นี่คือ CISCO Webex (ซิสโก้-เว็บเอ็กซ์) และ CISCO Meraki (ซิสโก้-มิรากิ) สอง Cloud Solution ที่ออกแบบมาเพื่อธุรกิจขนาดกลางและเล็กในยุคดิจิทัล เด่นเรื่องการใช้งานที่ง่ายและปลอดภัย
เดี๋ยวนี้หลายธุรกิจเริ่มให้พนักงาน Work From Home ไปบ้างแล้ว ซึ่งน่าจะเจอปัญหาเดียวกับผมคือ แอปแชตเดิมใช้ทำงานไม่สะดวกเท่าไร ผมก็เลยต้องหา Solution ใหม่ ๆ มาทดลองใช้ครับ โดยตัวที่ผมได้มาคือ CISCO Webex แพลตฟอร์ม Cloud Collaboration สำหรับการทำงานร่วมกันระดับองค์กร
โดย Webex ประกอบด้วยสองบริการคือ Webex Meetings สำหรับการจัดประชุมด้วยฟีเจอร์จัดเต็ม และ Webex Teams สำหรับแชตคุยงานกันภายในองค์กรครับ
ข้อดี
ข้อดีของทั้ง 2 บริการคือ ทำงานอยู่บน Cloud Server ทำให้สามารถเรียกใช้งานผ่าน Web Browser อย่าง Edge, Chrome, Firefox บน PC และ Mac ได้ทันที แต่ฟีเจอร์จะมีไม่เท่ากับเวอร์ชันติดตั้งลงเครื่องครับ ส่วนอุปกรณ์ เคลื่อนที่อย่าง มือถือและแท็บเล็ตก็มีแอปฯ ให้โหลดผ่าน Play Store และ App Store ได้การใช้งานก็ไม่ต่างกันมากครับ
ฟีเจอร์
ด้านฟีเจอร์ใช้งานพื้นฐานในการประชุม Webex Meetings ก็ให้มาครบเลยครับ ตั้งแต่การกำหนดสิทธิ์ผู้เข้าประชุม การแชร์หน้าจอ การแชร์ส่งไฟล์ การเขียนไวท์บอร์ด และอีกมากมาย ให้อธิบายในคลิปเดียวคงจะยาวไป เอาเป็นว่าผมจะพูดถึงจุดเด่นที่ทำให้ Webex Meetings แตกต่างและเหมาะสำหรับองค์กรครับ
อย่างแรกคือสามารถ “เข้าประชุมได้ ไม่ง้อเน็ต” อันนี้ใช้ความสามารถการโทรพื้นฐานของมือถือเลยครับ กดเบอร์ Global Call-in Number ของประเทศไทย 02-028 0510 แล้วตามด้วย Meeting Number 10 หลักและเครื่องหมายสี่เหลี่ยม เราก็สามารถเข้าประชุมได้ทันที แม้ไม่มีอินเทอร์เน็ต
ก็ถือว่าเหมาะคนที่อินเทอร์เน็ตเกิดปัญหาฉุกเฉินแต่ยังต้องเข้าประชุม อันนี้จะดีมาก แต่การใช้ฟีเจอร์โทรเข้านี้ก็ไม่ได้โทรฟรีนะครับ ยังคงมีค่าบริการเหมือนการโทรปกติทุกอย่างครับ
ส่วนฟีเจอร์ที่เหมาะกับการประชุมนาน ๆ Webex Meetings ก็มี Breakout Sessions สร้างห้องไว้ให้ผู้ร่วมประชุมเข้าไปพักคุยกันได้สูงสุด 100 ห้องครับ อันนี้น่าจะเหมาะกับการประชุม การเรียนการสอน หรือการสัมมนาเลยล่ะครับ
อีกฟีเจอร์ที่น่าสนใจไม่แพ้กันคือมี Webex Assistant ผู้ช่วย AI ในห้องประชุม ที่เราสามารถสั่งงานด้วยเสียง ให้บันทึกโน้ต หรือสร้างกำหนดการประชุมล่วงหน้าได้ครับ เช่น OK Webex, schedule a follow-up meeting for Monday at 3:00 P.M.
และนอกจากนี้ตัว AI ยังสามารถ Transcription เปลี่ยนเสียงพูดเป็นตัวอักษร แล้วทำให้เป็นบันทึกการประชุมแบบ Real-Time อีกด้วยนะครับ
ซึ่งทั้งสองฟีเจอร์นี้ทำให้เรามีเลขา AI ช่วยบันทึกการประชุมให้ สบายเลยครับ แต่ตอนนี้รองรับเฉพาะภาษาอังกฤษนะครับ และถ้าเราจะใช้ฟีเจอร์นี้ สำเนียงก็ต้องเป๊ะในระดับหนึ่งเลย แต่ถ้าใครไม่ต้องการก็สามารถปิดได้ครับ
ส่วนการบันทึกวิดีโอการประชุม ก็เลือกได้สองรูปแบบคือ บันทึกลงเครื่อง และบันทึกไว้ลง Cloud ครับ โดยแบบ Cloud นั้นเหมาะกับการส่งต่อ เพราะสามารถแชร์ลิงก์หลังจบประชุมได้ครับ ฝั่งปลายทางสามารถเปิดดูได้ทันที หรือจะโหลดเก็บก็ทำได้ครับ ส่วนใครที่อยากไลฟ์สตรีมผ่าน Facebook, YouTube ก็ทำได้ผ่านแอปฯ ได้เลยครับ
และสิ่งที่ทำให้ CISCO Meetings แตกต่างจาก Web Conference หรือ Video Conference แพลตฟอร์มอื่น ๆ ก็คือ CISCO จะมีแอปฯ Webex Teams ที่เน้นการใช้งานแบบ Collaboration หรือการทำงานร่วมกันภายในองค์กรมาให้ใช้งานแบบฟรี ๆ และรองรับผู้ใช้สูงสุดถึง 5000 คนเลยครับ
ฟีเจอร์จึงเน้นไปที่ การแชท การแชร์ไฟล์ การแชร์ข้อมูลระหว่างกัน สามารถเพิ่มรายชื่อ แล้วโทรหาได้ จะเป็นแบบเดียวก็ได้หรือโทรแบบกลุ่มก็ดีครับ มีบันทึกประวัติการโทรว่าเราโทรไปหาใครบ้าง รวมถึงสามารถนัดหมายการประชุมทำได้ในแอป อันนี้ผมว่าเป็นฟีเจอร์ที่ควรจะมีไว้ใช้ครับ
นอกจากนี้เรายังสามารถสร้างทีมขึ้นมาได้เอง และแยกย่อนได้ครับ ยกตัวอย่างผมสร้างทีม #beartai มาไว้คุยกันครับ ซึ่งความดีงามคือสามารถเชิญเพื่อนเข้ากลุ่มง่าย โดยจะเป็นคนในหรือนอกองค์กรก็ได้ โดยหลังจากที่เข้ากลุ่มมา เขาก็จะเห็นแชตย้อนหลังทั้งหมดที่เคยคุยกันก่อนหน้านี้ได้เลย แน่นอนว่ามันสะดวกสำหรับการทำงานมากครับ ไม่ต้องมาส่งข้อมูลใหม่ให้เสียเวลา และนอกจากนี้ถ้ามีคนนอกองค์กรอยู่ในกลุ่ม ก็จะมีการแจ้งเตือนให้เห็นเป็นสีเหลืองตรงแถบข้อความ คลิกเข้าไปก็จะเห็นรายชื่อแบบนี้เลยครับ
สำหรับการทำงานร่วมกันระหว่าง Webex Teams ใช้งานร่วมกันกับ Webex Meetings ได้เป็นอย่างดีครับ ยกตัวอย่าง ถ้ามีประชุมผ่าน Webex Meetings ก็สามารถกดผ่าน Webex Teams ได้ด้วยคลิกเดียว
ความปลอดภัย
ทุกอย่างที่เราเห็นบน Webex Teams และ Webex Meetings ก็จะมีการ Encrypt เข้ารหัสล็อกไว้ทั้งหมดครับ ป้องกันการแฮกเอาข้อมูลไป และในส่วนของการประชุมออนไลน์ที่เป็นความลับมาก ๆ ก็มีฟีเจอร์ป้องกันการดักฟังอย่าง End-to-End encryption เข้ารหัสตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง ช่วยเสริมความปลอดภัยให้กับองค์กรได้เป็นอย่างมากเลยครับ
นอกจากนี้ CISCO ก็มีฮาร์ดแวร์จัดการระบบเน็ตเวิร์คอย่าง Meraki ด้วยนะครับ ซึ่งตัวที่ผมได้มาก็คือ Meraki MX68 หรือ Security Appliances ที่เป็นเหมือน เกราะป้องกันอันตรายจากโลกออนไลน์ที่จะเข้ามาโจมตีองค์กรของคุณ อย่างเช่น มัลแวร์ และแฮกเกอร์ครับ ในขณะเดียวกัน ตัวนี้ก็มีความสามารถในการควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ตงานภายในองค์กรได้ด้วยครับ ซึ่งเดี๋ยวผมจะสาธิตให้ดู แต่ไปดูอีกรุ่นที่ผมได้มาพร้อมกันก่อนนั่นคือ Meraki MR42 ที่จัดเป็น Access Point ไว้ปล่อยสัญญาณ Wi-Fi และสามารถเก็บข้อมูลการใช้งานของคนที่เข้ามาเชื่อมต่อได้แบบละเอียด
การติดตั้ง
โดยทั้ง 2 ตัวนี้ติดตั้งง่ายครับ แค่เสียบสายไฟให้เรียบร้อย และเสียบสาย LAN จากนั้นก็เข้าไปตั้งค่าในเว็บไซต์ก็เริ่มใช้งานได้เลยครับ ที่สะดวกแบบนี้เพราะการตั้งค่าทั้งหมดอยู่บนระบบ Cloud ครับ ทำให้เราสามารถตั้งค่าจากที่ไหนก็ได้ แล้วภายในหน้า Dashboard แสดงข้อมูลการใช้งานของอุปกรณ์ที่อยู่ในเครือข่ายแบบละเอียดครับ เราดูเป็นกราฟได้เลย และยังดูแบบละเอียดว่ามีการเข้าถึงเว็บไซต์ใด ๆ บ้างและใช้เน็ตไปเท่าไรแบบนี้เลยครับ
ด้านการตั้งค่าเองก็ไม่ยาก ตัวผมเองที่เป็นเจ้าของกิจการก็ทำได้ เช่น ผมต้องการจะบล็อกไม่ให้พนักงานเล่นเกมขณะทำงาน ในที่ทำงานผมก็เข้าไปตั้งที่ เมนู Security & SD-WAN หัวข้อย่อย Firewall เข้ามาแล้วกดที่ Add a layer 7 firewall rule จากนั้นก็เลือก Gaming เสร็จแล้วกด Save Changes ก็เป็นอันเสร็จครับ ซึ่งนี่เป็นตัวอย่างการตั้งค่าแบบง่าย ๆ ของอุปกรณ์ CISCO Meraki การตั้งค่ายังมีอีกเยอะมาก และตั้งค่าเฉพาะรายอุปกรณ์ได้เลยครับ
นอกจากนี้ในช่วง Work From Home ก็อาจจะมีพนักงานหลายคนทำงานนอกออฟฟิศที่มีระบบ Meraki ติดตั้งอยู่ ทาง CISCO ก็มี Cisco Umbrella และ AMP for Endpoints ที่ช่วยเสริมความปลอดภัยให้กับการใช้งานนอกสถานที่มาด้วย ทั้ง 2 สามารถคัดกรองอันตรายและบล็อกการใช้งานบางส่วนได้เหมือนกับอยู่ในระบบเน็ตเวิร์กในองค์กรเลยครับ
ข้อสังเกต
จากที่กองบรรณาธิการ #beartai ได้ทดลองใช้งานมาประมาณ 1 อาทิตย์ พบว่าช่วงแรกต้องปรับตัวเรื่องการใช้งาน สลับไปมาระหว่าง Webex และ Webex Meetings และอีกจุดที่พบคือบางฟีเจอร์ใน Webex Teams ยังใช้งานไม่ได้ เช่น Schedule ครับ
รีวิวที่ดีต้องมี “ราคา”
สำหรับ Webex Meetings มีราคาแบบ “Subscription รายปี” อยู่ที่ 8,250 บาท ราคานี้คุณจะได้ Webex Teams ที่รองรับผู้ใช้สูงสุด 5000 คน และ Webex Assistant ผู้ช่วยส่วนตัว AI ที่จะทำให้การประชุมสะดวกขึ้นมาใช้ด้วยนะครับ
และสำหรับคนทำธุรกิจที่มีพนักงานไม่เกิน 50 คน ทาง CISCO ก็มีโซโลูชันด้านการทำงานและเน็ตเวิร์กครบ ๆ จบในชุดเดียว ประกอบด้วย CISCO Webex, CISCO Meraki MX, Meraki MR รวมถึง Cloud Sercurity อย่าง Umbrella และ AMP for Endpoint ในราคาเริ่มต้น 230,000 บาท ชุดนี้เอาต่อไปใช้งานในออฟฟิศได้ทันทีเลย การเซ็ตอัปไม่ยากอย่างที่ผมทำให้ดู
หรือถ้าใครอยากเช่าซื้อหรือเช่าใช้ทาง CISCO ก็มีตัวเลือกให้ผ่อนเป็นงวด ๆ แบบ 0% นานสุดถึง 5 ปีเลยทีเดียวครับ
ใครที่สนใจผมจะขึ้นช่องทางติดต่อซิสโก้ประเทศไทยให้เป็น QR-Code ตรงนี้เลยหรือจะโทรเบอร์ 02 263 7016 ก็ได้ครับ แต่ถ้าใครไม่ทันผมจะใส่ไว้ให้ในแคปชันอีกที แนะนำให้ลองพูดคุยดูก่อนว่าความต้องการของธุรกิจคุณมีประมาณไหน เพื่อจะได้โซลูชันที่เหมาะที่สุดครับ
พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส