คุณผู้ชมครับ การศึกษาในปัจจุบันได้พัฒนาไปตามการเปลี่ยนแปลงของโลก ทำให้นักศึกษาได้เรียนในสิ่งที่อยากเรียน แต่เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่า “จบมาแล้วเราจะได้งานจริงไหม? วันนี้ผมจะมาแบไต๋สถาบันศึกษาที่ให้คุณได้เรียนควบคู่ทำงานจริงครับ
เรื่องการศึกษาต่อ ถือเป็นเรื่องใหญ่สำหรับเด็กหรือผู้ปกครองหลายคน ไม่ว่าจะสายสามัญ (ม.4- ม.6) หรือสายอาชีพ (ปวช. ปวส.) เมื่อเราเลือกที่เรียนแล้ว จะการันตีได้อย่างไรว่า “ได้นำองค์ความรู้ที่เรียนมา นำไปใช้ในการทำงานได้ประโยชน์สูงสุด”
วันนี้ผมจะมาแนะนำ “สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา” ที่นี่รับนักเรียนทั้งในระดับ ปวช. ปวส. และอุดมศึกษาระดับปริญญาตรี โดยมีหลักสูตรที่ตอบโจทย์การทำงานที่หลากหลาย อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ลงมือปฎิบัติงานจริงอีกด้วย น่าสนใจมาก ๆ เรื่องแบบนี้ผมจะนำเสนอคนเดียวไม่ได้ เลยพาน้อง เมย์ – ศิตาภา พาทัวร์สถานที่จริงกันครับ
ขอบคุณค่ะพี่หนุ่ย ตอนนี้เมย์อยู่ที่ “สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา” โดยปกติที่คนส่วนใหญ่จะรู้จักโรงเรียนจิตรลดา แต่สถาบันนี้เป็นส่วนขยายของโรงเรียนจิตรลดาค่ะ แล้วความเป็นมาของสถาบันนี้เป็นอย่างไร ไปฟังจากปากของอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดากันดีกว่า
อยากให้ท่านอธิการบดีเล่าที่มาที่ไปของสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา ว่ามีประวัติความเป็นมาอย่างไร?
สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดาเป็นพระราชดำริ ของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงเห็นว่านักเรียนทุกคนไม่ได้เปป็นนักวิชาการ จำนวนนึงชอบปฏิบัติการ เลยทรงเปิดโรงเรียนจิตรลดาวิชาชีพขึ้น ต่อมาก็เติบโตและเป็นสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดาที่มีพระราชบัญญัติเป็นของตัวเอง เป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งหนึ่ง มีความพิเศษตรงที่มีทั้งสายอาชีวะและปริญญาตรีอยู่ในที่เดียวกัน เน้นให้คนมาเรียนคู่ไปกับการทำงานจริง
สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา แบ่งเป็นกี่คณะ และกี่สาขา
ในปปัจจุบันมีทั้ง ปวช. ปวส. และมีคณะที่สอนปปริญญาตรี 3 คณะ คณะแรก คณะบริหารธุรกิจสาขาวิชาการจัดการธุรกิจอาหาร, คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สอนวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้า และนอกจากนั้นยังสอนผู้ที่จบ ปวส. ต่อเนื่อง, เทคโนโลยีดิจิทัล เปิดสอนหลักสูตรวิศวะกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิศวะกรรมคอมพิวเตอร์ มีทุกหลักสูตรเพื่อรองรับการทำงาน อีกเรื่องคือเราร่วมมือกับสถานประกอบการด้วย อาชีพอะไรที่อยากให้เราทำเพื่อพัฒนาบุคลากรด้วย
จากที่ฟังท่านอธิการบดีเล่าแล้ว น่าสนใจมาก ๆ โดยเฉพาะในส่วนคณะที่เปิดเรียน
เริ่มต้นจากส่วนระดับอุดมศึกษาของสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดานะคะ และที่เมย์อยู่ ณ ขณะนี้คือ คณะเทคโนโลยีดิจิทัล หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ โดยในคณะนี้จะมุ่งเน้นเรื่องการออกแบบระบบดิจิทัลขั้นสูง การพัฒนาและให้บริการระบบเว็บ และ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) จากที่เมย์เดินดูห้องเรียนและห้องปฏิบัติการต่างๆ สังเกตว่ามีอุปกรณ์ครบครันมาก ๆ เลยค่ะ
จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีดิจิทัล ไม่ได้อยู่แค่การสื่อสารอย่างเดียว แต่เข้ามาช่วยจัดการสิ่งที่ซับซ้อนให้เป็นเรื่องคล่องตัวยิ่งขึ้น และที่เมย์ทราบคือมีห้องที่จำลองการทำงานโรงงานยุคดิจิทัลด้วย
ศูนย์เรียนรู้โรงงานอัจฉริยะในยุคอุตสาหกรรม 4.0 จำลองให้เห็นชัด ๆ เลยว่าเทคโนโลยียุคใหม่เข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของอุตสาหกรรม เพื่อย่นระยะเวลาการผลิตและบรรจุภัณฑ์ได้เร็วขึ้นได้ยังไงค่ะ ซึ่งเป็นความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กับ สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา
อีกหนึ่งคณะที่น่าสนใจก็คือ คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการธุรกิจอาหาร ที่นี่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาและเข้าถึงธุรกิจอาหาร ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่การทำหน้าร้านอย่างเดียว แต่ให้ผู้เรียนได้เข้าถึงอาหารแต่ละชนิดอย่างถ่องแท้
แต่ธุรกิจอาหารจะไปรอด ก็ต้องมีการบริหารจัดการที่ดีด้วยค่ะ ที่สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดาจึงให้นักศึกษาได้จัดการร้านอาหารจริง ๆ ให้ผู้เรียนได้เชียวชาญทั้งการทำอาหารและการบริหารด้วย ติดอาวุธให้ครบมือที่สุดก่อนจบออกไป
และไม่ใช่แค่การศึกษาในระดับอุดมศึกษาอย่างเดียว ที่นี่ยังมีส่วนที่เป็นโรงเรียนจิตรลดาวิชาชีพด้วย
สาขาวิชาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และฝึกทักษะการประกอบอาหารตามหลักโภชนาการ และการสุขาภิบาลอาหารตามมาตรฐาน GMP อีกทั้งวางแผนงานบริการอาหารและเครื่องดื่ม ในการจัดงานเลี้ยงประเภทต่างๆ และมีการฝึกฝนในห้องเรียนจากครูที่มีความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ และสามารถศึกษาต่อในระดับสูงต่อไปได้
และนี่คือสาขาเทคโนโลยีสมองกลฝังตัว เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศไทย ในยุค 4.0 เป็นสาขาที่เน้นให้ผู้เรียนได้คิดค้นและประดิษฐ์นวัตกรรมเทคโนโลยีที่สามารถช่วยผ่อนแรงและส่งเสริมอุตสาหกรรมต่าง ๆ
จะเห็นได้ว่างานประดิษฐ์ของนักเรียนสาขานี้ เจ๋งมาก ๆ นอกจากจะนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับงานด้านต่าง ๆ แล้ว ยังช่วยให้การจัดการในด้านต่าง ๆ ทำได้ง่ายยิ่งขึ้น และเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนได้ทดลองทำอย่างเต็มที่ค่ะ
นอกจาก 2 สาขาวิชาทีเราได้ไปเยี่ยมชมแล้ว มีอีก 2 สาขาวิชาที่โดดเด่นไม่แพ้กัน สาขาแรกคือวิชาอุตสาหกรรม ก็จะมีวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ ช่างไฟฟ้ากำลัง ช่างกลโรงงาน และ ช่างยนต์ ซึ่งจบมาสามารถไปฝึกปฎิบัติงานได้ที่สถานประกอบการจริงได้
สาขาที่ 2 คือสาขาวิชาการสร้างเครื่องดนตรีไทย ที่นี่นอกจากจะสอนให้ผู้เรียนเล่นดนตรีไทยแล้ว ยังสอนให้สร้างและซ่อมเครื่องดนตรีไทยอีกด้วย ถือว่าเป็นสาขาวิชาที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เข้าถึงแก่นของดนตรีไทย ไม่ว่าจะเป็นการสร้างเครื่องดนตรี ศิลปะ และความประณีตที่อาจารย์ผู้สอนได้ถ่ายทอดให้กับผู้เรียน เพื่อให้ดนตรีไทยยังคงอยู่ต่อไป
สำหรับวันนี้ต้องขอขอบคุณท่านผู้อำนวยการโรงเรียนจิตรลดาวิชาชีพที่พาเมย์และทีมแบไต๋เยี่ยมชมห้องเรียนและห้องปฎิบัติงานค่ะ ขอบคุณมากค่ะ
ต้องบอกว่าเป็นสถาบันที่มีให้ผู้เรียนได้ฝึกและทดลองปฎิบัติงานจริง เพื่อให้นักศึกษาได้นำองค์ความรู้ที่ได้จากการเรียนที่นี่ไปประยุกต์ใช้ในโลกการทำงานจริง ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้เรียนต้องฝึกฝนและพัฒนา เพื่อก้าวทันโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วค่ะ
เห็นแต่ละคณะที่เมย์พาไป พี่หนุ่ยอยากย้อนวัยกลับไปเรียนใหม่จริง ๆ ต้องยอมรับว่าการศึกษาในปัจจุบันนี้มีการพัฒนาทั้งในเรื่องของเครื่องมือที่ทันสมัย หลักสูตรที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทดลองปฎิบัติอย่างเต็มที่ เพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้ในการทำงานจริง สมกับปณิธานของสถาบันคือ “เรียนคู่งาน งานคู่เรียน” ครับ
สำหรับใครที่สนใจอยากเข้าเรียนสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา ณ ตอนนี้เปิดรับสมัครแล้วนะครับ ทั้งในระดับ ปวช./ปวส. และระดับอุดมศึกษา ปริญญาตรี สามารถสมัครและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.cdti.ac.th หรือโทร 02-280-0551ครับ