ

หน้า Music Player

เราสามารถเลือกเซฟเพลงได้

เรายังสามารถใส่เพลงลงไปในคิวเพลงต่อไปที่จะเล่น หรือจะดูอัลบั้ม แชร์เพลงออกไปได้

ลองค้นหาเพลง ฤดูที่แตกต่าง

ผลการค้นหาเพลง ฤดูที่แตกต่าง
เมื่อลองค้นหาเพลงดู ส่วนใหญ่จะเน้นไปเพลงไทยหรือสากลที่อยู่ในกระแส รวมไปถึงเพลง cover เมื่อลองค้นหาเพลง Chala Head Chala ดู ไม่พบเวอร์ชั่นต้นฉบับ เจอเป็นเวอร์ชั่น cover เป็นภาษาอื่น เช่น สเปน ฝรั่งเศส ด้วย แปลกดี ทำให้เราได้ฟังเพลงนี้ในภาษาอื่นด้วย ส่วนเพลงไทย เมื่อลองหาเพลง ฤดูที่แตกต่าง หรือ Season Change ก็พบเวอร์ชั่นต้นฉบับของ Rhythm & Boyd ต้นฉบับด้วย ส่วนผลการค้นหา ใกล้เคียงกับของ Apple Music ในการฟังเพลงปกติ ถ้าเป็นแบบฟรี เราสามารถเลือกเพลงฟังเองได้ ต้องกด Shuffle อย่างเดียว แต่ถ้าเราสมัครแบบเสียเงิน เราสามารถเลือกฟังเพลงใดก็ได้ ไม่ต้องกด Shuffle และเราสามารถดาวน์โหลดเพลงที่ด้านบนสุดของ Playlist ตรง Download กดสวิทช์ให้เป็นสีเขียว จากนั้นก็จะดาวน์โหลดเพลงลงเครื่องของเราได้

หน้าของ Browse

Playlist เพลงที่นิยม

มี Playlist ฟังตอนเล่นเกมด้วย

Playlist วิ่งไปกับเสียงเพลง

หน้า Podcast

หน้า Concert มีหลายคอนเสิร์ตที่น่าสนใจ ที่กำลังจะแสดงในไทย

ในส่วนของ Browse ก็มีให้เราได้เลือกเพลงที่อยากค้นหา มีดังนี้

Charts เลือกเพลงจากชาร์ทเพลงที่น่าสนใจ
New Releases เลือกจากเพลงออกใหม่
Podcast รายการวิทยุที่น่าสนใจ
Concert เลือกจากงานคอนเสิร์ตที่ใกล้เราที่สุด
ส่วนของการเลือกเพลงตามอารมณ์ สามารถเลือกจากหน้า Browse นี้ก็ได้เช่นกัน

ในส่วนการฟังเพลงในคอมพิวเตอร์ เราสามารถเอาเพลงของเราลากใส่เข้าไปใน Playlist ได้ แต่ไม่สามารถแอดมาฟังในแอปของมือถือได้ ต้องฟังในคอมพิวเตอร์อย่างเดียว

Playlist เพลงที่น่าสนใจ

New Release อัลบั้มเพลงออกใหม่ ก็มีให้เลือก

Playlist สำหรับคนอกหัก, ร้องไห้หนักมาก

หน้า Your Library

Playlist ที่เราแอดเข้ามา

Playlist เพลงที่สร้างขึ้นมาเอง

หน้า Music Player

เลือกเพลงที่จะเล่นต่อได้จากตรงนี้
Playlist ในแอป: ในส่วนนี้ถือว่าทำได้ดี เพราะมีให้เราเลือกเยอะ และยังมีความฉลาดที่เลือกเพลง หรือแนวเพลงที่เราชอบไว้ในลำดับต้นๆ เพื่อให้เราสามารถเลือกฟังเพลงที่เราถูกใจ นอกเหนือจากเพลงที่เราชอบ ยังมีเพลงตามอารมณ์ของเรา ในกรณีที่เราขี้เกียจเลือกเพลงเอง ในแอปก็จะมีให้เราเลือก Playlist ตามอารมณ์ หรือช่วงเวลาที่เราอยากฟัง เช่น ฟังคลอระหว่างทำงาน หรือตอนเราอกหัก ก็มีให้เลือกเช่นกัน

การสร้าง Playlist เพลงเอง: การสร้าง Playlist นั้น สามารถทำได้ด้วยการไปที่ Your Library ก็จะมีปุ่ม Create Playlist สีเขียวใหญ่ๆ  เราก็กดสร้างได้เลย ซึ่งเราสามารถแชร์ หรือส่งลิงก์ให้คนอื่นได้ หรือจะให้เป็นส่วนตัวเฉพาะเราเองที่เห็นก็ได้เช่นกัน

ในส่วนนี้เราสามารถเลือกเพลงขณะที่เราวิ่งได้ตามรูปแบบที่เราวิ่ง

เมื่อเราเลือกแล้ว ก๋ให้เริ่มได้เลย

รายละเอียดของ Playlist นี้บอกว่ามีเพลงของใครบ้าง

เชื่อมกับ Runkeeper ในการฟังเพลงโดยเลือก Running โดยเราสามารถเลือกไปที่ Browse เลื่อนลงมาที่ Running จากนั้นก็เลือกรูปแบบการวิ่งของเรา มีให้เลือกหลากหลาย เช่น Gym Beats, Fun Run, Morning Run หรือ Evening Run ก็มีให้เลือก โดยตัวแอปสามารถเลือกเพลงตามจังหวะหัวใจของเราอย่างเหมาะสมได้ ในส่วนนี้ใช้ได้ในกรณีที่เราใช้แอปนี้ในการวิ่ง แต่ถ้าเราไม่ได้ใช้แอปนี้ในการวิ่ง เราก็จะไม่สามารถใช้งานได้ เพราะเคยลองใช้ แต่มันไม่ทำงานแบบอัตโนมัติในการเลือกเพลง เราต้องกด manual เลือกระดับการเต้นของหัวใจ แล้วก็จะได้เพลงที่เหมาะกับการวิ่งในตอนนั้นได้

ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่แอปฯ ทั้ง 3 สามารถมอบให้กับคุณได้ แล้วคุณล่ะ เลือกแอปฯ ไหนฟังเพลง?