หลายพื้นที่ได้ทำการปรับเปลี่ยนมาสู่ ระบบจ่ายไฟฟ้าใต้ดิน ที่มีความมั่นคงทางพลังงาน พูดง่าย ๆ คือไฟไม่ดับบ่อย มีความปลอดภัยสูง และทำให้ทัศนียภาพรอบ ๆ สวยงามมากขึ้น ไม่มีสายไฟมาบดบังสถานที่ท่องเที่ยว หรือ Landmark สำคัญของเมือง
แต่ระบบจ่ายไฟฟ้าใต้ดินของไทยก็ต้องเจอกับปัญหา เมื่อทางเท้าในประเทศมีขนาดเล็ก ทำให้ Unit Substation ซึ่งเป็นอุปกรณ์หลักของระบบจ่ายไฟฟ้าใต้ดินอาจกีดขวางการเดินทางของผู้คนบนทางเท้า และบางครั้งจำเป็นต้องเพิ่มพื้นที่ด้วยการตัดต้นไม้ทิ้งไป
วันนี้ GreenTech วันดี ๆ เว้นที่ให้โลก เดินทางมาที่โรงงานของ บริษัท เจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้า จํากัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย Unit Substation และหม้อแปลงไฟฟ้าที่มีชื่อเสียงระดับโลก จากประสบการณ์กว่า 50 ปีของบริษัทแห่งนี้ เขาได้คิดค้นและพัฒนา Unit Substation ที่มีขนาดเล็กที่สุด และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมครับ
ระบบจ่ายไฟฟ้าใต้ดินเป็นการนำสายไฟฟ้าและสายสื่อสารฝังไว้ใต้ดินตามแนวถนน พร้อมกับติดตั้ง Unit Substation ไว้บนทางเท้า หลายคนอาจจะกังวลว่า เมื่ออุปกรณ์หลักของระบบจ่ายไฟฟ้าลงมาอยู่บนทางเท้าแล้ว ต้องอันตรายกว่าเดิมแน่ ๆ ผมบอกได้เลยว่า ไม่เป็นความจริงครับ
เนื่องจาก Unit Substation สามารถป้องกันอันตรายที่เกิดจากการลัดวงจรของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ชำรุดได้ แต่เขาทำได้ยังไง วันนี้ผมจึงพาทุกคนมาที่โรงงานของเจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้า ผู้ผลิต Unit Substation ที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลกเพื่อหาคำตอบครับ
Unit Substation
จากเดิมสายและหม้อแปลงไฟฟ้าเคยอยู่บนเสาไฟฟ้า ตอนนี้ย้ายมาใส่ใน Unit Substation เนื่องจากมั่นคงและปลอดภัยมากกว่า
ภายใน Unit Substation ประกอบด้วย 4 อุปกรณ์สำคัญ
- Medium Voltage Switchgear อุปกรณ์ป้องกันและตัดต่อกระแสไฟฟ้าระบบแรงดันสูง
- Transformer หรือหม้อแปลงไฟฟ้า ทำหน้าที่แปลงไฟฟ้าจากแรงดันสูงสู่แรงดันต่ำ
- Low Voltage Switchboard อุปกรณ์ป้องกันและตัดต่อกระแสไฟฟ้าระบบแรงดันต่ำ
- Metal Enclosure เปลือกหุ้มทั้ง 3 อุปกรณ์ ช่วยป้องกันอันตรายจากการลัดวงจรที่มีสาเหตุจากอุปกรณ์ไฟฟ้าชำรุด หรือ Internal Arc นอกจากนี้ เปลือกหุ้มยังสามารถออกแบบลวดลายให้เหมาะสมกับสภาพภูมิทัศน์ และสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ได้อีกด้วย
ทำความรู้จัก Lahmeyer Unit Substation และหม้อแปลงไฟฟ้ารุ่น Slim
บริษัท เจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด ได้ร่วมมือกับบริษัท Lahmeyer จากประเทศเยอรมัน โดยใช้เวลากว่า 2 ปี ในการวิจัยและพัฒนา Unit Substation เพื่อตอบโจทย์ปัญหาพื้นที่ทางเท้าแคบในประเทศไทย
จากเดิม Unit Substation มีหน้ากว้าง 1,200 mm ให้เล็กลงไม่เกิน 900 mm ซึ่งถือว่าเป็นรุ่นที่เล็กที่สุดในโลกเท่าที่บริษัท Lahmeyer เคยผลิตมา และในครั้งนี้ Lahmeyer ได้ให้ลิขสิทธิ์ในการผลิตในประเทศไทย ภายใต้ชื่อแบรนด์ Lahmeyer Charoenchai
