“Bluebik” เตรียมเข้าเทรดในตลาดหลักทรัพย์ MAI ภายในเดือนกันยายน 2564 หลังเปิดให้บริการที่ปรึกษาด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีมา 8 ปี ซึ่ง “Bluebik” ถือเป็นหุ้นคอนซัลต์ดิจิทัลเจ้าแรกของไทย หลังบริษัทต่างชาติครองตลาดมาเนิ่นนาน แล้วจุดประสงค์ในการระดมทุนครั้งนี้คืออะไร? ทำไมบริษัทคนไทยจึงหาญกล้าท้าชนคู่แข่งระดับโลก วันนี้แบไต๋ให้รู้ครับ!

ท่ามกลางการแข่งขันที่เข้มข้นขึ้นจากความต้องการผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เข้ามาเร่งตลาดให้เกิดการปรับตัวอยู่ตลอดเวลา สิ่งเหล่านี้เรียกว่า “Digital Transformation” ผมได้เห็นหลายองค์กรที่เร่งปรับตัวไปก่อนหน้าแล้ว ตอนนี้ก็ดำเนินธุรกิจต่อไปได้สบาย ๆ ท่ามกลางการ Lockdown แต่หลายองค์กรที่ยังปรับตัวไม่ทัน ไม่ว่าด้วยความไม่พร้อมของบุคลากร หรือไม่มีความรู้เรื่องเทคโนโลยีและนวัตกรรม ผมก็ต้องบอกว่าคุณกำลังเสียโอกาสทางธุรกิจหลาย ๆ อย่างครับ

แต่มีอยู่คนหนึ่งที่เขามองเห็น Pain Point นี้ และสร้างโซลูชันขึ้นมาเพื่อให้องค์กรที่ต้องการปรับตัวในยุค “Digital Transformation” แต่ยังขาดความพร้อมในหลาย ๆ ด้าน ได้มีโอกาส ‘อีกครั้ง’ ในการเอาตัวรอด คนที่ว่าก็คือ “Bluebik” บริษัทให้คำปรึกษาด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีอย่างครบวงจร หรือ Digital Transformation Consulting Firm ซึ่งในวันนี้เขาสามารถพลิกฟื้นหลายองค์กรให้ต่อสู้ได้ในโลกยุคดิจิทัล การันตีความสำเร็จโดยการเตรียมพร้อมเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ MAI วันนี้ผมแบไต๋ ‘Bluebik’ หุ้นคอนซัลต์ด้าน Digital Transformation เจ้าแรกของไทยครับ

พูดคุยกับคุณพชร อารยะการกุล ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บลูบิค กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

เรารู้ว่า Bluebik คือบริษัทให้คำปรึกษาด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีอย่างครบวงจร (Digital Transformation Consulting Firm) ซึ่งหลายคนยังไม่ค่อยเข้าใจสิ่งนี้ สรุปแล้ว Bluebik ทำกิจการหรือให้บริการอะไรบ้าง?

คนที่ทำธุรกิจก็จะรู้อยู่แล้วในปัจจุบันมีการแข่งขันสูงมาก ทุกบริษัทกำลังเจอกระแสของดิจิทัลเข้ามาไม่ว่าเราจะเป็นบริษัทประเภทอะไรก็ตาม ธนาคาร หรือประกันภัย บริษัทค้าปลีก อสังหาริมทรัพย์ ทุกบริษัทกำลังอยู่ในช่วงที่กำลังแข่งขันและก็มีเรื่องของดิจิทัลเข้ามาเกี่ยวข้องเพราะฉะนั้นบริษัทเหล่านี้ต้องมีการปรับตัว ปรับตั้งแต่กลยุทธ ปรับวิธีการทำงาน ปรับรูปแบบธุรกิจไปจนถึงการปรับใช้เทคโนโลยี เพื่อเอาเรื่องของเทคโนโลยีเข้าไปใช้ในทุกภาคส่วน ตรงนี้ก็จะเป็นกระบวนการที่เราเรียกว่า Digital Transformation ซึ่งบริษัททุกบริษัทเรียกได้ว่ากำลังเปลี่ยนเข้าสู่ยุค Digital Transformation เราเองก็เป็นบริษัทที่ปรึกษาในด้านนี้โดยตรง จะเข้ามาช่วยให้บริษัทต่าง ๆ สามารถผ่านกระบวนการในช่วงนี้ไปได้

ลูกค้าของ Bluebik มีค่อนข้างเยอะ ตั้งแต่บริษัทขนาดใหญ่ก็จะเป็นพวกธนาคาร บริษัทประกันภัย และก็บริษัทในด้านค้าปลีก รวมไปถึงเรื่องของโทรคมนาคม ส่วนใหญ่ที่บริษัท Bluebik ไปช่วย Digital Transformation ก็เป็นบริษัท set50 set100 รวมถึงบริษัทข้ามชาติและก็มีบรัษัทในต่างประเทศด้วยที่เราเข้าไปช่วยก็มีหลายบริษัทที่ประสบความสำเร็จ ยกตัวอย่างชิ้นที่ชอบเลยก็คือบริษัท TQM โบรกเกอร์ประกันภัยที่ใหญ่ทีี่สุดในประเทศไทย ซึ่งเราทำงานกับทาง TQM ตั้งแต่เขายังไม่เข้าตลาดหลักทรัพย์ จนวันนี้เขากลายมาเป็นบริษัท Set100 ในปัจจุบัน ถ้าเทียบกันในอดีตก็จะต่างไปเยอะ ปัจจุบันจะมีช่องทางที่เรียกว่า Omni Channel มีช่องทาง In Person เป็นบุคคลที่เข้าไปเจอกับลูกค้า

ในส่วนของทีมงานต้องบอกว่า ผู้ร่วมก่อตั้ง Bluebik เป็นบุคลากรชั้นนำของโลก ซึ่งตรงนี้เป็นแรงดึงดูดชั้นดีที่จะมีเครือข่ายเน็ตเวิร์กของที่ปรึกษาที่มาจากบริษัทชั้นนำ พอเรารวมตัวกันก็จะทำให้เกิความน่าสนใจมากขึ้นและที่สำคัญ Bluebik แตกต่างจากบริษัทหลายบริษัทที่มีอยู่ในตลาดตอนนี้ คนที่เข้ามาร่วมงานกับ Bluebik เหมือนทำงานร่วมกับสิบบริษัท ไม่ต้องไปเลือกว่าจะอยู่บริษัทไหน เพราะเราทำงานให้กับหลายที่และนี่คือความแตกต่าง

ทำไม Bluebik จึงตัดสินใจเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ ทั้งที่ทั้งกระดานของประเทศไทยไม่มี Digital Transformation Consulting Firm เลย

ต้องบอกว่าธุรกิจของ Bluebik อยู่ในกระแสของ Mega Trend ของโลกอยู่แล้ว ตรงนี้เรามีอัตรการขยายตัวที่สูงมากอยู่แล้วประมาณ 20-30% ของทุกปี ถึงจุดหนึ่งเราต้องขยายตัวต่อไปอีกหลายเท่า ต้องเริ่มมีการลงทุนหลาย ๆ ส่วนเพื่อเสริมความแข็งแกร่งรองรับการขยายตัวและที่สำคัญต้องหารบริการใหม่เพื่อมาตอบโจทย์ให้กับความต้องการลูกค้าองค์กรของเรา เพราะตอนนี้บริษัทไทยไม่ได้แข่งขันกันเองแล้วเราต้องไปแข่งระดับโลก เพราะฉะนั้นสิ่งที่ Bluebik จะช่วยบริษัทไทยเหล่านั้นได้รวมถึงบริษัทต่างชาติที่เราทำงานด้วยก็คือการเสริมความแข่งแกร่งในเรื่องของบริการและผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เราจะมีการลงทุนตั้งแต่อันแรกเราก็จะมีการขยายตัวที่เพิ่มขึ้น เราก็จะมีการลงทุนในเรื่องของอุปกรณ์เรื่องของสำนักงานต่าง ๆ แน่นอนว่าเราจะต้องขยายตัวไปอีกหลาย ๆ เท่าในอนาคต

การที่เราจะไปลงทุนใน Digital Product เราต้องสร้างผลิตภัณฑ์บางอย่างซอฟต์แวร์บางอย่างที่จะทำให้องค์กรของลูกค้าเขาสามารถเอาไปใช้แล้วก็พัฒนาตัวองค์กรได้ดีขึ้น อาจจะไม่ต้องใช้บริการที่ปรึกษาของเรา 100% ก็ได้ เพราะบริการที่ปรึกษาค่อนข้างที่จะมีค่าใช้จ่ายสูง แต่การทำตัวผลิตภัณฑ์ขึ้นมาทำให้สามารถรองรับได้ทั้งเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ได้

พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส