18 มีนาคม 2567, กรุงเทพมหานคร โครงการที่อยู่อาศัยเพื่อวัยอิสระ “ดิ แอสเพน ทรี เดอะ ฟอเรสเทียส์” (The Aspen Tree The Forestias) ประกาศความร่วมมือกับพันธมิตร เบย์เครสต์ (Baycrest) ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลผู้สูงวัยระดับโลกจากประเทศแคนาดา และศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนภายใต้ MQDC หรือ (RISC by MQDC) เพื่อศึกษาและพัฒนางานวิจัยเชิงลึกในด้านสมอง การชะลอความเสื่อมและการป้องกันโรคทางสมอง เพื่อนำไปสู่โครงการที่อยู่อาศัยเพื่อวัยอิสระ หรือคนวัย 50+ รองรับ Super-Aged Society หรือสังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอดในสังคมไทย พร้อมกับรับมือกับภาวะสมองเสื่อมในประเทศไทยที่จะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวในอีก 30 ปีข้างหน้า
The Aspen Tree The Forestias จะเป็นโครงการแห่งแรกในโลกที่นำผลงานวิจัยเชิงลึกจากความร่วมมือเหล่านี้ไปใช้ในดีไซน์ที่อยู่อาศัย และการบริการเพื่อผู้สูงอายุตลอดชีวิต (Holositic Lifetime Care) โดยเน้นการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน ส่งเสริมสุขภาพสมอง และการมีชีวิตที่มีคุณภาพในทุกด้าน
คริสเตียน ทอยวาเนน ผู้อำนวยการโครงการดิ แอสเพน ทรี เดอะ ฟอเรสเทียส์ กล่าวว่า ทีมงานยินดีอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญและนักวิจัยเพื่อนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมมาใช้ประโยชน์ต่อผู้คนและสังคม โดยเป็นโอกาสที่ดีที่จะนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการพัฒนาโครงการที่มุ่งเน้นให้ผู้อยู่อาศัยได้รับการดูแลสุขภาพอย่างครบวงจรตลอดชีวิต
การร่วมมือกับ Happiness Science Hub by RISC และ Baycrest จะช่วยให้โครงการมีความพร้อมในการรับมือกับประชากรวัยอิสระอย่างสมบูรณ์แบบตั้งแต่การออกแบบไปจนถึงการให้บริการหลังการเข้าอยู่อาศัยเพื่อสุขภาพที่ดีในทุกด้าน
เพราะคนกลุ่มคนวัย 50+ เป็นประชากรที่มีความสำคัญต่อสังคม และมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น แม้ว่าอายุมากขึ้น แต่คนจำนวนไม่น้อยยังคงแอคทีฟ สามารถทำงาน ทำประโยชน์ และสร้างความสุขให้กับตนเอง และสังคมได้อีกมากมาย การสร้างสรรค์ที่อยู่อาศัยที่พร้อมรองรับทุกก้าวของอายุที่เพิ่มมากขึ้น สามารถสนับสนุนให้คนวัยอิสระสามารถมีความสุขได้อย่างเต็มที่ไม่ต่างจากคนอายุน้อย และยังส่งผลดีต่อสังคมในทุกมิติ
จากความร่วมมือในครั้งนี้ ดิ แอสเพน ทรี เดอะ ฟอเรสเทียส์ จึงเป็นสุดยอด Sandbox ที่สร้างแม่แบบของที่อยู่อาศัยเพื่อคนวัยอิสระ และผู้สูงอายุที่มีการนำข้อมูลจากงานวิจัยมาพัฒนา และต่อยอดในทุกจุดของโครงการ ไม่ใช่แค่ที่อยู่อาศัย แต่บริการหลังจากการเข้าอยู่ด้วย นอกจากนี้ คริสเตียน ทอยวาเนนยังได้ให้ข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพของคนไทย และคนทั่วโลก รวมถึงการคาดการณ์ในอนาคต ซึ่งทำให้เห็นว่าทำไมการร่วมมือในครั้งนี้จึงเป็นการร่วมมือครั้งสำคัญ
รศ. ดร. ซิด เฟลด์แมน ผู้อำนวยการฝ่ายเวชศาสตร์ครอบครัวและชุมชน เบย์เครสต์ เซ็นเตอร์ และหัวหน้าแผนกการดูแลผู้สูงอายุ มหาวิทยาลัยโตรอนโต ประจำมหาวิทยาลัยโตรอนโต กล่าวถึงการร่วมมือครั้งนี้ว่าโครงการ ดิ แอสเพน ทรี เดอะ ฟอเรสเทียส์ ซึ่งจะเป็นโครงการที่ช่วยบุกเบิก เสริมสร้างความรู้ด้านสุขภาพ ความเข้าใจและการดูแลสุขภาพที่ดีของผู้สูงอายุ ผมเชื่อว่าแอสเพน ทรี จะเป็นผู้นำความเปลี่ยนแปลง ทั้งแนวคิดการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุในประเทศไทยและในโลก ด้วยสภาพแวดล้อมการดำรงชีวิตที่ออกแบบด้วยนวัตกรรม และยังมีโปรแกรมด้านสุขภาพ และการมุ่งเน้นไปที่การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่ล้ำหน้าต่างๆเพื่อยกระดับโปรแกรมการดูแลความเป็นอยู่ให้กับผู้อยู่อาศัยให้ดียิ่งขึ้นไปอีก
Baycrest เป็นผู้นำด้านการดูแลผู้สูงอายุระดับชั้นแนวหน้าของโลก ที่มีประสบการณ์กว่า 105 ปี โดยมีความเชี่ยวชาญด้านงานวิจัยในผู้สูงอายุอย่างมาก โดยเป็นศูนย์วิจัยผู้สูงอายุที่ใหญ่ที่สุดในโลก Baycrest จึงมีผลผลิตในด้านงานวิจัยเกี่ยวกับผู้สูงอายุมากมายทั้งองค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม และบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษในการดูแลผู้สูงอายุ โดยจากการศึกษาในประเทศแคนาดาพบว่าผู้สูงอายุที่อยู่ภายใต้การดูแลของ Baycrest มีอายุขัยเฉลี่ยสูงกว่าผู้สูงอายุทั่วไปถึง 7 ปี
ดร.สฤกกา พงษ์สุวรรณ ผู้อำนวยการ ฝ่ายบูรณาการงานวิจัยเพื่อการเผยแพร่ ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนภายใต้ MQDC (RISC by MQDC) และหัวหน้าทีมวิจัยศาสตร์แห่งความสุขเชิงวิทยาศาสตร์ (Happiness Science Hub) กล่าวว่า ความร่วมมือครั้งนี้ ทาง RISC ได้นำเสนอผลงานจากศูนย์วิจัยศาสตร์แห่งความสุขเชิงวิทยาศาสตร์ที่จะช่วยสร้างความสุขให้คนวัยอิสระที่เข้ามาอยู่ในโครงการ ดิ แอสเพน ทรี เดอะ ฟอเรสเทียส์
อย่างงานวิจัยเรื่องการมองเห็นสีในผู้สูงอายุ ที่ผู้สูงอายุบางคนอาจเริ่มมองเห็นสีผิดเพี้ยนไป ซึ่งการกำหนดสีของพื้นต่างระดับ หรือส่วนอื่นภายในที่พักอาศัยเพื่อความปลอดภัยของผู้สูงอายุ การออกแบบจุดตกกระทบของเสียงภายในห้องเพื่อเอื้อให้ผู้สูงอายุสามารถได้ยินเสียงได้มากขึ้นทดแทนโสตประสาทที่เสื่อมลงตามวัย ไปจนถึงการศึกษาการใช้ชีวิตชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุ โดยดร.สฤกกา ได้ยกตัวอย่างการทำอาหารในครัวของผู้สูงอายุ ซึ่งกล้ามเนื้ออ่อนแอลง แรงน้อย การออกแบบเคาน์เตอร์ครัวให้มีความสูงเหมาะที่ช่วยลดการออกแรง ช่วยให้ผู้สูงอายุใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้น
Cogniciti เป็นหนึ่งในนวัตกรรมจาก Baycrest ที่สามารถประเมินศักยภาพของสมอง และความเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อมได้ ด้วยความร่วมมือจาก RISC และ ดิ แอสเพน ทรี เราจะร่วมพัฒนา Cogniciti นวัตกรรมทดสอบสุขภาพสมองของเราฉบับภาษาไทยขึ้น ซึ่งเป็นภาษาที่สามของโลก ต่อจากภาษาอังกฤษ และฝรั่งเศส โดยแบบทดสอบนี้จะช่วยให้ผู้ทดสอบได้รับรู้ถึงสุขภาวะสมองในเบื้องต้น
ทั้งนี้ ศาสตร์แห่งความสุขเชิงวิทยาศาสตร์ (Happiness Science Hub) เป็นการศึกษาพฤติกรรมและจิตวิทยาของคนทุกช่วงวัย และวิจัยประสาทการรับรู้ของมนุษย์ ผ่านสัญญาณสมองและเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ เพื่อสร้างอารมณ์เชิงบวก และความสุข (Mental Well-Being) รวมถึงทำความเข้าใจความเสื่อมถอยด้านต่างๆ ของผู้สูงอายุ และหาแนวทางลดความเสี่ยงการเกิดโรค อาทิ โรคสมองเสื่อม และอัลไซเมอร์ เพื่อหาปัจจัยในการส่งเสริมคนแต่ละช่วงวัยให้ใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข ซึ่งปัจจุบันนี้ ศาสตร์นี้จัดเป็นวิทยาศาสตร์สาขาใหม่ที่มีองค์ความรู้จำกัด
ดร.สฤกกากล่าวเสริมว่า “งานวิจัยในศาสตร์นี้สามารถนำมาพัฒนาที่อยู่อาศัย เมือง และสิ่งแวดล้อม เพื่อการใช้ชีวิตให้มีความสุขอย่างยั่งยืน แต่ปัจจุบันความรู้สาขานี้ยังมีจำกัด ความร่วมมือระหว่างสามพันธมิตร ผู้เชี่ยวชาญต่างสาขา จะช่วยดึงดูดนักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขามาร่วมกันศึกษา ความรู้ใหม่ๆ ต่อเนื่องต่อไป”
นอกจากนี้ การร่วมมือครั้งนี้ยังมีองค์ความรู้ และนวัตกรรมเพื่อสุขภาพ และความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุที่มากมาย พร้อมบริการในทุกมิติ ตั้งแต่โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) การสร้างคอมมูนิตี้ทีเป็นมิตร ความยั่งยืนด้านความเป็นอยู่ สิ่งแวดล้อม สุขภาพ ระบบการดูแลลจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพผู้สูงอายุ ทั้งผู้ดูแล และแพทย์เฉพาะทางด้านโรคผู้สูงอายุ โปรแกรมการดูแลสุขภาพเชิงป้องกันเพื่อให้ผู้อยู่อาศัยมีสุขภาพทางกาย ทางอารมณ์ ทางสังคมที่ดี สามารถช่วยเหลือตัวเอง และใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่ แม้ในวันที่ต้องการการดูแลก็มีระบบพื้นฐานรองรับที่ออกแบบตามหลักทางการแพทย์ที่ผสมผสานด้วยข้อมูลงานวิจัย
รายงานจาก Statista พบว่าประชากรสูงอายุทั่วโลกเพิ่มขึ้นจาก 20-30% ของประชากรทั้งหมด ในปี พ.ศ. 2563 เป็น 30-40% ในปี 2593 ซึ่งหมายถึงประชากรโลก 1 ใน 6 คนเป็นผู้สูงอายุ นอกจากนี้ รายงานในวารสาร Lancet Public Health ในปี 2565 คาดการณ์ว่าประชากรโลกที่มีภาวะสมองเสื่อม จะเพิ่มขึ้นมากถึง 166% ในปี พ.ศ. 2593 นับจากปี 2562 ส่วนในประเทศไทย ประชากรอายุเกิน 60 ปี ซึ่งมีประมาณ 20% ของประชากรทั้งหมดเมื่อปี พ.ศ. 2565 และจะเพิ่มเป็น 40%ในปี พ.ศ. 2593 และผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมในประเทศไทย จะเพิ่มขึ้นในอัตราที่น่าเป็นห่วงถึง 257% ใน 30 ปีข้างหน้า