ความวิตกกังวลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม หรือ Eco-anxiety คือ ความเครียดที่เกิดขึ้นมา เพราะมีความกังวลเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อม
ความกังวลนี้เกิดขึ้นจากการที่เราได้อ่านข่าว ข้อมูล ความรู้ ที่เกี่ยวกับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือทราบถึงปัญหาความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม และมีความเข้าใจว่าขณะนี้โลกของเรากำลังพบกับปัญหาทางนิเวศมากขึ้น
จนกระทั่งทำให้เกิดความวิตก หวาดกลัว กังวล เครียด เกี่ยวกับผลที่ตามมาของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสิ่งสร้างผลกระทบทางจิตวิทยาด้วยนะ อารมณ์ที่จะเกิดขึ้น ก็คือ
- มีความรู้สึกไร้พลัง และสิ้นหวัง
- ความเครียดเพิ่มขึ้น และมีความวิตกกังวล
- ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตโดยรวม
และถ้าเราปล่อยให้อารมณ์เหล่านี้กัดกินจิตใจไปเรื่อย ๆ ก็จะส่งผลเสียด้านสุขภาพจิตในระยะยาวได้ ดังนั้นมาจัดการอารมณ์กันดีกว่า
เทคนิคการจัดการกับความวิตกกังวล Eco-anxiety
1. ติดตามข่าวได้แต่ต้องมีขีดจำกัด
คุณยังสามารถติดตามข่าวสารอัปเดตข้อมูลความรู้ใหม่ต่อไปได้ เพียงแต่ว่าให้อ่านวันละนิดวันละหน่อยพอไม่ต้องอ่านเยอะมากจนเกินไป เพื่อป้องกันการเกิดความเครียดอย่างท่วมท้น
2. มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ รักษาสิ่งแวดล้อม
คุณสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์หรือผลักดันสิ่งแวดล้อมในเชิงบวกได้ด้วยการเริ่มต้นจากตัวเองเช่น ใช้ถุงผ้า ใช้กระบอกน้ำ ไม่ใช่หลอดแต่ใช่เป็นการยกดื่มแทน วางแผนซื้อรถคันใหม่ก็ตัดสินใจเลือกซื้อรถไฟฟ้า หรืออื่น ๆ
3. ฝึกสติ
ฝึกสติด้วยการอยู่กับปัจจุบันขณะ สูดลมหายใจเข้าออกลึก ๆ คุมสติโฟกัสอยู่กับปัจจุบัน เพื่อจัดการกับความวิตกกังวล
ช่วยลดความเครียด และทำให้คุณรู้สึกผ่อนคลายมากยิ่งขึ้น
4. เข้าร่วมกลุ่มคอมมูคนรักธรรมชาติ
เข้าร่วมกลุ่มหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์ธรรมชาติ เพื่อพูดคุยกับคนที่มีความชอบและศึกษาในเรื่องของวิธีแก้ปัญหา สิ่งแวดล้อม ซึ่งจะทำให้เกิดการแชร์ความรู้ใหม่ ๆ กับเพื่อนร่วมอุดมการณ์มากขึ้น แล้วคุณอาจจะเห็นทางใหม่ ๆ ในการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้นกว่าเดิม
5. ติดตามข้อมูลข่าวสารโซลูชันใหม่ๆ ในการจัดการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม
เพราะปัญหาสิ่งแวดล้อมส่งผลกระทบไปทั่วโลก ดังนั้นในภาคส่วนนานาชาติจึงมีการผลักดันคิดค้นโซลูชันใหม่ ๆ เพื่อนำมาใช้ในการจัดการปัญหาแก้ไขสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง การศึกษาเจาะลึกในเรื่องของโซลูชั่นจะทำให้คุณเห็นความหวัง ได้รับข้อมูลเชิงบวกเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น
สุดท้ายคือ คุณต้องมีความเข้าใจว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาที่ไม่อาจแก้ได้ภายในเพียงเวลาไม่กี่วัน แต่ก็ต้องใช้เวลาเป็นเดือนเป็นปี
ดังนั้น ขอให้โฟกัสไปที่ “ความหวัง” โฟกัสไปที่แนวทางจัดการปัญหาในแง่บวก ซึ่งจะทำให้คุณติดตามข่าวสารเกี่ยวกับ สิ่งแวดล้อมในอีกแง่มุมหนึ่ง ซึ่งสามารถช่วยลดความเครียด และได้ศึกษาเรียนรู้เรื่องราวใหม่ ๆ เกี่ยวกับการแก้ไขสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นอีกด้วย
อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ OOCA (อูก้า) ปรึกษาปัญหาใจ
พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส