ทุกคนต่างมีความฝันครับ บางคนอยากมีบ้าน บางคนอยากไปเที่ยวรอบโลก บางคนอยากเกษียณเร็ว ๆ แล้วไปเลี้ยงแมว ซึ่งทุกความฝันเป็นจริงได้ แต่ต้องใช้เงินครับ
ปัจจุบัน การเก็บออมไม่เพียงพออีกต่อไปแล้ว เพราะเอาชนะอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยปีละ 3% ไม่ได้ หลายคนจึงหันไปหาการลงทุนแทน โดยคนจำนวนหนึ่งเลือกลงทุนแบบ DCA (Dollar Cost Averaging) เดือนละ 2 ครั้ง คือ วันที่ 1 กับ 16 ครับ
ผมไม่อยากตัดสินว่าหวยเป็นการลงทุนที่ดีหรือไม่ แต่ข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเปิดเผยว่า มีโอกาสเพียง 0.0001% เท่านั้น ที่คุณจะถูกรางวัลที่ 1 และมีโอกาสเพียง 1.4% ที่คุณจะถูกรางวัลใดรางวัลหนึ่ง ซึ่งเป็นโอกาสที่น้อยกว่าการทายเหรียญหัว-ก้อยอีกครับ
เมื่อโอกาสไม่ถูกรางวัลมีมากกว่า ย่อมหมายถึงความเสี่ยงในการเสียเงินต้นทั้งหมดที่คุณได้ลงทุนไปบางคนอาจจะบอกว่าไม่ได้ซื้อเยอะ ก็จริงครับ แต่เมื่อนำเงินเล็ก ๆ นี้มารวมกันก็กลายเป็นเงินก้อนใหญ่ได้ หากเรานำเงินนี้ไปลงทุนเดือนละ 1,000 บาท ผ่าน ‘กองทุนหุ้นไทย’ ที่ผลตอบแทนเฉลี่ย 5.14% ต่อปี เป็นระยะเวลา 10 ปี เงินคุณมีโอกาสเพิ่มขึ้นเป็น 159,734 บาทครับ
หลายคนบอกว่าที่หันไปหาหวย เพราะว่าการลงทุนเป็นเรื่องยุ่งยากครับ เช่น ต้องมีเงินก้อนมาเปิดพอร์ต ซึ่งหลายคนที่ไม่มีก็อาจเข้าไม่ถึงการลงทุน
ปัจจุบัน การลงทุนนั้นง่ายมากขึ้นด้วยเครื่องมืออย่าง “กองทุนรวม” ที่ใช้เงินทุนเริ่มต้นไม่มาก (บาง บลจ. ก็ไม่มีการกำหนดเงินลงทุนขั้นต่ำด้วย) ทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงสินทรัพย์การลงทุนประเภทใดก็ได้ เช่น กองทุนหุ้นทั้งในและต่างประเทศ, กองทุนพลังงานสะอาด หรือแม้แต่กองทุนกัญชาที่กำลังเป็นที่นิยมอยู่ในตอนนี้ครับ
และหลาย บลจ. ก็ทำให้การลงทุนนั้นง่ายขึ้นไปอีกด้วยการให้ผู้ลงทุนอย่างเรา ๆ ดูแลพอร์ตได้เองผ่านแอปพลิเคชัน ไม่ว่าจะซื้อขาย สับเปลี่ยนกองทุน ไม่ต้องใช้เอกสาร แถมได้รับข่าวสารตลาดทุนก่อนใคร วันนี้แบไต๋ “MFC Wealth” แอปใหม่จาก บลจ.เอ็มเอฟซี เพื่อผู้ลงทุนกองทุนรวมโดยเฉพาะ!
“MFC Wealth” เป็นแอปแบบ One-Stop Service ทั้งการเปิดบัญชีแบบออนไลน์, การสมัครใช้บริการต่าง ๆ ของ บลจ.เอ็มเอฟซี, จัดการพอร์ตลงทุน, เปรียบเทียบกองทุน, ติดตามราคากองทุนที่สนใจ, ดูประวัติการจ่ายปันผลย้อนหลัง หรือแม้แต่ข่าวสารตลาดทุน ทาง บลจ.เอ็มเอฟซีก็อัปเดตให้คุณก่อนใคร โดยความสามารถเหล่านี้ถูกแบ่งเป็นฟีเจอร์ต่าง ๆ ที่เข้าใจง่ายภายในแอป “MFC Wealth” เราไล่เรียงให้ดูกันทีละข้อเลย!
ฟีเจอร์แรก “Wealth Journey” การจำลองแผนการลงทุน ที่ช่วยให้คุณมองเห็นภาพรวม ความเสี่ยง และเงินทุนที่ควรเตรียมไว้ ฟีเจอร์นี้จะช่วยคุณจำลองแผนการลงทุน เช่น เงินล้านแรก, การวางแผนเกษียณ หรือแผนออมเงินอื่น ๆ พร้อมคำแนะนำการปรับพอร์ต และกองทุนที่เหมาะสมตามระดับความเสี่ยงที่คุณรับได้
หากคุณยังไม่แน่ใจว่าตัวเองควรตั้งเป้าหมายอย่างไร ฟีเจอร์ “Wealth Journey” ยังมีสัดส่วนพอร์ตแนะนำที่แบ่งตามระดับความเสี่ยงคือ ต่ำ, ปานกลาง และสูง ให้คุณดูเป็นแนวทางอีกด้วย ถ้าคุณถูกใจพอร์ตไหน ก็เลือกปรับพอร์ตการลงทุนได้ทันที หรือจะทดลองปรับสัดส่วนวางแผนการลงทุนก่อนลงทุนจริงก็ได้ครับ
สิ่งถัดมาที่สำคัญในการลงทุนคือ “ข่าวสารและข้อมูล” ครับ โดย ฟีเจอร์ “MFC Avenue” จะช่วยคุณอัปเดตข้อมูลข่าวสารทางด้านการลงทุนทั้งในไทย และต่างประเทศ, ข้อมูลกองทุนรายตัว, บทวิเคราะห์ รวมถึงเทรนด์รอบโลกที่คุณควรรู้ครับ ซึ่ง บลจ.เอ็มเอฟซี ก็อัปเดตข้อมูลที่น่าสนใจอย่างสม่ำเสมอทั้งในรูปแบบวิดีโอและบทความครับ
แอปพลิเคชัน “MFC Wealth” ยังอัดแน่นไปด้วยฟีเจอร์เพื่อการลงทุนอีกมาก โดยผมขอแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
กลุ่มแรก! ฟีเจอร์รวบรวมข้อมูล เช่น
- กองทุนลดหย่อนภาษี : ฟีเจอร์รวบรวมข้อมูลของกองทุน RMF และ SSF โดยเฉพาะ ช่วยให้คุณศึกษาข้อมูลเพื่อวางแผนการลดหย่อนภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งสรุปยอดเงินลงทุน และแจ้งเตือนหน่วยลงทุนที่ครบเงื่อนไข
- เปรียบเทียบกองทุน : ฟีเจอร์สำคัญที่ช่วยคุณเปรียบเทียบข้อมูลกองทุนได้สูงสุด ครั้งละ 2 กองทุน ทำให้คุณได้ศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุนจริง สะดวกและรวดเร็วโดยไม่ต้องออกจากแอปไปหาข้อมูลเพิ่ม
- ปฏิทินกองทุน : ฟีเจอร์แจ้งเตือนวันสำคัญต่าง ๆ เช่น วันหยุดกองทุนต่างประเทศ, วันจ่ายเงินปันผล หรือช่วงเวลา IPO ของกองทุนใหม่
กลุ่มที่สอง ฟีเจอร์เพื่อการบริหารจัดการพอร์ต เช่น
- กองทุนติดตาม : ฟีเจอร์ที่ช่วยติดตามกองทุนที่คุณชื่นชอบอย่างใกล้ชิด โดยคุณสามารถตั้งค่าจากตัวเลขกำไร, ขาดทุน หรือมูลค่าหน่วยลงทุน เพื่อให้ระบบแจ้งเตือนเมื่อถึงเป้าหมายที่ต้องการ
- วางแผนซื้อกองทุน DCA : ฟีเจอร์ที่ช่วยสร้างวินัยการออมด้วยการวางแผนซื้อกองทุนอัตโนมัติ ช่วยคุณลงทุนได้อย่างสม่ำเสมอ
- เงินปันผล/ขายคืนอัตโนมัติ : ฟีเจอร์ที่รวบรวมข้อมูลเงินปันผล และการขายคืนอัตโนมัติจากทุกกองทุน สามารถดูย้อนหลังได้ หมดกังวลเรื่องการลืม
ฟีเจอร์ใน “MFC Wealth” ยังไม่หมดแค่นี้ แต่ถ้าให้อธิบายต่อคลิปนี้จะยาวมาก ๆ ครับ ผมจึงอยากให้คุณได้ทดลองใช้งานด้วยตัวเอง ซึ่งวิธีการเปิดบัญชีกองทุนผ่านออนไลน์ของ “MFC Wealth” นั้นไม่ยากเลย คุณไม่จำเป็นต้องซื้อกองทุนทันทีเพื่อเริ่มใช้งาน และไม่ต้องใช้เอกสารเป็นแผ่น ๆ ครับ
โดยก่อนการเริ่มต้นเปิดบัญชีกองทุนผ่านออนไลน์นั้น ผมแนะนำให้คุณเตรียมความพร้อมก่อน คือ ลงทะเบียนใช้งาน NDID ให้เรียบร้อย (beartai ทำคลิปสอนไว้แล้ว ย้อนดูได้เลยครับ) และเตรียมบัตรประชาชนไว้ใกล้ ๆ มือ และอยู่ในห้องที่มีแสงเพียงพอครับ
แอป “MFC Wealth” สามารถใช้งานได้ทั้งระบบปฏิบัติการ iOS และ Android ครับ เมื่อดาวน์โหลดเสร็จแล้วเลือกเมนู “เปิดบัญชี” กรอกข้อมูลให้เรียบร้อย, ถ่ายรูปตัวคุณเอง, ถ่ายรูปบัตรประชาชน, กรอกที่อยู่ ,ข้อมูลบัญชีธนาคาร และทำแบบประเมินความเสี่ยงครับ
เมื่อจบกระบวนการนี้แล้ว คุณสามารถเลือกยืนยันตัวตนได้ 2 วิธีครับ วิธีแรกคือผ่านบริการเคาน์เตอร์เซอร์วิสของร้าน 7-11 (ยกเว้นสาขาในสนามบิน) และวิธีที่ 2 คือบริการ NDID ครับ ซึ่งปัจจุบัน ทาง บลจ.เอ็มเอฟซี เชื่อมบริการ NDID ไว้กับ 4 ธนาคาร คือ ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา และธนาคารไทยพาณิชย์
ซึ่งวิธีหลังนี้ผมแนะนำมากกว่า เพราะไม่ต้องออกจากบ้าน แถม บลจ.เอ็มเอฟซี ก็จะได้รับข้อมูลทันที ทำให้เปิดบัญชีได้เร็วขึ้นครับ
ข้อสังเกต
รีวิวที่ดีของ beartai เราให้ข้อสังเกตไว้เสมอครับ โดยข้อสังเกตของ “MFC Wealth” คือ คุณไม่สามารถซื้อขาย หรือสับเปลี่ยนกองทุนข้าม บลจ. ได้ครับ จะมีเพียงกองทุนของ บลจ.เอ็มเอฟซี เท่านั้นที่มีให้เลือกดูข้อมูลทางการลงทุน
ซึ่ง บลจ.เอ็มเอฟซี ได้ทดแทนข้อจำกัดนี้ ด้วยการเพิ่มความหลากหลายให้กับกองทุนของตนเอง ทั้งการออกกองทุนแบบธีม (Trendy Thematic Funds) เช่น กองทุนกัญชา (MCANN) และกองทุนพลังงานสะอาด (MRENEW) ซึ่งตัวหลังนี้ขอบอกว่าน่าสนใจมากครับ เพราะ บลจ.เอ็มเอฟซี คือเจ้าแรกในไทยที่ออกกองทุนในธีมนี้ และได้รับความสนใจจากนักลงทุนเป็นจำนวนมากครับ
พิเศษ! สำหรับช่วงเปิดตัว ลูกค้าที่ไม่เคยมีบัญชีกองทุนรวมของ บลจ.เอ็มเอฟซี เพียงดาวน์โหลดและเปิดบัญชีกองทุนออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน “MFC Wealth” ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2564 รับฟรี! Starbucks e-Coupon มูลค่า 200 บาทครับ
ผู้ที่สนใจสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.mfcfund.com หรือโทร 0-2649-2000 กด 0 ครับ
ผลตอบแทนในอดีต มิได้รับประกันถึงผลตอบแทนในอนาคต ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน