อีกหนึ่งปัญหาที่น่าจะมีผลเป็นทอด ๆ ตามมา เพราะล่าสุดนี้ นายพชร อนันตศิลป์ ผู้มีตำแหน่งเป็นกรมสรรพสามิต ได้เปิดเผยว่า “กำลังศึกษาแนวทางสำหรับการจัดเก็บภาษีตลาดเกมออนไลน์ เนื่องจากมีเงินหมุนเวียนในตลาดจำนวนมาก และทั้งกำลังหาวิธีจัดเก็บภาษีจากบริการจากต่างประเทศไปในตัว”
นายพชรได้ให้เหตุผลว่าจากการศึกษาวิธีการจัดเก็บภาษีนั้นได้ค้นพบว่าจากหลายประเทศก็มีการจัดเก็บภาษีผู้ให้บริการเหล่านี้แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ยกเว้นที่เดียวคือสหรัฐอเมริกา และนั่นก็คือ Facebook ที่ได้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทไว้
นอกเหนือจากนี้นายพชรยังได้กล่าวเพิ่มว่า กรมสรรสามิตยังกำลังเตรียมศึกษาการจัดเก็บภาษีจากผู้ให้บริการเพลงและหนัง ที่มีการเปิดรับสมาชิกและต้องเสียค่าบริการให้เจ้าของแพลตฟอร์ม (Spotify, Netflix, iflix ฯลฯ) ซึ่งจัดกลุ่มอยู่ในประเภทของภาษีฟุ่มเฟือย ซึ่งในปัจจุบันก็ยังไม่สามารถหาช่องทางในการเก็บได้ เนื่องจากผู้ให้บริการโดยมาก (Youtube, Facebook ฯลฯ) ต่างจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทอยู่ต่างประเทศ
และกรมสรรพากรยังเตรียมออกกฎหมายจัดเก็บภาษีจากผู้ประกอบการธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ โดยกำหนดให้นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ ประกอบกิจการโดยการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์มีรายได้ และมีกำไร โดยใช้โดเมน เนม (Domain Name) ท้องถิ่นของไทย ต้องภาษีเงินได้ในประเทศไทยหัก ณ ที่จ่ายในอัตรา 15% นั้น ตอนนี้ยังไม่เกิดขึ้น แต่เงินในส่วนนี้กรมสรรพกรสามารถจัดเก็บจากธนาคารได้ แต่ไม่สามารถจัดเก็บได้เพราะหลักการ กรมสรรสามิตจัดเก็บภาษีได้จากผู้ผลิตและผู้ประกอบการเท่าน้น แต่เก็บจากผู้บริโภคไม่ได้
อีกเรื่องที่นายพชรทิ้งท้ายไว้ให้ คือเรื่องการเก็บภาษีจากกีฬาอิเล็กทรอนิกส์ (eSport) ที่ในตอนนี้ทำได้ยากเพราะ eSport ยังอยู่ในรูปแบบของกีฬา และตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 รวมทั้ง Server ของผู้ให้บริการเกมออนไลน์ต่าง ๆ ยังตั้งอยู่ในต่างประเทศ ซึ่งทางกรมสรรสามิตและกรมสรรพากรไม่มีอำนาจไปจัดเก็บภาษี
ที่มา: Matichon