ใครเคยอ่านการ์ตูนของ อ.จุนจิ ตอน “หนาวบาดเนื้อ” ต้องเข้าใจฟีล “รู” มาเน้น ๆ (ทำใจก่อนเสิร์ชนะ)

อาการทางจิตนี้มีชื่อเรียกว่า “โรคกลัวรู” (Trypophobia) ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อเห็นของที่มีลักษณะเป็นรูถี่ ๆ ยิบ ๆ รูเล็ก ๆ เรียงตัวกัน จะรู้สึกขนลุกขนพอง สยอง ขยะแขยง อึดอัด   

รูสยองยอดนิยม เช่น รูของฝักเมล็ดบัว รังผึ้ง ไข่แมลงวัน หรือปะการังเวอร์ชันที่มีรู โรคกลัวรูนี้จัดเป็น “ภาวะกลัวอย่างรุนแรง”ชนิดหนึ่ง

แต่ข้อมูลอีกด้านจาก อาร์โนด์ วิลกินส์ และ จีออฟ โคล สถาบันจิตวิทยาแห่ง University of Essex สหราชอาณาจักร แย้งว่า อาการที่เกิดขึ้นน่าจะเป็นความ “ขยะแขยง” มากกว่าความกลัว 

สาเหตของโรคกลัวรู 

  • เคยมีประสบการณ์ที่ไม่ดีเกี่ยวกับวัตถุหรือสิ่งของที่มีรู
  • มีความผิดปกติทางสมอง  
  • พบได้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้า หรือโรควิตกกังวล 
  • พันธุกรรมที่มาจากคนในครอบครัว   

มีปัญหาเรื่องโรคกลัวรู จัดการยังไงดี? 

ถ้าตามปกติคุณไม่ได้มีความผิดปกติใด ๆ เกิดขึ้นมาอยู่แล้ว แต่อาจจะรู้สึกขยะแขยงได้บ้างเมื่อเห็นภาพที่มีรูเยอะ ๆ วิธีแก้ไขง่าย ๆ ก็คือให้หลีกเลี่ยงไม่ไปดูภาพเหล่านั้น แต่จำเป็นต้องได้รับการรักษาในกรณีที่มีอาการรุนแรง และมีความผิดปกติเหล่านี้ 

  • รู้สึกว่าตัวเองมีภาวะซึมเศร้า เพราะปัญหาอาการกลัวรู
  • รู้สึกกลัวรูแบบไม่มีเหตุผล คิดถึงแต่ภาพสยองในหัวตลอดเวลา 
  • มีอาการกลัวเป็นประจำ ติดต่อนานกว่า 6 เดือน

ถ้ามีอาการที่ได้ยกตัวอย่างมาไม่ต้องกังวล ให้ไปปรึกษาจิตแพทย์ได้เลย คุณหมอจะหาทางออกให้คุณได้แน่นอน

อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ OOCA (อูก้า) ปรึกษาปัญหาใจ

พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส