เอ็กซ์คลูซีฟสุด! ‘ประเทศ ตันกุรานันท์’ CTO ผู้บริหาร #ดีแทค แบไต๋หมดเปลือก…ก้าวต่อไปของดีแทคเอาไงต่อ? จะรอดหรือจะรุ่งท่ามกลางสงครามผู้ให้บริการมือถือในยุคเปลี่ยนถ่าย 4G ไป 5G จะมีประเด็นอะไรน่าติดตามบ้าง มาดูกัน
ประเด็นที่ 1: คลื่นความถี่ของดีแทค
ในปัจจุบันดีแทคมีคลื่นความถี่ 900, 1800 และ 2100 MHz รวมคลื่นความถี่ 700 MHZ ที่ทางกสทช. จัดสรรให้ ซึ่งย่านความถี่ของแต่ละคลื่นมีความสำคัญอย่างไร นำไปให้บริการลูกค้าอย่างไรบ้าง? คลื่นความถี่ย่านไหนของดีแทคที่ถือเป็นจุดเด่น? ผู้ใช้งานจะรับรู้ถึงคุณภาพที่ดีขึ้นได้อย่างไร?
ประเด็นที่ 2: การเปลี่ยนแปลงของดีแทค
ย้อนกลับไปช่วงปีที่แล้ว (กันยายน 2018 – ครบปีพอดี) ดีแทคอยู่ในช่วงหมดสัมปทานคลื่นเดิม (คลื่น 850 MHz) และกำลังเปลี่ยนผ่านสู่คลื่นความถี่ใหม่ แน่นอนว่า ณ ช่วงเวลานั้น ถือเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากมาก ทั้งกับดีแทคเองและตัวผู้บริโภค จึงอยากให้เล่าถึง
“การเปลี่ยนแปลงของดีแทคในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมาว่า ดีแทคเปลี่ยนตัวเองอย่างไร เพื่อกู้สถานการณ์ ขณะที่คู่แข่งก็เหยียบคันเร่งมิดไมล์เช่นกัน?”
ประเด็นที่ 3: การพัฒนาคลื่นสัญญาณ
คุณ Alexandra Reich เคยพูดว่า “เราจะไม่หยุดค่ะ” ซึ่งหนังโฆษณาตัวล่าสุดที่ปล่อยออกมา ก็ถือเป็นการตอกย้ำเรื่องนี้เช่นกัน ดังนั้น การที่ดีแทคบอกว่าไม่หยุด ดีแทคจะงัดอาวุธอะไรมาสู้ ในการพัฒนาคลื่นสัญญาณ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า?
ประเด็นที่ 4: การขยายสถานีฐาน
จากข่าวล่าสุดที่บอกว่า “ดีแทคขยายสถานีฐานได้เร็วกว่าการเติบโตของสถานีฐานในประเทศไทย ประมาณ 2 เท่า ซึ่งถือว่า เร็วที่สุด ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทย” จากจุดนี้ถือเป็นการสะท้อนหนึ่งในกลยุทธ์ของดีแทคในการปรับปรุงเรื่องโครงข่าย ดังนั้น สำหรับตัวของลูกค้าดีแทค ลูกค้าจะสัมผัสประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นได้อย่างไร?
ซึ่งข้อมูลการขยายสถานีฐานจาก สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ (กสทช.) ในไตรมาส 4 ปี พ.ศ. 2560 และ พ.ศ. 2561 จำนวนสถานีฐานของทุกเครือข่าย เติบโตเท่ากับ 10,040 สถานี และ 9,411 สถานีฐาน ต่อปีตามลำดับ โดยข้อมูลของ dtac ล่าสุดในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา สามารถขยายสถานีฐาน ทุกคลื่นของ dtac รวมกันได้มากถึง 21,146 สถานี ใช้เงินลงทุนไปกว่า 19,528 ล้านบาท ถ้าเทียบกับการเติบโตของสถานีฐานในประเทศไทย dtac ขยายได้เร็วกว่าประมาณ 2 เท่า ซึ่งถือว่า เร็วที่สุด ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทย
ประเด็นที่ 5 : การสร้างความเชื่อมั่นให้ลูกค้า
พูดถึงลูกค้า ก็ปฏิเสธไม่ได้นะคะว่ายังมีลูกค้าที่ใช้งานในแต่ละพื้นที่ยัง complain ทักทวงเข้ามาพอสมควร เช่น สัญญาณไม่ดี สัญญาณหาย ดีแทคให้ความสำคัญในการดูแลลูกค้ากลุ่มนี้อย่างไร? และแผนในการเข้าไปแก้ปัญหาแต่ละจุดเพื่อลูกค้าอย่างไรบ้าง?
ดีแทคมีแผนพัฒนาอย่างไรให้ complain จากลูกค้าน้อยลง หรืออีกนัยหนึ่งคือได้คะแนนความพึงพอใจของลูกค้า ที่เรียกว่า Net Promoter Score หรือ NPS เพิ่มขึ้น โดยผลสำรวจล่าสุดเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาระบุว่าค่าความพึงพอใจ หรือ NPS ในการใช้ dtac เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ตรงนี้หมายความว่าที่ผ่านมาลูกค้าพอใจคุณภาพสัญญาณในเมืองมากขึ้นใช่หรือไม่?
ส่วนในพื้นที่ห่างไกล ดีแทคจะพัฒนาการใช้งานอย่างไร ให้ค่าความพึงพอใจเพิ่มมากขึ้นเหมือนลูกค้าในเขตเมือง?
แล้วคลี่น 900 MHz (ซึ่งยังมีปัญหาสัญญาณรบกวน) ที่บอกว่าจะเตรียมติดตั้งให้ลูกค้าใช้งานในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ จะมีแผนในการดำเนินงานและแก้ไขปัญหาอย่างไร เพิ่มเพิ่มความพอใจให้ลูกค้า?
ประเด็นที่ 6 : คลี่น 700MHz และ 5G
คลี่น 700 MHz ที่จะได้รับการจัดสรรมาจาก กสทช. จะเข้ามาเติมเต็มประสิทธิภาพการใช้งานให้แก่ลูกค้า และเตรียมพร้อมต่อยอดไปสู่ยุค 5G อย่างไร และแนวทางการเตรียมตัวสำหรับโครงข่าย 5G เป็นอย่างไร ความเป็นไปได้ที่จะใช้ 5G ในปี 2020 มีมากน้อยแค่ไหน?
ประเด็นที่ 7 : ความท้าทายของดีแทค
ได้ฟังมาถึงตรงนี้ สถานการณ์เริ่มจะสดใสขึ้นมาแล้วนะคะ ฟังแล้วก็รู้สึกใจชื้นแทนลูกค้าของดีแทค เพราะได้เห็นว่าอุปสรรคและปัญหาต่าง ๆ ได้รับการแก้ไข ที่สำคัญทีมดีแทคก็ใส่ใจ ตั้งใจแก้ปัญหาให้ลูกค้าจริง ๆ ดังนั้น ถ้าผ่านสเต็ปนี้ไปได้ อะไรคือความท้าทายต่อไปของดีแทค?
ประเด็นที่ 8 : บทพิสูจน์ของดีแทค
มาถึงตรงนี้ คาดว่ามีหลายคนที่กำลังฟังอยู่เคยเป็นลูกค้าดีแทค และย้ายค่ายไปแล้ว บางคนอาจจะกำลังคิดที่จะย้ายค่าย เลยอยากถามคำถามสุดท้ายกับคุณประเทศว่า ดีแทคจะทำอย่างไรให้คนที่เคยเปลี่ยนใจกลับมาค่ายดีแทคดังเดิม หรือจะป้องกันลูกค้าปัจจุบันไม่ให้เปลี่ยนค่ายได้อย่างไร / ดีแทคจะใช้อะไรเป็นเครื่องพิสูจน์ความตั้งใจที่ว่า “ดีแทคจะไม่หยุด”?