เมื่อยุค 5G เริ่มถูกใช้งานอย่างเป็นทางการในปี 2020 นี้ dtac ก็เป็นอีก 1 ค่ายมือถือที่ได้วางแผนเกี่ยวกับเรื่องของอินเทอร์เน็ตในยุค 5G ไว้เช่นกัน จะมีข้อมูลอะไรน่าสนใจบ้าง เรามาฟัง คุณสมัคร สิมพา หัวหน้าสายงานพัฒนาโครงข่ายดีแทค ผู้อยู่เบื้องหลังการลุยพัฒนาสัญญาณ. ดีแทค 19 ปี ตั้งแต่ยุค 2G, 2.5G, 3G, 4G และกำลังพัฒนาสู่ 5G กันครับ

ปัจจุบันคนไทยใช้งานอินเทอร์เน็ตไปกับอะไรมากที่สุด?

สถานการณ์การใช้งานอินเตอร์เนต: ผลสำรวจจาก “Global Digital 2019” โดย WeAreSocial และ Hootsuit ปี 2019 ได้รวบรวมสถานการณ์การใช้งานดิจิทัล และอินเทอร์เน็ต ทั่วโลก เอาไว้ รวมทั้งประเทศไทย ซึ่งมีข้อมูลระบุว่า

  • 90% ของคนไทยที่ใช้อินเทอร์เน็ต ใช้อินเทอร์เน็ต “ทุกวัน”
  • 9 ชั่วโมง 11 นาทีต่อวัน คือ เวลาเฉลี่ยที่คนไทยใช้อินเทอร์เน็ต (นับรวมทุกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์)
  • 3 ชั่วโมง 44 นาทีต่อวัน คือ เวลาเฉลี่ยที่คนไทยดู Online Streaming หรือ Video On Demand
  • 1 ชั่วโมง 30 นาทีต่อวัน คือ เวลาเฉลี่ยที่คนไทยฟังเพลงแบบ Music Streaming
  • 49 ล้าน คือ จำนวนคนไทยที่ใช้ Social Media ผ่านโทรศัพท์มือถือ
  • ประเทศไทย มีประชากร 69.24 ล้านคน แบ่งเป็นผู้หญิง 51.3% และผู้ชาย 48.7% โดย 50% ของจำนวนประชากรทั้งหมด อาศัยอยู่ในเขตเมือง
  • มีเบอร์โทรศัพท์มือถือ 92.33 ล้านเลขหมาย ซึ่งมากกว่าประชากรไทยทั้งประเทศ นั่นหมายความว่าหลายคนถือมากกว่า 1 เลขหมาย
  • 57 ล้านคน สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ต โดย 55 ล้านคน เป็นกลุ่มที่ใช้อินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือเป็นประจำ
  • 51 ล้านคน ใช้งาน Social Media เป็นประจำ
  • ใช้เวลาอยู่กับ Social Media 3 ชั่วโมง 11 นาทีต่อวัน (นับรวมทุกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์)

ซึ่งทั้งหมดนี้สะท้อนให้เห็นว่าการใช้งานอินเทอร์เน็ตของประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ และจะมากขึ้นยิ่งกว่านี้อย่างแน่นอนจากการใช้งานทั้งทางด้านบันเทิงและทางด้านการทำงาน

แล้วคิดว่า 5G จะเข้ามาแก้ไขปัญหาของอินเทอร์เน็ตในยุค 4G ได้อย่างไร?

ความครอบคลุม 4G เป็นจุดบอดที่ลูกค้า Dtac ยังบ่นกันอยู่ แม้ว่าที่ผ่านมาจะแก้ปัญหาส่วนอื่น ๆ ไปมากแล้ว” และ “วิธีการแก้ไขปัญหานี้ ก็คือ ดีแทคจะใช้คลื่น 700MHz ที่คาดว่าจะนำมาใช้งานช่วงปลายปีนี้ ติดตั้ง 4G และ 5G ให้ครอบคลุมทั่วประเทศภายในปีนี้ ซึ่งจะทำให้การใช้งาน 4G โดยรวมมีจุดบอดน้อยลง และจะสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ใช้งานมากขึ้นอย่างแน่นอน

“ดีแทค” ทำอะไร? ในวันที่ค่ายอื่นเปิด 5G

จากการประมูลรอบล่าสุด dtac ประมูลเพียงคลื่นเดียว คือ 26GHz จำนวน 2 ชุด นั้น แม้ว่าตอนนี้ยังไม่มีอุปกรณ์โดยตรงที่รองรับ 5G แต่เป็นคลื่นที่นำไปผสมรวมกับในย่านอื่นๆเพื่อให้บริการ ซึ่ง ณ ปัจจุบัน dtac มีคลื่นครบทุกย่านความถี่

  • ย่านความถี่ต่ำ (โลว์ แบนด์): คลื่น 700 , 850 และ 900 เมกะเฮิรตซ์
  • ย่านความถี่กลาง (มิด แบนด์): 1800 , 2100 , 2600 เมกะเฮิรตซ์ (เหมาะทำ 5G ทั่วโลกนิยมใช้)
  • ย่านความถี่สูง (ไฮ แบนด์): 26 กิกะเฮิรตซ์ (ยังไม่มีอุปกรณ์รองรับ 5G นำไปผสมกับย่านอื่น)

ย่านความถี่ 3500 MHz จะสามารถเข้ามาช่วยตอบโจทย์เรื่อง 5G ได้อย่างไร?

dtac ยืนยันว่าคลื่นที่บริษัทมีอยู่นั้นเพียงพอต่อการพัฒนาโครงข่ายต่อไปเพื่อรองรับการใช้งานในอนาคต ซึ่งคลื่นความถี่ 3500 MHz ถือเป็นคลื่นความถี่ที่ทั่วโลกใช้ในการให้บริการ 5G อยู่แล้ว จึงทำให้อุปกรณ์ที่จะนำมาใช้เพื่อให้บริการมีราคาที่สมเหตุสมผล และให้บริการได้อย่างเต็มความสามารถของ 5G

นอกจากอินเทอร์เน็ตมือถือแล้ว dtac มีแผนพัฒนาสิ่งใดเพิ่มอีกบ้าง?

Dtac เตรียมจะเปิดบริการ 5G 26GHz เป็นบริการบรอดแบนด์ (Fixed Wireless Access – FWA) ภายในไตรมาสสองปีนี้  ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นบริการที่คลื่น 26GHz รายแรกของไทย โดยแบนด์วิดท์ลูกค้าได้รับ จะอยู่ที่ 200Mbps ไปจนถึง 1Gbps ซึ่งการเปิดให้บริการ Fixed Wireless Broadband จะเกิดขึ้นในพื้นที่บางจุด ที่จะเปิดให้ลูกค้าที่มีอุปกรณ์รองรับเข้ามาใช้งาน โดยทยอยขยายพื้นที่ให้บริการต่อไปภายในปีนี้ เนื่องจากต้นทุนของเทคโนโลยียังค่อนข้างสูง เพราะระยะในการให้บริการคลื่น 26 GHz ที่มีข้อจำกัดเพียง 200 – 300 เมตร เท่านั้น จึงมีข้อจำกัดที่การใช้งานเต็มประสิทธิภาพจะต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง

สุดท้ายนี้ ผู้ใช้บริการ dtac จะมั่นใจได้มากน้อยแค่ไหนว่าเขาทุกคนจะได้รับการบริการที่ดี?

การประมูลคลื่นความถี่รอบนี้ ไม่ใช่รอบสุดท้าย และเชื่อว่าอนาคตทางหน่วยงานกำกับดูแลจะนำคลื่นมาประมูลเพิ่มขึ้นอีกเรื่อยๆ ดังนั้น การที่ดีแทคยึดอยู่กับแผนงานนี้ ถือเป็นทางเลือกที่สมเหตุสมผลมากที่สุดแล้ว บนคลื่นความถี่ที่เกินพอในปัจจุบัน เวลานี้คือขาดคลื่นความถี่ย่านต่ำที่จะนำมาขยายพื้นที่ให้บริการให้ครอบคลุมมากกว่าเดิม ซึ่งเป็นปัญหาหลักที่ดีแทครับทราบมาโดยตลอด แต่ขาดทรัพยากรที่จะนำมาใช้งาน คลื่นของ dtac ในตอนนี้ยังไม่มีคลื่นในระดับกลาง (1.7GHz – 5.0GHz) สำหรับบริการ 5G โดยเฉพาะ ทาง dtac หวังว่ากสทช. จะนำคลื่น 3.5GHz ออกมาประมูลต่อไป

‘ดีแทค ไม่ห่วงคลื่นย่านกลางที่นำมาเน้นเพิ่มประสิทธิภาพในแง่ของความเร็วในการใช้งาน เพราะคลื่นที่ดีแทคโรมมิ่งกับทีโอทีบน 2300 MHz เพียงพอกับการรองรับการใช้งานของลูกค้าอยู่แล้ว ทำให้ไม่มีความจำเป็นต้องเสริมคลื่น 2600 MHz มาให้บริการเพิ่มในเวลานี้ แต่มองไปยังการเปิดประมูลคลื่น 3500 MHz ในอนาคต’

ดังนั้น คลื่นความถี่ 700 MHz ที่ดีแทคเข้าไปรับการจัดสรรจากกสทช. ที่คาดว่าจะนำมาใช้งานได้ในช่วงปลายปีนี้ จะเป็นย่านความถี่สำคัญของ ดีแทค ในการขยายเครือข่าย 4G และ 5G ให้ครอบคลุมในปีนี้ ขณะที่ 900 MHz ในปัจจุบันยังติดปัญหาเรื่องคลื่นรบกวนกับทางกสท โทรคมนาคม ทำให้ยังไม่สามารถขยายพื้นที่ให้บริการ 3G ได้ตามที่คาดการณ์ไว้