อย่าละเลยความรู้สึกแย่ ๆ ที่มาจาก Imposter Syndrome เพราะอาจเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า!  

Imposter Syndrome คือภาวะในแง่ลบที่เกิดขึ้นจากจิตใจ คิดว่าตัวเองไม่เก่ง ทำอะไรก็ไม่ได้เรื่อง ด้อยค่าในตัวเอง นำตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนอื่น หรือต่อให้ทำงานสำเร็จก็พาลคิดไปว่าอาจเพราะโชคช่วย เพราะคนโน้นคนนี้ช่วย ไม่ได้เกี่ยวกับความเก่งของตัวเองเลย 

เรากำลังเสี่ยงต่อการเป็น Imposter Syndrome รึเปล่านะ? 

ภาวะรู้สึกว่าตัวเองด้อยค่านี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนเลย แต่ว่าจะพบได้มากในหมู่ First Jobber, คนที่เปลี่ยนงานบ่อย ๆ หรือคนที่ได้รับแรงกดดันจากการทำงานในระดับสูง อยู่ในสังคมการทำงานขนาดใหญ่ ที่มีคนเก่งรายล้อมรอบตัวมากมาย และมักจะมีนิสัยติดตัวแบบนี้ 

  • มีความเป็น Perfectionist สูง ต้องการความสมบูรณ์แบบอย่างที่สุด 
  • กดดันตัวเองมากจนเกินไป แม้จะได้รับคำชมแล้ว แต่ก็ยังไม่เชื่อถือในคำชมนั้น
  • พยายามเกาะติดเทรนด์ใหม่ ๆ แบบไม่ให้พลาดเลยเพราะว่ากลัวจะพลาดความรู้ใหม่ ๆ อะไรไป จนเกิดความเครียด 
  • ตัดสินใจทำเองอะไรคนเดียว ไม่อยากพึ่งคนอื่น เพราะกลัวถูกมองว่าไม่มีความสามารถ  
  • อย่าให้ความรู้สึกในแง่ลบมาทำลายคุณอีกต่อไปเลย มาทลายกำแพงใจของคุณกันดีกว่า 

1. วางเป้าหมาย ในช่วงเวลาที่เหมาะสม 

วางแผนเป้าหมายชีวิตของคุณอย่างเป็นสเต็ป 1 ปี 5 ปี 10 ปีอย่ากดดันตัวเอง อย่าคิดว่าทุกอย่างจะต้องเกิดขึ้นภายในเดือนเดียว เพราะบางเรื่องก็ต้องใช้เวลาจริง ๆ

2. เขียนสิ่งดี ๆ ที่เกิดขึ้นกับคุณในทุก ๆ วัน

เราจะไม่เอาชนะความคิดลบด้วยการไปต้านมัน แต่จะเปลี่ยนเป็นใส่พลังบวกเข้าไปในความคิดแทน ก่อนนอนทุกคืนให้คุณเขียนสิ่งดี ๆ ที่เกิดขึ้นกับคุณในทุก ๆ วัน จะเป็นเรื่องเล็กขนาดไหนก็ได้ เช่น รู้สึกมีความสุขมากที่วันนี้เจ้านายชม, รู้สึกดีมากที่วันนี้ป้าแม่บ้านซื้อขนมมาฝาก, แฮปปี้มากงานผ่านแบบไม่ต้องแก้เลย  

3. ความผิดพลาด คือ เพื่อนของเรา 

ถ้าความสำเร็จคือเพื่อนของเรา ความผิดพลาดก็คือเพื่อนอีกคนเช่นกัน ถ้าคนเราไม่ผิดพลาดเลยก็คงจะสำเร็จไม่ได้ เพราะเราจะนำความผิดพลาดนี้แหละไปปรับปรุงแก้ไข เพื่อทะยานไปสู่ความสำเร็จ มองให้เป็นเรื่องธรรมชาติเข้าไว้ “ไม่มีใครไม่เคยทำผิดพลาด”  ⁣

ใครเคยมีความรู้สึกแบบนี้บ้าง ใช้เทคนิคไหนในการผ่านภาวะที่คิดว่าตัวเองไม่เก่งมาได้ คอมเมนต์บอกกันได้นะ เผื่อจะเป็นอีกหนึ่งเคล็ดลับดี ๆ ที่ทำให้เพื่อน ๆ ที่ผ่านมาเห็นนำไปใช้กันได้บ้าง

อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ OOCA (อูก้า) ปรึกษาปัญหาใจ

***