จำได้หรือไม่ คุณไปธนาคารครั้งสุดท้ายเมื่อไร ? ไม่ต้องแปลกใจที่คุณจะจำไม่ได้ เพราะ FINTECH หรือเทคโนโลยีการเงินที่ก้าวไปไกล ทำให้เราอยู่ห่างจากสาขาของธนาคารไปเรื่อย ๆ แต่นี่ก็เป็นสิ่งที่พวกเราไม่ได้รู้สึกติดขัดในการทำธุรกรรม เพราะทุกคนสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้ง่ายขึ้น จากทุกที่ ทุกเวลา
ส่วนตัวของผมเองแทบจะลืมไปแล้วว่าจับเงินสดครั้งสุดท้ายเมื่อไร เพราะผมเป็นคนที่ไม่ใช้เงินสดแล้ว เรียกว่า Cashless 100% จนสมาร์ตโฟนของผมได้กลายเป็นธนาคารส่วนตัว
ในตอนนี้ หลายคนก็มีชีวิตเหมือนกับผม แล้วเคยสังเกตกันไหมครับว่า ทั้งวันเราอยู่กับ Smartphone วันละหลายชั่วโมง ทำทุกเรื่องราวในชีวิตประจำวันในนั้น แล้วใช้กันกี่แอป? อย่างตัวผมเองที่ใช้ประจำขาดไม่ได้เลยคือ Super App อย่าง LINE, Grab, Facebook และอื่น ๆ สารพัดมากครับ
และพวกคุณเคยสังเกตไหมครับว่า บรรดาแอปที่พวกเราใช้กันอยู่มี KBank ทำตัวเนียน ๆ อยู่ในนั้น เรากดโอน เติม จ่าย หรือแม้กระทั่งกู้เงินได้ง่าย ๆ เหมือนยกธนาคาร KBank มาไว้ให้พวกเราใช้ได้ง่าย ๆ ขอแค่คุณมีบัญชีกับ KBank เท่านั้น ไม่ว่าจะใช้แอปไหนก็ตาม
KBank เขาบุกหนักมาก เพราะ KBank เป็นธนาคารเดียวที่พาตัวเองเข้าไปเชื่อมต่อกับ Super App หลัก ๆ ในชีวิตเรา เพื่อให้ลูกค้าได้ใช้บริการ
สิ่งที่ KBank กำลังทำอยู่ ทำให้ผมนึกถึงคำถามที่ถามกันอยู่บ่อย ๆ ว่า ธนาคารจะถูก Disrupt ไหม ผมว่า ไม่ใช่ล่ะ ที่ถูกต้องคือ KBank ไม่ได้รอให้ถูก Disrupt ครับ แต่พวกเขาได้ทำการ Disrupt ตัวเองอยู่แล้ว แถมทำมาตลอดครับ
อย่าง Social Banking ที่พูดกันสนั่นเมืองว่า จะเป็นตัวมาล้มแบงก์ คำถามดังกล่าวไม่น่าแปลกใจครับ เพราะตอนนี้ Social Banking เกิดขึ้นในประเทศไทยแล้ว จากการเปิด LINE BK คุณสามารถถอน โอน จ่ายบิล หรือแม้แต่ขอสินเชื่อได้ผ่าน LINE แอปพลิเคชันที่ทุกคนใช้ในการสื่อสาร ซึ่งตอนนี้กลายเป็น Super App ที่มีบริการแทบทุกอย่างที่คุณต้องการ ไม่ว่าจะส่งของ เรียกแท็กซี่ หรือคุยกับแม่ค้าออนไลน์ ซึ่งการที่คุณสามารถโอนเงินได้ในแอปนี้เลย ก็ทำให้การคุยกันทั้งเรื่องซื้อของออนไลน์ จ่ายค่าข้าวกลางวัน โอนเงินให้แม่ จบได้ในการแชต ไม่ต้องสลับแอปไปมา
ไม่ได้มีแค่แอปสื่อสารเท่านั้น เพราะคุณสามารถขอสินเชื่อผ่านแอปกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์อย่าง Dolfin ได้ จากบริการ Dolfin Money by KBank ซึ่งการใช้จ่ายผ่านแอป Dolfin ที่ถูกเก็บข้อมูลไว้ ได้กลายเป็นข้อมูลเชิงพฤติกรรม ที่เปรียบเหมือน Statement ที่ระบบ AI หลังบ้านเอาไปใช้พิจารณาการปล่อยสินเชื่อได้
แล้วอย่างนี้ใครจะไปใช้แอปของธนาคารกัน ? เล่ามาถึงตรงนี้ ก็ต้องบอกว่าผมกำลังพูดถึง KBank ผมมีโอกาสไปร่วมงานหลาย ๆ งานของ KBank พบว่าเขาปรับตัวเร็วมาก และไม่จำกัดตัวเองเป็นแค่ธนาคาร อีกต่อไป
เขาไปร่วมมือกับพันธมิตรทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่มีความเชี่ยวชาญต่างๆ กัน และเข้าถึงลูกค้าในหลากหลายกลุ่ม และเอาจุดแข็งที่ตัวเองมีคือ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญเรื่องดิจิทัลแบงกิ้ง และการที่เขาศึกษาข้อมูลลูกค้าจำนวนมาก ไปทำงานร่วมกับพันธมิตร เพื่อให้ได้บริการทางการเงินใหม่ๆ ที่ ‘ใช่’ และ ‘โดนใจ’ ลูกค้า
จับ concept ได้ว่า เขาจะเน้นเอาบริการทางการเงินไป serve ให้ลูกค้าในที่ที่ลูกค้าอยู่ คือวิ่งเข้าไปหาลูกค้า ไม่ได้รอให้ลูกค้าเดินมาสาขา หรือมากดแอปของธนาคารอย่างเดียว ที่เห็นชัดๆ ตอนนี้คือ เขาบุกไปในจอมือถือ ครอบคลุมไปหลายแอปฯ แล้ว ทั้ง Grab, LINE, Facebook, Dolfin และ รวมถึงไปจับพันธมิตรสร้างแอปฯ ใหม่ อย่าง FinVest ขึ้นมาด้วย
“ที่ผ่านมามีลูกค้ากองทุนรวมเพียงแค่ 300,000 จากลูกค้าธนาคารกสิกรไทย 16 ล้านราย ความร่วมมือครั้งนี้เป็นการเพิ่มบริการให้ลูกค้าของเราได้ครบถ้วนมากขึ้น”
“นักลงทุนไทย ไม่ค่อยมีทางเลือกในการลงทุนเท่าไรนัก ที่ผ่านมาทางเลือก คือ เลือกผู้จัดการ กองทุนคนไหนเป็นคนบริหารกองทุนไทย แต่ทางเลือกที่ FinVest หาให้เป็นเรื่องของการเลือก ชนิดการลงทุนใหม่ ๆ ที่อยู่ต่างประเทศ FinVest เป็นแอปที่จะมีความแตกต่างมากอยู่ และ เรื่องการเปิดบัญชีผ่านดิจิทัล สะดวกกว่าการที่จะต้องไปที่สาขาธนาคาร แต่ก็ไม่ถึงขนาดว่ากด ปุ่มเดียวแล้วสมัครได้เลย แต่อย่างไรก็จะพยายามทำให้การเปิดบัญชีง่ายที่สุด”
“ความร่วมมือนี้เป็นการตอกย้ำบทบาทการเป็นผู้ให้บริการทางการเงิน (Banking Service) เต็มรูปแบบ เป็นการผนึกความเชี่ยวชาญด้านดิจิทัลแบงกิ้งของธนาคารกสิกรไทย ผสานกับ ความเชี่ยวชาญของพันธมิตรระดับโลก และผู้เชี่ยวชาญด้านฟินเทค เพื่อทำให้บริการของ ธนาคารเข้าไปอยู่ในทุกที่ที่ลูกค้าใช้ชีวิตอยู่”
การเปลี่ยน Competition เป็น Collaboration ถือว่าเป็นเทรนด์ของการทำธุรกิจยุคนี้ ที่หลายบริษัทหันมาจับมือเป็นพาร์ตเนอร์กัน ต่างคนต่างนำสิ่งที่ตัวเองถนัดมาใช้ มากกว่ากระโดดลงไปทำสิ่งที่ตัวเองไม่คุ้นเคย ซึ่งสุดท้ายแล้วอาจจบที่แย่งลูกค้ากันเอง และโอกาสชนะนั้น… ผมบอกเลยว่ามีไม่มากครับ
ธนาคารอาจไม่จำเป็นอีกต่อไปในยุคอนาคต แต่บริการทางการเงินคือสิ่งที่ลูกค้าอย่างเรา ๆ ต้องใช้อย่างแน่นอน การปรับเปลี่ยนตัวเองของเคแบงก์จากธนาคารที่เคลื่อนตัวช้า มาสู่ความเป็นผู้ให้บริการทางการเงินแบบดิจิทัล ผมคิดว่าเราจะคาดหวังสิ่งดี ๆ จากเคแบงก์ได้อย่างแน่นอนครับ