การผลิต Unit Substation ที่เป็นมิตรกับมนุษย์และสิ่งแวดล้อม
- การพัฒนา Unit Substation ให้มีขนาดเล็ก เป็นผลดีต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม
- ลดการสิ้นเปลืองวัสดุ (มีขนาดเล็กลง)
- ไม่จำเป็นต้องตัดต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่ทางเท้า
- กระบวนการผลิตปลอดภัยต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม
- ใช้หุ่นยนต์แทนมนุษย์ในการพ่นสี
- เลือกใช้สีที่สามารถเข้ากระบวนการบำบัดน้ำเสียได้
- Unit Substation ที่รองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
- สามารถถอดประกอบ และปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ภายในได้ ไม่ต้องซื้อใหม่ยกชุด ลดการสิ้นเปลืองวัสดุ
- Unit Substation และ Smart City
- Unit Substation เป็นส่วนหนึ่งที่ผลักดันให้ Smart City มีการเติบโต เนื่องจากระบบจ่ายไฟฟ้าเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ ช่วยสร้างความมั่นคงทางพลังงาน ทำให้ธุรกิจเดินหน้าได้ต่อเนื่อง ประชาชนรู้สึกอุ่นใจจากความปลอดภัยที่ได้รับจาก Unit Substation นอกจากนี้ ผลพลอยได้คือสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงาม
- ในเมื่อจะเป็น Smart City หรือเมืองอัจฉริยะแล้ว ก็ไม่ใช่เจริญเฉพาะด้านเทคโนโลยีอย่างเดียว แต่ควรเป็นเมืองที่ Smart Life ให้ผู้คนได้ใช้ชีวิตได้อย่างสะดวกสบายและปลอดภัยอีกด้วย
การมุ่งพัฒนา Unit Substation ของเจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้าไม่ใช่แค่เรื่องอุปกรณ์เท่านั้น แต่ยังมีการพัฒนา IoT มาใช้เพื่อดูแล Unit Substation ในแต่ละจุด เรียกว่าทำให้มองเห็นความผิดปกติ ก่อนที่จะเกิดปัญหาซะอีก
ระบบ IoT ที่ดูแล Unit Substation ของเจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้า
- IDT Monitoring หรือ Internet of Things for Distribution Transformers คือการนำระบบอินเทอร์เน็ตมาเชื่อมโยงข้อมูล เพื่อวิเคราะห์สถานะของหม้อแปลงไฟฟ้าแบบ Real-time
- ทำให้ช่างไฟฟ้ามองเห็นความผิดปกติ เช่น อุปกรณ์เริ่มชำรุด หรือมีความร้อนสูงผิดปกติ ทำให้สามารถแก้ไขได้ก่อนที่ปัญหาจะเกิดขึ้น
- IDT Monitoring แตกต่างจากระบบเดิม ๆ ที่ช่างไฟฟ้าต้องปีนเสาขึ้นไปดูแลหม้อแปลงไฟฟ้าเอง ทำให้มี Human Error เนื่องจากการมองผิวเผินด้วยตาเปล่า อาจบอกปัญหาได้ไม่ทั้งหมด
Unit Substation มาไกลกว่าที่ผมคิดไว้มากครับ แต่สิ่งที่ไปไกลกว่าใครคือแนวคิดของเจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้า ที่ต้องการให้ Unit Substation ไม่ใช่แค่อุปกรณ์เพื่อส่งเสริม Smart City เท่านั้น แต่ยังต้องส่งเสริม Smart Life ให้ผู้คนใช้ชีวิตได้สะดวกสบาย ปลอดภัย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งคนเดียวที่ผมคิดว่าน่าจะเสียประโยชน์กับเรื่องนี้ คงมีแต่นกเท่านั้น ที่จะไม่มีสายไฟให้เกาะอีกต่อไป
พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส