เปิดมุมมองด้านสิ่งแวดล้อมกับ ปตท. องค์กรพลังงานแห่งชาติ ผ่านหัวหอกคนสำคัญ “คุณวรพงษ์ นาคฉัตรีย์” ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารความยั่งยืน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
ภารกิจหลักของ ปตท. คือดูแลหน่วยความมั่นคงด้านพลังงาน ซึ่งพลังงานหลักของ ประเทศเรามาจาก ก๊าซธรรมชาติเป็นหลัก โดยองค์ประกอบของก๊าซธรรมชาติก็จะมี คาร์บอนไดออกไซด์ เป็นหลัก อย่างไรก็ตามเราก็จะลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ และดูแลในเรื่องของการรั่วไหลตามอุปกรณ์ต่าง ๆ ส่วนเรื่องก๊าซธรรมาชาติที่ผลิตออกมาเราก็จะดูแลในเรื่องของคาร์บอนไดออกไซด์ เมื่อไปถึงลูกค้าก็จะได้คาร์บอนไดออกไซด์ที่น้อยที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ปตท. พยามยามอย่างมากหลาย ๆ รูปแบบไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของพลังงานใหม่ พลังงานแสงอาทิตย์ หรือเรื่องของดีเซลแบบใหม่ B10 เป็นพลังงานที่สะอาดขึ้นเพราะมีกำมะถันน้อยลง
รวมถึงโครงการปลูปป่าที่ ปตท. สร้างมาอย่างยาวนาน การปลูกป่าเพื่อดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งปัจจุบันสามารถดูดซับได้มากถึง 2 ล้านตันที่เราดูดซับอยู่ทุกวันนี้ รวมถึงเป้าหมายของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของปตท. ก็ถูกกำหนดขึ้นมาให้สอดคล้องกับเป้าหมายของประเทศด้วยเช่นกัน
เทคโนโลยีทำให้ทุกอย่างสะดวกขึ้น แต่บางทีเทคโนโลยีก็มีส่วนทำลายสิ่งแวดล้อมด้วยเช่นกัน เราจะทำอย่างไรให้เทคโนโลยีสามารถช่วยโลกได้ด้วย ?
ปัจจุบันเรามีสถาบันการวิจัยเกี่ยวคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อหาทางเก็บคาร์บอนไดออกไซด์เหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ต่อ รวมถึงการเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ใต้ดินเลย เรากำลังวิจัยอยู่น่าจะมีผลออกมาไม่นานนี้ และนอกจากนั้นก็เป็นในเรื่องของแบตเตอรีที่เรากำลังวิจัยว่าจะทำอย่างไรให้แบตเตอรีมีอายุการใช้งานยาวนาน ความหวังของเราเลยเราจะสามารถวิจัยพัฒนาให้แบตเตอรีสามารถใช้ในรถได้มากกว่า 300-400 กิโลเมตร และในส่วนของพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในครัวเรือน ปกติเรานำเข้าพลังงานไฟฟ้ามาจากประเทศเพื่อนบ้านของเรา ต่อไปเราอยากมีพลังงานไฟฟ้าเป็นของตัวเอง เราใช้พลังงานแสงอาทิตย์เข้ามาช่วยในการเติมไฟในช่วงกลางวัน และในตอนกลางคืน Energy Storage เหล่านี้ก็จะปล่อยออกมาใช้งานตอนกลางคืนได้ นั่นก็หมายความว่าเราสามารถมีพลังงานไฟฟ้าเป็นของตัวเองได้ภายในบ้านน่าจะเป็นประโยชน์อย่างมาก
Circular Economy ?
Circular Economy เป็นพื้นฐานตัวนึงเลยในการดูแลสิ่งแวดล้อม เวลาที่เราผลิตอะไรก็แล้วแต่เราต้องคำนึงถึงว่ามันใช้ประโยชน์ได้จริงไหม เพราะฉะนั้นการใช้ทรัพยากรอย่างมีคุณค่านั้นเป็นหลักสำคัญแล้ว เรามองว่าเราผลิตสินค้า 1 ตัว สินค้าชิ้นนั้นในอานคตจะกลายเป็นขยะ แบบไหนบ้าง ปัจจุบัน ปตท. นำเอาพวกไบโอพลาสติก ถึงแม้ราคาจะค่อนข้างแพงแต่ปตท. ก็พยายามจะนำตัวนี้เข้ามาเริ่มใช้ไม่ว่าจะเป็นแก้วของ Amazon เพื่อให้เห็นว่าอาจจะต้องจ่ายแพงกว่าแต่ว่าโลกได้อะไรจากปตท. มากกว่า
ในองค์กรของเราจะทำในเรื่องของการแยกขยะ เพื่อให้มีขยะเกิดขึ้นน้อยที่เราหรือถ้ามีขยะเราสามารถนำขยะเหล่านั้นไปทำอะไรได้บ้างให้เกิดประโยชน์
พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส