• หนุ่ย พงศ์สุข หิรัญพฤกษ์ ผู้ดำเนินรายการ
  • รศ.วรศักดิ์ มหัทธโนบล ผู้อำนวยการศูนย์จีนศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ดร.วิทย์ สิทธิเวคินทร์

ดร.วิทย์ สิทธิเวคินทร์

สมัยก่อนใคร ๆ ก็รู้ว่าคู่แข่งของสหรัฐฯ คือสหภาพโซเวียตหรือรัสเซีย แต่ใครจะไปรู้ว่าแดนมังกรอย่างจีนจะเติบโตและรุ่งเรืองกลายมาเป็นคู่แข่งของสหรัฐฯ เช่นกัน การเป็นคู่แข่งสหรัฐของจีนไม่ได้แข่งเพียงด้านการค้าขายเท่านั้นแต่เขาตื่นขึ้นมาโดยมีเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำข้ามมาด้วย หากลองนึกถึงการที่จะล้วงเอาข้อมูลในสมัยก่อนก็จะเป็นการส่งสายลับเข้าไปเก็บข้อมูลมา เทคโนโลยีสมัยนี้สามารถแทรกซึมเข้าไปเอาข้อมูลได้โดยไม่ต้องส่งใครเข้าไปเก็บข้อมูลซึ่งง่ายกว่า และด้วยการที่สหรัฐฯ เป็นประเทศมหาอำนาจอันดับ 1 จะไม่ทำอะไรเลยก็ไม่ได้ จึงหาทางสกัดจีนไม่ว่าจะเรื่องการค้าหรือแม้แต่เรื่องเทคโนโลยี ไม่ใช่ว่าอเมริกายุคก่อน ทรัมป์ ไม่เกรงกลัวจีน? ในยุคก่อนหน้าทรัมป์อย่างบารัค โอบามา ก็มีความเกรงกลัวจีนเหมือนกัน แต่การแสดงออกของโดนัล ทรัมป์ นั้นแสดงออกได้อย่างชัดเจนยิ่งกว่า

รศ.วรศักดิ์ มหัทธโนบล ผู้อำนวยการศูนย์จีนศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อเมริกาเริ่มรู้สึกว่าตัวเองเป็นประเทศมหาอำนาจหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 หมายความว่าก่อนหน้านั้นอเมริกายังไม่ได้เป็นประเทศมหาอำนาจ แต่หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ความรู้สึกนั้นถูกโหมขึ้นมาเรื่อย ๆ จีนซึ่งเกิดใหม่ที่เป็นคอมมิวนิสต์ตอนนั้นยังไม่แข็งแกร่งมาก สหรัฐฯ พยายามที่จะสร้างสัมพันธ์กับจีนเพื่อถ่วงอำนาจสหภาพโซเวียต หลังจากสงครามเย็นจบลงผู้ที่ชนะก็คือโลกของทุนนิยมซึ่งก็คือสหรัฐฯ ที่เป็นผู้นำระบบทุนนิยม สหรัฐฯ จึงคิดว่าการที่เขาชนะนั้นควรที่จะมีประเทศมหาอำนาจเดียวซึ่งก็คือสหรัฐฯ เอง พอหลังจากนั้นความสัมพันธ์จีนกับรัสเซียที่เคยแตกหักกันก็เริ่มฟื้นฟูขึ้นมาดีขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งนโยบายจีนกับรัสเซียต่างกันโดยสิ้นเชิง เพราะเขาคิดว่าประเทศมหาอำนาจไม่ควรมีประเทศเดียวมันควรที่จะมีหลายมหาอำนาจมาถ่วงดุลกัน อย่างเช่นการที่มีสหรัฐฯ เป็นประเทศมหาอำนาจเดียวเขาสามารถกำราบประเทศที่มีปัญหาให้อยู่หมัดได้ แต่รัสเซียและจีนไม่คิดอย่างนั้นเขาคิดว่าต้องมีหลายขั้วมหาอำนาจเพื่อที่จะไม่ให้สหรัฐฯเหิมเกริมมากเกินไป มันต้องถ่วงดุลกัน

และในหลาย ๆ ประเทศก็คิดแบบเดียวกับจีนและรัสเซีย อย่างเช่น เยอรมนีและฝรั่งเศส หลังจากนั้นเศรษฐกิจจีนตอนนั้นถึงปัจจุบันนี้คือรุ่งเรื่องเฟื่องฟูมาก ๆ ตรงนี้คือสิ่งที่สหรัฐฯ รับไม่ได้เพราะมีจีนตีคู่มาทั้งด้านเศรษฐกิจและเทคโนโลยี การที่เศรษฐกิจจีนตีคู่มากับสหรัฐแบบนี้ับอกอะไรเราได้บ้าง อย่างเช่นจีนสามารถต่อรองทางการค้ากับกลุ่มประเทศต่าง ๆ ได้

การที่ทรัมป์มองจีนเป็นภัยคุกคาม เป็นนโยบายของทรัมป์หรือนโยบายของอเมริกากันแน่?

นโยบายของอเมริกา เดโมแครต และรีพับลิกัน 2 พรรคนี้ไม่ต่างกันเท่าไหร่ นักวิชาการของสหรัฐฯ บอกว่าทั้ง 2 มีนโยบายที่เป็นกำปั้นเหล็ก ไม่ว่าพรรคไหนจะได้เป็นประธานาธิบดีก็ตาม เขาจะไม่ยอมให้จีนขึ้นมาเทียบเคียงสหรัฐเด็ดขาด ตาบใดที่นโยบายมหาอำนาจเดี่ยวของสหรัฐฯ ยังไม่เปลี่ยนแปลง

แล้วจะส่งผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างไร?

ดร.วิทย์ สิทธิเวคินทร์ SHOW LESS : ต้องบอกว่าความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับ 3 ขั้วมหาอำนาจไม่ว่าจะเป็น สหรัฐฯ รัสเซีย จีน ก็แล้วแต่ ความสัมพันธ์ของเราต่อมหาอำนาจเหล่านี้ดีมาก ๆ เพราะฉะนั้นการที่เราไม่เลือกข้างเลยเป็นผลดีต่อประเทศเรามากที่สุด อย่างเช่น 2 ประเทศทะเลาะกันแล้วไม่สามารถทำการค้าได้ แล้วประเทศเราที่ไม่เลือกข้างมีอะไรที่สามารถตอบโจทย์ของประเทศเหล่านี้ได้บ้างนั่นก็เป็นข้อดีที่เราไม่ได้เลือกฝ่ายใด เพราะทุกคนเห็นเราเป็นจุดยุทธศาสตร์ เป็นมิตรที่ดี เป็นพาร์ตเนอร์ที่ดี

รศ.วรศักดิ์ มหัทธโนบล ผู้อำนวยการศูนย์จีนศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : เห็นด้วยกับ ดร.วิทย์ สิทธิเวคินทร์ SHOW LESS เพราะการที่ไทยแสดงตัวเห็นว่ารักใครมากกว่ามันไม่เกิดผลดีเลย ก็ต้องมาว่าท่าทีการเข้าหาเราทั้ง 2 ประเทศนี้เป็นอย่างไร อย่างเรื่องการเข้ามาทำธุรกิจของสหรัฐฯ เองจะเข้ามาแต่บริษัทใหญ่ ๆ แต่ของจีนเข้ามาทั้ง ใหญ่ กลาง เล็ก เราก็ไม่คิดว่าจีนจะเข้ามาเยอะขนาดนั้น พอประเทศจีนเข้ามาแล้วก็ต้องต้อนรับโดยมีข้อตกลงการค้าเสรี โดยตามกฎหมายแล้วต้องมีคนไทยถือหุ้นในบริษัท 51% ต่างชาติถือได้ 49% จีนจึงใช้นอมินีคนไทยถือหุ้นแทนในส่วน 51% กลายเป็นว่าจีนจ่ายภาษีเต็มแล้วก็ได้เงินเต็มจำนวน 100% ทำให้เกิดการหวาดระแวงจีน เราต้องมาคิดกันใหม่ว่าควรจะทำอย่างไรกับปัญหานี้

ก่อนหน้า โควิด-19 จะเข้ามาระบาดในไทยและทั่วโลกผมได้สำรวจพบว่าจีนย้ายถิ่นฐานเข้ามาอยู่ในไทยเพื่อทำธุรกิจเป็นจำนวนมาก โดยแต่งงานกับนอมินีคนไทยแล้วลงทุนทำธุรกิจ ซึ่งธุรกิจของเขาคึกคักและไปได้ดีเลยทีเดียว แต่พอโควิด-19 มาชาวจีนเจ๊งระนาวขายกิจการทิ้งแล้วกลับจีนทันที กลายเป็นว่าโควิด-19 มาช่วยแก้ปัญหานี้ของคนไทยที่หวาดระแวงจีนไปโดยปริยาย

เรามีสิทธิ์จะโดนบีบให้เลือกข้างไหมระหว่างสหรัฐฯกับจีน?

รศ.วรศักดิ์ มหัทธโนบล ผู้อำนวยการศูนย์จีนศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : ทั้ง 2 ประเทศมหาอำนาจต้องการจะบีบเราอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าด้านสหรัฐบีบเราดุดันเป็นกำปั้นเหล็ก แต่จีนจะมาแบบซอฟต์ ๆ ปากหวานมีวัตถุประสงค์ที่แน่นอน เพราะฉะนั้นเราต้องรู้เท่าทันเรียนรู้จีนให้มาก ๆ

ถ้าเรารู้เท่าทันจีน จีนจะเป็นโอกาสของเรา แต่ถ้าเรารู้ไม่เท่าทันจีน จีนจะเป็นภัยคุกคามของเรา

รศ.วรศักดิ์ มหัทธโนบล ผู้อำนวยการศูนย์จีนศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส