การแพร่กระจายของไวรัส Covid-19 ขยายวงกว้างมากขึ้นในประเทศไทย ภายในไม่กี่วันยอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นหลายราย อย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อด้านเศรษฐกิจไทยเป็นอย่างมาก ในหลาย ๆ พื้นที่ต้องงดให้บริการเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไว้รัส Covid-19 อย่างเช่น ห้างสรรพสินค้า สถานบันเทิง ร้านอาหาร การสัมมนา ทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด ทำให้ประชาชนต้องปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตในช่วงนี้หลาย ๆ บริษัทให้สามารถทำงานที่บ้านได้ และหลาย ๆ ที่หยุดให้บริการลูกจ้างก็ขาดรายได้ คณะรัฐมนตรีจึงออกมาตรการเพื่อช่วยเหลือเยียวยาประชาชน ที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากไวรัส Covid-19 ในครั้งนี้ 2 ระยะดังต่อไปนี้

มาตรการระยะที่ 1 ที่ออกไปแล้ว

มาตรการดูแลเยียวยาประชาชน

  • ค่าเสี่ยงภัยให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ แบ่งเป็น แพทย์และสัตวแพทย์ผลัดละ 1,500 บาท/คน พยาบาลและอื่น ๆ 1,000 บาท/คน
  • บรรเทาค่าใช้จ่ายค่าน้ำค่าไฟและคืนค่าประกันการใช้ไฟ
  • ลดเงินสมทบเข้าประกันสังคมของนายจ้างและลูกจ้าง จาก 5% เหลือ 4% และ 9% เหลือ 7% ตามลำดับ
  • ลดค่าธรรมเนียมค่าเช่า ค่าตอบแทนในการบริการของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ
  • สร้างความเชื่อมั่นในระบบตลาดทุน

มาตรการดูแลเยียวยาผู้ประกอบการ

  • สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ 150,000 ล้านบาท
  • พักต้นเงินลดดอกเบี้ยและขยายระยะเวลาชำระหนี้แก่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
  • ธปท. ผ่อนคลายหลักเกณฑ์การปรับโครงสร้างหนี้
  • สินเชื่อเพื่อส่งเสริมการจ้างงานของประกันสังคม
  • คืนสภาพคล่องให้แก่ผู้ประกอบการในประเทศ ลดอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายจาก 3% เหลือ 1.5%
  • เร่งคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ประกอบการส่งออก ยื่นออนไลน์ รับคืนภายใน 15 วัน ยื่นปกติรับคืนภายใน 45 วัน
  • เพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายเงินงบประมาณ ปี 2563
  • หักเพิ่มภาษีดอกเบี้ยจ่ายจาก 1 เท่าเป็น 5 เท่า
  • บรรเทาภาระการจ่ายค่าน้ำค่าไฟและคืนค่าประกันการใช้ไฟ
  • ลดเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมของนายจ้างและลูกจ้าง
  • ไม่ปลดแรงงาน หักรายจ่ายค่าจ้างได้ 3 เท่า
  • เบาเทาภาระค่าธรรมเนียม ค่าเช่า ค่าตอบแทนในการให้บริการของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ

มาตรการที่ 1 ออกไปแล้วโดยมติของรัฐมนตรี 10 มีนาคม 2563

มาตรการระยะที่ 2

มาตรการดูแลและเยียวยา “แรงงานลูกจ้าง ลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระที่ไม่อยู่ในระบบ ประกันสังคม” ซึ่งได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 

  • สนับสนุนเงินคนละ 5,000 บาทต่อเดือนเป็นเวลา 3 เดือน เยี่ยวยาให้กับแรงงานลูกจ้างชั่วคราวและอาชีพอิสระที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคมจากการปิดที่เสี่ยงต่อการระบาดไวรัส Covid-19 ชั่วคราว อย่างเช่นสถานบันเทิง สถานบริการที่มีผู้คนแอร์อัดเป็นต้น จำนวน 3 ล้านราย สำหรับผู้ที่อยู่ในประกันสังคม เพิ่มสิทธิกรณีว่างงาน 50% ของค่าจ้าง 1) กรณีนายจ้างไม่ให้ทำงาน รับเงินไม่เกิน 180 วัน 2) กรณีรัฐสั่งหยุด รับเงินไม่เกิน 90 วัน ตรวจสอบคุณสมบัติที่นี่
  • สินเชื่อฉุกเฉิน 100,000 บาทต่อราย
  • สินเชื่อพิเศษ 50,000 บาทต่อราย วงเงินรวมทั้งหมด 20,000 ล้านบาท ดอกเบี้ย 0.35% ต่อเดือน
  • สำนักงานธนานุเคราะห์รับจำนำดอกเบี้ยต่ำ วงเงินรวมทั้งหมด 2,000 ล้านบาท คิดดอกเบี้ยจากประชาชนในอัตรไม่เกิน 0.125%/เดือน
  • ยืดการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เลื่อนกำหนดเวลาการยื่นแบบและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาออกไปเป็นสิงหาคม 2563
  • หักลดหย่อนเบี้ยประกันสุขภาพเพิ่มขึ้น เพิ่มวงเงินลดหย่อนค่าเบี้ยประกันสุขภาพจาก 15,000 บาทเป็น 25,000 บาท
  • ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับค่าเสี่ยงภัยให้บุคลากรทางการแพทย์
  • ฝึกอบรมมีเงินใช้ ฝึกอบรมเพิ่มทักษะอาชีพหรือจัดกิจกรรมเพื่อสังคมรวมถึงนักศึกษาที่หางานไม่ได้ และขยายฝึกอบรมภาคภาคีเครือข่าย เช่นมูลนิธิ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นต้น

มาตรการเพิ่มเติมเป็นการเฉพาะกรณี “ธุรกิจท่องเที่ยว” 

เนื่องจากธุรกิจท่องเที่ยวได้รับผลกระทบมาตั้งแต่การเริ่มแพร่ระบาดของเชื่อไวรัส Covid-19 ส่งผลกระทบต่อธุรกิจท่องเที่ยวทั้ง inbound outbound รวมถึงการท่องเที่ยวภายในประเทศไทยเอง เพื่อเป็นการดูแลธุรกิจท่องเที่ยวเป็นการเฉพาะจึงเห็นควรในเรื่อง แบ่งวงเงินจำนวน 10,000 ล้านบาทจากมาตรการ Softloan 150,000 ล้านบาท ภายใต้มาตรฐานการดูแลเยียวยาผลกระทบจากไวรัส Covid-19 ระยะแรกให้กับธนาคารออมสินเพื่อปล่อยกู้ให้แก่ผู้ประกอบการในธุรกิจท่องเที่ยวเป็นการเฉพาะ

และเห็นควรมอบให้ธนาคารออมสินเป็นผู้นำหลักในการปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการโดยเร็ว เพื่อให้สามารถประคองธุรกิจสามารถอยุ่รอดได้ในสภาวะแบบนี้ นอกจากนี้กระทรวงการคลังยังได้เลื่อนการจ่ายค่าเช่าที่ราชพัสดุสำหรับผู้เช่าประเภทผู้ประกอบการที่อยู่ธุรกิจท่องเที่ยว และเกี่ยวเนื่องไปจนถึงเดือนกันยายน 2563 และมีมาตรการดูแลสายการบินที่เป็นเที่ยวบินภายในประเทศ โดยการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันเชื่อเพลิงสำหรับเครื่องบินไอพ่นจาก 4.726 เป็น 0.20 บาทต่อลิตร มีผลถึง 30 กันยายน 2563

และประกาศล่าสุดจากกระทรวงมหาดไทยเรื่องการขยายเวลาการทำบัตรประจำตัวประชาชน เนื่องจากสถานการณ์ไวรัส Covid-19 ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เพื่อหลีกเลี่ยงผู้คนมารวมกันเป็นจำนวนมากและลดโอกาสไม่ให้เกิดการแพร่กระจายของไวรัสจึงประกาศให้ขยายเวลากำหนดการขอมีบัตร การขอบัตรใหม่ หรือเปลี่ยนบัตรในทุกท้องที่จังหวัดและกรุงเทพมหานคร จากแต่ก่อนภายใน 60 วันนับตั้งแต่วันที่ต้องมีบัตร ให้ขยายเพิ่มเป็น 120 วัน มีผลถึง 31 กรกฏาคม 2563 นี้

ร่วมกันตอบคำถามเพื่อประเมินมาตรการ Covid-19

ตอบคำถามเพื่อประเมินการปฏิบัติตัวตามมาตรการป้องกันการติดเชื้อไวรัส Covid-19 ของประชาชน เพื่อการปรับเปลี่ยนมาตรการให้เหมาะสมกับสถานการณ์การแพร่ระบาดต่อไป คลิก

 

 

พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส