แม้โรคหืดจะเป็นโรคเรื้อรังที่ควบคุมได้ แต่การแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งเป็นไวรัสที่ส่งผลโดยตรงต่อระบบทางเดินหายใจ ก็ทำให้ผู้ป่วยโรคหืด เสี่ยงที่จะเกิดอันตรายมากกว่าคนทั่วไป

แน่นอนว่าสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย หรือพูดง่าย ๆ ก็คือสมาคมแพทย์โรคทรวงอก ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ ปรับเปลี่ยนมาตรการการรักษาจากเชิงรับ เป็นเชิงรุก ถึงตัวผู้ป่วยมากขึ้น และวิธีการของเขาเป็นอย่างไร ให้ ต้าร์ คมสัน พาทุกคนไปแบไต๋กันครับ 

ก่อนอื่นต้าร์ขอเล่าก่อนว่าโรคหืดคืออะไร… โรคหืดคือโรคที่หลอดลมมีการตีบแคบ เนื่องจากหลอดลมอักเสบเรื้อรัง เลยทำให้หลอดลมไวต่อสารกระตุ้นต่าง ๆ

ซึ่งสาเหตุก็มีทั้งจากกรรมพันธุ์ ทั้งจากการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของอากาศ และการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์และจิตใจ 

ส่วนการรักษาโดยทั่วไปก็คือการทานยาขยายหลอดลม แล้วก็พ่นยา รวมไปถึงการนอนหลับให้เพียงพอ ทานอาหารที่มีประโยชน์ แล้วก็ออกกำลังกายที่เหมาะสม

แต่ด้วยสถานการณ์โควิด-19 ก็ทำให้โรคนี้อันตรายมากยิ่งขึ้น ทำให้สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ร่วมมือกับ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือดีป้า และบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด ในการทำแอปพลิเคชันขึ้นมา 1 ตัว สำหรับบุคคลกรทางการแพทย์ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลผู้ป่วย นั่นก็คือ Asthma Excellence Mobile Application

แล้วตอนนี้นะครับ ต้าร์ก็อยู่กับคุณหมอ กุลเชษฐ์ เกษะโกลมล นะครับ ผู้ซึ่งได้ใช้แอปพลิเคชันนี้โดยตรงเลยครับ สวัสดีครับคุณหมอครับ

สวัสดีครับผมนายแพทย์กุลเชษฐ์ เกษะโกมลนะครับ เป็นแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวครับ

หมอครับ แล้ว Asma Excellent Mobile แอปพลิเคชันนี้ จริง ๆ แล้วสามารถทําอะไรได้บ้างครับ?

จริง ๆ แอปพลิเคชันตัวนี้ ก็ตอบโจทย์ทั้งหมดของการรักษาโรคหืดเลย ตั้งแต่การวินิจฉัย การประเมิน การปรับยา การทบทวน นอกจากนี้ยังมีแบบฟอร์มส่งผู้ป่วยที่มีอาการหนักหรือควบคุมไม่ได้ไปยังผู้เชี่ยวชาญต่อ มีความรู้ให้กับคุณหมอหรือว่าบุคลากรทางการแพทย์อื่น ๆ ที่ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันนี้มาด้วย ไม่ว่าจะเป็นแนวทางการรักษามาตรฐาน ของต่างประเทศของไทย แล้วก็มีแนะนําการใช้ยาสําหรับผู้ป่วยสําหรับผู้ป่วย ก็เรียกว่าครบทุกอย่างเลย

คุณหมอได้ใช้มาด้วยตัวเอง อยากจะให้คุณหมอโชว์สักหน่อยได้มั้ยครับ? ว่ามันใช้งานยังไง? หน้าตาเป็นยังไง?

ยินดีเลยครับ หน้าตาของแอปพลิเคชัน เปิดเข้ามา ก็จะเป็นส่วนที่ใช้บ่อย ๆ เยอะๆ แบบนี้ อันนี้คือการวินิจฉัย ใส่ข้อมูลไปเลย ว่าเป็นยังไงบ้าง? เครื่องเข้าแอปพลิเคชันก็จะประมวลผลให้ว่าเป็นโรคหืดหรือเปล่า?

โอ้โห! ท่านผู้ชมครับ คือคุณหมอกดเข้ามา มั่นใจมาก ๆ ว่าจิ้มไม่เกินสิบครั้งจริง ๆ นี่ได้ออกมาเลยว่าเป็นโรคหืด คือเร็วมาก ๆ นอกจากนี้ทําอะไรได้อีกบ้างครับ?

นอกจากเร็วแล้วผมยังมั่นใจด้วยครับว่าถูกต้องแน่นอน นอกจากนี้นะครับ ก็ยังมีเรื่องของการประเมินว่าตอนนี้เราดูแลคนไข้ควบคุมอาการได้ดีมากน้อยแค่ไหน สมมุติว่าเราควบคุมตอบคําถามเหมือนเดิม แล้วก็กดประเมินผลครับ อาการควบคุมยังไม่ได้ อาจจะต้องปรับยาเพิ่ม

ถ้าควบคุมไม่ได้อย่างนี้ตัวแอปพาเราไปต่อได้ไหมครับ

ได้ครับ ตัวแอปเขาจะบอกเลยครับว่า เราจะต้องเลือกยาแบบไหนถึงจะเหมาะกับคนไข้ ก็จะใช้มาตรฐานการรักษาเป็น GINA 2021 ซึ่งจะแบ่งเป็นของผู้ใหญ่แล้วก็เด็กด้วย เราก็เลือกของผู้ใหญ่ เขาก็จะมีแบบคําถามมา เราก็ตอบคําถามไปครับ เสร็จแล้ว กดคํานวณ แอปพลิเคชันก็จะบอกมาเลยครับว่า ควรจะเลือกยาอะไร ซึ่งในแนวทางการรักษาเขาจะแบ่งเป็น 2 แบบนะครับ ครับ ก็คือแบบที่แนะนํากับแบบทางเลือกนะครับ อย่างนี้เราก็เลือกเอาแบบที่แนะนําน่าจะดีกับคนไข้ เราก็เลือกนะครับ ยาในกลุ่มที่ควบคุมอาการ. และก็ยาในกลุ่มบรรเทาอาการ เราก็เลือกยาเสร็จแล้ว เราก็กดเสร็จสิ้น แอปพลิเคชันเขาก็จะรายงานผลออกมาเลยครับ ว่าเป็นยังไงบ้าง เป็นคนไข้ประเภทไหน? คุมยังไง? ใช้ยาอะไร? อย่างนี้นะครับ

ง่ายมาก ๆ เลยนะครับ อันนี้คือเท่าที่ต้าร์ดูเมื่อสักครู่นะครับจะบอกว่าในส่วนของ UX UI มันดูใช้งานง่ายมาก หน้าตาดูสะอาดตามากนี่กดไม่กี่คลิกนะครับ ก็สามารถได้เป็นผลลัพธ์ เป็นผลออกมาเลย อันนี้ถ้า ถ้าคิดว่าจะได้ประโยชน์ทั้ง ในส่วนของคุณหมอที่เอาไปใช้งานจริง ๆ มันประหยัดเวลาขึ้นมาเยอะเลย แล้วก็แม่นยําด้วย แล้วอีกอย่าง ถ้าคิดว่าในส่วนของผู้ป่วยเองก็จะได้รับประโยชน์จากที่คุณหมอสามารถทํางานไวขึ้น แม่นยําขึ้น

ซึ่งก็อยากจะให้หลาย ๆ ท่านที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้แอปพลิเคชันนี้ไปใช้นะครับแล้วจะพบว่ามันเปลี่ยนชีวิตจริง ๆ นะครับมันทําให้การดูแลผู้ป่วยง่ายขึ้น แล้วเราก็ทํางานสบายขึ้นด้วยนะครับ รวมถึงจากประสบการณ์ผม คนไข้ผม ควบคุมโรคได้ดีขึ้นด้วยนะครับ เนื่องจากการดูแลมันครอบคลุมมากขึ้นนะครับ ก็วันนี้นะครับ. ก็ขอขอบคุณทาง
นายแพทย์กุลเชษฐ์ ด้วยนะครับ ที่เข้ามาให้ความรู้ ทั้งในเรื่องของตัวโรคหอบหืด แล้วก็ตัว Asma Excellent Mobarceation วันนี้ครับ ขอบคุณมากครับผม

โรคหืดก็ถือเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่มองข้ามไม่ได้เลย จากข้อมูลของ worldlifeexpectancy.com เว็บไซต์เกี่ยวกับสถิติด้านสุขภาพ พบว่าคนไทยเสียชีวิตจากโรคหืดคิดเป็นอัตราส่วน 3.43 ต่อประชากร 100,000 คนเลย

ซึ่งการมาของ Asthma Excellence Mobile Application แอปพลิเคชันสำหรับบุคคลากรทางการแพทย์ในการดูแลผู้ป่วยโรคหืด ก็อาจเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยลดจำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ได้

ที่สำคัญแอปฯ นี้เป็นนวัตกรรมโดยคนไทยด้วยนะครับ ซึ่งตอนนี้ก็เปิดให้โหลดแล้วทั้ง iOS และ Android บุคคลากรทางการแพทย์โหลดกันได้เลย!

พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส