ไปหาซื้อโน้ตบุ๊กจะดูยังไงว่า แต่ละรุ่นใช้ซีพียูอะไร แบบไหนที่เหมาะกับเรา วันนี้ #beartai ให้ข้อสังเกตครับ
ซีพียูโน้ตบุ๊ก Intel เดินทางมาถึงเจเนอเรชันที่ 11 แล้วนะครับ คำถามคือ จะเลือกซื้อรุ่นไหนให้เหมาะสมกับการใช้งานของเรา Core i3, i5, i7, i9 เดี๋ยวมาดูที่ละรุ่นเลยครับ
สำหรับ Intel Core i3 ก็เหมือนน้องคนเล็ก เป็นซีพียูระดับเริ่มต้น มักอยู่ในโน้ตบุ๊กสำหรับใช้งานทั่ว ๆ ไปราคาประมาณ 1 หมื่นต้น ๆ เหมาะกับการใช้งาน ในชีวิตประจำวัน อย่าง พิมพ์งาน, ส่งเมล, เล่นเว็บ, ดูหนัง, ฟังเพลง, เล่นเกมเบา ๆ การตัดต่อหรือทำกราฟิกก็ทำได้นิดหน่อย ไม่หนักมาก
ส่วน Intel Core i5 เป็นเหมือนพี่คนกลาง ประสิทธิภาพก็จะสูงขึ้นมาอีกระดับ เหมาะกับคนที่ใช้งานหนักขึ้นกว่า Core i3 เช่น การตัดต่อวิดีโอ งานกราฟิก เล่นเกม ซึ่งตรงนี้ก็ต้องมาคู่กับการ์ดจอที่เหมาะสมกับการใช้งานด้วย ส่วนการใช้งานทั่วไปก็ยังใช้ได้สบาย ๆ รวมถึงการใช้งาน มัลติทาสกิ้ง หรือทำงานหลายหน้าจอ ก็ทำได้ราบรื่น ราคาก็จะเริ่มต้นประมาณ 1 หมื่นกลาง ๆ ขึ้นไปครับ
แต่ถ้าต้องใช้งานหนัก ก็ต้องเป็นพี่คนโตแล้วล่ะครับ Intel Core i7 รุ่นนี้จะได้ประสิทธิภาพในการทำงานสูงมาก เหมาะกับการใช้งานจริงจัง อย่าง การตัดต่อวิดีโอความละเอียดสูงระดับ 4K แบบเรา #beartai หรือการเล่นเกมที่ต้องประมวลผลเยอะ ๆ รวมถึงการสร้างภาพ 3D ราคาโน้ตบุ๊กที่ใช้ส่วนใหญ่เริ่มต้นที่ประมาณ 3 หมื่นบาท
แต่ถ้าต้องการประสิทธิภาพสูงสุด ก็ต้องพี่ใหญ่สุด Intel Core i9 โปรแกรมจะหนักแค่ไหนก็รันไหว เหมาะกับงานระดับมืออาชีพ จะตัดต่อ ทำโมชันกราฟิก หรือ 3D ก็สบาย ๆ ครับ ทั้งหมดจะอยู่ในโน้ตบุ๊กไฮเอนด์ ราคา 8 หมื่นขึ้นไปครับ
นอกจากนี้แล้ว ซีพียูโน้ตบุ๊ก Intel ยังแบ่งออกเป็น 2 ซีรีส์ด้วยกัน คือ H-Series, U-Series
โดย H-Series เป็นซีพียูสำหรับเล่นเกม เน้นเรื่องประสิทธิภาพการทำงาน แต่ก็ต้องแลกด้วยการใช้ไฟเยอะ วิธีสังเกตคือให้ดูอักษร H ตามหลัง เช่น Intel Core i9-9880H
อีกซีรีส์หนึ่งก็คือ U-Series เป็นซีพียูสำหรับโน้ตบุ๊กทำงาน ที่เด่นเรื่องการประหยัดไฟ แบตเตอรี่ใช้งานได้นานกว่าพวกตระกูล H-Series ซึ่งความพิเศษใน ==U-Series บน Intel เจเนอเรชันที่ 11 ก็คือจะมีการ์ดจอประสิทธิภาพสูงลงไปในตัว วิธีสังเกตคือจะมีอักษร G ตามหลัง เช่น Intel Core i7-1185G7 ซึ่งถ้าเป็นรหัส G7 ก็จะใช้ GPU ตัวท็อปรุ่นล่าสุดของ Intel คือ Iris Xe ที่มีประสิทธิภาพเทียบเท่าได้กับการ์ดจอแยกเลย
Intel เจเนอเรชันที่ 11 เขามีโค้ดเนมดุ ๆ ว่า “Tiger Lake” ซึ่งอยู่บนสถาปัตยกรรม 10 นาโนเมตร ในรูปแบบ SuperFin ที่เร็วขึ้นกว่าเดิม 3 เท่า และนี่ก็เป็นครั้งแรกของ Intel ที่ใช้การออกแบบซีพียูแบบ SoC System-on-chip ที่รวมเอาส่วนประกอบต่าง ๆ ไว้ด้วยกัน เช่น AI, GPU, ส่วนควบคุม Wi-Fi 6, Thunderbolt, USB มารวมไว้ในตัวเดียวกัน เหมือนกับชิปเซ็ตของมือถือเลยครับ
ซึ่งจุดเด่นของซีพียู Intel Core เจเนอเรชัน 11 ไม่ได้อยู่ที่สเปกความแรงเท่านั้นครับ ยังมีองค์ประกอบอื่น ๆ ที่ช่วยให้การใช้งานนั้น รวดเร็วและ สะดวกสบายขึ้นด้วย
- อย่างแรกเลยคือมี Intel GNA หรือ — คือเป็น AI acceleration อยู่ใน CPU และ GPU ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของซีพียู แต่ใช้พลังงานต่ำ ช่วยยืดอายุแบตเตอรี่ครับ ยกตัวอย่างเช่นการตัดเสียงรบกวน Noise Cancelling
- การเชื่อมต่อไร้สายก็มาพร้อม Intel Wi-Fi 6 (Gig+) [กิ๊ก-พลัส] ที่การันตีว่าเร็วกว่า Wi-Fi 5 ถึง 3 เท่า และมีการรับส่งข้อมูล Download/Upload เร็วกว่า 1Gbps ขึ้นไปครับ
- รองรับ USB-4 และรองรับพอร์ตครอบจักรวาล Thunderbolt 4 ความเร็วและฟีเจอร์มากกว่า USB-C ทั่วไป เช่น การรับส่งข้อมูล 40Gbps สามารถต่อจอแยกได้สูงสุด 3 จอ รวมกับจอหลักของโน้ตบุ๊กเป็น 4 จอ นี่เป็นเอกสิทธิ์เฉพาะโน้ตบุ๊กที่ใช้ซีพียู Intel เพราะอินเทลเป็นผู้พัฒนา Thunderbolt
- รองรับ NVMe PCIe Gen 4 ที่ใส่ SSD ได้ความเร็วสูงสุด 8000 MB/s ยกตัวอย่าง โน้ตบุ๊ก MSI ตัวนี้ที่ใช้ซีพียู Intel Gen 11 เทสด้วยโปรแกรม CrystalDiskMark ทำความเร็วการอ่านสูงสุด 4929MB/s ส่วนการเขียนอยู่ที่ 2534 MB/s เลยทีเดียว ซึ่งถ้าเป็น Gen 3 ความเร็วจะสุดที่ 4000MB/s
นอกจากนี้แล้ว Intel ก็ยังมีแพลตฟอร์มใหม่ที่ชื่อว่า Intel Evo ซึ่งใช้การันตีว่าโน้ตบุ๊กที่ดีที่สุด สังเกตจากแปะสติกเกอร์นี้ได้ ก็ต้องผ่านมาตรฐานตามข้อกำหนดมากมาย เช่น
- ประสิทธิภาพสูง ใช้ชิปประมวลผล Core i5/i7 ขึ้นไป, แรม 8GB ขึ้นไป, หน่วยความจำเป็น SSD NVMe 256GB ขึ้นไป
- ประสิทธิภาพดีพอแม้ทำงานด้วยแบตเตอรี่ ใช้งานที่จอ Full HD ได้นานกว่า 9 ชั่วโมง
- ชาร์จเร็ว ใช้เวลาชาร์จ 30 นาทีใช้งานได้นาน 4 ชั่วโมง รองรับการชาร์จเร็วผ่าน USB-C (USB Power Delivery)
- เปิดเครื่องต่ำกว่า 1 วินาที แล้วต้องพร้อมทำงานแทบจะทันที (Connected Standby และ Lucid Sleep)
- มีฟีเจอร์ด้าน AI เช่น มีไมโครโฟนรับเสียงจากระยะไกล, ฟีเจอร์เร่งความเร็ว Deep Learning Boost
- รองรับพอร์ต Thunderbolt 4, เชื่อมต่อเน็ตผ่าน Wi-Fi 6 AX Gig+ และมีตัวเลือกใช้เครือข่าย Gigabit LTE
- Ultrabook / 2-in-1 Notebook ดีไซน์บางเบา และใช้ Precision Touchpad / รองรับปากกา
นี่เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งนะครับ ยังมีอีกหลายข้อเลยครับ เห็นไหมครับว่า CPU Intel นั้นไม่ได้มีเพียงแค่ประสิทธิภาพที่แรง แต่ยังมีองค์ประกอบหลากหลายที่ช่วยให้การใช้งาน หรือการทำงานสะดวกขึ้นครับ เอาเป็นว่าครั้งหน้าถ้าจะเลือกซื้อเลือกหาโน้ตบุ๊กก็อย่าลืมดูสติกเกอร์ Intel ที่แปะอยู่บนเครื่องนะครับ
พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส