หลังจากที่เซต Outlaws of Thunder Junction ส่วนเสริมล่าสุดที่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อเมษายนที่ผ่านมา ที่นอกเหนือจากจะได้เห็นตัวละครหน้าคุ้นในชุดคาวบอย (Oko ตัวหน้าซองเซตนี้ เป็นต้น), เนื้อเรื่องบทสุดท้ายของ Omenpath Arc, รูปการ์ดที่มาในแนวหนังสือพิมพ์หน้าหนึ่งและใบประกาศจับในธีม Wild West และแมคคานิคใหม่ ๆ สนุกไปกับการวางแผนเสมือนทำภารกิจออกปล้น (Outlaw, Spree, Plot, Crime และ Saddle) ตอนนี้ทาง MTG ก็ได้ออก Commander Deck ฟอร์แมตสำหรับก๊วนปาร์ตี้ให้ซัดกันมันถึง 4 Deck ซึ่งจะมีอะไรรายละเอียดอะไรบ้าง ตามมาดูในบทความรีวิวนี้กันได้เลยครับ
แต่ก่อนจะแวะไปอาหารจานหลัก เรามาดูกันกับ Play Booster ของ Outlaws of Thunder Junction ล็อตใหม่นี้กันก่อน โดย 1 กล่องจะมีทั้งหมด 36 ซอง และใน 1 ซองจะมีการ์ด 15 ใบ มีการันตีการ์ดฟอยล์ 1 ใบ, การ์ดระดับ Rare หรือ Mythic Rare อย่างน้อย 1 ใบ และก็ยังสามารถลุ้นหาการ์ดแบบพิเศษเป็นรูปหนังสือพิมพ์หน้า 1 ที่การันตี 1 ใบต่อซอง, การ์ดกรอบพิเศษใบล่าค่าหัว, The Vault การ์ดระดับ Mythic Rare และการ์ดไร้กรอบเห็นงานภาพของการ์ดนั้น ๆ กันแบบเต็มใบ
สิ่งที่จะได้รับจาก Commander Deck
- การ์ดจำนวน 100 ใบ (จำนวนตามฟอร์แมต Commander) จำแนกเป็น
- การ์ดฟอยล์ Legendary Creature ที่เป็น Commander หลักของเด็คนั้น ๆ พร้อมงานภาพแบบ Borderless 1 ใบ
- การ์ดฟอยล์ Legendary Creature ที่เป็น Commander ทางเลือกสำหรับเด็คนั้น ๆ พร้อมงานภาพแบบ Borderless 1 ใบ
- การ์ดทั่วไป 98 ใบ
- การ์ด Double-sided Token จำนวน 10 ใบ
- กล่องใส่เด็ค
- Life Wheel (ไว้คอยนับจำนวน Life Point ที่ลดหรือเพิ่ม)
- Collector Booster Sample Pack 1 ซอง (บรรจุการ์ด 2 ใบ)
- Counter +1/+1 x 6
สำหรับใครที่ไม่รู้จักหรือไม่เคยเล่นฟอร์แมต Commander มาก่อน นี่คือฟอร์แมตที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อสนุกกับเพื่อน 4 คน เพราะจะมีเรื่องของการต่อรอง การเจรจา และพลังมิตรภาพ ว่าง่าย ๆ คือน้อง ๆ บอร์ดเกมเลย และอีกความสนุกคือ เราสามารถนำการ์ดที่ไม่สามารถเล่นได้จากฟอร์แมตทั่วไปมาเล่นได้ (เช่น บางใบที่มีค่าร่ายสูง ๆ หรือ Creature ตัวใหญ่) โดย Commander ประกอบไปด้วยการ์ด 100 ใบในเด็ค และจะมี 1 ใบที่เป็น Commander จะต้องมีสถานะ Legendary เท่านั้น (เหมือนตัวแทนของแม่ทัพ) ส่วนอีก 99 ใบ ประกอบไปด้วยการ์ดจากสีหลักของ Legendary ใบนั้น และใส่ซ้ำกันได้เพียงแค่ 1 ใบเท่านั้น ยกเว้น แลนด์ปกติ (Basic Land) สามารถใส่ซ้ำกันได้ เอาเป็นว่าทางเว็บเราเคยลงรายละเอียดเกี่ยวกับฟอร์แมตนี้ไว้แล้วกดไปได้เลย
อธิบายแมคคานิค Bounty
ทีนี้จะขออธิบายเกี่ยวกับแมคคานิคสำหรับฟอร์แมต Commander จากเซต Outlaws of Thunder Junction เสียหน่อย นั่นคือ Bounty ที่จะเป็นเหมือนภารกิจย่อม ๆ เสริมฟีลการเล่นให้มีความเป็นปาร์ตี้เกมเพิ่มมากขึ้น โดยผู้เล่นทุกคนจะต้องแบ่งการ์ด Bounty มารวมในกองกลาง Bounty ให้ได้ 6 – 12 ใบ (ใน Commander Deck แต่ละเซตจะให้มากล่องละ 3 ใบ) จากนั้นภารกิจล่าค่าหัวจะเริ่มต้นในเทิร์นที่ 3 ของเกม หากผู้เล่นทำภารกิจสำเร็จในเทิร์นของตัวเอง ก็จะได้รับรางวัลเป็น Treasure Token ที่เมื่อ Tap จะเป็นการทำลายการ์ด (Sacrifice) เพื่อได้รับมานาสีใดก็ได้ 1 สี แต่หากผู้เล่นไม่สามารถทำภารกิจได้สำเร็จ รางวัลก็จะกลายเป็นระดับถัดไปที่ให้เยอะขึ้น (ในระดับที่ 2 จะได้ Treasure Token ถึง 2 ชิ้นเลยทีเดียว แถมระดับ 3 กับ 4 ก็ใช่ย่อย!) และผู้เล่นคนต่อมาที่ภารกิจสำเร็จก็ได้รับรางวัลระดับล่าสุดไปครอบครอง แต่จนแล้วจนรอด หากยังไม่มีผู้เล่นคนไหนทำภารกิจสำเร็จ การ์ด Bounty ใบนั้นจะต้องทิ้งไปแล้วสับกองการ์ด Bounty เพื่อหาใบใหม่มาแทน
ทางด้านภารกิจก็จะไม่ได้ยากหรือง่ายเกินไป เป็นแอ็กชันที่ผู้เล่นจะต้องทำในการเล่นอยู่แล้วไม่จังหวะใดก็จังหวะหนึ่งของเกม แต่แค่ Bounty จะเป็นเหมือนการเร่งแอ็กชันนั้น ๆ ให้เกิดเร็วขึ้น โดยที่เราจะได้รางวัลตอบแทน เช่น หากในเทิร์นผู้เล่นเราสั่ง Creature ที่ควบคุมอยู่แค่ตัวเดียวโจมตีก็จะได้รางวัล หรือหากในเทิร์นของผู้เล่นมีการ์ด 4 ประเภทขึ้นไปในสุสานก็จะได้รับรางวัล เป็นต้น
ความเก่ง เจ๋ง เฮ้ว ของทั้ง 4 Commander Deck!
Quick Draw
มาเริ่มกันที่เด็ค Quick Draw ใช้มานาสีฟ้าและแดง ที่จะเน้นความรวดเร็วฉับไว เน้นการร่ายการ์ดเวทมนตร์ Instant กับ Sorcery ได้บ่อย มี Creature ที่มีความสามารถ Flash (ร่ายเมื่อไหร่ก็ได้) ฯลฯ โดย Commander ของเด็คที่จะเสริมให้การเล่นชัดเจนก็คือ Stella Lee, Wild Card ใช้มานาสีแดง 1 สีฟ้า 1 และสีใดก็ได้ 1 ที่มีความสามารถคือ เมื่อไหร่ก็ตามที่เราร่ายการ์ดครั้งที่ 2 ในแต่ละเทิร์น นำการ์ดใบบนสุดของกองจั่ว (Library) ออกนอกเกม (Exile) จนกว่าจะถึงเทิร์นถัดไปของผู้เล่นจะสามารถนำการ์ดใบนั้นมาใช้ได้ ส่วนความสามารถ Tap จะเป็นการก๊อบปี้การ์ด Instant หรือ Sorcery ที่เราเป็นฝ่ายใช้งาน โดยสามารถเลือกก๊อบปี้ความสามารถของการ์ดใบใหม่ได้เมื่อใช้ Tap อีกครั้ง ซึ่งความสามารถนี้จะใช้ได้ก็ต่อเมื่อเรามีการร่ายการ์ด 3 ครั้งขึ้นไปในเทิร์นเดียวกัน
ส่วนนี่คือตัวอย่างของการ์ดในเด็ค ตัวแรกจะเป็น Thunderclap Drake ใช้มานาสีฟ้า 1 และมานาสีใดก็ได้ 1 ความสามารถแรกคือ Flying (อีกฝั่งไม่สามารถนำ Creature มาป้องกันการโจมตีได้ หากไม่ใช่ Flying เหมือนกัน หรือมีความสามารถ Reach) ความสามารถที่ 2 คือการ์ดเวทมนตร์ Instant และ Sorcery ใช้มานาร่ายน้อยลง 1 และความสามารถที่ 3 จ่ายมานาสีใดก็ได้ 2 และมานาน้ำ 1 เพื่อทำลายการ์ดใบนี้ (Sacrifice) ครั้งถัดไปเมื่อผู้เล่นร่ายการ์ดเวทมนตร์ Instant หรือ Sorcery ในเทิร์นนี้ ก๊อบปี้ใบดังกล่าวตามการร่าย Commander ลงมาในสนามจาก Commander Zone
ถัดมา Crackling Spellslinger ใช้มานาสีแดง 2 และมานาสีใดก็ได้ 3 ความสามารถแรก Flash (ลงตอนไหนก็ได้) เมื่อการ์ดใบนี้ลงสนามด้วยการร่าย การ์ดเวทมนตร์ Instant และ Sorcery ที่ใช้ในเทิร์นนี้จะได้รับความสามารถ Storm (ก๊อบปี้การ์ดแต่ละใบที่ร่าย โดยผู้เล่นสามารถเลือกการ์ดเวทมนตร์ใหม่ที่ต้องการจะก๊อบปี้ได้)
ตัวอย่างสุดท้าย Lock and Load การ์ดเวทมนตร์ Sorcery ใช้มานาสีฟ้า 2 และสีใดก็ได้ 1 ความสามารถคือ จั่วการ์ดได้ 1 ใบ จากนั้นจั่วเพิ่มตามจำนวนการ์ด Instant หรือ Sorcery ที่ร่ายในเทิร์นนี้ กับอีกความสามารถ Plot ที่จะต้องใช้มานาสีฟ้า 1 และสีใดก็ได้ 3 แล้วนำใบนี้ออกนอกเกม (Exile) จากบนมือ และสามารถใช้ใบนี้อีกครั้งได้โดยไม่เสียมานา (แต่ต้องใช้ภายใต้ความสามารถการ์ดประเภท Sorcery เหมือนเดิม)
Most Wanted
ต่อกันกับเด็ค Most Wanted ที่มีความยืดหยุ่นในการเล่นสูง ด้วยการเล่นแร่แปรธาตุการ์ด Token ต่าง ๆ มาปรับใช้เสริมความเก่งให้กับการเล่น ใช้มานาสีแดง ขาว และดำ โดย Commander ของเด็คตามหน้ากล่องเลยคือ Olivia, Opulent Outlaw ใช้มานาสีแดง 1 ขาว 1 ดำ 1 และสีใดก็ได้ 1 มีความสามารถ Flying (อีกฝั่งไม่สามารถนำ Creature มาป้องกันการโจมตีได้ หากไม่ใช่ Flying เหมือนกัน หรือมีความสามารถ Reach), Lifelink (เมื่อทำความเสียหายได้ เพิ่มพลัง Life Point ผู้เล่นเท่ากับพลังโจมตีของการ์ดใบนี้) และเมื่อไหร่ก็ตามที่การ์ด Creature ประเภท Outlaw (Assassins, Mercernaries, Pirates, Rogues และ Warlocks) ที่ผู้เล่นควบคุม สร้างความเสียหายใส่ผู้เล่นคนอื่น จะได้ Treasure Token 1 ใบ และหากจ่ายมานาสีใดก็ได้ 3 จะเป็นการทำลาย Treasure Token 2 ใบ เพื่อเปลี่ยนเป็น Counter +1/+1 จำนวน 2 ชิ้น ให้กับการ์ด Creature ที่เราควบคุมอยู่ได้โดยจะแอ็กทิฟในรูปแบบของการ์ดเวทมนตร์ Sorcery
ส่วนตัวอย่างการ์ดในเด็คที่นำเสนอความยืดหยุ่นในการเล่นจะได้แก่ Charred Graverobber ใช้มานาสีดำ 1 และมานาสีใดก็ได้ 2 มีความสามารถคือเมื่อการ์ดใบนี้เข้าสู่สนาม เลือก 1 Creature ประเภท Outlaw (Assassins, Mercernaries, Pirates, Rogues และ Warlocks) จากสุสานขึ้นมือ กับอีกความสามารถ Escape เป็นการจ่ายมานาสีดำ 2 และมานาสีใดก็ได้ 3 เพื่อนำการ์ดจากสุสาน 4 ใบออกจากเกม (Exile) เพื่อให้การ์ดใบนี้กลับเข้ามาในสนาม และการ์ดใบนี้จะได้รับ +1/+1 Counter
ใบถัดมา Dead Before Sunrise การ์ดเวทมนตร์ Instant (ใช้ตอนไหนก็ได้) มีค่าร่ายมานาสีแดง 1 และสีใดก็ได้ 3 เมื่อจบเทิร์น Creature ประเภท Outlaw (Assassins, Mercernaries, Pirates, Rogues และ Warlocks) ที่ผู้เล่นควบคุมอยู่ได้รับ +1/+0 และได้รับความสามารถ Tap ที่จะทำให้ Creature ใบดังกล่าวสร้างความเสียหายเท่ากับพลังโจมตีของ Creature เป้าหมาย
ใบสุดท้าย We Ride at Dawn การ์ดเวทมนตร์ประเภทสวมใส่ให้กับ Creature ใช้มานาสีขาว 1 และสีใดก็ได้ 2 โดยใบนี้จะใช้ได้แค่กับ Legendary Creature (หรือก็คือ Commander ในฟอร์แมตนี้) ที่จะทำให้การ์ดที่สวมใส่ใบนี้มีความสามารถ Convoke เป็นการ Tap เพื่อช่วยจ่ายค่าร่าย 1 มานาสีของการ์ด Creature ใบอื่นที่ผู้เล่นต้องการจะร่ายลงสนาม และเมื่อ Commander ทำการโจมตี จะได้ Token Creature Red Mercenary พลังโจมตี +1 / เลือด +1 ที่มีความสามารถ Tap เพื่อเพิ่มพลังโจมตี +1 / เลือด +0 ให้กับ Creature ที่เราเลือกจนจบเทิร์น โดยจะแอ็กทิฟในรูปแบบของการ์ดเวทมนตร์ Sorcery
Desert Bloom
เด็คที่เน้นการเสียสละการ์ดเพื่อรอผลลัพธ์ที่งอกเงย ใช้มานาสีขาว เขียว และแดง โดย Commander ของเด็คตามหน้ากล่องเลยคือ Yuma, Proud Protector ใช้มานาสีแดง 1 ขาว 1 เขียว 1 และสีใดก็ได้ 5 ฟังดูเหมือนใช้เยอะ แต่ความสามารถแรกเลยคือการ์ดใบนี้จะลดค่าร่ายมานาสีใดก็ได้ลง 1 ตามจำนวนการ์ดแลนด์ในสุสาน ความสามารถถัดมา เมื่อการ์ดใบนี้เข้าสู่สนามหรือโจมตี เราสามารถทำลาย (Sacrifice) การ์ดแลนด์เพื่อจั่วการ์ดได้ และความสามารถสุดท้ายเมื่อการ์ด Desert (การ์ดแลนด์ประเภทหนึ่ง) ถูกลงไปยังสุสานจากแอ็กชันรูปแบบใดก็ได้ เราจะได้ Token Creature Plant Warrior พลังโจมตี 4 / เลือด 2 พร้อมความสามารถ Reach (ป้องกัน Creature ที่มีความสามารถ Flying ได้) ลงมาในสนาม
ส่วนตัวอย่างการ์ดที่มีความสัมพันธ์ในแมคคานิคการเล่นของเด็คนี้ ได้แก่ Dune Chanter ใช้มานาสีเขียว 1 และมานาสีใดก็ได้ 2 ความสามารถแรก Reach (ป้องกัน Creature ที่มีความสามารถ Flying ได้) ความสามารถถัดมา แลนด์ของผู้เล่นทั้งในสนามและไม่ได้อยู่ในสนามจะถูกเพิ่มประเภท Desert เข้าไป และแลนด์ที่เรามี จะได้รับความสามารถ Tap ในการเพิ่มมานาสีใดก็ได้ 1 แต้ม ส่วนความสามารถ Tap ของการ์ดใบนี้ จะเป็นการทิ้งการ์ด 2 ใบจากกองจั่ว (Mill) โดยผู้เล่นจะได้ 1 Life Point ต่อการ์ดแลนด์ที่ทิ้ง (ถ้าเป็นแลนด์ 2 ใบก็ได้ 2 Life Point)
ใบถัดมา Rumbleweed ใช้มานาสีเขียว 1 และสีใดก็ได้ 10 แต่ทั้งนี้มานาสีใดก็ได้จะลดลงตามจำนวนการ์ดแลนด์ในสุสาน อีกทั้ง Creature ใบนี้มีความสามารถ Vigilance (สั่งโจมตีได้โดยไม่ต้อง Tap), Reach (ป้องกัน Creature ที่มีความสามารถ Flying ได้) และ Trample (เอาพลังโจมตีส่วนที่เกินจากการหักค่าพลังชีวิตของการ์ด Creature ที่ป้องกันส่วนที่เหลือเข้า Life Point ผู้เล่นอีกฝั่ง) และความสามารถสุดท้าย เมื่อการ์ดใบนี้เข้าสู่สนาม Creature ตัวอื่น ๆ ของฝั่งเราได้รับ พลังโจมตี +3 / เลือด +3 และได้รับความสามารถ Trample จนจบเทิร์น
ตัวอย่างใบสุดท้าย Embrace the Unknown การ์ดเวทมนตร์ Sorcery ใช้มานาสีแดง 1 และมานาสีใดก็ได้ 2 ความสามารถคือการนำการ์ดใบบนสุด 2 ใบจากกองจั่วออกจากเกม (Exile) จนกว่าจะถึงเทิร์นของผู้เล่นอีกครั้ง การ์ด 2 ใบดังกล่าวจะสามารถนำกลับมาใช้งานได้ กับอีกความสามารถ Retrace (นำการ์ดใบนี้จากสุสานมาใช้งานอีกครั้งโดยการทิ้งการ์ดแลนด์ในมือแล้วเสียค่าร่ายใหม่)
Grand Larceny
เด็คสุดท้ายและท้ายสุด Grand Larceny ที่เน้นความชุลมุน การขโมยการ์ดจากผู้เล่นคนอื่นมาใช้ ที่อาจจะต้องใส่ความครีเอตและคอมโบในหัวแบบไม่ตายตัวสักหน่อย แต่ก็ไม่ต้องซีเรียสไปเพราะความสามารถของการ์ดเด็คนี้รองรับสไตล์การเล่นดังกล่าวอยู่ โดยเด็คนี้จะมีมานาสีฟ้า เขียว และดำ มี Commander ของเด็คตามหน้ากล่องเป็น Gonti, Canny Acquistor ใช้มานาสีฟ้า 1 เขียว 1 ดำ 1 และสีใดก็ได้ 2 ความสามารถคือ การ์ดที่คุณเอามาใช้จากผู้เล่นคนอื่น ค่าร่ายมานาสีใดก็ได้ลดลง 1 แต้ม และเมื่อการ์ด Creature ของผู้เล่นสร้างความเสียหายจากการต่อสู้ได้ เราสามารถดูการ์ดใบบนสุดจากกองจั่วของผู้เล่นที่เราต่อสู้ด้วย และทำการนำการ์ดใบนั้นออกจากเกม (Exile) แบบคว่ำหน้า ซึ่งเราสามารถเล่นการ์ดใบนั้นได้ตราบเท่าที่ใบดังกล่าวอยู่ในสถานะออกจากเกมพร้อมสามารถใช้มานาสีใดก็ได้ในการร่ายการ์ดใบนั้น
ตัวอย่างการ์ดในเด็คที่บ่งบอกแนวทางการเล่นของ Grand Larceny ได้แก่ Thieving Varmint การ์ด Creature ใช้มานาสีดำ 1 และสีใดก็ได้ 1 มีความสามารถ Deathtouch (ความเสียหายเท่าไหร่ก็ตามที่การ์ดใบนี้มีทำใส่การ์ด Creature อีกฝ่ายจะทำลายการ์ดใบนั้น) และ Lifelink (เมื่อทำความเสียหายได้ นำพลังโจมตีของการ์ดใบนี้มาเพิ่ม Life Point ของผู้เล่น) ความสามารถ Tap จ่าย 1 พลังชีวิตเพื่อเพิ่ม 2 มานาสีใดก็ได้ โดยจะต้องเป็นการใช้กับการ์ดที่เราไม่ได้เป็นเจ้าของ
การ์ดใบถัดมา Savvy Trader ใช้มานาสีเขียว 1 มานาสีใดก็ได้ 3 โดยเมื่อการ์ดใบนี้เข้ามาในสนามจะต้องนำการ์ด 1 ใบในสุสานของเราออกนอกเกม (Exile) แบบถาวร แต่ผู้เล่นจะเล่นการ์ดใบดังกล่าวได้ตราบเท่าที่ยังอยู่ในกองออกนอกเกม (Exile Pile) และการร่ายการ์ดต่าง ๆ จากที่อื่นนอกเหนือจากบนมือผู้เล่น จะใช้ค่าร่ายมานาสีใดก็ได้ลดลง 1 แต้ม
การ์ดตัวอย่างใบสุดท้าย Dream-Thief’s Bandana การ์ดประเภท Artifact โดยเมื่อการ์ด Creature ที่ส่วมใส่การ์ดใบนี้ทำการโจมตีใส่ผู้เล่น ดูจากใบบนสุดจากกองจั่วของอีกฝ่าย จากนั้นทำการนำการ์ดใบนั้นออกจากเกม (Exile) แบบคว่ำหน้า ตราบเท่าที่ใบนั้นยังคงอยู่ในกองออกจากเกม (Exile Pile) ผู้เล่นสามารถเล่นการ์ดใบนั้นได้โดยใช้มานาสีใดก็ได้ร่าย 1 แต้ม
นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการรีวิว MTG: Outlaws of Thunder Junction Commander Decks ใครที่สนใจ สามารถหาชื้อกันได้ที่ร้านค้า TCG ทั่วไป โดยค้นหาร้านในไทยได้จากในนี้เลย Events Search | Wizards Store & Event Locator | Wizards Store & Event Locator
สามารถติดตามข่าวสารได้ทาง Magic: The Gathering Thailand และใครอยากหากลุ่มพูดคุย นัดเล่น สามารถแวะเวียนเข้ามายัง Magic The Gathering TCG SocieTy Thailand (MTG Players&Collectors)